กรณีศึกษา: ร่องรอยแห่งความร้าวราน กับ โลหะวิทยา บนสายการบิน China Air 611

25 พ.ค. 2002

เที่ยวบิน China Airlines 611 บินจากไทเปไปฮ่องกง  เมื่อเดินทางไปประมาณ 20 นาทีหลังเทคออฟ  สัญญาณการเดินทางที่ถูกรับส่งระหว่างเครื่องบินกับหอบังคับการบินที่ไทเป ส่งสัญญาณว่าเครื่องบินได้หายไปจากจอ ในลักษณะแตกกระจาย เบื้องแรกคิดว่าเป็นเพราะเครื่องบินถูกจรวดของจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยเพราะในขณะเวลาเดียวกันนั้น มีการฝึกซ้อมทางทหารที่เมืองจีน  แต่จากการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องบินที่ค้นพบ และจากสภาพศพของผู้โดยสาร ไม่มีรอยไหม้หรือรอยถูกระเบิด จึงเป็นที่ค่อนข้างแน่ใจว่า เครื่องบิน 611 ไม่ได้ถูกจรวดแต่อย่างไร



การศึกษาหาสาเหตุว่าอะไรเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ก็คือ ต้องศึกษาจากชิ้นส่วนของเครื่องบินที่เก็บรวบรวมได้ (ชิ้นส่วนกระจายกลางอากาศ คลุมพื้นที่ประมาณ 300+ ตารางกิโลเมตร) โดยศึกษาผ่านชิ้นส่วนของช่องระบายอากาศระหว่างชั้นโดยสาร(ชั้นบน)และชั้นคาร์โก้(ชั้นล่าง) พบว่า ช่องระบายอากาศในบางช่วงของช่วงท้ายของตัวเครื่องบินมีร่องรอยของความกดอากาศกระทันหัน ซึ่งเป็นร่องรอยที่นำให้เข้าใจว่า มีแรงดันตกอย่างกระทันหัน ณ บริเวณดังกล่าว

ตรวจสอบไปๆมาๆ นักโลหะวิทยาที่ทำการตรวจสอบชิ้นส่วนได้พบว่า มีร่องรอยของ Metal Fatique Crack ซึ่งเป็นลักษณะ Crack propagation ที่ค่อยๆสร้างรอยแตกใน”เนื้อโลหะ”ในช่วงเวลานานๆ ไม่ใช่การแตกหักอย่างกระทันหัน มีร่องรอยของคราบ Al2O3 xx ที่เป็นเสมือน“สนิม”ของอลูมีเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดการอ๊อกซิไดซท์ มาเป็นเวลานาน


พบว่าเครื่องบินลำนี้มีอายุประมาณ 22 ปีและเมื่อยี่สิบสองปีก่อนนั้น มีการร่อนลงครั้งหนึ่งที่ส่วนท้องของส่วนหางเครื่องบินแตะพื้นขณะร่อนลง ทำให้เกิด“รอยสึกหรอ”บนพื้นผิวโลหะส่วนท้ายของเครื่องบิน และการซ่อมผิวโลหะโ ณ เวลานั้นมีเป็นการซ่อมแบบปะแล้วเจียรผิวให้เรียบ ไม่ใช่การเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เข้าไป  การซ่อมที่ทิ้งร่องรอยความเค้นความเครียดบนผิวโลหะเช่นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการแตกร้าว ค่อยๆแตกร้าว ทีละเล็กทีละน้อย เริ่มตั้งแต่หลังซ่อมจนถึงปี 2002 เป็นเวลานาน  22ปีผ่านไปรอยแตกใหญ่พอ พร้อมแตกครั้งสุดท้าย ทำให้ชีวิตมากกว่า 200 ชีวิตเสียไป กลางอากาศ.. ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2545

ทำให้เราต้องคำนึกอีกพักหนึ่งว่า การซ่อมผิวโดยการเจียรหรือเชื่อมต่อแล้วเจียร อาจไม่ทำให้รอยการแตกร้าวหายไปหมด


สิ่งหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุรู้ว่ามีรอยแตกในชิ้นส่วนท้ายของเครื่องบินเป็นเวลานานแล้ว ก็คือ คราบนิโคตินที่เกาะบนผิวเครื่องบิน การสูบบุหรี่บนเครื่องถูกแบน 7 ปีก่อนอุบัติเหตุครั้งนี้ แต่คราบบุหรี่ยังฝังบนผิวเครื่องบิน



เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบเนื้อวัสดุที่ควรนำมาใช้กับเครื่องจักรที่สำคัญๆแบบนี้ ก็ท่าทางจะเป็น Non Destructive Testing ซึ่งมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ultrasound หรือ Electro conductive test.


นี่เป็นอุทาหรณ์สำหรับเจ้าของเครื่องยนต์เก่าๆ โดยเฉพาะที่ต้องใช้แรงอัดแรงดันสูงๆ หรือที่ทำให้เนื้อวัสดุมีการยืดหดบ่อยๆเป็นเวลานาน คงต้องหันมามองอีกครั้งว่า เราจะทำอย่างไรให้แน่ใจว่าจะไม่มีการแตกร้าวของเครื่องยนต์ในลักษณะเดียวกันกับสายการบิน China Airlines เที่ยว 611 แบบนี้อีกครั้ง

Original Story from
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่