ขอ 10,000 ร่วมแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 157

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงาน ลูกจ้าง ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการทุจริตจนเกิดความเสียหาย มีเพียงกฎหมายเพียงข้อเดียวที่เอาผิดได้ทุกกรณี เปรียบเสมือนกฎหมานครอบจักรวาล แต่ในปัจจุบันกฎหมายข้อนี้กลับมีบทลงโทษที่น้อยคือจำคุก 1-10 ปี ปรับไม่เกิน 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงยังเป็นคดีที่มีอายุความซึ่งถ้าหากไม่สารถจัดการคดีนี้ให้เสร็จก่อนที่จะหมดอายุความจึงคิดว่ากฎหมายข้อนี้มีจุดบกพร่อง จึงอยากจะขอความร่วมมือจากประชาชนร่มลงชื่อเสนอแก้กฎหมาย

ด้วยการเพิ่มโทษเป็นจำคุก 5-15 ปี ปรับไม่เกิน 10,000-30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือจำคุกตลอดชีวิต
รวมถึงความผิดนี้จะไม่นับอายุความ ซึ่งในการแก้ไขครั้งนี้ ก็ยังมีอีก 3 ความผิดที่จะไม่นับอายุความ คือความผิดตามมาตรา 288 ความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคนตาย มาตรา 313 ความผิดเกี่ยวกับการเรียกค่าไถ่ มาตรา 320 ความผิดเกี่ยวกับการถูกลักพาตัว

โดยถึงแม้ว่าขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการยุบสภา แต่จะไม่มีผลอะไร ซึ่งถ้าได้รายชื่อครบถ้วนแล้วจะนำไปยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อมีการเปิดสมัยประชุมแล้ว

โดยผู้มีสิทธิลงชื่อต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.สัญชาติไทย หรือแปลงสัญชาติไทยมาแล้ว 5 ปี
2.มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ (เกิดก่อน 3 มกราคม 2539)
3.มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วัน

โดยกรุณากรอกราละเอียดทั้งหมด ในใบ ข.ก.1 และ ข.ก. 2 โดยละเอียดด้วยลายมือ โดยดาวน์โหลดได้ที่
http://www.upload-thai.com/download.php?id=788150419496f60d90b386261f35d81f

วันนี้แค่สำรวจความต้องการ

เมื่อวานนี้มี 1 คห. ได้ส่งมาบอกว่าไม่เห็นด้วยแต่ขอไม่บอกชื่อ จขคห. แล้วกัน เพราะรู้สึกว่าคนแบบนี้ไม่ต้องการให้เมืองไทยปลอดคอรัปชั่นจึงได้มาทำหัวหมอเพื่อที่ตัวเองอาจจะได้มีผลประโยชน์ทับซ้อน

ก็ฝันกันไป
ถามหน่อยของเดิม จำคุก 1 -10 ปี
ศาลเคยลง 10 ปีมั้ย.. ตอบเลยว่าแทบไม่มีเลย

ดังนั้นจะเพิ่มโทษ 5 - 15 ปี ไปก็เท่านั้น เพราะยังไงศาลก็ลงไม่ถึง 10 ปีอยู่ดี

และที่สำคัญนะ ปวิอ ม.176 บอกว่า หากโทษที่จำเลยถูกฟ้องมีโทษขั้นต่ำ 5 ปี ขึ้นไปหรือสูงกว่านั้น
ศาลต้องสืบพยานจนให้แน่ใจก่อนว่าจำเลยได้กระทำผิดจรงตามฟ้อง จึงจะลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ ใช้กับทุกมาตราของกฎหมายที่มีโทษจำคุกขันต่ำตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปทั้งสิ้น

คราวนี้ หากจำเลยกระทำผิดจริงตาม ม.157 แทนที่ศาลจะลงโทษจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องสืบพยาน ( ตาม ปวิอ ม.176)
เพราะโทษขึ้นต่ำของ ม.157 คือ 1 ปี ..
ศาลก็ต้องมาเสียเวลาสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยอีก... เสียเวลานะ


