http://www.dailynews.co.th/Content/politics/229232/“ยรรยง”แจงป.ป.ช.ยุติจำนำข้าวผิดกฎหมาย
ประเด็นที่คุณยรรยงชี้แจง
1.ทำไมต้อง 15,000 บาท และต้องทุกเมล็ด
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา และ 15,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป
อันนี้ผมว่า คำชี้แจงของรัฐบาลในประเด็นนี้ ยังไงก็ไม่เคลียร์สักที เพราะจริงอยู่ 15,000 บาท อาจจะไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป สำหรับชาวนาที่ยากจน มีที่นาไม่ถึง 10 ไร่ แต่การรับจำนำทุกเมล็ด หมายความว่า ชาวนาที่มีนาเป็นร้อย ๆ ไร่ ก็จะสามารถได้ในราคานี้เช่นกัน ซึ่งทำให้ได้ประโยชน์ที่สูงเกินไป ดังนั้น การตอบในเรื่องนี้ ควรตอบให้ครอบคลุม รอบด้าน ไม่ใช่เพียงแต่เอาจุดเล็กที่เหมือนดีมีประโยชน์ ไปพูดให้ส่วนที่ผิดพลาดดูดีไปด้วยอย่างนี้
เพราะเมื่อกลางปีก่อน ที่รัฐบาลจะลดราคารับจำนำเหลือ 12,000 บาท ก็มีคำชี้แจงนึง ที่บอกว่า ราคา 12,000 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม ดังนั้น ราคา 15,000 บาทในวันนั้น ก็ควรจะเป็นราคาที่แพงเกินไป
2.นายกฯ ละเลยไม่ระงับโครงการ ทั้งที่สังคมมองว่า สร้างความเสียหายอย่างมาก
-นโยบายจำนำข้าว เป็นนโยบายที่ใช้หาเสียง (ก็คงเหมือนประเด็นยกเลิกกองทุนน้ำมัน) ยกเลิกไม่ได้ (แต่กองทุนน้ำมันยกเลิกแล้วสุดท้ายก็ยังกลับมาเก็บอีกครั้งนึง ถ้าใช้ตรรกะเดียวกัน จำนำข้าวก็ได้ทำไปแล้ว ก็น่าจะหยุดทำได้)
และนโยบายนี้ สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 84(8) ก็ไม่รู้ว่า คุณยรรยง จะอ้างมาตรานี้มาทำไม มีตั้ง 14 วงเล็บ แต่อ้างวงเล็บเดียวที่มีประโยชน์
ส่วนอีกหลายวงเล็บที่ นโยบายนี้ไม่สอดคล้องกับมาตรานี้ ทั้งเรื่องการส่งเสริมการค้าเสรี ส่งเสริมระบบสหกรณ์ ควบคุมรักษาวินัยการเงินการคลัง ทำไมไม่ทำไปด้วยกันล่ะครับ
3. ในประเด็นเรื่องทุจริต คุณยรรยงบอกว่า นายกฯ ได้ดำเนินการป้องกัน ตรวจสอบ และปราบปรามทุจริตในโครงการอย่างต่อเนื่อง
ผมว่าประเด็นนี้ ควรมีรายละเอียดกว่าการพูดลอย ๆ แบบนี้นะครับ เอาแค่ตอนสั่งให้คุณบุญทรง ไปสรุปตัวเลข รับข้าวมาเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่แล้ว ได้เงินเท่าไหร่ เหลือสตีอกเท่าไหร่ แต่คุณบุญทรง ก็ทำได้แค่ นั่งเกาหูเกาคางไป ในระหว่างโดนนักข่าวถามต้อนไปต้อนมา ตอบอะไรไม่ได้สักอย่าง
แต่ในวันนั้น นายกฯ ก็ไม่เห็นจะมีการดำเนินการอะไร กับพฤติกรรมที่ปกปิดข้อมูลของ รมว.พาณิชย์ตอนนั้น ก็ปล่อยผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แล้วพอมีประเด็นสงสัยเรื่องสต็อก ก็สั่งการให้ รองเลขาฯนายกฯ ดำเนินการนับสต็อก เพื่อชี้แจงกับสาธารณชน แต่เวลาผ่านไป จะครบปี ถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการนำตัวเลขนี้ มาแถลงข่าวให้ทราบกันเลย นายกฯ ก็นิ่งอีก ไม่ว่าอะไรเหมือนเเดิม
