"The unexamined life is not worth living for a human being." (Socrates in Apology)
ในแวดวงการอุดมศึกษาขณะนี้ คงจะไม่มีประเด็นใดร้อนไปกว่า "การทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา" หรือที่เรียกว่า "U-NET" ซึ่งสังคมกำลังให้ความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ดังที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อทั้งหลาย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์
ผมไม่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านการสอบ U-NET นะครับ แต่รู้สึกเห็นใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายแรกก็คงไม่พ้น สทศ. ซึ่งนอกจากการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นั่นคือ การประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับแล้ว ยังมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะยกระดับมาตรฐานของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับเพื่อให้บัณฑิตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ สทศ. คงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า มาตรฐานการอุดมศึกษาจะประเมินด้วยระบบการประกันคุณภาพทั้งของ สมศ. และ สกอ. ซึ่งเป็นการประเมินสถานศึกษาเป็นสำคัญคงจะไม่เพียงพอ จึงจำต้องประเมินที่ตัวผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจอีกชั้นหนึ่ง ปรากฏในข่าวว่า มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางใน สทศ. ในที่สุดจึงมีมติให้มี U-NET ขึ้นและใช้ในปีการศึกษาถัดไป แน่นอนครับว่า สมศ. คงจะเตรียมตัวเตรียมใจถูกวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า สภาพบังคับหลายอย่างรวมทั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาของรัฐที่เป็นมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแต่เดิมหรือกลุ่มที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการเดิม ไหนจะต้องรวมมหาวิทยาลัยเอกชนที่เกิดขึ้นใหม่เป็นดอกเห็ดในเมืองไทยอีก
สิ่งที่ สทศ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงขนาดต้องงัด U-NET มาใช้ น่าจะเป็นสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามเอกสาร แต่ยังน่าจะไม่ผ่านการประเมินตามข้อเท็จจริง (ก็คงทราบกันดีว่า เป็นเพราะอะไร) ดังนั้น ไหนๆ ปริญญาบัตรก็มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่นแล้ว คุณภาพตัวบัณฑิตที่ผลิตออกมาก็ควรจะไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้น จึงต้องมาทดสอบกันให้รู้ดีชั่วกันไปว่าเป็นอย่างไรบ้าง สุดท้ายก็จะได้นำผลการประเมินนั้นไปกดดันสถานศึกษาที่ยังไม่ได้มาตรฐานต่อไป สิ่งนี้เป็นความทะเยอทะยานที่ดีมากๆ แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งได้ข่าวว่า จะประเมินวิชาเฉพาะในปีถัดๆ ไปอีกด้วย
ฝ่ายที่สองก็คือนิสิตนักศึกษา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งว่า ย่อมจะต้องมีปฏิกิริยากับสิ่งที่จะมาบังคับตน และพยายามผลักดัน ต่อต้านไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้ว นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ควรเห็นใจที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่า ไหนจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความพากเพียรเพื่อให้สำเร็จการศึกษา ไหนจะต้องเตรียมตัวสอบวิชาชีพต่างๆ ซึ่งยากยิ่งแล้ว ยังจะต้องมากังวลกับการประเมินมาตรฐานการศึกษาอย่าง U-NET อีก
อย่างไรก็ตาม นิสิตนักศึกษาเองก็ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มกำลัง ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่เรียนมาตั้งแต่เกิดก็ยังใช้ไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นแก่การประกอบวิชาชีพก็แทบจะไม่มีเลย ดังนั้น จึงเป็นบุคคลที่น่าเป็นห่วง เพราะบัณฑิตทุกคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อประเทศ
