อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

อวิชชาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


(บางส่วน)

[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร  
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา...ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร  
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕... ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓


แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร  
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓...ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์


แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร  
ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์....ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ


แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ....ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย


แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย.....ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา


แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา....ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม


แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม....ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์   ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์  ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์  ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์  ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์  ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์  ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์  ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์


อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ



     เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๒๗๑๒ - ๒๗๘๑.  หน้าที่  ๑๑๗ - ๑๑๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2712&Z=2781&pagebreak=0

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=61
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่