"มีข้อสอบง่ายๆ (แต่คลาสสิก) 1 ข้อ มาให้ทุกท่านตอบ"

กระทู้สนทนา
วันนี้ขอสวมบทอาจารย์เก่าสักครั้ง  คำถามเป็นอย่างนี้ครับ

ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ก. ประธานองคมนตรี

ข. ประธานรัฐสภา

ค. ประธานวุฒิสภา

ง. ประธานสภาผู้แทนราษฎร

จ. บุคคลใดก็ได้ในข้อ ก.,ข้อ ข.,ข้อ ค.,ข้อ ง. ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

จากคำถาม เชื่อว่า คนที่สอบแข่งขัน หากไม่ได้อ่านมาอย่างชัดเจน  คงเลือกตอบไม่ถูก หรือ อาจลังเล  และเชื่อว่าหากจะเลือกเดา ก็น่าจะเลือก
คำตอบข้อ ข. คือ ประธานรัฐสภา  แต่หลายท่านในห้องนี้คงจะทราบว่า     ผู้ที่ลงนามรับสนองพระราชโองการฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คือ
ประธานสภาผู้แทนราษฏร

คราวนี้มาดูสถานการณ์ในปัจจุบัน  มีความพยายามจะให้  "ว่าที่" ประธานวุฒิสภาเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หรือ จะนายกฯคนกลางอะไรก็ตาม  จึงอยากจะถามว่า แล้วใครจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกฯคนที่เสนอนั้น  คำตอบ ก็คือพวกเขาก็จะให้ประธานวุฒิสภานั่นไง  แล้วมันถูก หรือ ผิด  ที่ทำอย่างนั้น  มันผิดอย่างชัดเจนที่สุด เพราะประธานวุฒิสภา ไม่ใช่ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ยังไงก็ไม่สามารถเป็นได้ไม่ว่าจะอ้างว่า สามารถดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา(เนื่องจากตอนนี้ว่าง) ได้เช่นเดียวกับตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร

ดังนั้น  แผนการเสนอชื่อนายกฯคนใหม่ในตอนนี้  "ฟันธง" ว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด  เพราะการเสนอเรื่องใดๆที่จะให้ "ในหลวง" ทรงลง
พระปรมาภิไธย นั้น  ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องกลั่นกรองเป็นอย่างดี จะมีการผิดพลาดไม่ได้  เปรียบเทียบให้เห็นชัด เช่น  เลขาฯหน้าห้องผู้ว่าราชการ
จังหวัด รู้ว่าเรื่องที่จะเสนอให้ผู้ว่าฯเซ็นต์นั้นมันผิด ก็คงไม่กล้าเสนอเข้าไป  แล้วเรื่องใหญ่ขนาดนี้  ผู้มีหน้าที่โดยตรงอย่าง สำนักงานราชเลขาธิการ จะปล่อยเรื่องที่ผิดพลาดอย่างมาก ผิดกฎหมายด้วย หลุดเข้าไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้

ประเทศไทยในตอนนี้ อะไรที่นึกไม่ถึงเกิดขึ้นให้เห็นได้เสมอ  แต่ผมยังเชื่อว่า เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด  จะ "ฟันทอม"  "ฟันธง" หรือ "ฟันเหยิน"
อะไรก็ตาม

.(แก้ไขคำผิด)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่