การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ลักษณะโครงการ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ : มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอด เส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางด้านทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง มีสถานียกระดับ 9 สถานี ดังนี้
E15-สถานีสำโรง
ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับแยกเทพารักษ์
E16-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย
ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 115
E17-สถานีเอราวัณ
ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 7
E18-สถานีโรงเรียนนายเรือ
ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนนายเรือ
E19-สถานีสมุทรปราการ
ต้งอยู่หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
E20-สถานีศรีนครินทร์
ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้ง
E21-สถานีแพรกษา
ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสมุทรปราการ
E22-สถานีสายลวด
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45
E23-สถานีเคหะสมุทรปราการ
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 50
ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร (Depot / Park & Ride)
ศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 123 ไร่ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการหลังสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง ประกอบด้วย อาคารบริหารและศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการเดินรถ อาคารซ่อมบำรุงหลัก อาคารจอดรถไฟฟ้ารางทดสอบ และอาคารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ รฟม. ได้จัดให้มีอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง ที่บริเวณสถานีเคหะสมุทรปราการ ริมถนนสุขุมวิท เนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ สามารถจอดรถรวมได้ ทั้งหมดประมาณ 1,200 คัน
ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)
อาคารที่จอดรถ (Park & Ride)
รูปตัดของสถานีแบบทั่วไป
รูปแบบโครงสร้างสถานี
รูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร และอนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และค้ำ ประกันเงินกู้ดังกล่าว และให้ สำนักงบประมาณจัดหางบประมาณตามความจำเป็น และเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายจริง โดยรัฐบาลรับภาระด้านการลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) เพิ่มเติมไปทางด้านเหนือที่ปัจจุบันเส้นทางสิ้นสุดบริเวณ สวนจตุจักร ส่วนช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต่อ ขยายโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว (BTS) เพิ่มเติมไปทางด้านใต้ที่ปัจจุบันเส้นทางสิ้นสุดบริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณผู้โดยสารทั้งระบบเพิ่มสูงขึ้น
มูลค่าโครงการ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 28,659.3 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น
ค่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติ 2.5 ล้านบาท
ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
ค่าจ้างที่ปรึกษาคัดเลือกผู้รับจ้างงานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้า 14.0 ล้านบาท
ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 5.8 ล้านบาท
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,305.0 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (งานโยธา) 605.0 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (งานระบบรถไฟฟ้า) 365.0 ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา 17,233.0 ล้านบาท
ค่างานระบบรถไฟฟ้า 9,129.0 ล้านบาท
รวม 28,659.3 ล้านบาท
แผนดำเนินงาน ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ
เริ่มงานก่อสร้าง : กุมภาพันธ์ 2555
เปิดให้บริการ : เมษายน 2560
(เป็นแผนงานปรับปรุงซึ่ง คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติรับทราบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555)
โครงการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
ลักษณะโครงการ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ : มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอด เส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางด้านทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง มีสถานียกระดับ 9 สถานี ดังนี้
E15-สถานีสำโรง
ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับแยกเทพารักษ์
E16-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย
ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 115
E17-สถานีเอราวัณ
ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 7
E18-สถานีโรงเรียนนายเรือ
ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนนายเรือ
E19-สถานีสมุทรปราการ
ต้งอยู่หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
E20-สถานีศรีนครินทร์
ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้ง
E21-สถานีแพรกษา
ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสมุทรปราการ
E22-สถานีสายลวด
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45
E23-สถานีเคหะสมุทรปราการ
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 50
ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร (Depot / Park & Ride)
ศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 123 ไร่ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการหลังสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง ประกอบด้วย อาคารบริหารและศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการเดินรถ อาคารซ่อมบำรุงหลัก อาคารจอดรถไฟฟ้ารางทดสอบ และอาคารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ รฟม. ได้จัดให้มีอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง ที่บริเวณสถานีเคหะสมุทรปราการ ริมถนนสุขุมวิท เนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ สามารถจอดรถรวมได้ ทั้งหมดประมาณ 1,200 คัน
ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)
อาคารที่จอดรถ (Park & Ride)
รูปตัดของสถานีแบบทั่วไป
รูปแบบโครงสร้างสถานี
รูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร และอนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และค้ำ ประกันเงินกู้ดังกล่าว และให้ สำนักงบประมาณจัดหางบประมาณตามความจำเป็น และเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายจริง โดยรัฐบาลรับภาระด้านการลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) เพิ่มเติมไปทางด้านเหนือที่ปัจจุบันเส้นทางสิ้นสุดบริเวณ สวนจตุจักร ส่วนช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต่อ ขยายโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว (BTS) เพิ่มเติมไปทางด้านใต้ที่ปัจจุบันเส้นทางสิ้นสุดบริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณผู้โดยสารทั้งระบบเพิ่มสูงขึ้น
มูลค่าโครงการ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 28,659.3 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น
ค่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติ 2.5 ล้านบาท
ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
ค่าจ้างที่ปรึกษาคัดเลือกผู้รับจ้างงานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้า 14.0 ล้านบาท
ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 5.8 ล้านบาท
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,305.0 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (งานโยธา) 605.0 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (งานระบบรถไฟฟ้า) 365.0 ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา 17,233.0 ล้านบาท
ค่างานระบบรถไฟฟ้า 9,129.0 ล้านบาท
รวม 28,659.3 ล้านบาท
แผนดำเนินงาน ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ
เริ่มงานก่อสร้าง : กุมภาพันธ์ 2555
เปิดให้บริการ : เมษายน 2560
(เป็นแผนงานปรับปรุงซึ่ง คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติรับทราบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555)