ระดับฝีมือ 5 ขั้นของมวยไท่เก๊ก
ผมชอบมากตอนวัยรุ่นไปดั้นด้นหาที่เรียน แต่อยู่ไกลไปเลยเรียนได้ครั้งเดียว
ประพันธ์โดย เฉินเสี่ยววั่ง (ตั่งเซียวอ๋วง)
เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster
http://www.thaitaiji.com)
ขั้นที่ 1
การฝึกมวยไท่เก๊กต้องให้ร่างตั้งตรง , ให้พลังบนกระหม่อมเบาว่อง , ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตรง , เปิดสะโพกงอเข่า ฝึกจนพลังเคลื่อนต่ำลงและจมลงที่ตังชั้ง(ตันเถียน) แต่ผู้ที่เริ่มฝึกฝนยังไม่สามารถที่จะควบคุมหลักสำคัญเหล่านี้ได้หมด ต้องฝึกจากท่าเดี่ยวๆ เพื่อกำหนดทิศทาง , แง่มุม, ตำแหน่ง , ทิศทางการเคลื่อนของมือและเท้าให้ได้ ดังนั้น ในขั้นนี้ยังอย่าเพิ่งเน้นในเรื่องหลักของร่างกายมากเกินไป ควรเป็นไปแบบง่าย ๆ เช่น ศรีษะและร่างกายส่วนบนต้องมี ฮือเล้งเตงแก่ (พลังบนกระหม่อมเบาว่อง) , เก็บอกเอวตรง ในขั้นที่ 1 นี้เพียงต้องการให้ศรีษะตั้งตรงแบบธรรมชาติ , ร่างการตั้งตรง , ไม่เอนไปข้างหลังหรือก้มไปข้างหน้า , ไม่เอียงซ้ายหรือเอียงขวาก็ใช้ได้แล้ว เวลาฝึกมวยดูที่ร่างกายและแขนขา การเคลื่อนไหวแข็งกระด้าง , แข็งนอกในกลวง , มีการตีเร็ว พุ่งเร็ว,ขึ้นเร็ว , ลงเร็ว, มีพลังขาด , มีการค้ำ เหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงต้องการให้มุ่งมั่นในการฝึกฝนทุก ๆ วัน โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณครึ่งปี ก็จะคุ้นเคยกับท่ามวยทำให้การเคลื่อนไหวพัฒนาคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถค่อย ๆ ชักนำลมปราณในร่างกายให้เคลื่อนไหวตามร่างกายและแขนขาได้ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนของท่าร่างภายนอกชักนำลมปราณภายในได้ เมื่อชำนาญมากขึ้นยังสามารถค่อย ๆ เข้าสู่วิถีแห่งแรงรู้ได้ นี่คือฝีมือขั้นที่ 1
ในขั้นนี้ ความสามารถในการใช้ต่อสู้ยังจำกัดอย่างมาก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของร่างกายยังไม่สอดคล้องและรับกัน การเคลื่อนไหวยังไม่เป็นระบบ ท่าร่างยังไม่ได้มาตราฐานยังคงมีแรงกระด้างอยู่ , มีพลังขาด , แรงทิ้ง(ห่าง) , แรงค้ำ ท่ามวยยังมีจุดที่ยุบและนูนลมปราณภายในเพิ่งจะมีความรู้สึกได้ ไม่สามารถให้ลมปราณเคลื่อนอย่างปลอดโปร่งจนสามารถส่งพลังออกไปได้ พลังนั้นไม่ได้ขึ้นมาจากเท้าที่หยั่งรากขึ้นมาสู่ขา,ควบคุมโดยเอว แต่เป็นไปโดย เป็นพลังที่ไม่ได้รับมาเป็นทอดแต่เป็นการกระโดดจากข้อต่อหนึ่งสู่อีกข้อต่อหนึ่ง ดังนั้นในขั้นที่ 