[คิดใหม่วันอาทิตย์] วิบากกรรมอะนาล็อก(2):"สึนามิดิจิทัล"กำลังขึ้นฝั่ง

[คิดใหม่วันอาทิตย์] วิบากกรรมอะนาล็อก(2):"สึนามิดิจิทัล"กำลังขึ้นฝั่ง
อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ / กรุงเทพธุรกิจ 11 พฤษภาคม 2557

การเปิดฉากออกอากาศของทีวีดิจิทัลที่ๆ ได้ทยอยเปิดตัวผ่านมาเพียงแค่ 1 เดือนกว่าๆ ตั้งแต่ 1 เม.ย. เริ่ม
เห็นเค้าลางของ"วิบากกรรมทีวีอนาล็อก" 6 ช่องที่กำลังจะมาถึงเร็วกว่าที่คาดการณ์และคงจะเพิ่มดีกรีมากขึ้นเรื่อยๆ


วัดจากตัวเลขเรทติ้งของช่วงฟรีทีวีอนาล็อกทั้ง 6 ช่องในเดือนเม.ย.ได้ลดลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ประมาณ 8-15 % แล้วมีช่องฟรีทีวีดิจิทัลอย่างน้อย 2 ช่องคือช่อง Work Point และช่อง 8 RS ที่มีเรทติ้งเพิ่ม
ขึ้นอย่างก้าวกระโดดเบียดขึ้นมาแซงช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์และอยู่ในระดับสูสีกับช่องไทยพีบีเอสแล้ว

หากจัดกลุ่มช่องฟรีทีวีอะนาล็อกจากระดับเรทติ้งที่เป็นเชิงปริมาณน่าจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่ม A คือช่อง 3
กับช่อง 7 ที่มีส่วนแบ่งคนดูรวมกันเกินกว่า 70 % กลุ่ม B คือช่อง 5 กับช่อง 9 มีส่วนแบ่งคนดูรวมกันประมาณ
15-20 % และกลุ่ม C คือช่อง 11 กับช่อง TPBS มีส่วนแบ่งคนดูรวมกันประมาณ 5-10 %เท่านั้น

ในช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าช่อง 7 กลับเป็นช่องที่มีเรทติ้งลดลงมากที่สุด รองลงมาคือช่อง 5 กับ
ช่อง 9 ส่วนช่อง 11 กับช่อง TPBS มีเรทติ้งน้อยอยู่แล้วทำให้มองไม่เห็นผลกระทบมากนัก ในขณะที่ช่อง 3
มีความแข็งแกร่งมากที่สุดยังมีระดับเรทติ้งลดลงบ้าง


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กฎ Must Carry กำหนดให้โครงข่ายจานดาวเทียม,เคเบิลท้องถิ่น, CTH และทรูวิชั่นส์จะต้องจัดเรียงช่องทีวี
ดิจิทัลเป็นหมายเลยเดียวกันคือ +10 หมายเลขจากภาคพื้นดิน ส่งผลกระทบให้ช่องฟรีทีวี 6 ช่องที่เคยอยู่
ในหมายเลข 1-6 มานานต้องระเห็จไปไกลกว่าเดิมมาก ผู้ชมจำนวนมากเกิดความสับสนงงงวยว่าช่องฟรีทีวี
เดิมที่เคยคุ้นเคยไปหายไปจากรีโมท เช่น ช่อง3 บนจานพีเอสไอถูกจัดไปอยู่ช่อง 300 กว่า ฯลฯ

วิเคราะห์ได้ว่าเรทติ้งของช่องฟรีทีวีที่ลดลงในเดือนเม.ย.น่าจะมาจากกฎ Must Carry ที่ให้ช่องฟรีทีวีดิจิทัล 24
ช่องเรียงหมายเลขช่องเหมือนกันทุกโครงข่าย แต่ช่องฟรีทีวี 6 ช่องเดิมที่เคยอยู่ในหมายเลข 1-6 กระจัด
กระจายไปแตกต่างกันในหลายจานดาวเทียม ทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียมที่มีประมาณ 50 %ปัน
ใจไปทดลองช่องฟรีทีวีดิจิทัลใหม่ๆ