ส่วนฝ่ายที่สามก็คือนายจ้าง ฝ่ายนี้ผมเห็นใจน้อยที่สุด และถ้าผมเป็นนายจ้าง ผมจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ U-NET มากนัก เพราะผมก็ต้องมีกระบวนการคัดกรองบุคคลที่จะเข้าทำงานของผมให้เกิดผลดีต่อบริษัทที่สุด (ถ้ากระบวนการคัดกรองไม่ดี ก็ต้องโทษที่ตัวผมเองที่รับบัณฑิตที่มีคุณภาพไม่พึงประสงค์เข้าทำงาน) ดังนั้น ทักษะในทางวิชาชีพต้องมีอย่างดีแน่นอน หาไม่แล้ว ผมก็จะไม่รับเข้าทำงาน ส่วนเรื่องทักษะทางภาษาและสารสนเทศก็ควรต้องมีตามที่จำเป็นต่อการใช้งานในบริษัทของผม ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็คงจะใช้ทักษะต่างๆ ที่ว่านี้มากน้อยต่างกันออกไปตามภารกิจ
อย่างไรก็ตาม ก็น่าเห็นใจอยู่บ้างตรงที่ถ้าสถานศึกษาผลิตบัณฑิตมีคุณภาพมากขึ้น บริษัทของผมก็มีโอกาสที่จะได้คนที่มีคุณภาพสูงขึ้นเข้าทำงาน เงินเดือนที่ผมจ่ายเพื่อแลกกับแรงงานก็น่าจะเหมะสมมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าคุณภาพการทำงานด้อยกว่าเงินเดือนที่ผมต้องจ่ายออกไป ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผม จริงไหมครับ
ผมยังคงเชื่อว่า การตรวจสอบหรือการประเมินเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดคุณค่าอเนกอนันต์ ดังคำกล่าวข้างต้นของโสเครตีส นักปราชญ์ผู้ไม่เคยตายไปจากชีวิตของเรา แต่สิ่งที่จะต้องขบคิดก็คือ จะตรวจสอบกันอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพึงไตร่ตรองให้รอบคอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
ถ้าทุกฝ่ายหันหน้ามาปรึกษาหารือกันว่า เป้าหมายที่พึงปรารถนานั้น หน้าตาเป็นเช่นไร จากนั้น ก็มาคิดร่วมกันต่อว่า เครื่องมือที่จะให้ไปถึงเป้าหมายนั้นคืออะไร ใช่ U-NET หรือเปล่า ถ้าใช่ วิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ทดสอบแค่วิชาพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพพอไหม วิชาเฉพาะจำเป็นต้องทดสอบไหม ในเมื่อเขามีองค์กรวิชาชีพของเขาอยู่แล้ว และนายจ้างก็ต้องคัดกรองอยู่แล้ว
บางที U-NET อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดก็ได้นะครับ
ว่าด้วย U-NET
ในแวดวงการอุดมศึกษาขณะนี้ คงจะไม่มีประเด็นใดร้อนไปกว่า "การทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา" หรือที่เรียกว่า "U-NET" ซึ่งสังคมกำลังให้ความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ดังที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อทั้งหลาย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์
ผมไม่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านการสอบ U-NET นะครับ แต่รู้สึกเห็นใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายแรกก็คงไม่พ้น สทศ. ซึ่งนอกจากการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นั่นคือ การประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับแล้ว ยังมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะยกระดับมาตรฐานของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกระดับเพื่อให้บัณฑิตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ สทศ. คงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า มาตรฐานการอุดมศึกษาจะประเมินด้วยระบบการประกันคุณภาพทั้งของ สมศ. และ สกอ. ซึ่งเป็นการประเมินสถานศึกษาเป็นสำคัญคงจะไม่เพียงพอ จึงจำต้องประเมินที่ตัวผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจอีกชั้นหนึ่ง ปรากฏในข่าวว่า มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางใน สทศ. ในที่สุดจึงมีมติให้มี U-NET ขึ้นและใช้ในปีการศึกษาถัดไป แน่นอนครับว่า สมศ. คงจะเตรียมตัวเตรียมใจถูกวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า สภาพบังคับหลายอย่างรวมทั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาของรัฐที่เป็นมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแต่เดิมหรือกลุ่มที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการเดิม ไหนจะต้องรวมมหาวิทยาลัยเอกชนที่เกิดขึ้นใหม่เป็นดอกเห็ดในเมืองไทยอีก