อย่างคดียาเสพติด เมื่อก่อนจำคุกตั้งแต่ 5 - 15 ปี
พอจำเลยรับสารภาพ ศาลก็ต้องมานั่งสืบพยานอีกยาวเหยียด...
คราวนี้เค้าเลยแก้กฎหมายเป็นว่า โทษจำคุก 4 - 15 ปี เพื่อไม่ให้ติดล็อกของ ปวิอ ม.176


พอจำเลยถูกฟ้องคดียาเสพติด ศาลก็ลงโทษเลย โดยไม่ต้องสืบพยาน
ไงล่ะ... การแก้กฎหมายเพิ่มโทษ ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดในเรื่องนั้น
เข้าใจใหม่ด้วยครับ..


อีกอย่างโทษข้อหาฆ่าคนตาย ก็สูงถึงประหารชีวิต
มันก็ไม่เห็นจะประหารกันเลย
แล้วจะแก้กฎหมายไปทำไม


ส่วนเรื่องประเด็นอายุความ ไม่มีชาติใดในโลกนี้เค้าไม่กำหนดไว้หรอกครับ
ความผิดเพียงไม่กี่กรณี แต่ดันติดคดีจนตาย ทั้งๆที่ความผิดเกิดจากหลายปัจจัย
เอาง่ายๆนะ ถ้าคุณโดนข้อหานี้ และหนีไปแล้ว
จากนั้นกลับมาก็โดนอีก เพราะอายุความยังอยู่ คุณจะรู้สึกอย่างไร
ชาตินี้ไม่ต้องกลับบ้านกันเลยหรือ(หนีไป ตปท)


อีกอย่างนะ คนทำคดี พยานหลักฐาน ใครเค้าจะเก็บไว้รอคุณในอีก 20 ปี หรือ 30 ปี 40 - 50 ปีข้างหน้า
เพราะไอ้คนพวกนั้นมันอาจตายเหว..กันหมดแล้วจนไปเกิดใหม่ก็ได้ ส่วนคุณก็หนีไปจนตาย เพราะอายุความมันไม่มียังไงล่ะ (ตามที่คุณอยากได้)

ซึ่งส่วนตัวรู้สึกเสียใจที่มีคนคิดแบบนี้ กฎหมายข้อนี้เปรียบเสมือนกฎหมายที่สามารถเอาผิดกับการคอรัปชั่นได้ทุกกรณี แต่กลับมีบทลงโทษขั้นต่ำเพียง 1 ปี เพื่อไม่ให้เข้าเกณฑ์ ป.วิ.อาญา หรือ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 176 ว่าโทษจำคุกมากว่า 5 ปี จะต้องมีการสืบพยานหาหลักฐานซึ่งเจตนาของเราที่แท้จริงคือต้องการ "คนผิด" ไม่ใช่ "แพะ" มารับโทษ ส่วนเรื่องอายุความที่เราต้องการให้คดีคอรัปชั่น แต่ก็ยังมีคดีฆาตกรรม คดีเรียกค่าไถ่ และคดีลักพาตัว ไม่มีอายุความเนื่องจากเป็นคดีที่มีความซับซ้อนต้องใช้เวลา รวมถึงผู้กระทำความผิดได้หลบหนีจนทำให้หลายคดีต้องหมดอายุความทั้งๆที่ยังไม่ได้คนผิดมาลงโทษ โดยเราคิดว่าหากคนผิดยังหลบหนีเราก็ควรที่จะให้คนเหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสจาการถูกกฎหมายไล่ล่า เพราะการที่คนผิดยังลอยนวลจนหมดอายุความมันสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยล้มเหลวไม่สามรถตามจับคนผิดและปล่อยให้คดีหมดอายุความลงในที่สุด

ถ้าคุณได้อ่านบทสนธนาของ คห. นี้ ที่ได้ขีดเส้นใต้ และเน้นหนาข้อความสำคัญไว้คุณก็จะทราบถึงเจตนาของผู้ไม่เห็นด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่