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากในช่วงเดือนก.ค.นี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) สามารถเริ่มกระบวนการ
แจกคูปองเพื่อแลกกล่องรับสัญญาณทั้งแบบภาคพื้นดิน, Pay TV และเคเบิลทีวีท้องถิ่น ประมาณ 10 ล้าน
ครัวเรือนที่โครงข่ายทีวีดิจิทัลครอบคลุมแล้ว

วิบากกรรมของฟรีทีวีแบบอนาล็อกน่าจะมีสภาพเสมือนเป็น"คลื่นสึนามิ"ขึ้นฝั่งของจริง กระแสคลื่นทีวีดิจิทัล
น่าจะกวาด"คนดู"ที่เคยอึดอัดกับทางเลือกรับชมโทรทัศน์ที่มีน้อยแค่ 6 ช่องมานานกว่า 50-60 ปี กระจัด
กระจายไปสู่ช่องฟรีทีวีดิจิทัล 24 ช่องที่แต่ละช่องได้ลงสนามใน"อภิมหาสงครามทีวีดิจิทัล"ที่เกิดขึ้นแล้ว

คาดว่าช่อง Workpoint กับช่อง8RS จะสามารถขึ้นชั้นไปแข่งในกลุ่ม B และช่องทีวีดิจิทัลที่มีฐานคนดูเดิม
จากแพลทฟอร์มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีอีก 3-4 ช่องน่าจะเริ่มมีเรทติ้งก้าวขึ้นมาทาบกลุ่ม B-C


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความได้เปรียบของสถานะพิเศษ"ฟรีทีวีอะนาล็อก"ที่ได้ไปอยู่บนแพลทฟอร์มจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี
กำลังจะหมดไปจากกฎ Must Carry กฎข้อนี้จะเข้มข้นขึ้นเมื่อช่องฟรีทีวีดิจิทัล 24 ช่องได้ออกอากาศกันครบ
ถ้วนตามผังที่แจ้งกสท.ภายในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้

นับไปอีก 30 วันคือวันที่ 25 มิถุนายน สถานะความเป็นช่องฟรีทีวีแบบอนาล็อก 6 ช่องที่เคยได้สิทธิพิเศษหรือ
เอกสิทธิ์ในแบบไม่เคยมีกฎหมายรองรับในการออกอากาศผ่านทุกโครงข่าย ซึ่งยังไม่มีใบอนุญาตทีวีดาว
เทียม,เคเบิลทีวี ฯลฯจะสิ้นสภาพไปโดยปริยาย


กลุ่มช่องฟรีทีวีอนาล็อกที่มีโฆษณาคือช่อง 3,ช่อง 7และช่อง 9 ได้เลือกลงสนามแข่งขันกับรายใหม่ในการ
ประมูลทีวีดิจิทัล กลุ่มช่อง 3 ได้มากสุด 3 ช่อง,ช่อง 9 ได้มา 2 ช่องและช่อง 7 ได้มา 1 ช่อง รวม 7 ช่องดิจิทัล
แต่จะเป็นการออกอากาศคู่ขนานแค่ช่อง 7 กับช่อง 9 ในช่อง HD ที่ประมูลมาได้

ส่วนช่อง 3 แม้ประมูลมาได้ 3 ช่อง แต่ยุทธศาสตร์ของช่อง 3 ยังไม่ได้เอาช่อง 3 อนาล็อกมาออกอากาศคู่
ขนานช่อง HD ที่มีการมองเชิงลบว่าช่อง 3 คงไม่ต้องการให้ทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นเร็ว แต่วิบากกรรมอนาล็อกกำลัง
จะเกิดขึ้นกับช่อง 3 ที่หลังวันที่ 25 มิ.ย.จะต้องออกอากาศได้ช่องทางเดียวคืออนาล็อกภาคพื้นดินที่ปัญหานี้
น่าจะยังมีอีกหลายภาคว่าช่อง 3 จะแก้เกมนี้อย่างไร


