เนื่องในวโรกาสดิถีวันวิสาขบูชา เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงวันที่มีเรื่องราวสำคัญๆ คือ เป็นวันประสูติ เป็นวันตรัสรู้ และเป็นวันปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทำให้เราชาวพุทธพึงต้องจดจำนำมาพิจารณา เพื่อปฏิบัติบูชาธรรมตามสมควรแก่ธรรมในกาลอันควร โดยเฉพาะในข้อที่ว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้นั้น เป็นหัวข้อธรรมที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบว่า
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้เรื่องอะไร?
เมื่อได้ศึกษาพระธรรมตามพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมเข้าใจและรู้ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ "สัจธรรม" เป็นธรรมนำไปสู่ความจริงแท้ ที่เรียกว่า
"อริยสัจ ๔" คือ สัจธรรมความจริงแท้ที่นำไปสู่ความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ มีดังนี้คือ
๑.ทุกข์
๒.สมุทัย
๓.นิโรธ
๔.มรรค
กล่าวคือ
ทุกข์ พึงกำหนดรู้(ปริญฺเญยฺยํ)
สมุทัย รู้แล้วพึงละ(ปหาตพฺพํ)
นิโรธ พึงกระทำให้แจ้ง(สจฺฉิกาตพฺพํ)
มรรค พึงเจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆขึ้น(ภาเวตพฺพํ)
ทั้งหมดนี้ข้อใหญ่ใจความสำคัญรวมลงที่ข้อ ๔
"อริยมรรค" คือ ทางปฏิบัติ(เดิน)ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลที่จิตของตน ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว (พระพุทธพจน์) เพิ่อความรอบคอบโดยไม่ประมาท พึงนำข้อธรรมมาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงว่าลงกันได้กับหัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า
"โอวาทปาฏิโมกข์" คือ
๑.ละชั่ว
๒.ทำความดี
๓.ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าทั้งหลาย
ทั้ง ๓ ข้อที่ได้กล่าวมานี้ ล้วนเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมทาง "จิตของตน" (มรรค) ล้วนๆ
ข้อที่ว่า
มรรค พึงเจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆขึ้น นั้น เป็นไปเพื่อชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายนั่นเอง เพื่อให้จิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง อันเป็นการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ที่เรียกว่า "
อานาปานสติ" เมื่อกระทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมยังให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ (พระพุทธพจน์)
เมื่อพูดถึงการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เป็นเรื่อง
การปฏิบัติธรรมทาง "จิตของตน" มีทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว (พระพุทธพจน์) เราย่อมต้องศึกษาให้รู้จัก คำว่า "จิต" นั้น คืออะไร? มีสภาวะธรรมเช่นใด ขอยกพระพุทธพจน์ที่เป็นพระบาลีที่ได้ทรงตรัสไว้ชัดๆว่า
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ เย จิตฺตํ, สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้ใดสำรวมจิตซึ่งมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลๆได้
ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัย นี้ไว้ได้แล้ว
ผู้นั้นย่อมพ้นจากการพันธนาการของมาร(คือกิเลส)ได้
จากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น แต่เพื่อเป็นการพิจารณาให้รอบคอบ และเพื่อป้องกันความสับสนที่จะเกิดขึ้นในภายหลังในเรื่องของ"จิต" เนื่องจากจิตเองไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่มีรูปร่างกายเนื้อเป็นที่อยู่อาศัย(ถ้ำ)
จิตผู้รู้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในทุกๆคน คนละดวง ส่วน "จิตมาร หรือ สังขารมาร" มีอยู่มากมายเป็นร้อยดวง (หลวงปู่สิม พุทธจาโร) จิตดังกล่าวนี้เราเรียกว่า "จิตสังขารหรืออาการของจิต" นั่นเอง
ที่เราสามารถพูดได้ว่า ใครมี "จิตใจดีงาม หรือ จิตใจต่ำช้าเลวทราม"นั้น เกิดจากการเราที่ได้สังเกตเห็นอาการของจิต(จิตสังขาร) ที่แสดงออกมาให้เห็นทางกาย วาจา ใจ ประจักษ์ชัดด้วยอายตนะภายในของตน
แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? จึงจะสำรวมจิตที่มีดวงเดียว เที่ยวไปสู่ทีไกล เปลี่ยนแปรเป็นไปตามอารมณ์ที่มากระทบ อารมณ์ที่เป็นกุศลก็เป็นกุศลจิต อารมณ์ที่เป็นอกุศลก็เป็นอกุศลจิต หรืออัพยากฤตคือจิตยังไม่รู้จักอารมณ์นั้นๆ จึงรู้สึกเฉยๆ ที่เรียกเฉยโง่อยู่
เมื่อพิจารณาตามข้อธรรมที่มีมาใน
อริยมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธองค์ทรงยกให้ "สัมมาสมาธิ" เป็นใหญ่ แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์ และมรรคทั้ง ๗ ที่แวดล้อม "สัมมาสมาธิ" อยู่นั้น พระพุทธองค์ทรงยกให้ "สัมมาทิฐิ" เป็นประธาน (มหาจัตตารีสกสูตร)
การปฏิบัติธรรมกรรมฐานใน "สัมมาสมาธิ" หรือที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา คือการฝึกฝนอบรมสำรวมจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากการพันธนาการของมาร(คือกิเลส) นั่นเอง
เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต
สำรวมจิตที่มีดวงเดียวในวันวิสาขบูชา
เนื่องในวโรกาสดิถีวันวิสาขบูชา เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงวันที่มีเรื่องราวสำคัญๆ คือ เป็นวันประสูติ เป็นวันตรัสรู้ และเป็นวันปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทำให้เราชาวพุทธพึงต้องจดจำนำมาพิจารณา เพื่อปฏิบัติบูชาธรรมตามสมควรแก่ธรรมในกาลอันควร โดยเฉพาะในข้อที่ว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้นั้น เป็นหัวข้อธรรมที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้เรื่องอะไร?