1 นี้ยังไม่สามารถใช้ในการต่อสู้ได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกยุทธ์ย่อมคล่องแคล่วกว่า ถึงแม้ว่าท่วงท่ายังไม่ปราดเปรียว แต่พอรู้หลักการผ่อนแรงและทำให้คู่ต่อสู้เสียหลักอยู่บ้าง จึงทำให้มีบางครั้งสามารถตีคู่ต่อสู้ได้แต่ตัวเองก็ยังยากที่จะสามารถรักษาความสมดุลย์ของร่างกายไว้ได้ ดังนั้นจึงเรียกขั้นนี้ว่า " 1 อิม 9 เอี๊ยง เหมือนท่อนไม้ " อะไรคืออิมเอี๊ยง(อินหยาง) ในหลักของมวยไท่เก็ก ว่างคืออิม , เต็มคือเอี๊ยง , รวมคืออิม , แยกคือเอี๊ยง , หยุ่นคืออิม , แกร่งคือเอี๊ยง อิมและเอี๊ยงคือสิ่งตรงกันข้ามที่เป็นสหภาพกัน ขาดอย่างหนึ่งไม่ได้ สองสิ่งนี้ต้องผสมผสานเข้าด้วยกัน เอาสองอย่างนี้(อิมเอี๊ยง) มาแบ่งเป็น 10 ส่วน ฝึกจนถึงขั้น อิมเอี๊ยงได้ดุลยภาพ กล่าวคือ อิม 5 ส่วน และ เอี๊ยง 5 ส่วน นี่คือฝึกฝนได้จนบรรลุความสำเร็จที่มาตราฐาน ขั้นที่ 1 นี้ " 1 อิม 9 เอี๊ยง " แกร่งมากหยุ่นน้อย อิมเอี๊ยงขาดดุลยภาพ ไม่สามารถใช้(ต่อสู้)ได้ดังใจนึก ดังนั้นผู้ฝึกที่อยู่ช่วงขั้นที่ 1 นี้อย่าเพิ่งไปสนใจกับการใช้ต่อสู้
ขั้นที่ 2
ตั้งแต่ปลายขั้นที่ 1 จนถึงช่วงต้นของขั้นที่ 3 ผู้ฝึกเริ่มจะมีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายใน นี่คือขั้นที่ 2 ในขั้นนี้สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือ ในขณะฝึกฝนสามารถที่จะขจัดความกระด้างของร่าง , การทิ้ง , การค้ำ , ความไม่กลมกลืนของท่าได้ทำให้ลมปราณภายในสามารถโคจรได้อย่างเป็นแบบแผน ภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน หลังจากสำเร็จขั้นที่ 1 มาแล้ว แม้ว่าจะคุ้นเคยกับหลักพื้นฐาน ของการฝึกฝนท่วงท่า มีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนของลมปราณในร่างกายได้ ซึ่งมีอยู่ 2 สาเหตุ
สาเหตุแรก คือ ยังไม่สามารถควบคุมองค์ประกอบของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานได้ เช่น เก็บอกเกินไปจนทำให้เอวงอหลังโกง เอวตรงเกินไปจนทำให้ก้นยื่นและอกเบ่งออก ด้วยเหตุนี้จำต้องพัฒนาอีกขั้นอย่างเข้มงวดให้สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นแบบแผนที่แน่นอน แก้ไขส่วนที่ขัดแย้งกันเองให้เป็นหนึ่งเดียว จนถึงขั้นสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย (สัมพันธ์มีสัมพันธ์ภายในและสัมพันธ์ภายนอกสัมพันธ์ภายในมี-จิตกับความตั้งใจสัมพันธ์,ลมปราณกับพลังสัมพันธ์ , เอ็นกับกระดูกสัมพันธ์ สัมพันธ์ภายนอกมี-มือกับเท้าสัมพันธ์ , ศอกกับเข่าสัมพันธ์ , ไหล่กับสะโพกสัมพันธ์ ) ทั้งภายในและภายนอก แยกพร้อมกัน ในแยกมีรวมอยู่ด้วยกัน , ในรวมมีแยก หนึ่งรวมหนึ่งแยก แยกและรวมรับกัน
สาเหตุที่ 2 คือ ในเวลาฝึกฝนมักจะเกิดการเอาใจใส่ในส่วนหนึ่งแต่ขาดการเอาใจใส่ในส่วนอื่น กล่าวคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง มีส่วนหนึ่งของร่างกายเคลื่อนไหวเร็วกว่า ผ่านไปแล้วเกิดแรงค้ำ อีกส่วนของร่างกายช้ากว่ายังไม่ถึงเกิดการทิ้งขาดช่วง ทั้ง 2 สาเหตุนี้ เป็นการละเมิดกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหว ของมวยไท่เก๊ก จุดสำคัญของมวยไท่เก๊กคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง ๆ จะไม่ทิ้ง ตี่ซีแก่(ฉันซือจิ้ง) ในทฤษฎีมวยกล่าวไว้ว่า " ฉันซือจิ้งมีต้นกำเนิดจากไต มีอยู่ในทุกส่วน(ของร่างกาย) ไม่มีเวลาไหนที่ไม่มี(ฉันซื้อจิ้ง) " ในแนวทางการฝึกมวยไท่เก็กอย่างเข้มงวดเพื่อบรรลุถึงฉันซื้อจิ้ง จุดสำคัญอยู่ที่ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตั้งตรง, เปิดสะโพกงอเข่า เป็นต้น ใช้เอวเป็นแกนกลางข้อต่อแต่ละข้อรับกันเป็นช่วง ๆ มือหมุนเข้าข้างในใช้มือนำศอก, ใช้ศอกนำไหล่ , ใช้ไหล่นำเอว (แต่แท้จริงแล้วเอวยังคงเป็นหมุนหลักอยู่ดี) เวลามือหมุนออกข้างนอกใช้เอวผลักดันไหล่ , ใช้ไหล่ผลักดันศอก , ใช้ศอกผลักดันมือ ก่อให้เกิดการหมุนบิดของแขน และการหมุนบิดของขาเกิดการหมุนบิดของเอวและหลัง 3 ส่วน สัมพันธ์กันก่อให้เกิดการหยั่งรากที่เท้า ควบคุมด้วยเอวและรูปลักษณ์ที่นิ้วมือ ซึ่งมีการบิดเกลียวส่งมาเป็นทอด ๆ ในขณะที่ฝึกมวย ถ้าหากรู้สึกว่ามีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้อง หรือไม่มีพลัง ก็ให้ปรับเรื่องของฉันซือจิ้งในส่วนของเอวและขาก็จะแก้ไขได้ ดังนั้น การระมัดระวังและสนใจหลักสำคัญของร่างกาย ช่วยให้ตลอดร่างสัมพันธ์กัน การควบคุมหลักของฉันซือจิ้ง คือ หลักการในการฝึกในขั้น 2 เพื่อขจัดสิ่งขัดแย้งกันเองในร่างกายออกไปในตอนกลางของขั้นที่ 1xผู้ฝึกเริ่มการฝึกท่ามวยหลังจากคุ้นเคย และชำนาญในท่ามวย จะสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ฝีมือขั้นที่ 2 ถึงตอนนั้นจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรแปลกใหม่ ในขณะเดียวกันก็มักจะเกิดการเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เข้ายึดถือในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ฝึกจนเกิดการผิดเพี้ยนอย่างมาก หรือมีบางคราวฝึกแล้วรู้สึกว่าราบรื่นอย่ายิ่ง