แบบนี้คงเรียกได้ว่า สั่งเอาใจฝ่ายตรวจสอบ แต่ไม่ได้หวังผลอย่างแท้จริง
แล้วแบบนี้ไม่เรียกว่าละเลย ก็ไม่รู้จะเรียกอะไรแล้วครับ
4.การปิดบัญชีของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี คณะของคุณสุภา ประเด็นนี้ผมสงสัยว่า คุณยรรยง ทำงานในกระทรวงพาณิชย์มาทั้งชีวิต จะพูดว่า "การปิดบัญชีเป็นเรื่องเทคนิคที่ยาก จะปิดปีต่อปีไม่ได้" ได้ยังไง
เพราะหลักการบัญชีมันก็ต้องปิดให้ได้ ไม่อย่างนั้น มันจะรู้สภาพของกิจการได้ยังไง
สินค้าซื้อมาแพง ขายขาดทุน ก็ต้องลงบัญชีไปตามนั้น ไม่เห็นจะน่าอายตรงไหน เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง ลงไปตามความจริง เกิดปัญหาตรงไหน จะได้วางแผนแก้ไขทัน
ไม่ใช่มัวแต่ฝันกับคำว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" แล้วเล่นไม่ยอมขายสักที มันก็เลยไม่ขาดทุน
แบบนี้ก็คงเกินไป
http://www.mcot.net/site/content?id=534684dabe04704d088b45ca#.U0aR1aizKm4
สำหรับคุณนิวัฒน์ธำรง ชี้แจง
1.มีการตั้งอนุกรรมการถึง 12 คณะ เพื่อควบคุมดูแลเรื่องทุจริตอย่างเต็มที่
ตั้งกรรมการมา แต่ไม่เชื่อที่กรรมการทำงาน แล้วแบบนี้จะมีประสิทธิภาพได้ยังไง
อย่างกรรมการปิดบัญชี บอกว่าขาดทุนเท่านั้นเท่านี้ ก็แย่งกันปฏิเสธ ไม่เชื่อถือการทำงานของคณะอนุฯ อย่างนี้มันเรียกว่าตั้ง อนุกรรมการให้ทำงานตรงไปตรงมา ควบคุมทุจริตจริงหรือครับ
2.เมื่อมีข้อท้วงติง รัฐบาลก็พยายามแก้ไข ทั้งเรื่องการขายรัฐต่อรัฐ และการขายข้าวถุง
ผมว่าตรงนี้ คุณนิวัฒน์ธำรง คงต้องทบทวนดู อย่างเรื่องรัฐต่อรัฐนั้น หลังจากการอภิปรายในปี 55 ทางรัฐบาลได้พยายามทำอะไรบ้าง
เท่าที่ผมจำได้ก็คือ พยายามทำการตรวจสอบเปรียบเทียบกับการขายข้าวรัฐต่อรัฐในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อนำมาเป็นตัวการันตีว่า ที่ขายแบบรัฐต่อรัฐ แบบไม่ต้องส่งข้าวออกนอกประเทศนั้น เป็นการขายที่ถูกต้อง
แบบนี้มันจะเรียกว่า พยายามแก้ไข หรือพยายามแก้ตัว
อย่างเรื่องข้าวถุง มีปัญหาตั้งแต่การทำข้าวถุงขายร้านถูกใจแล้ว อนุมัติข้าวไปหลายล้านตัน แต่สุดท้ายนับไปนับมา ทำข้าวถุงได้แค่สองแสนตันเท่านั้น
ส่วนอีกสองล้านตัน ไม่รู้ไปโผล่เป็นข้าวถุงแถวไหน
พอมีคนถาม คนทัก ก็ไม่กระตือรือล้น ในการแก้ไข ถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีผลสรุปออกมาว่า ตกลงข้าวที่เอาไปข้าวถุงนั้น เบิกไปเท่าไหร่ ทำไปเท่าไหร่ ที่เหลืออยู่ที่ไหน เหลือเป็นข้าวถุง หรือว่า ยังอยู่ในกระสอบอยู่ ก็ยังไม่เห็นมีผลสรุปอะไรออกมาสักที
3. พูดถึงตัวเลขในการปิดบัญชี ที่ปิดไปวันที่ 31 มกราคม 56 (ทำไมไม่เอาที่ปิดวันที่ 31 พฤษภาคม 56 มาพูดก็ไม่เข้าใจ เพราะฉบับหลังนี้ รู้สึกจะขาดทุนเพิ่มเป็น 3 แสนกว่าล้านแล้ว) ว่าไม่ขาดทุนขนาดนั้น
ก็วันนั้นที่มีข่าวประเด็นนี้ บอกว่าขาดทุน 220,000 ล้าน (ตัวเลขที่ ณัฐวุฒิพูดซ้ำไปมา ในวันนั่งแถลงข่าวกับคุณบุญทรง) ทางรัฐบาลก็ให้คุณวราเทพไปสรุป ก็ได้ตัวเลข 136,000 ล้านออกมาแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว เพราะขาดทุนมันเพิ่มขึ้นทุกวัน ขึ้นอยู่กับการมองมุมไหน
ซึ่งถึงวันนี้ ผมขาดทุนมันเกิน 4 แสนล้านบาทแล้ว ก็ไม่เข้าใจจะไปพูดเรื่องเก่าปีกว่าทำไม
ทำไมไม่เอาตัวเลขที่อัพเดท มาพูดกัน น่าจะมีประโยชน์มากกว่า
4. พูดถึงเรื่องข้าวที่หาย 2 ล้านตัน สรุปคือไม่หาย แต่เป็นเพราะไม่ได้ลงบัญชีเท่านั้น
ถ้าบอกว่าเป็นเพราะไม่ลงบัญชี ผมว่า อันนี้ต้องเรียกว่า เป็นการปล่อยปละละเลยชัดเจน
เพียงแต่คนที่ละเลยนั้นเป็นใครเท่านั้น
จริง ๆ การลืมลงสต๊อกข้าว ถึง 2 ล้านตัน มันเรื่องใหญ่มาก ไม่น่าที่จะพูดให้พ้น ๆ ไปแบบนี้เท่านั้น
ถ้าลืมลงบัญชีจริง ก็ควรดำเนินคดี จะทางวินัย หรือทางอาญาด้วยก็ได้ เพราะการผิดพลาดขนาดนี้ เรียกว่าเกือบ 10% ของข้าวที่รัฐบาลมีเลย
และจริง ๆ ระบบจำนำข้าว ที่รัฐบาลบอกว่า ออกแบบไว้อย่างดี มีการใช้ระบบไอทีมาช่วยควบคุมด้วย
แต่ข้าวหายไป 2 ล้านตัน กลับไม่มีส่วนไหนในระบบ สามารถมองเห็นได้อย่างรวดเร็ว ต้องรอให้มีคนตรวจสอบก่อน ถึงจะมองเห็น
ยรรยง & นิวัฒน์ธำรง ชี้แจง ปปช.
ประเด็นที่คุณยรรยงชี้แจง
1.ทำไมต้อง 15,000 บาท และต้องทุกเมล็ด
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา และ 15,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป
อันนี้ผมว่า คำชี้แจงของรัฐบาลในประเด็นนี้ ยังไงก็ไม่เคลียร์สักที เพราะจริงอยู่ 15,000 บาท อาจจะไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป สำหรับชาวนาที่ยากจน มีที่นาไม่ถึง 10 ไร่ แต่การรับจำนำทุกเมล็ด หมายความว่า ชาวนาที่มีนาเป็นร้อย ๆ ไร่ ก็จะสามารถได้ในราคานี้เช่นกัน ซึ่งทำให้ได้ประโยชน์ที่สูงเกินไป ดังนั้น การตอบในเรื่องนี้ ควรตอบให้ครอบคลุม รอบด้าน ไม่ใช่เพียงแต่เอาจุดเล็กที่เหมือนดีมีประโยชน์ ไปพูดให้ส่วนที่ผิดพลาดดูดีไปด้วยอย่างนี้
เพราะเมื่อกลางปีก่อน ที่รัฐบาลจะลดราคารับจำนำเหลือ 12,000 บาท ก็มีคำชี้แจงนึง ที่บอกว่า ราคา 12,000 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม ดังนั้น ราคา 15,000 บาทในวันนั้น ก็ควรจะเป็นราคาที่แพงเกินไป
2.นายกฯ ละเลยไม่ระงับโครงการ ทั้งที่สังคมมองว่า สร้างความเสียหายอย่างมาก
-นโยบายจำนำข้าว เป็นนโยบายที่ใช้หาเสียง (ก็คงเหมือนประเด็นยกเลิกกองทุนน้ำมัน) ยกเลิกไม่ได้ (แต่กองทุนน้ำมันยกเลิกแล้วสุดท้ายก็ยังกลับมาเก็บอีกครั้งนึง ถ้าใช้ตรรกะเดียวกัน จำนำข้าวก็ได้ทำไปแล้ว ก็น่าจะหยุดทำได้)
