สวัสดีครับ
วันนี้ พาพันมองไปรอบตัว ก็รู้สึกดีใจแทนพี่ๆเพื่อนๆทุกคน ที่กำลังจะได้หยุดยาว ไปเล่นสงกรานต์หรือกลับต่างจังหวัดไปหาครอบครัว แม้พาพันจะเล่นน้ำสงกรานต์ไม่ได้ เพราะพาพันเป็นต้นกระบองเพชร แต่พาพันคิดว่า เพียงแค่เห็นรอยยิ้มของทุกคนที่สนุกสนานจากการเล่นน้ำและความอบอุ่นที่ทุกคนในบ้านอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา พาพันก็มีความสุขแล้วล่ะครับ
แต่พอพาพันได้เห็นพี่ๆกำลังจะเดินทางกลับบ้านพร้อมๆกัน ก็รู้สึกอดเป็นห่วงแทนไม่ได้ ยิ่งพาพันลองเข้าไปค้นหาสถิติอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่แล้ว ก็ยิ่งใจหายครับ โชคดีที่เมื่อสักครู่นี้เอง พี่ๆจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เข้ามาให้ข้อมูลดีๆเพื่อความปลอดภัยของทุกคนที่ต้องเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ครับ พาพันเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อพี่ๆ เลยขอสรุปมาเล่าให้ฟังครับ
พี่ๆ สพฉ. ได้เล่าให้พาพันฟังว่า อุบัติเหตุจราจรเป็นสิ่งที่ทุกๆคนต้องให้ความสำคัญครับ เพราะ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และจะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากมีอัตราการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น ซึ่งจากสถิติขององค์การอนามัยโลกก็ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติยานยนต์มากเป็นอันดับ 2 คือ มีอัตราการเสียชีวิต 44 คนต่อประชากร 100,000 คน ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหาแนวทางช่วยกันรับมือเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุครับ
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ยังได้บอกพาพันอีกด้วยว่า ในช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 4 เท่า จากช่วงปกติ ซึ่งจากสถิติเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตรายในปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสิ้น 23,739 คน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อค และขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด โดยการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.78 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 31.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 24.57 และภาคใต้ร้อยละ 12.56 และเกิดในช่วงเวลา 16.00 น. มากที่สุด
นอกจากนี้ พี่ๆ สพฉ. ยังได้แนะนำวิธีการเตรียมพร้อมเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่าทุกคนต้องร่วมมือกัน โดยในส่วนของประชาชนเอง จะต้องยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ครับ
1.เมาไม่ขับ
2.งดขับรถเร็ว
3.สวมหมวกนิรภัย
4.คาดเข็มขัดทุกที่นั่ง
5.ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดงและย้อนศร และต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนเลนกะทันหัน ไม่ขับรถกระชั้นชิดคันหน้ามากเกินไป
6.หากต้องขับรถในระยะทางไกลเกินกว่า 200 กิโลเมตร ควรหยุดพักเป็นระยะ
7.มีสติและสมาธิในการขับรถ งดการใช้โทรศัพท์เด็ดขาด ควรตรวจสภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยเพื่อความปลอดภัย
นอกจากนี้ควรมีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอเพราะเราไม่สามารถคาดเดาการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ต้องพกเบอร์โทรฉุกเฉิน อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และหากเกิดอุบัติเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุจะต้องมีสติอยู่เสมอ และต้องรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ โดยสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669
และในส่วนของพี่ๆ สพฉ. และผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินก็ได้มีการประสานเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการตรวจเช็คคู่สายโทรศัพท์ 1669 ทั่วประเทศให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา นอกจากนี้ได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติการ และผู้ขับรถพยาบาลฉุกเฉินยึดหลักความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีคุณภาพ คล่องแคล่ว และครบพร้อม 24 ชั่วโมง และที่สำคัญในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินจะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังเช่นกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินและทีมกู้ชีพ โดยจะต้องไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและไซเรนโดยไม่จำเป็น ขับขี่ด้วยความเร็วตามที่มาตรฐานกำหนด คือ ไม่เกิน 90 กม./ชม.
พอได้ฟังอย่างนี้แล้วก็อุ่นใจนะครับ ที่พี่ๆ สพฉ. และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง ออกมาเตรียมพร้อมกันอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สำหรับพี่ๆชาวพันทิปก็มาช่วยกันยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ กันนะครับ เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวเองและคนรอบข้างครับ พาพันอยากเห็นภาพที่ทุกคนได้ใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีความสุขในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลแบบนี้มากๆครับ
ขอฝากพี่ๆทุกคนเล่นน้ำ เที่ยวให้สนุก เผื่อพาพันด้วยนะครับ แต่ก็อย่าเล่นกันเพลินจนขาดสติ หรือเล่นอะไรที่สุ่มเสี่ยงอันตราย ต้องระมัดระวัง และที่สำคัญคือ อย่าลืมช่วยกันดูแลโลกสวยๆของพวกเรา โดยเฉพาะเรื่องขยะ พาพันอยากฝากให้พี่ๆช่วยกันทิ้งขยะให้ถูกที่ ไม่อยากให้ไปทิ้งกันตามสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ทะเล, น้ำตก, ภูเขา ไม่งั้นวันนึง ภาพที่พาพันได้เห็นในเทศกาลสงกรานต์อาจไม่ใช่ความสุขเหมือนอย่างทุกวันนี้ก็ได้ครับ
ยังไงก็ เที่ยวให้สนุกนะครับพี่ๆทุกคน แล้วกลับมาเล่าให้พาพันฟังด้วยนะครับ
สวัสดีครับ
น้องพาพันเอามาฝาก... 7 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางวันสงกรานต์
สวัสดีครับ
วันนี้ พาพันมองไปรอบตัว ก็รู้สึกดีใจแทนพี่ๆเพื่อนๆทุกคน ที่กำลังจะได้หยุดยาว ไปเล่นสงกรานต์หรือกลับต่างจังหวัดไปหาครอบครัว แม้พาพันจะเล่นน้ำสงกรานต์ไม่ได้ เพราะพาพันเป็นต้นกระบองเพชร แต่พาพันคิดว่า เพียงแค่เห็นรอยยิ้มของทุกคนที่สนุกสนานจากการเล่นน้ำและความอบอุ่นที่ทุกคนในบ้านอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา พาพันก็มีความสุขแล้วล่ะครับ
แต่พอพาพันได้เห็นพี่ๆกำลังจะเดินทางกลับบ้านพร้อมๆกัน ก็รู้สึกอดเป็นห่วงแทนไม่ได้ ยิ่งพาพันลองเข้าไปค้นหาสถิติอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่แล้ว ก็ยิ่งใจหายครับ โชคดีที่เมื่อสักครู่นี้เอง พี่ๆจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เข้ามาให้ข้อมูลดีๆเพื่อความปลอดภัยของทุกคนที่ต้องเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ครับ พาพันเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อพี่ๆ เลยขอสรุปมาเล่าให้ฟังครับ
พี่ๆ สพฉ. ได้เล่าให้พาพันฟังว่า อุบัติเหตุจราจรเป็นสิ่งที่ทุกๆคนต้องให้ความสำคัญครับ เพราะ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และจะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากมีอัตราการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น ซึ่งจากสถิติขององค์การอนามัยโลกก็ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติยานยนต์มากเป็นอันดับ 2 คือ มีอัตราการเสียชีวิต 44 คนต่อประชากร 100,000 คน ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหาแนวทางช่วยกันรับมือเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุครับ
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ยังได้บอกพาพันอีกด้วยว่า ในช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 4 เท่า จากช่วงปกติ ซึ่งจากสถิติเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตรายในปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสิ้น 23,739 คน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อค และขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด โดยการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.78 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 31.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 24.57 และภาคใต้ร้อยละ 12.56 และเกิดในช่วงเวลา 16.00 น. มากที่สุด
นอกจากนี้ พี่ๆ สพฉ. ยังได้แนะนำวิธีการเตรียมพร้อมเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่าทุกคนต้องร่วมมือกัน โดยในส่วนของประชาชนเอง จะต้องยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ครับ
1.เมาไม่ขับ
2.งดขับรถเร็ว
3.สวมหมวกนิรภัย
4.คาดเข็มขัดทุกที่นั่ง
5.ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดงและย้อนศร และต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนเลนกะทันหัน ไม่ขับรถกระชั้นชิดคันหน้ามากเกินไป
6.หากต้องขับรถในระยะทางไกลเกินกว่า 200 กิโลเมตร ควรหยุดพักเป็นระยะ
7.มีสติและสมาธิในการขับรถ งดการใช้โทรศัพท์เด็ดขาด ควรตรวจสภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยเพื่อความปลอดภัย
นอกจากนี้ควรมีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอเพราะเราไม่สามารถคาดเดาการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ต้องพกเบอร์โทรฉุกเฉิน อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และหากเกิดอุบัติเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุจะต้องมีสติอยู่เสมอ และต้องรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ โดยสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669
และในส่วนของพี่ๆ สพฉ. และผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินก็ได้มีการประสานเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการตรวจเช็คคู่สายโทรศัพท์ 1669 ทั่วประเทศให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา นอกจากนี้ได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติการ และผู้ขับรถพยาบาลฉุกเฉินยึดหลักความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีคุณภาพ คล่องแคล่ว และครบพร้อม 24 ชั่วโมง และที่สำคัญในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินจะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังเช่นกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินและทีมกู้ชีพ โดยจะต้องไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและไซเรนโดยไม่จำเป็น ขับขี่ด้วยความเร็วตามที่มาตรฐานกำหนด คือ ไม่เกิน 90 กม./ชม.
พอได้ฟังอย่างนี้แล้วก็อุ่นใจนะครับ ที่พี่ๆ สพฉ. และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง ออกมาเตรียมพร้อมกันอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สำหรับพี่ๆชาวพันทิปก็มาช่วยกันยึดหลักปฏิบัติ 7 ข้อ กันนะครับ เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวเองและคนรอบข้างครับ พาพันอยากเห็นภาพที่ทุกคนได้ใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีความสุขในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลแบบนี้มากๆครับ
ขอฝากพี่ๆทุกคนเล่นน้ำ เที่ยวให้สนุก เผื่อพาพันด้วยนะครับ แต่ก็อย่าเล่นกันเพลินจนขาดสติ หรือเล่นอะไรที่สุ่มเสี่ยงอันตราย ต้องระมัดระวัง และที่สำคัญคือ อย่าลืมช่วยกันดูแลโลกสวยๆของพวกเรา โดยเฉพาะเรื่องขยะ พาพันอยากฝากให้พี่ๆช่วยกันทิ้งขยะให้ถูกที่ ไม่อยากให้ไปทิ้งกันตามสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ทะเล, น้ำตก, ภูเขา ไม่งั้นวันนึง ภาพที่พาพันได้เห็นในเทศกาลสงกรานต์อาจไม่ใช่ความสุขเหมือนอย่างทุกวันนี้ก็ได้ครับ
ยังไงก็ เที่ยวให้สนุกนะครับพี่ๆทุกคน แล้วกลับมาเล่าให้พาพันฟังด้วยนะครับ
สวัสดีครับ