เขาเหล่านี้ใช้ชื่อกลุ่มว่า " กลุ่มหมอรักประชาธิปไตย "
ต้องขอชื่นชมครับที่กล้าแสดงตัว แม้จะมีจำนวนแค่หลักพัน แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะออกมาต่อสู้ร่วมกันเพื่อปกป้องความถูกต้องของระบบประชาธิปไตย
เพราะหน้าที่การปกป้องประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยทุกคน
เว็บไซต์ ข่าวสดออนไลน์ รายงานรายละเอียดเพิ่มเติมว่า กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นพ.ภีศเดช สัมมานันท์ รศ.นพ.ไตรจักร ซันดู และ นพ.ดิเรก บรรณจักร์ ออกแถลงการณ์ในนามกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ว่า กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล และวิชาชีพสาธารณสุขด้านอื่นๆ จำนวนกว่า 1,200 คน ทั่วประเทศ ห่วงใยต่อสถานการณ์ของประเทศที่ยังมีความขัดแย้งกันอย่างสูงตลอด 6-7 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสงบลง ทั้งยังอาจจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต
แถลงการณ์ระบุว่า 1. ขอสนับสนุนให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานของรัฐ มีความเป็นกลางทางการเมือง ปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา และทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ตามรัฐธรรมนูญ และตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ประชาชนมีขวัญกำลังใจและมีที่พึ่งในสถานการณ์ในปัจจุบัน
2. เราปฏิเสธนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีรักษาการ ต้องปฏิบัติงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ไม่มีอำนาจหน้าที่เต็มในการดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศ จนสภาวะเศรษฐกิจเริ่มถดถอย และการปล่อยให้การเลือกตั้งเนิ่นช้าออกไปจะทำให้ความขัดแย้งในสังคมขยายวงกว้างยิ่งขึ้น
3. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ผู้บังคับใช้กฎหมาย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พิจารณากฎหมายตามลายลักษณ์อักษร หลีกเลี่ยงการใช้อคติและความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจทำให้มีการโน้มเอียงไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายยอมรับ เกิดความเคลือบแคลงสงสัย และยิ่งเพิ่มความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด
4. ขอให้รัฐบาลรับตัวแทนของสหประชาชาติหรือตัวแทนของสหภาพยุโรป เป็นคนกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เนื่องจากปัจจุบันไม่มีคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับ ทั้งสององค์กรดังกล่าวก็เคยแสดงเจตจำนงมาก่อนหน้านี้ในการเป็นตัวกลางในการเจรจา เฝ้าระวังความรุนแรง และสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพื่อให้ทุกฝ่ายหันมาวิธีแก้ปัญหาตามครรลองในระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมาย สันติ และนำความสงบกลับคืนสู่ประเทศ และ 5 เรียกร้องให้รัฐบาลทำคำประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไม่อาจทำคำวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปได้ ฝ่ายต่างๆอาจเลือกใช้วิธีรุนแรงต่อกัน การยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศจะเป็นการป้องปรามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้ความรุนแรงต่อกัน
ขอคารวะ และยินดีต้อนรับเข้าสู่กระบวนการต่อต้านเผด็จการ เพื่อปกป้องประชาธิปไตยครับ
.
ขอบคุณ คุณหมอและ จนท สาธารณสุขที่ออกมาต่อต้าน " นายกฯเถื่อน "
ต้องขอชื่นชมครับที่กล้าแสดงตัว แม้จะมีจำนวนแค่หลักพัน แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะออกมาต่อสู้ร่วมกันเพื่อปกป้องความถูกต้องของระบบประชาธิปไตย
เพราะหน้าที่การปกป้องประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยทุกคน
เว็บไซต์ ข่าวสดออนไลน์ รายงานรายละเอียดเพิ่มเติมว่า กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นพ.ภีศเดช สัมมานันท์ รศ.นพ.ไตรจักร ซันดู และ นพ.ดิเรก บรรณจักร์ ออกแถลงการณ์ในนามกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ว่า กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล และวิชาชีพสาธารณสุขด้านอื่นๆ จำนวนกว่า 1,200 คน ทั่วประเทศ ห่วงใยต่อสถานการณ์ของประเทศที่ยังมีความขัดแย้งกันอย่างสูงตลอด 6-7 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสงบลง ทั้งยังอาจจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต
แถลงการณ์ระบุว่า 1. ขอสนับสนุนให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานของรัฐ มีความเป็นกลางทางการเมือง ปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา และทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ตามรัฐธรรมนูญ และตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ประชาชนมีขวัญกำลังใจและมีที่พึ่งในสถานการณ์ในปัจจุบัน
2. เราปฏิเสธนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีรักษาการ ต้องปฏิบัติงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ไม่มีอำนาจหน้าที่เต็มในการดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศ จนสภาวะเศรษฐกิจเริ่มถดถอย และการปล่อยให้การเลือกตั้งเนิ่นช้าออกไปจะทำให้ความขัดแย้งในสังคมขยายวงกว้างยิ่งขึ้น
3. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ผู้บังคับใช้กฎหมาย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พิจารณากฎหมายตามลายลักษณ์อักษร หลีกเลี่ยงการใช้อคติและความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจทำให้มีการโน้มเอียงไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายยอมรับ เกิดความเคลือบแคลงสงสัย และยิ่งเพิ่มความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด
4. ขอให้รัฐบาลรับตัวแทนของสหประชาชาติหรือตัวแทนของสหภาพยุโรป เป็นคนกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เนื่องจากปัจจุบันไม่มีคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับ ทั้งสององค์กรดังกล่าวก็เคยแสดงเจตจำนงมาก่อนหน้านี้ในการเป็นตัวกลางในการเจรจา เฝ้าระวังความรุนแรง และสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพื่อให้ทุกฝ่ายหันมาวิธีแก้ปัญหาตามครรลองในระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมาย สันติ และนำความสงบกลับคืนสู่ประเทศ และ 5 เรียกร้องให้รัฐบาลทำคำประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไม่อาจทำคำวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปได้ ฝ่ายต่างๆอาจเลือกใช้วิธีรุนแรงต่อกัน การยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศจะเป็นการป้องปรามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้ความรุนแรงต่อกัน
ขอคารวะ และยินดีต้อนรับเข้าสู่กระบวนการต่อต้านเผด็จการ เพื่อปกป้องประชาธิปไตยครับ
.