รู้สึกถึงพลังแต่พอถึงเวลาผลักมือกลับใช้ไม่ออก เป็นสาเหตุให้เกิดความหงุดหงิด กลุ้มใจขาดความมั่นใจ และพาลเลิกเสียกลางคัน จึงต้องอาศัยจิตใจที่สู้ไม่ถอยเท่านั้น โดยทั่วไปต้องใช้เวลา 4 ปี จึงจะสำเร็จฝีมือในขั้นที่ 2 บรรลุถึงระดับพลังเดินทะลุทลวงทั่วร่าง ถึงเวลานั้นความมันใจเต็มร้อยยิ่งฝึกยิ่งเพลิดเพลินถึงขั้นเลิกไม่ได้แล้ว
ในการใช้ต่อสู้ ฝีมือช่วงต้นขั้นที่ 2 กับขั้นที่ 1 มีผลเช่นเดียวกัน ใชัจริงไม่ค่อยได้ผล ในตอนปลายขั้นที่ 2 ซึ่งใกล้จะเข้าขั้นที่ 3 แล้ว การใช้ต่อสู้เริ่มมีผลแล้ว ส่วนช่วงกลางของขั้นที่ 2 การใช้ต่อสู้เป็นดังต่อไปนี้ การฝึกมวยและการผลักมือเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เวลาฝึกมวยมีปัญหาเช่นไร เวลาผลักมือย่อมพบปัญหาเช่นนั้น สิ่งสำคัญของมวยไท่เก๊ก คือ ตลอดทั่วร่างทำงานสัมพันธ์กัน ต้องไม่เคลื่อนไหวส่งเดชสะเปะสะปะ สิ่งสำคัญเวลาผลักมือคือ " เพ้งลี่จี่อั่ง (เผิงลวี่จี่อั้น) ต้องจำให้แม่น , บนล่างสัมพันธ์กันผู้อื่นอยากจะบุก , ถ้าเขาใช้พลังมาตีฉัน , นำเขาให้เคลื่อนใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง " การฝึกพลังฝีมือขั้นสองนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังแล่นทั่วร่าง , ปรับท่าร่างให้ถูกต้อง, บรรลุถึงขั้นการส่งพลังรับกันเป็นทอด ๆ หมายถึงการแก้ไขท่าร่างที่สะเปะสะปะรำแบบส่งเดช เนื่องจากเวลาผลักมือ ยังไม่สามารถควบคุมฝ่ายตรงข้ามได้ดังใจ คู่ต่อสู้ยังสามารถมองหาจุดอ่อนได้ หรือพยายามล่อหลอกให้คุณเกิดจุดบกพร่อง คือ เต้ง (ติ่ง-ค้ำ) , ปิ้ง (เปี่ยน-แบน) , ติว (ติว-ทิ้งห่าง) , ขั่ง (คั่ง-ต้าน) จนสามารถเอาชนะคุณได้ เพราะว่า เมื่อเวลาที่ผลักมือคู่ต่อสู้บุกเข้ามาใช้จุดอ่อนของคุณ ให้เป็นประโยชน์ทำให้คุณเสียสมดุลย์ หรือบังคับให้ต้องก้าวถอยแล้วใช้กำลังของคุณเพื่อแก้ไขการบุกเข้ามานั้น สรุปคือ พลังฝีมือในขั้นที่ 2 ไม่ว่าจะบุกเข้ากระทำหรือจะแก้ไขการจู่โจม เป็นการกระทำแบบฝืน ๆ และมักจะเป็นไปในลักษณะลงมือก่อนย่อมเป็นต่อ (ซึ่งผิดหลักของมวยไท่เก๊ก) ในช่วงนี้ยังไม่สามารถถึงจุด ที่เรียกว่าทิ้งตนเองเข้าร่วมกับผู้อื่น , อาศัยจังหวะในการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะสามารถแก้ไขการบุกได้ แต่ยังคงปรากฎจุดบกพร่องในเรื่องของค้ำ,แบน,ทิ้งห่าง และต้าน ด้วยเหตุนี้ ในยามผลักมือไม่สามารถใช้เพ้ง,ลี่,จี่,อั่ง ให้เหมาะสมกับโอกาสได้ จึงเรียขั้นนี้ว่า "2 อิม 8 เอี๊ยงมือสับสน "
ถ้าฝึกถึงขั้น 5 สงสัย
ผมชอบมากตอนวัยรุ่นไปดั้นด้นหาที่เรียน แต่อยู่ไกลไปเลยเรียนได้ครั้งเดียว
ประพันธ์โดย เฉินเสี่ยววั่ง (ตั่งเซียวอ๋วง)
เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster http://www.thaitaiji.com)
ขั้นที่ 1
การฝึกมวยไท่เก๊กต้องให้ร่างตั้งตรง , ให้พลังบนกระหม่อมเบาว่อง , ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตรง , เปิดสะโพกงอเข่า ฝึกจนพลังเคลื่อนต่ำลงและจมลงที่ตังชั้ง(ตันเถียน) แต่ผู้ที่เริ่มฝึกฝนยังไม่สามารถที่จะควบคุมหลักสำคัญเหล่านี้ได้หมด ต้องฝึกจากท่าเดี่ยวๆ เพื่อกำหนดทิศทาง , แง่มุม, ตำแหน่ง , ทิศทางการเคลื่อนของมือและเท้าให้ได้ ดังนั้น ในขั้นนี้ยังอย่าเพิ่งเน้นในเรื่องหลักของร่างกายมากเกินไป ควรเป็นไปแบบง่าย ๆ เช่น ศรีษะและร่างกายส่วนบนต้องมี ฮือเล้งเตงแก่ (พลังบนกระหม่อมเบาว่อง) , เก็บอกเอวตรง ในขั้นที่ 1 นี้เพียงต้องการให้ศรีษะตั้งตรงแบบธรรมชาติ , ร่างการตั้งตรง , ไม่เอนไปข้างหลังหรือก้มไปข้างหน้า , ไม่เอียงซ้ายหรือเอียงขวาก็ใช้ได้แล้ว เวลาฝึกมวยดูที่ร่างกายและแขนขา การเคลื่อนไหวแข็งกระด้าง , แข็งนอกในกลวง , มีการตีเร็ว พุ่งเร็ว,ขึ้นเร็ว , ลงเร็ว, มีพลังขาด , มีการค้ำ เหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงต้องการให้มุ่งมั่นในการฝึกฝนทุก ๆ วัน โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณครึ่งปี ก็จะคุ้นเคยกับท่ามวยทำให้การเคลื่อนไหวพัฒนาคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถค่อย ๆ ชักนำลมปราณในร่างกายให้เคลื่อนไหวตามร่างกายและแขนขาได้ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนของท่าร่างภายนอกชักนำลมปราณภายในได้ เมื่อชำนาญมากขึ้นยังสามารถค่อย ๆ เข้าสู่วิถีแห่งแรงรู้ได้ นี่คือฝีมือขั้นที่ 1
ในขั้นนี้ ความสามารถในการใช้ต่อสู้ยังจำกัดอย่างมาก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของร่างกายยังไม่สอดคล้องและรับกัน การเคลื่อนไหวยังไม่เป็นระบบ ท่าร่างยังไม่ได้มาตราฐานยังคงมีแรงกระด้างอยู่ , มีพลังขาด , แรงทิ้ง(ห่าง) , แรงค้ำ ท่ามวยยังมีจุดที่ยุบและนูนลมปราณภายในเพิ่งจะมีความรู้สึกได้ ไม่สามารถให้ลมปราณเคลื่อนอย่างปลอดโปร่งจนสามารถส่งพลังออกไปได้ พลังนั้นไม่ได้ขึ้นมาจากเท้าที่หยั่งรากขึ้นมาสู่ขา,ควบคุมโดยเอว แต่เป็นไปโดย เป็นพลังที่ไม่ได้รับมาเป็นทอดแต่เป็นการกระโดดจากข้อต่อหนึ่งสู่อีกข้อต่อหนึ่ง ดังนั้นในขั้นที่ 1 นี้ยังไม่สามารถใช้ในการต่อสู้ได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกยุทธ์ย่อมคล่องแคล่วกว่า ถึงแม้ว่าท่วงท่ายังไม่ปราดเปรียว แต่พอรู้หลักการผ่อนแรงและทำให้คู่ต่อสู้เสียหลักอยู่บ้าง จึงทำให้มีบางครั้งสามารถตีคู่ต่อสู้ได้แต่ตัวเองก็ยังยากที่จะสามารถรักษาความสมดุลย์ของร่างกายไว้ได้ ดังนั้นจึงเรียกขั้นนี้ว่า " 1 อิม 9 เอี๊ยง เหมือนท่อนไม้ " อะไรคืออิมเอี๊ยง(อินหยาง) ในหลักของมวยไท่เก็ก ว่างคืออิม , เต็มคือเอี๊ยง , รวมคืออิม , แยกคือเอี๊ยง , หยุ่นคืออิม , แกร่งคือเอี๊ยง อิมและเอี๊ยงคือสิ่งตรงกันข้ามที่เป็นสหภาพกัน ขาดอย่างหนึ่งไม่ได้ สองสิ่งนี้ต้องผสมผสานเข้าด้วยกัน เอาสองอย่างนี้(อิมเอี๊ยง) มาแบ่งเป็น 10 ส่วน ฝึกจนถึงขั้น อิมเอี๊ยงได้ดุลยภาพ กล่าวคือ อิม 5 ส่วน และ เอี๊ยง 5 ส่วน นี่คือฝึกฝนได้จนบรรลุความสำเร็จที่มาตราฐาน ขั้นที่ 1 นี้ " 1 อิม 9 เอี๊ยง " แกร่งมากหยุ่นน้อย อิมเอี๊ยงขาดดุลยภาพ ไม่สามารถใช้(ต่อสู้)ได้ดังใจนึก ดังนั้นผู้ฝึกที่อยู่ช่วงขั้นที่ 1 นี้อย่าเพิ่งไปสนใจกับการใช้ต่อสู้
ขั้นที่ 2
ตั้งแต่ปลายขั้นที่ 1 จนถึงช่วงต้นของขั้นที่ 3 ผู้ฝึกเริ่มจะมีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายใน นี่คือขั้นที่ 2 ในขั้นนี้สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือ ในขณะฝึกฝนสามารถที่จะขจัดความกระด้างของร่าง , การทิ้ง , การค้ำ , ความไม่กลมกลืนของท่าได้ทำให้ลมปราณภายในสามารถโคจรได้อย่างเป็นแบบแผน ภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน หลังจากสำเร็จขั้นที่ 1 มาแล้ว แม้ว่าจะคุ้นเคยกับหลักพื้นฐาน ของการฝึกฝนท่วงท่า มีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนของลมปราณในร่างกายได้ ซึ่งมีอยู่ 2 สาเหตุ
สาเหตุแรก คือ ยังไม่สามารถควบคุมองค์ประกอบของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานได้ เช่น เก็บอกเกินไปจนทำให้เอวงอหลังโกง เอวตรงเกินไปจนทำให้ก้นยื่นและอกเบ่งออก ด้วยเหตุนี้จำต้องพัฒนาอีกขั้นอย่างเข้มงวดให้สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นแบบแผนที่แน่นอน แก้ไขส่วนที่ขัดแย้งกันเองให้เป็นหนึ่งเดียว จนถึงขั้นสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย (สัมพันธ์มีสัมพันธ์ภายในและสัมพันธ์ภายนอกสัมพันธ์ภายในมี-จิตกับความตั้งใจสัมพันธ์,ลมปราณกับพลังสัมพันธ์ , เอ็นกับกระดูกสัมพันธ์ สัมพันธ์ภายนอกมี-มือกับเท้าสัมพันธ์ , ศอกกับเข่าสัมพันธ์ , ไหล่กับสะโพกสัมพันธ์ ) ทั้งภายในและภายนอก แยกพร้อมกัน ในแยกมีรวมอยู่ด้วยกัน , ในรวมมีแยก หนึ่งรวมหนึ่งแยก แยกและรวมรับกัน
สาเหตุที่ 2 คือ ในเวลาฝึกฝนมักจะเกิดการเอาใจใส่ในส่วนหนึ่งแต่ขาดการเอาใจใส่ในส่วนอื่น กล่าวคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง มีส่วนหนึ่งของร่างกายเคลื่อนไหวเร็วกว่า ผ่านไปแล้วเกิดแรงค้ำ อีกส่วนของร่างกายช้ากว่ายังไม่ถึงเกิดการทิ้งขาดช่วง ทั้ง 2 สาเหตุนี้ เป็นการละเมิดกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหว ของมวยไท่เก๊ก จุดสำคัญของมวยไท่เก๊กคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง ๆ จะไม่ทิ้ง ตี่ซีแก่(ฉันซือจิ้ง) ในทฤษฎีมวยกล่าวไว้ว่า " ฉันซือจิ้งมีต้นกำเนิดจากไต มีอยู่ในทุกส่วน(ของร่างกาย) ไม่มีเวลาไหนที่ไม่มี(ฉันซื้อจิ้ง) " ในแนวทางการฝึกมวยไท่เก็กอย่างเข้มงวดเพื่อบรรลุถึงฉันซื้อจิ้ง จุดสำคัญอยู่ที่ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตั้งตรง, เปิดสะโพกงอเข่า เป็นต้น ใช้เอวเป็นแกนกลางข้อต่อแต่ละข้อรับกันเป็นช่วง ๆ มือหมุนเข้าข้างในใช้มือนำศอก, ใช้ศอกนำไหล่ , ใช้ไหล่นำเอว (แต่แท้จริงแล้วเอวยังคงเป็นหมุนหลักอยู่ดี) เวลามือหมุนออกข้างนอกใช้เอวผลักดันไหล่ , ใช้ไหล่ผลักดันศอก , ใช้ศอกผลักดันมือ ก่อให้เกิดการหมุนบิดของแขน และการหมุนบิดของขาเกิดการหมุนบิดของเอวและหลัง 3 ส่วน สัมพันธ์กันก่อให้เกิดการหยั่งรากที่เท้า ควบคุมด้วยเอวและรูปลักษณ์ที่นิ้วมือ ซึ่งมีการบิดเกลียวส่งมาเป็นทอด ๆ ในขณะที่ฝึกมวย ถ้าหากรู้สึกว่ามีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้อง หรือไม่มีพลัง ก็ให้ปรับเรื่องของฉันซือจิ้งในส่วนของเอวและขาก็จะแก้ไขได้ ดังนั้น การระมัดระวังและสนใจหลักสำคัญของร่างกาย ช่วยให้ตลอดร่างสัมพันธ์กัน การควบคุมหลักของฉันซือจิ้ง คือ หลักการในการฝึกในขั้น 2 เพื่อขจัดสิ่งขัดแย้งกันเองในร่างกายออกไปในตอนกลางของขั้นที่ 1xผู้ฝึกเริ่มการฝึกท่ามวยหลังจากคุ้นเคย และชำนาญในท่ามวย จะสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ฝีมือขั้นที่ 2 ถึงตอนนั้นจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรแปลกใหม่ ในขณะเดียวกันก็มักจะเกิดการเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เข้ายึดถือในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ฝึกจนเกิดการผิดเพี้ยนอย่างมาก หรือมีบางคราวฝึกแล้วรู้สึกว่าราบรื่นอย่ายิ่ง