สิ่งที่ สทศ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงขนาดต้องงัด U-NET มาใช้ น่าจะเป็นสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามเอกสาร แต่ยังน่าจะไม่ผ่านการประเมินตามข้อเท็จจริง (ก็คงทราบกันดีว่า เป็นเพราะอะไร) ดังนั้น ไหนๆ ปริญญาบัตรก็มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่นแล้ว คุณภาพตัวบัณฑิตที่ผลิตออกมาก็ควรจะไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้น จึงต้องมาทดสอบกันให้รู้ดีชั่วกันไปว่าเป็นอย่างไรบ้าง สุดท้ายก็จะได้นำผลการประเมินนั้นไปกดดันสถานศึกษาที่ยังไม่ได้มาตรฐานต่อไป สิ่งนี้เป็นความทะเยอทะยานที่ดีมากๆ แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งได้ข่าวว่า จะประเมินวิชาเฉพาะในปีถัดๆ ไปอีกด้วย
ฝ่ายที่สองก็คือนิสิตนักศึกษา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งว่า ย่อมจะต้องมีปฏิกิริยากับสิ่งที่จะมาบังคับตน และพยายามผลักดัน ต่อต้านไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้ว นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ควรเห็นใจที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่า ไหนจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความพากเพียรเพื่อให้สำเร็จการศึกษา ไหนจะต้องเตรียมตัวสอบวิชาชีพต่างๆ ซึ่งยากยิ่งแล้ว ยังจะต้องมากังวลกับการประเมินมาตรฐานการศึกษาอย่าง U-NET อีก
อย่างไรก็ตาม นิสิตนักศึกษาเองก็ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มกำลัง ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่เรียนมาตั้งแต่เกิดก็ยังใช้ไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นแก่การประกอบวิชาชีพก็แทบจะไม่มีเลย ดังนั้น จึงเป็นบุคคลที่น่าเป็นห่วง เพราะบัณฑิตทุกคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อประเทศ
ส่วนฝ่ายที่สามก็คือนายจ้าง ฝ่ายนี้ผมเห็นใจน้อยที่สุด และถ้าผมเป็นนายจ้าง ผมจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ U-NET มากนัก เพราะผมก็ต้องมีกระบวนการคัดกรองบุคคลที่จะเข้าทำงานของผมให้เกิดผลดีต่อบริษัทที่สุด (ถ้ากระบวนการคัดกรองไม่ดี ก็ต้องโทษที่ตัวผมเองที่รับบัณฑิตที่มีคุณภาพไม่พึงประสงค์เข้าทำงาน) ดังนั้น ทักษะในทางวิชาชีพต้องมีอย่างดีแน่นอน หาไม่แล้ว ผมก็จะไม่รับเข้าทำงาน ส่วนเรื่องทักษะทางภาษาและสารสนเทศก็ควรต้องมีตามที่จำเป็นต่อการใช้งานในบริษัทของผม ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็คงจะใช้ทักษะต่างๆ ที่ว่านี้มากน้อยต่างกันออกไปตามภารกิจ
อย่างไรก็ตาม ก็น่าเห็นใจอยู่บ้างตรงที่ถ้าสถานศึกษาผลิตบัณฑิตมีคุณภาพมากขึ้น บริษัทของผมก็มีโอกาสที่จะได้คนที่มีคุณภาพสูงขึ้นเข้าทำงาน เงินเดือนที่ผมจ่ายเพื่อแลกกับแรงงานก็น่าจะเหมะสมมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าคุณภาพการทำงานด้อยกว่าเงินเดือนที่ผมต้องจ่ายออกไป ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผม จริงไหมครับ
ผมยังคงเชื่อว่า การตรวจสอบหรือการประเมินเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดคุณค่าอเนกอนันต์ ดังคำกล่าวข้างต้นของโสเครตีส นักปราชญ์ผู้ไม่เคยตายไปจากชีวิตของเรา แต่สิ่งที่จะต้องขบคิดก็คือ จะตรวจสอบกันอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพึงไตร่ตรองให้รอบคอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
ถ้าทุกฝ่ายหันหน้ามาปรึกษาหารือกันว่า เป้าหมายที่พึงปรารถนานั้น หน้าตาเป็นเช่นไร จากนั้น ก็มาคิดร่วมกันต่อว่า เครื่องมือที่จะให้ไปถึงเป้าหมายนั้นคืออะไร ใช่ U-NET หรือเปล่า ถ้าใช่ วิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ทดสอบแค่วิชาพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพพอไหม วิชาเฉพาะจำเป็นต้องทดสอบไหม ในเมื่อเขามีองค์กรวิชาชีพของเขาอยู่แล้ว และนายจ้างก็ต้องคัดกรองอยู่แล้ว
บางที U-NET อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดก็ได้นะครับ