สวัสดีค่ะ เพื่อนๆสมาชิกคิดเห็นอย่างไรคะ กับการทดสอบU-net ว่าจะได้นิสิตจบใหม่ที่จะมีมาตรฐานคุณภาพดีขึ้นจริงหรือเปล่า?? ณ จุดๆนี้เรายังไม่พูดถึงคุณภาพข้อสอบนะคะว่าจะเป็นแบบo-netรึป่าว(เพราะยังไม่มีการสอบ) แต่เมื่อเราดูในเนื้อหาที่จะออกสอบ ที่มีการบอกว่า มี4วิชาคือ
1)ความสามารถภาษาไทย 2)ความสามารถภาษาอังกฤษ 3)การคิดวิเคราะห์ และ 4)การใช้สื่อเทคโนโลยี ดิฉันก็ไม่มั่นใจว่าวิชาเหล่านี้ที่นำมาทดสอบนิสิตที่จะจบนั้น
สามารถวัดอะไรจากนิสิตที่เรียนคณะที่ต่างกันวิชาเรียนที่ต่างกัน
ดิฉันจึงอยากตั้งคำถามกับสมศ.ดูสักหน่อยนะคะ
1. ผลสอบ U-net เอาไว้ทำอะไร สมัครงาน?? เรียนต่อ??? (ปกติเขาก็requireผลสอบ/คะแนนทดสอบจากข้างนอกพวกTOEIC เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว)
2. นักศึกษาที่เรียนต่างประเทศจะทำอย่างไร
3. ทุกคณะทุกสาขาทุกชั้นปีสอบเหมือนกันหรือไม่???
กรณีแรกถ้าเหมือน ข้อสอบอาจจะกว่างพอสมควรเพราะวิชาที่แต่ละคณะแต่ละสาขา วิชาเรียนก็ไม่เหมือน แล้วจะวัดอะไรได้ ถ้าตรี-โท-เอกเหมือนยิ่งแย่ใหญ่เลยค่ะ
กรณีสองไม่เหมือน อย่างคณะวิศวะฯ คณะวิทยาฯ มีตั้ง20กว่าสาขา วิชาเรียนก็ต่างกัน ระดับข้อสอบก็ต่างกัน งบประมาณต้องใช้เยอะขนาดไหน???
ความจริงดิฉันไม่ได้คัดค้านนะคะ แต่เห็นว่ามันเป็นการทำงานเป็นการสอบที่ซ้ำซ้อนเกินไปอะค่ะ ในทุกๆคณะก่อนจบมันก็มีการทดสอบอะไรอยู่แล้ว ถ้าคิดว่าไม่ได้มาตรฐานก็มาตรวจสอบเกณฑ์การสอน-สอบของแต่ละคณะไป จะง่ายกว่าไหมคะ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ตรวจสอบไม่ได้อยู่ดีค่ะถ้าจะมองโดยรวมจากทุกๆคณะอะค่ะ เห้อ!! เพลียแทนอนาคตของชาติจริงๆค่ะ นี่ถ้าเอางบประมาณไปปรับปรุงระบบการศึกษาอาจจะดีขึ้นกว่านี้นะคะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข่าว "สมศ.เล็งนำผลสอบ U-NET วัดความรู้ ป.ตรี-โท-เอก ทั่วประเทศ" ของผู้จัดการออนไลน์นะคะ
เนื้อหาข่าวค่ะ --------->
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมศ.เตรียมนำผลสอบ U-NET ประเมินรอบ 4 วัดความรู้บัณฑิตระดับ ป.ตรี -โท-เอก ทั่วประเทศ หวังสร้างมาตรฐานเดียวกัน มั่นใจ สทศ.พร้อมจัดสอบ คาดสอบครั้งแรกก่อน มิ.ย.58 ขณะที่ สทศ.เผยตั้งคณะทำงานออกข้อสอบ U-NET จ่อนำเข้าหารือบอร์ด สทศ.24 มี.ค.นี้
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยถึงการประชุมหารือถึงการนำผลการทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ U-NET มาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยที่ สมศ.จะใช้ผลสอบ U-NET ซึ่งประเมินคุณภาพบัณฑิตมาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานกลางใดทำการประเมิน ส่วนใหญ่ดูจากการมีงานทำของบัณฑิต ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้น การที่ สมศ.นำผลสอบ U-NET มาใช้จะเป็นเสมือนหน่วยงานกลางในการประเมิน เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ เท่าที่ได้หารือร่วมกับทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งรับผิดชอบจัดสอบ U-NET เบื้องต้นจะจัดสอบฟรี ให้แก่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของทุกหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั่วประเทศ โดยจะวัดองค์ความรู้ความสามารถของบัณฑิต ใน 4 วิชา ได้แก่ ความสามารถภาษาไทย ความสามารถภาษาอังกฤษ การคิดวิเคราะห์ และการใช้สื่อเทคโนโลยี ซึ่งทาง สทศ.ยืนยันว่าจะจัดสอบครั้งแรกได้ก่อนเดือนมิถุนายน ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ยังห่วงและกังวลในเรื่องการวัดเรื่องวิชาชีพ เพราะมีอาชีพจำนวนมากอีกทั้งบางสาขา/คณะ ไม่มีสภาวิชาชีพควบคุม เพราะฉะนั้น สมศ.และ วทศ.จะหารือกับสภาวิชาชีพว่าจะดำเนินการใดได้บ้าง
ผอ.สมศ.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ นอกจาก สทศ.ยังมีในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็เสนอว่าจะเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนา U-NET เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน องค์ประกอบการประเมินมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่การวัดความรู้ความสามารถบัณฑิตใน 4 วิชาเท่านั้น สมศ.จะนำกรอบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ที่กำหนด 5 ด้านหลัก คือ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินด้วย
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. กล่าวว่า สทศ.ได้มีการกำหนดกรอบงานวิจัยโครงการการวิจัย U-NET มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อสอบ ทั้ง 4 วิชา ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดสอบมหาวิทยาลัยได้ทัน เพื่อให้สมศ.นำคะแนนไปใช้ในการประเมินมหาวิทยาลัยในปี 2558 อย่างไรก็ตาม สทศ.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ.ในวันที่ 24 มี.ค.2557 นี้ เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการจัดสอบยูเน็ต นำไปสู่กระบวนการออกข้อสอบยูเน็ต
ที่มา :
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032784
การสอบ U-net ระดับชั้นป.ตรี-โท-เอก จะช่วยให้นักศึกษาที่จะจบใหม่ไปมีคุณภาพขึ้นจริงหรือ ????
ดิฉันจึงอยากตั้งคำถามกับสมศ.ดูสักหน่อยนะคะ
1. ผลสอบ U-net เอาไว้ทำอะไร สมัครงาน?? เรียนต่อ??? (ปกติเขาก็requireผลสอบ/คะแนนทดสอบจากข้างนอกพวกTOEIC เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว)
2. นักศึกษาที่เรียนต่างประเทศจะทำอย่างไร
3. ทุกคณะทุกสาขาทุกชั้นปีสอบเหมือนกันหรือไม่???
กรณีแรกถ้าเหมือน ข้อสอบอาจจะกว่างพอสมควรเพราะวิชาที่แต่ละคณะแต่ละสาขา วิชาเรียนก็ไม่เหมือน แล้วจะวัดอะไรได้ ถ้าตรี-โท-เอกเหมือนยิ่งแย่ใหญ่เลยค่ะ
กรณีสองไม่เหมือน อย่างคณะวิศวะฯ คณะวิทยาฯ มีตั้ง20กว่าสาขา วิชาเรียนก็ต่างกัน ระดับข้อสอบก็ต่างกัน งบประมาณต้องใช้เยอะขนาดไหน???
ความจริงดิฉันไม่ได้คัดค้านนะคะ แต่เห็นว่ามันเป็นการทำงานเป็นการสอบที่ซ้ำซ้อนเกินไปอะค่ะ ในทุกๆคณะก่อนจบมันก็มีการทดสอบอะไรอยู่แล้ว ถ้าคิดว่าไม่ได้มาตรฐานก็มาตรวจสอบเกณฑ์การสอน-สอบของแต่ละคณะไป จะง่ายกว่าไหมคะ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ตรวจสอบไม่ได้อยู่ดีค่ะถ้าจะมองโดยรวมจากทุกๆคณะอะค่ะ เห้อ!! เพลียแทนอนาคตของชาติจริงๆค่ะ นี่ถ้าเอางบประมาณไปปรับปรุงระบบการศึกษาอาจจะดีขึ้นกว่านี้นะคะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข่าว "สมศ.เล็งนำผลสอบ U-NET วัดความรู้ ป.ตรี-โท-เอก ทั่วประเทศ" ของผู้จัดการออนไลน์นะคะ
เนื้อหาข่าวค่ะ ---------> [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032784