และนโยบายนี้ สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 84(8) ก็ไม่รู้ว่า คุณยรรยง จะอ้างมาตรานี้มาทำไม มีตั้ง 14 วงเล็บ แต่อ้างวงเล็บเดียวที่มีประโยชน์
ส่วนอีกหลายวงเล็บที่ นโยบายนี้ไม่สอดคล้องกับมาตรานี้ ทั้งเรื่องการส่งเสริมการค้าเสรี ส่งเสริมระบบสหกรณ์ ควบคุมรักษาวินัยการเงินการคลัง ทำไมไม่ทำไปด้วยกันล่ะครับ
3. ในประเด็นเรื่องทุจริต คุณยรรยงบอกว่า นายกฯ ได้ดำเนินการป้องกัน ตรวจสอบ และปราบปรามทุจริตในโครงการอย่างต่อเนื่อง
ผมว่าประเด็นนี้ ควรมีรายละเอียดกว่าการพูดลอย ๆ แบบนี้นะครับ เอาแค่ตอนสั่งให้คุณบุญทรง ไปสรุปตัวเลข รับข้าวมาเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่แล้ว ได้เงินเท่าไหร่ เหลือสตีอกเท่าไหร่ แต่คุณบุญทรง ก็ทำได้แค่ นั่งเกาหูเกาคางไป ในระหว่างโดนนักข่าวถามต้อนไปต้อนมา ตอบอะไรไม่ได้สักอย่าง
แต่ในวันนั้น นายกฯ ก็ไม่เห็นจะมีการดำเนินการอะไร กับพฤติกรรมที่ปกปิดข้อมูลของ รมว.พาณิชย์ตอนนั้น ก็ปล่อยผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แล้วพอมีประเด็นสงสัยเรื่องสต็อก ก็สั่งการให้ รองเลขาฯนายกฯ ดำเนินการนับสต็อก เพื่อชี้แจงกับสาธารณชน แต่เวลาผ่านไป จะครบปี ถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการนำตัวเลขนี้ มาแถลงข่าวให้ทราบกันเลย นายกฯ ก็นิ่งอีก ไม่ว่าอะไรเหมือนเเดิม
แบบนี้คงเรียกได้ว่า สั่งเอาใจฝ่ายตรวจสอบ แต่ไม่ได้หวังผลอย่างแท้จริง
แล้วแบบนี้ไม่เรียกว่าละเลย ก็ไม่รู้จะเรียกอะไรแล้วครับ
4.การปิดบัญชีของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี คณะของคุณสุภา ประเด็นนี้ผมสงสัยว่า คุณยรรยง ทำงานในกระทรวงพาณิชย์มาทั้งชีวิต จะพูดว่า "การปิดบัญชีเป็นเรื่องเทคนิคที่ยาก จะปิดปีต่อปีไม่ได้" ได้ยังไง
เพราะหลักการบัญชีมันก็ต้องปิดให้ได้ ไม่อย่างนั้น มันจะรู้สภาพของกิจการได้ยังไง
สินค้าซื้อมาแพง ขายขาดทุน ก็ต้องลงบัญชีไปตามนั้น ไม่เห็นจะน่าอายตรงไหน เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง ลงไปตามความจริง เกิดปัญหาตรงไหน จะได้วางแผนแก้ไขทัน
ไม่ใช่มัวแต่ฝันกับคำว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" แล้วเล่นไม่ยอมขายสักที มันก็เลยไม่ขาดทุน
แบบนี้ก็คงเกินไป
http://www.mcot.net/site/content?id=534684dabe04704d088b45ca#.U0aR1aizKm4
สำหรับคุณนิวัฒน์ธำรง ชี้แจง
1.มีการตั้งอนุกรรมการถึง 12 คณะ เพื่อควบคุมดูแลเรื่องทุจริตอย่างเต็มที่
ตั้งกรรมการมา แต่ไม่เชื่อที่กรรมการทำงาน แล้วแบบนี้จะมีประสิทธิภาพได้ยังไง
อย่างกรรมการปิดบัญชี บอกว่าขาดทุนเท่านั้นเท่านี้ ก็แย่งกันปฏิเสธ ไม่เชื่อถือการทำงานของคณะอนุฯ อย่างนี้มันเรียกว่าตั้ง อนุกรรมการให้ทำงานตรงไปตรงมา ควบคุมทุจริตจริงหรือครับ
2.เมื่อมีข้อท้วงติง รัฐบาลก็พยายามแก้ไข ทั้งเรื่องการขายรัฐต่อรัฐ และการขายข้าวถุง
ผมว่าตรงนี้ คุณนิวัฒน์ธำรง คงต้องทบทวนดู อย่างเรื่องรัฐต่อรัฐนั้น หลังจากการอภิปรายในปี 55 ทางรัฐบาลได้พยายามทำอะไรบ้าง
เท่าที่ผมจำได้ก็คือ พยายามทำการตรวจสอบเปรียบเทียบกับการขายข้าวรัฐต่อรัฐในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อนำมาเป็นตัวการันตีว่า ที่ขายแบบรัฐต่อรัฐ แบบไม่ต้องส่งข้าวออกนอกประเทศนั้น เป็นการขายที่ถูกต้อง
แบบนี้มันจะเรียกว่า พยายามแก้ไข หรือพยายามแก้ตัว
อย่างเรื่องข้าวถุง มีปัญหาตั้งแต่การทำข้าวถุงขายร้านถูกใจแล้ว อนุมัติข้าวไปหลายล้านตัน แต่สุดท้ายนับไปนับมา ทำข้าวถุงได้แค่สองแสนตันเท่านั้น
ส่วนอีกสองล้านตัน ไม่รู้ไปโผล่เป็นข้าวถุงแถวไหน
พอมีคนถาม คนทัก ก็ไม่กระตือรือล้น ในการแก้ไข ถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีผลสรุปออกมาว่า ตกลงข้าวที่เอาไปข้าวถุงนั้น เบิกไปเท่าไหร่ ทำไปเท่าไหร่ ที่เหลืออยู่ที่ไหน เหลือเป็นข้าวถุง หรือว่า ยังอยู่ในกระสอบอยู่ ก็ยังไม่เห็นมีผลสรุปอะไรออกมาสักที
3. พูดถึงตัวเลขในการปิดบัญชี ที่ปิดไปวันที่ 31 มกราคม 56 (ทำไมไม่เอาที่ปิดวันที่ 31 พฤษภาคม 56 มาพูดก็ไม่เข้าใจ เพราะฉบับหลังนี้ รู้สึกจะขาดทุนเพิ่มเป็น 3 แสนกว่าล้านแล้ว) ว่าไม่ขาดทุนขนาดนั้น
ก็วันนั้นที่มีข่าวประเด็นนี้ บอกว่าขาดทุน 220,000 ล้าน (ตัวเลขที่ ณัฐวุฒิพูดซ้ำไปมา ในวันนั่งแถลงข่าวกับคุณบุญทรง) ทางรัฐบาลก็ให้คุณวราเทพไปสรุป ก็ได้ตัวเลข 136,000 ล้านออกมาแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว เพราะขาดทุนมันเพิ่มขึ้นทุกวัน ขึ้นอยู่กับการมองมุมไหน
ซึ่งถึงวันนี้ ผมขาดทุนมันเกิน 4 แสนล้านบาทแล้ว ก็ไม่เข้าใจจะไปพูดเรื่องเก่าปีกว่าทำไม
ทำไมไม่เอาตัวเลขที่อัพเดท มาพูดกัน น่าจะมีประโยชน์มากกว่า
4. พูดถึงเรื่องข้าวที่หาย 2 ล้านตัน สรุปคือไม่หาย แต่เป็นเพราะไม่ได้ลงบัญชีเท่านั้น
ถ้าบอกว่าเป็นเพราะไม่ลงบัญชี ผมว่า อันนี้ต้องเรียกว่า เป็นการปล่อยปละละเลยชัดเจน
เพียงแต่คนที่ละเลยนั้นเป็นใครเท่านั้น
จริง ๆ การลืมลงสต๊อกข้าว ถึง 2 ล้านตัน มันเรื่องใหญ่มาก ไม่น่าที่จะพูดให้พ้น ๆ ไปแบบนี้เท่านั้น
ถ้าลืมลงบัญชีจริง ก็ควรดำเนินคดี จะทางวินัย หรือทางอาญาด้วยก็ได้ เพราะการผิดพลาดขนาดนี้ เรียกว่าเกือบ 10% ของข้าวที่รัฐบาลมีเลย
และจริง ๆ ระบบจำนำข้าว ที่รัฐบาลบอกว่า ออกแบบไว้อย่างดี มีการใช้ระบบไอทีมาช่วยควบคุมด้วย
แต่ข้าวหายไป 2 ล้านตัน กลับไม่มีส่วนไหนในระบบ สามารถมองเห็นได้อย่างรวดเร็ว ต้องรอให้มีคนตรวจสอบก่อน ถึงจะมองเห็น