กรณีที่มีการตายของ กวี คนหนึ่ง ภรรยาได้รับเงิน 100,000 บาท ได้โดย
1. ภรรยา ถือเป็นผู้เสียหาย "ทางจิตใจ" จากการตายของ กวี ตามมาตราที่ 3 พระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
2. กวี ตายเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556
3. โดยทั่วไป ผู้เสียหาย - ภรรยา ต้องเป็นคนยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ที่ สำนักงานที่กำหนด ด้วยตัวเองภายในเวลาที่กำหนดปะครับ ตามมาตรา 22
4. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน ประกอบด้วยคนหลายคนมาก ๆ เป็น 10 คนได้ ตามมาตราที่ 7
5. จากนั้น คณะกรรมการก็มาพิจารณาว่า ควรจ่ายค่าทดแทนให้หรือไม่
6. ภรรยาได้รับเงินตอบแทน วันที่ 25 เมษายน 2556
แสดงว่า ทั้งหมดนี้ ระบบราชการไทย ที่มีการดำเนินการให้ประชาชน รวดเร็วที่สุดในโลก คือใช้เวลา ตั้งคณะกรรมการทั้งหมดนี้ และ จ่ายค่าตอบแทนให้ ประชาชน ได้ภายหลังการเสียชีวิต เพียง 2 วัน เท่านั้นเอง
มันเป็นไปได้เหรอครับ ผมสมมตินะครับ
23 เมษา ถูกยิง ไปตายที่ รพ. ทำเรื่องนอนรพ. รับศพ แจ้งความ
24 เมษา ยื่นเรื่องคำขอรับค่าชดเชย รับเรื่อง ตั้งกรรมการพิจารณาทั้งหมดตามมาตราที่กล่าว แจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ส่งกรรมการมาพิจารณา
25 เมษา พิจารณาเสร็จ อนุมัติให้ชดเชยเงินได้ 100,000 บาท ติดต่อสื่อมวลชน ออกข่าว ทำข่าว รับมอบเงิน
ทั้งหมดนี้ มันทำได้จริงเหรอครับ ในระบบราชการประเทศไทย และ ระบบกฎหมายของประเทศไทย
OMG Amazing Thailand
ถ้าทำได้จริง อนาคต ประชาชนชาวไทย สบายใจได้ครับ ราชการทำงาน รวดเร็วฝุด ๆ
รายการอ้างอิง
พระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
พ.ศ. 2544
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้เสียหาย" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมคุมประพฤติ ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีอีกห้าคน เป็นกรรมการ ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เป็นที่ประจักษ์ อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
(เน้นคำว่า อย่างน้อยด้านละ 1 คน)
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเป็นเลขานุการ และอาจแต่งตั้งผู้ช่วย เลขานุการจำนวนไม่เกินสองคน ก็ได้
มาตรา 22 ให้ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ณ สำนักงาน ตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง เพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลย มิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด แล้วแต่กรณี
กรณีที่ มีผู้ชายถูกยิงตาย ได้เงินชดเชย 100,000 บาท ตาม พรบ.ค่าตอบแทนคดีอาญา พ.ศ. 2544 ทำได้เสร็จใน 2 วันเหรอครับ
1. ภรรยา ถือเป็นผู้เสียหาย "ทางจิตใจ" จากการตายของ กวี ตามมาตราที่ 3 พระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
2. กวี ตายเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556
3. โดยทั่วไป ผู้เสียหาย - ภรรยา ต้องเป็นคนยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ที่ สำนักงานที่กำหนด ด้วยตัวเองภายในเวลาที่กำหนดปะครับ ตามมาตรา 22
4. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน ประกอบด้วยคนหลายคนมาก ๆ เป็น 10 คนได้ ตามมาตราที่ 7
5. จากนั้น คณะกรรมการก็มาพิจารณาว่า ควรจ่ายค่าทดแทนให้หรือไม่
6. ภรรยาได้รับเงินตอบแทน วันที่ 25 เมษายน 2556
แสดงว่า ทั้งหมดนี้ ระบบราชการไทย ที่มีการดำเนินการให้ประชาชน รวดเร็วที่สุดในโลก คือใช้เวลา ตั้งคณะกรรมการทั้งหมดนี้ และ จ่ายค่าตอบแทนให้ ประชาชน ได้ภายหลังการเสียชีวิต เพียง 2 วัน เท่านั้นเอง
มันเป็นไปได้เหรอครับ ผมสมมตินะครับ
23 เมษา ถูกยิง ไปตายที่ รพ. ทำเรื่องนอนรพ. รับศพ แจ้งความ
24 เมษา ยื่นเรื่องคำขอรับค่าชดเชย รับเรื่อง ตั้งกรรมการพิจารณาทั้งหมดตามมาตราที่กล่าว แจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ส่งกรรมการมาพิจารณา
25 เมษา พิจารณาเสร็จ อนุมัติให้ชดเชยเงินได้ 100,000 บาท ติดต่อสื่อมวลชน ออกข่าว ทำข่าว รับมอบเงิน
ทั้งหมดนี้ มันทำได้จริงเหรอครับ ในระบบราชการประเทศไทย และ ระบบกฎหมายของประเทศไทย
OMG Amazing Thailand
ถ้าทำได้จริง อนาคต ประชาชนชาวไทย สบายใจได้ครับ ราชการทำงาน รวดเร็วฝุด ๆ
รายการอ้างอิง
พระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
พ.ศ. 2544
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้เสียหาย" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมคุมประพฤติ ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีอีกห้าคน เป็นกรรมการ ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เป็นที่ประจักษ์ อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
(เน้นคำว่า อย่างน้อยด้านละ 1 คน)
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเป็นเลขานุการ และอาจแต่งตั้งผู้ช่วย เลขานุการจำนวนไม่เกินสองคน ก็ได้
มาตรา 22 ให้ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ณ สำนักงาน ตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง เพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลย มิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด แล้วแต่กรณี