เมื่อได้ศึกษาพระธรรมตามพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมเข้าใจและรู้ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ "สัจธรรม" เป็นธรรมนำไปสู่ความจริงแท้ ที่เรียกว่า "อริยสัจ ๔" คือ สัจธรรมความจริงแท้ที่นำไปสู่ความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ มีดังนี้คือ
๑.ทุกข์
๒.สมุทัย
๓.นิโรธ
๔.มรรค
กล่าวคือ
ทุกข์ พึงกำหนดรู้(ปริญฺเญยฺยํ)
สมุทัย รู้แล้วพึงละ(ปหาตพฺพํ)
นิโรธ พึงกระทำให้แจ้ง(สจฺฉิกาตพฺพํ)
มรรค พึงเจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆขึ้น(ภาเวตพฺพํ)
ทั้งหมดนี้ข้อใหญ่ใจความสำคัญรวมลงที่ข้อ ๔ "อริยมรรค" คือ ทางปฏิบัติ(เดิน)ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลที่จิตของตน ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว (พระพุทธพจน์) เพิ่อความรอบคอบโดยไม่ประมาท พึงนำข้อธรรมมาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงว่าลงกันได้กับหัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" คือ
๑.ละชั่ว
๒.ทำความดี
๓.ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าทั้งหลาย
ทั้ง ๓ ข้อที่ได้กล่าวมานี้ ล้วนเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมทาง "จิตของตน" (มรรค) ล้วนๆ
ข้อที่ว่า มรรค พึงเจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆขึ้น นั้น เป็นไปเพื่อชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายนั่นเอง เพื่อให้จิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง อันเป็นการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ที่เรียกว่า "อานาปานสติ" เมื่อกระทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมยังให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ (พระพุทธพจน์)
เมื่อพูดถึงการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมทาง "จิตของตน" มีทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว (พระพุทธพจน์) เราย่อมต้องศึกษาให้รู้จัก คำว่า "จิต" นั้น คืออะไร? มีสภาวะธรรมเช่นใด ขอยกพระพุทธพจน์ที่เป็นพระบาลีที่ได้ทรงตรัสไว้ชัดๆว่า
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ เย จิตฺตํ, สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้ใดสำรวมจิตซึ่งมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลๆได้
ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัย นี้ไว้ได้แล้ว
ผู้นั้นย่อมพ้นจากการพันธนาการของมาร(คือกิเลส)ได้
จากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น แต่เพื่อเป็นการพิจารณาให้รอบคอบ และเพื่อป้องกันความสับสนที่จะเกิดขึ้นในภายหลังในเรื่องของ"จิต" เนื่องจากจิตเองไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่มีรูปร่างกายเนื้อเป็นที่อยู่อาศัย(ถ้ำ) จิตผู้รู้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในทุกๆคน คนละดวง ส่วน "จิตมาร หรือ สังขารมาร" มีอยู่มากมายเป็นร้อยดวง (หลวงปู่สิม พุทธจาโร) จิตดังกล่าวนี้เราเรียกว่า "จิตสังขารหรืออาการของจิต" นั่นเอง
ที่เราสามารถพูดได้ว่า ใครมี "จิตใจดีงาม หรือ จิตใจต่ำช้าเลวทราม"นั้น เกิดจากการเราที่ได้สังเกตเห็นอาการของจิต(จิตสังขาร) ที่แสดงออกมาให้เห็นทางกาย วาจา ใจ ประจักษ์ชัดด้วยอายตนะภายในของตน
แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? จึงจะสำรวมจิตที่มีดวงเดียว เที่ยวไปสู่ทีไกล เปลี่ยนแปรเป็นไปตามอารมณ์ที่มากระทบ อารมณ์ที่เป็นกุศลก็เป็นกุศลจิต อารมณ์ที่เป็นอกุศลก็เป็นอกุศลจิต หรืออัพยากฤตคือจิตยังไม่รู้จักอารมณ์นั้นๆ จึงรู้สึกเฉยๆ ที่เรียกเฉยโง่อยู่
เมื่อพิจารณาตามข้อธรรมที่มีมาใน อริยมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธองค์ทรงยกให้ "สัมมาสมาธิ" เป็นใหญ่ แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์ และมรรคทั้ง ๗ ที่แวดล้อม "สัมมาสมาธิ" อยู่นั้น พระพุทธองค์ทรงยกให้ "สัมมาทิฐิ" เป็นประธาน (มหาจัตตารีสกสูตร)
การปฏิบัติธรรมกรรมฐานใน "สัมมาสมาธิ" หรือที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา คือการฝึกฝนอบรมสำรวมจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากการพันธนาการของมาร(คือกิเลส) นั่นเอง
เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต