#ปีใหม่2025 ระวังน้องตกใจเสียงพลุ เปิดวิธี #ห่อสุนัข แบบ T-Touch ลดอาการตื่นกลัว ป้องกันสัตว์เลี้ยงเตลิด
.
การจุดประทัดหรือพลุในงานเทศกาล รวมถึงอีเวนต์งานฉลองโอกาสพิเศษอื่นๆ นั้น แม้คนส่วนใหญ่จะตื่นตาตื่นใจกับความสวยงาม แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ “สุนัข” และ “แมว” นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่แสนจะทรมานเลยก็ว่าได้
.
เนื่องจากเจ้าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้มีประสาทการรับเสียงแตกต่างจากมนุษย์ กล่าวคือพวกมันสามารถรับเสียงความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ (Hz) และมากกว่า 20,000 เฮิรตซ์ (Hz) ได้ ขณะที่มนุษย์อย่างเราๆ ไม่สามารถได้ยินหรือรับรู้เสียงเหล่านั้น
.
ดังนั้น เสียงจากการจุดพลุหรือประทัดสำหรับหมาแมวจึงเป็น “ระดับเสียงดังมาก” จนสร้างความหวาดกลัวให้พวกมัน ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะทำให้น้องหมาน้องแมวนี้ตื่นตกใจขนาดที่ว่า “หนีเตลิด” ออกจากบ้าน และหลายเคสก็หลงทางกลับบ้านไม่ถูก หรืออาจบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ รวมถึงบางเคสก็มีอาการช็อกจนเสียชีวิตจากมลพิษทางเสียงเหล่านี้
.
แต่เรื่องนี้สามารถป้องกันได้ มีข้อมูลจากสถาบันฝึกสุนัขหลายแห่งแนะนำว่า หนึ่งในวิธีที่สามารถลดอาการหวาดกลัวเสียงดังของสุนัขได้ดี ก็คือ วิธีการบำบัดแบบ “T-Touch” หรือ “การห่อสุนัข” โดยวิธีนี้สามารถช่วยลดประสาทสัมผัสการรับเสียงของสุนัขลง ให้ความอบอุ่น และช่วยระงับอาการตระหนกของสุนัขได้ดี โดยการมัดที่หลังเปรียบเสมือนสัญชาตญาณของแม่สุนัขคาบลูกนั่นเอง
.
T-Touch ถูกออกแบบในการใช้รักษาบำบัดสุนัขที่มีการอาการเจ็บป่วย มีปัญหาทางอารมณ์ และสำหรับฝึกในสถาบันฝึกต่างๆ ซึ่งครูฝึกจากหลายสถาบันให้ความเห็นว่าการทำ T-Touch สามารถช่วยผ่อนคลายอารมณ์ตื่นกลัวของสุนัขได้จริงๆ
.
โดยวิธีการพันผ้าแบบ T-Touch ทำได้ง่ายเพียงแค่นำผืนแถบผ้ายาวๆ หรือผ้ายืดสำหรับพันกล้ามเนื้อ นำมาพันตัวสุนัขโดยให้จับสุนัขนอนหงายแล้วใช้ผ้าเหล่านี้พันที่หน้าอก แล้วไขว้ไว้ตรงท้ายทอย นำผ้ามาอ้อมใต้ท้องตวัดรวบขึ้นมามัดปมตรงช่วงเอว
.
ส่วนใครที่พันผ้าแล้วหลุดหรือพันไม่เป็น ก็ไม่ต้องกังวลไป เพียงแค่หาเสื้อเก่าๆ หรือผ้าที่พอดีตัวกับสุนัขมาใส่ให้แทนก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน
.
นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำจากสัตวแพทย์ในการเตรียมพร้อมและรับมือกับอาการกลัวเสียงดังของสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการเตลิดหนีจนอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตของพวกมัน โดยมีข้อปฏิบัติเบื้องต้นคร่าวๆ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
.
1. สร้างพื้นที่ปลอดภัย คือการจัดหาพื้นที่ปลอดภัยหรือบังเกอร์ป้องกันเสียงดังในพื้นที่ปิด เช่น ในห้องน้ำ ห้องเก็บของ หรือพื้นที่ที่สัตว์เลี้ยงสามารถหลบได้
.
2. หากไม่มีพื้นที่ปิดสำหรับซ่อนตัว ก็ให้ใช้วิธีการปิดม่านกันแสง เพราะแสงก็เป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้สุนัขหวาดกลัวและไม่สบายใจเช่นเดียวกับเสียง
.
3. ไม่ควรดุ หรือ ลงโทษสัตว์เลี้ยง ทุกครั้งที่มีเสียงดังสุนัขจะแสดงพฤติกรรมลนลานและก้าวร้าว หรือการคุ้ยสิ่งของเพื่อหาที่หลบภัย ซึ่งหากเราดุเพื่อหวังจะให้สุนัขอยู่นิ่งๆ แต่กลับจะยิ่งทำให้สุนัขเครียด และไม่สบายใจเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เตรียมขนม หรือของเล่น หรือมีการเปิดเพลงหรือเปิดทีวีคลอไปในบรรยากาศ เพื่อให้สุนัขคุ้นชินกับเสียงดัง เมื่อมีเสียงจุดพลุก็จะช่วยลดอาการตื่นกลัวแบบไม่คาดคิดได้
.
.
ข้อมูลจาก :
https://www.facebook.com/share/p/1D3mnu3X35/?mibextid=wwXIfr
คืนปีใหม่ ระวังน้องตกใจเสียงพลุ
.
การจุดประทัดหรือพลุในงานเทศกาล รวมถึงอีเวนต์งานฉลองโอกาสพิเศษอื่นๆ นั้น แม้คนส่วนใหญ่จะตื่นตาตื่นใจกับความสวยงาม แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ “สุนัข” และ “แมว” นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่แสนจะทรมานเลยก็ว่าได้
.
เนื่องจากเจ้าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้มีประสาทการรับเสียงแตกต่างจากมนุษย์ กล่าวคือพวกมันสามารถรับเสียงความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ (Hz) และมากกว่า 20,000 เฮิรตซ์ (Hz) ได้ ขณะที่มนุษย์อย่างเราๆ ไม่สามารถได้ยินหรือรับรู้เสียงเหล่านั้น
.
ดังนั้น เสียงจากการจุดพลุหรือประทัดสำหรับหมาแมวจึงเป็น “ระดับเสียงดังมาก” จนสร้างความหวาดกลัวให้พวกมัน ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะทำให้น้องหมาน้องแมวนี้ตื่นตกใจขนาดที่ว่า “หนีเตลิด” ออกจากบ้าน และหลายเคสก็หลงทางกลับบ้านไม่ถูก หรืออาจบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ รวมถึงบางเคสก็มีอาการช็อกจนเสียชีวิตจากมลพิษทางเสียงเหล่านี้
.
แต่เรื่องนี้สามารถป้องกันได้ มีข้อมูลจากสถาบันฝึกสุนัขหลายแห่งแนะนำว่า หนึ่งในวิธีที่สามารถลดอาการหวาดกลัวเสียงดังของสุนัขได้ดี ก็คือ วิธีการบำบัดแบบ “T-Touch” หรือ “การห่อสุนัข” โดยวิธีนี้สามารถช่วยลดประสาทสัมผัสการรับเสียงของสุนัขลง ให้ความอบอุ่น และช่วยระงับอาการตระหนกของสุนัขได้ดี โดยการมัดที่หลังเปรียบเสมือนสัญชาตญาณของแม่สุนัขคาบลูกนั่นเอง
.
T-Touch ถูกออกแบบในการใช้รักษาบำบัดสุนัขที่มีการอาการเจ็บป่วย มีปัญหาทางอารมณ์ และสำหรับฝึกในสถาบันฝึกต่างๆ ซึ่งครูฝึกจากหลายสถาบันให้ความเห็นว่าการทำ T-Touch สามารถช่วยผ่อนคลายอารมณ์ตื่นกลัวของสุนัขได้จริงๆ
.
โดยวิธีการพันผ้าแบบ T-Touch ทำได้ง่ายเพียงแค่นำผืนแถบผ้ายาวๆ หรือผ้ายืดสำหรับพันกล้ามเนื้อ นำมาพันตัวสุนัขโดยให้จับสุนัขนอนหงายแล้วใช้ผ้าเหล่านี้พันที่หน้าอก แล้วไขว้ไว้ตรงท้ายทอย นำผ้ามาอ้อมใต้ท้องตวัดรวบขึ้นมามัดปมตรงช่วงเอว
.
ส่วนใครที่พันผ้าแล้วหลุดหรือพันไม่เป็น ก็ไม่ต้องกังวลไป เพียงแค่หาเสื้อเก่าๆ หรือผ้าที่พอดีตัวกับสุนัขมาใส่ให้แทนก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน
.
นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำจากสัตวแพทย์ในการเตรียมพร้อมและรับมือกับอาการกลัวเสียงดังของสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการเตลิดหนีจนอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตของพวกมัน โดยมีข้อปฏิบัติเบื้องต้นคร่าวๆ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
.
1. สร้างพื้นที่ปลอดภัย คือการจัดหาพื้นที่ปลอดภัยหรือบังเกอร์ป้องกันเสียงดังในพื้นที่ปิด เช่น ในห้องน้ำ ห้องเก็บของ หรือพื้นที่ที่สัตว์เลี้ยงสามารถหลบได้
.
2. หากไม่มีพื้นที่ปิดสำหรับซ่อนตัว ก็ให้ใช้วิธีการปิดม่านกันแสง เพราะแสงก็เป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้สุนัขหวาดกลัวและไม่สบายใจเช่นเดียวกับเสียง
.
3. ไม่ควรดุ หรือ ลงโทษสัตว์เลี้ยง ทุกครั้งที่มีเสียงดังสุนัขจะแสดงพฤติกรรมลนลานและก้าวร้าว หรือการคุ้ยสิ่งของเพื่อหาที่หลบภัย ซึ่งหากเราดุเพื่อหวังจะให้สุนัขอยู่นิ่งๆ แต่กลับจะยิ่งทำให้สุนัขเครียด และไม่สบายใจเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เตรียมขนม หรือของเล่น หรือมีการเปิดเพลงหรือเปิดทีวีคลอไปในบรรยากาศ เพื่อให้สุนัขคุ้นชินกับเสียงดัง เมื่อมีเสียงจุดพลุก็จะช่วยลดอาการตื่นกลัวแบบไม่คาดคิดได้
.
.
ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/share/p/1D3mnu3X35/?mibextid=wwXIfr