ขั้นตอนคร่าวๆในการทำงานวิจัย

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ http://ppantip.com/topic/31914659 ผมก็เข้าไปตอบแล้วครับ แต่ที่มาตั้งกระทู้ใหม่เพราะผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าที่ผมเขียนมันเป็นอย่างไร หรือใครมีอะไรอยากเสริมเพิ่มเติมครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ทั้งผมรวมถึงจขกทนั้นด้วยครับ ขอบคุณครับ
-----------------------------------------------------

งานวิจัย FAQ #1 ขั้นตอนคร่าวๆในการทำงานวิจัย

คำถาม: สมมุติเราจะทำวิจัยหรือการทดลองอะไรสักอย่างเพื่อตีพิมพ์ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างานที่ทำอยู่นั้นๆจะไม่มีผู้ค้นพบหรือมีคนทำมาก่อนแล้ว

หลายคนอาจจะรู้คำตอบอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จะตอบคำถามด้านบนอย่างไร ผมจะตอบคร่าวๆในแบบของผมให้ฟังครับ

คำตอบ: ก่อนอื่น สมมุติเราสนใจในการทำวิจัยหรือการทดลองเรื่องใด เมื่อเราได้ คำถามวิจัย (research question) หรือพูดภาษาบ้านๆก็คือเรื่องที่เราสงสัย (ส่วน hypothesis หรือ objective คาดว่าน่าจะรู้จักอยู่แล้ว ขอไม่พูดถึง) ง่ายๆให้เราเอาคำสำคัญ (keyword) ในคำถามวิจัยนั้นๆไปค้นหาในฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานของเรา เช่น สมมุติว่างานวิจัยเราเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็อาจลองค้นหาในฐานข้อมูล เช่น

Index Medicus/MEDLINE (NLM) แต่เห็นชอบเรียก PubMed กัน
Science Citation Index (Thomson Reuters) อันนี้น่าจะคุ้นๆกับคำว่า ISI
Embase (Elsevier) อันนี้น่าจะคุ้นๆกับคำว่า ScienceDirect มากกว่า
Scopus เป็นต้น

ซึ่งเราจะต้องทำการทบทวนวรรณกรรม (literature reviews) เพื่อประมวลผลว่าความรู้ในด้านนั้นๆไปถึงไหนแล้ว แนะนำว่าใช้เวลาในขั้นตอนนี้เยอะๆครับ เพราะมันจะทำให้เราได้ความรู้ และอาจเห็นข้อผิดพลาดในงานวิจัยก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้เราเห็นโอกาสที่จะต่อยอดหรือพัฒนางานด้านนั้นๆให้ดีขึ้น ถ้าพบว่าไอเดียของเราซ้ำกับเค้า ก็ต้องหาทางต่อยอดหรือทำไงก็ได้ให้มันมีความใหม่ แล้วก็ร่าง proposal (อ่านเล่นๆขำๆว่า"โพรโพสเศร้า"เพราะตอนเขียนมันเศร้า ฮาๆ) ซึ่งถ้าเราไม่มีเงินวิจัย เราก็ต้องเอา proposal เนี่ยแหล่ะ เพื่อไปขอทุนวิจัย ถ้ากรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ทุนเห็นว่างานวิจัยมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ (ถ้าจำไม่ผิดเค้าจะมีเกณฑ์ให้คะแนนที่เรียกว่า feasibility) เค้าก็จะให้เงินทุนไปทำวิจัยนั้นๆ โดยหลักการแล้ว เราจะต้องทำการทดลองตาม proposal ที่เสนอไป แต่โดยภาคปฏิบัติ อันนี้ผมขอไม่พูดถึง ฮาๆ เมื่อทำการทดลองสิ้นสุดก็เอาไปตีพิมพ์ ปิดทุน patent อะไรก็ว่าไปครับ

อนึ่ง ถ้าทำการทบทวนวรรณกรรมมาดี โอกาสที่งานเราจะซ้ำกับคนอื่นจะน้อยลงครับ (ย้ำว่าน้อย แต่ไม่ใช่ไม่มีน่ะครับ) นอกจากจะ jackpot จริงๆ เช่น กรณีที่กลุ้มวิจัยกลุ้มอื่นๆดันสนใจด้านเดียวกับเรา แต่ดันส่งตีพิมพ์ได้เร็วกว่าเรา กรณีนี้เราทำอะไรไม่ได้ นอกจากปรับแก้งานวิจัยของเราให้มันมีอะไรซักอย่างที่เหมาะสมแก่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในด้านนั้นๆ (เรื่องตีพิมพ์ตัดหน้า เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ครับ เห็นพอสมควรครับ ถ้ารู้จักผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยผ่านงานวิจัยมาก่อน ให้เค้าช่วยเล่าประสบการณ์ มันจะดีกว่าที่ผมเล่าให้ฟังครับ)

ที่เล่ามาก็คือวิธีการคร่าวๆที่ผมพอจะนึกออกครับ ใครพบว่าผิดพลาดประการใดก็ช่วยเสริมเติมแต่งเพื่อความสมบูรณ์ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่