รู้สึกถึงพลังแต่พอถึงเวลาผลักมือกลับใช้ไม่ออก เป็นสาเหตุให้เกิดความหงุดหงิด กลุ้มใจขาดความมั่นใจ และพาลเลิกเสียกลางคัน จึงต้องอาศัยจิตใจที่สู้ไม่ถอยเท่านั้น โดยทั่วไปต้องใช้เวลา 4 ปี จึงจะสำเร็จฝีมือในขั้นที่ 2 บรรลุถึงระดับพลังเดินทะลุทลวงทั่วร่าง ถึงเวลานั้นความมันใจเต็มร้อยยิ่งฝึกยิ่งเพลิดเพลินถึงขั้นเลิกไม่ได้แล้ว
ในการใช้ต่อสู้ ฝีมือช่วงต้นขั้นที่ 2 กับขั้นที่ 1 มีผลเช่นเดียวกัน ใชัจริงไม่ค่อยได้ผล ในตอนปลายขั้นที่ 2 ซึ่งใกล้จะเข้าขั้นที่ 3 แล้ว การใช้ต่อสู้เริ่มมีผลแล้ว ส่วนช่วงกลางของขั้นที่ 2 การใช้ต่อสู้เป็นดังต่อไปนี้ การฝึกมวยและการผลักมือเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เวลาฝึกมวยมีปัญหาเช่นไร เวลาผลักมือย่อมพบปัญหาเช่นนั้น สิ่งสำคัญของมวยไท่เก๊ก คือ ตลอดทั่วร่างทำงานสัมพันธ์กัน ต้องไม่เคลื่อนไหวส่งเดชสะเปะสะปะ สิ่งสำคัญเวลาผลักมือคือ " เพ้งลี่จี่อั่ง (เผิงลวี่จี่อั้น) ต้องจำให้แม่น , บนล่างสัมพันธ์กันผู้อื่นอยากจะบุก , ถ้าเขาใช้พลังมาตีฉัน , นำเขาให้เคลื่อนใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง " การฝึกพลังฝีมือขั้นสองนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังแล่นทั่วร่าง , ปรับท่าร่างให้ถูกต้อง, บรรลุถึงขั้นการส่งพลังรับกันเป็นทอด ๆ หมายถึงการแก้ไขท่าร่างที่สะเปะสะปะรำแบบส่งเดช เนื่องจากเวลาผลักมือ ยังไม่สามารถควบคุมฝ่ายตรงข้ามได้ดังใจ คู่ต่อสู้ยังสามารถมองหาจุดอ่อนได้ หรือพยายามล่อหลอกให้คุณเกิดจุดบกพร่อง คือ เต้ง (ติ่ง-ค้ำ) , ปิ้ง (เปี่ยน-แบน) , ติว (ติว-ทิ้งห่าง) , ขั่ง (คั่ง-ต้าน) จนสามารถเอาชนะคุณได้ เพราะว่า เมื่อเวลาที่ผลักมือคู่ต่อสู้บุกเข้ามาใช้จุดอ่อนของคุณ ให้เป็นประโยชน์ทำให้คุณเสียสมดุลย์ หรือบังคับให้ต้องก้าวถอยแล้วใช้กำลังของคุณเพื่อแก้ไขการบุกเข้ามานั้น สรุปคือ พลังฝีมือในขั้นที่ 2 ไม่ว่าจะบุกเข้ากระทำหรือจะแก้ไขการจู่โจม เป็นการกระทำแบบฝืน ๆ และมักจะเป็นไปในลักษณะลงมือก่อนย่อมเป็นต่อ (ซึ่งผิดหลักของมวยไท่เก๊ก) ในช่วงนี้ยังไม่สามารถถึงจุด ที่เรียกว่าทิ้งตนเองเข้าร่วมกับผู้อื่น , อาศัยจังหวะในการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะสามารถแก้ไขการบุกได้ แต่ยังคงปรากฎจุดบกพร่องในเรื่องของค้ำ,แบน,ทิ้งห่าง และต้าน ด้วยเหตุนี้ ในยามผลักมือไม่สามารถใช้เพ้ง,ลี่,จี่,อั่ง ให้เหมาะสมกับโอกาสได้ จึงเรียขั้นนี้ว่า "2 อิม 8 เอี๊ยงมือสับสน "