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในขณะที่กลุ่มช่องฟรีทีวีอนาล็อกของรัฐคือช่อง 5 ,ช่อง 11 และช่อง TPBS ได้ใบอนุญาตออกคู่ขนานทีวีดิจิ
ทัลแบบโทรทัศน์สาธารณะที่แม้จะเสมือนได้หลุมหลบภัยสึนามิดิจิทัลมาแบบไม่มีต้นทุนประมูล แต่วิบาก
กรรมของแต่ละช่องก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะฝ่าไปท่ามกลางการแข่งขันในระดับ"อภิมหาสงครามทีวีดิจิทัล"ที่
กำลังดุเดือดเลือดพล่านขึ้นเรื่อยๆ

ช่อง 11 กับช่อง TPBS ได้ใบอนุญาตโทรทัศน์สาธารณะประเภทที่ 1 เป็นไปตามเกณฑ์ของกสท.ที่จะต้องมี
สัดส่วนผังข่าวและสาระอย่างน้อย 70 % และไม่มีโฆษณา

แต่ช่อง 5 อนาล็อกได้สิทธิ์การออกคู่ขนานดิจิทัลโทรทัศน์สาธารณะประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและ
ความปลอดภัยสาธารณะที่ให้มีโฆษณาที่มีกำไรอย่างพอเพียงได้ ซึ่งมีเงื่อนไขจะต้องปรับผังรายการให้มีสัด
ส่วนข่าวและสาระไม่น้อยกว่า 70%

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เลขานุการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก"ทวินันท์ คงคราญ"ได้ชี้แจงมาว่าช่อง 5 ได้ทยอยปรับผังรายการตั้งแต่ปี
ที่แล้ว กำลังทยอยเพิ่มสัดส่วนรายการข่าวและสาระขึ้น แล้วลดรายการบังเทิงลงโดยมีเป้าหมายภายในปี
2561 ที่ให้ยุติการออกอากาศแบบอนาล็อก ช่อง 5 สาธารณะจะมีสัดส่วนผังข่าวและสาระไม่น้อยกว่า 70%
เป็นไปตามเกณฑ์ของกสท.อย่างแน่นอน


คณะผู้บริหารททบ.5 ได้บอกมาว่าได้มีการเตรียมการรับมือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2549 โดย
มีการกำหนดแผนแม่บท พร้อมยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ รองรับ อาทิ การดำเนินการจัดทำโครงข่ายดิจิทัลใน
ฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายฯ การปรับโครงสร้างองค์กร โดยเพิ่มสายงานด้าน
การผลิตรายการ การพัฒนารายได้ การปรับสัดส่วนผังรายการที่เพิ่มสาระความรู้เข้มข้นขึ้นทุกปี พร้อมเสริม
ศักยภาพบุคลากร เครื่องมือและสถานที่ในการผลิตรายการ การขยายองค์กรพันธมิตรในด้านต่างๆ อย่าง
ยั่งยืน

ททบ.5 ยังให้คำยืนยันว่าเรื่องแผนการด้านงบประมาณรายได้รายจ่ายนั้นได้มีการวางโครงสร้างและคณะ
อนุกรรมการด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกไว้ในทุกๆ ด้าน มีการประเมิน
สถานการณ์กรณีที่รุนแรงที่สุดไว้แล้ว แต่เป็นข้อมูลภายในที่ไม่เหมาะสมในการเผยแพร่สาธารณะ ขอให้คำ
มั่นแก่ทุกภาคส่วนในฐานะที่ททบ.เป็นสถานีโทรทัศน์ของกองทัพบกต้องดำเนินงานภายใต้กติกา กรอบ
กฎหมาย และยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชนตลอดไป

คอลัมน์นี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เขียนถึงช่อง 5 ด้วยความห่วงใยและอยากให้ช่อง 5 ยังดำรงอยู่ในฐานะสถานี
โทรทัศน์ของประชาชน หากเป็นไปตามคำชี้แจงข้างต้นที่คณะผู้บริหารททบ.ตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลมานานแล้ว ค่อยเบาใจได้ว่าททบ.5 น่าจะสามารถรับมือกับ"สึนามิดิจิทัล"ที่มีช่องใหม่
มากถึง 24 ช่องธุรกิจมาแย่งสายตาคนดู( Eyeball ) และยังจะมีช่องทีวีสาธารณะอีก 9 ช่องที่กสท.กำลัง
ทยอยเปิดให้ยื่นคำขอในเร็วๆ นี้

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนช่อง 11 กับช่อง TPBS เป็นอีก 2 ช่องอนาล็อกที่น่าจะมีวิบากกรรมต้องฟันฝ่าอีกมาก หากคลื่นสึนามิดิ
จิทัลขึ้นฝั่งเต็มรูปแบบเมื่อไหร่ ช่อง 11 และช่อง TPBS คงจะถูกแรงคลื่นซัดเรทติ้งคนดูหายไปอีกเยอะอย่าง
แน่นอน


ช่องTPBS อยู่ในสถานะที่ยังพอจะเอาตัวรอดได้จากมีกฎหมายรองรับช่องทางรายได้ 2 %จากภาษีบาป
ประมาณปีละ 2,000 ล้านบาทและยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าเช่าโครงข่าย 1 โครงข่ายจำนวน 6 ช่องคือ
ช่อง 3 ทั้งสามช่อง, RS และช่องของทีวีพูล 2 ช่อง ปีละประมาณ 480 ล้านบาทต่อปีและรายได้ค่าเช่าเสาส่ง
ที่โครงข่ายอื่นมาเช่าใช้ร่วมกัน

ในขณะที่ช่อง 11 แม้ได้ใบอนุญาตโครงข่าย 1 โครงข่ายเช่นเดียวกับ TPBS แต่กำลังมีความเสี่ยงที่กสท.จะ
ยึดใบอนุญาตเพราะกรมประชาสัมพันธ์ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามกำหนด ด้วยความไม่พร้อมด้าน
งบประมาณที่แม้ตั้งไว้แต่กระบวนการจัดจ้างจัดซื้อยังไม่สิ้นสุด , ลูกค้าช่องทีวีดิจิทัลเหลือแต่ช่องทีวี
สาธารณะ 8-9 ช่องที่ยังมีความไม่แน่นอนว่ากสท.จะออกใบอนุญาตได้เมื่อไร, ข้อจำกัดการขึ้นตรงกับฝ่าย
การเมืองที่มีความเสี่ยงผันผวนมาก, ภาวะสมองไหลจนแทบไม่หลงเหลือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ฯลฯ

คลื่นสึนามิทีวีดิจิทัลที่กำลังถาโถมเข้าฝั่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นวิบากกรรมอนาล็อกที่อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ช่องฟรีทีวีอนาล็อกน่าจะเอาตัวรอดไปได้โดยยังรักษากำไรในอัตราสูง แต่น่าจะสัดส่วนต่ำลงไว้ได้แค่ 2 ช่อง
คือช่อง 3 กับช่อง 7 เรียกว่า"ขาดทุนกำไร" แต่อีก 4 ช่องเอาแค่ประคองตัวอยู่ในหลุมหลบภัยได้นานแค่ไหนก็
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆอีกต่อไปแล้ว คืนวันเก่าๆ บริหารแบบสบายๆ ใช้คลื่นความถี่อย่างไม่มีต้นทุนมานานกว่า 50
ปีกำลังจะสิ้นสุดลงในอีกไม่นาน แม้กสท.ยังทอดเวลาสิ้นสุดระบบอนาล็อกถึงสิ้นปี 2561 ก็ตาม


ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/re-think/20140511/581533/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81(2):%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่