Update / ICHI ตั้งเป้ายอดขาย 3-5 ปี โตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ปั๊มอัตรากำไรสุทธิปีนี้มากกว่า 14% หลังลดต้นทุน OEM - นำเงิน IPO จ่ายหนี้ ลดภาระดบ.
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -4 เม.ย. 57 13:51 น.
ICHI ตั้งเป้ายอดขาย 3-5 ปี นับจากปีนี้ โตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ตามอุตสาหกรรม ลั่นรักษามาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 คาดอัตรากำไรสุทธิปีนี้มากกว่า 14% หลังลดต้นทุน OEM - นำเงิน IPO จ่ายหนี้ ลดภาระดบ. ส่วนโรงงานเฟส 2 พร้อมเดินเครื่องต้น Q3/57 ดันกำลังการผลิตเพิ่มอีก 400 ล้านขวด - 200 ล้านกล่อง ต่อปี ชี้หากเดินเครื่องเต็ม 100% ดันยอดขายทะลุ 1 หมื่นลบ. ขณะที่ เล็งเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกปีนี้เป็น 5-10% จากปีก่อน 1% เปิดเกมรุกตลาดอาเซียน ด้านบรรยากาศเข้าคิวจองหุ้นวันนี้ นักลงทุน-ประชาชนแห่จองคึกคัก
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ในระยะเวลา 3-5 นับจากปีนี้ (2557- 2561) โดยจะเป็นการเติบโตไปพร้อมกับตลาดชาพร้อมดื่ม ที่คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละอย่างน้อย 20% นอกจากนี้ ICHI มีเป้าหมายจะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดชาพร้อมดื่ม ให้อยู่ในอันดับ 1 โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 42% เป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม
"อันดับมาร์เก็ตแชร์เราจะมุ่งมั่นรักษาไว้ให้อยู่ในอันดับที่ 1 ต่อไป ปีนี้คงใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 42% แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นการทำกำไร เพราะจะเป็นส่วนที่ทำให้นักลงทุนพอใจที่สุด ด้านรายได้เราตั้งเป้าแบบ conservative ไว้ที่อย่างน้อย 20% ต่อปีตามอุตสาหกรรม แต่ปกติเราจะโตมากกว่าอุตสาหกรรมเสมอ"นายตัน กล่าว พร้อมกันนี้ คาดว่าอัตรากำไรสุทธิของบริษัทฯ ในปีนี้จะมากกว่าปีก่อนที่อยู่ระดับ 14% เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการลดต้นทุนการผลิต และจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังจากนี้บริษัทฯ จะลดสัดส่วนการว่าจ้างผลิต (OEM) ลงให้เหลือไม่ถึง 10% จากเดิมในปีก่อนที่ 25% ซึ่งต้นทุนจากการทำ OEM เทียบกับการผลิตเองต่างกันราว 2 บาทต่อขวด นอกจากนี้ หลังจากได้เงินระดมทุนจากการขายหุ้นไอพีโอจำนวน 3,900 ล้านบาทแล้ว บริษัทฯ จะนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินกู้จากคณะกรรมการจำนวน 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทฯอยู่ที่เฉลี่ย 4-5% จากหนี้สินรวม 4,572.60 ล้านบาท
"ส่วนเรื่องปันผลของปี 56 เราได้ขอผู้ถือหุ้นไปแล้วว่าจะงดจ่าย เนื่องจากติดเงื่อนไขกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินว่าจะต้องมี D/E ต่ำกว่า 1.2 เท่า โดยตอนนี้ D/E เราอยู่ในระดับดังกล่าว ซึ่งหลังจากการขายหุ้น IPO และนำเงินไปชำระเงินกู้ 2,500 ล้านบาทแล้ว จะทำให้ D/E ลดลง และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ โดยบริษัทฯ มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ แต่ทั้งนี้ต้องนำเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะมีการเสนอจ่ายปันผลสำหรับผลประกอบการในปี 57 หรือไม่ โดยต้องดูภาวะเศรษฐกิจ และกระแสเงินหมุนเวียนว่าจะมีการลงทุนใหม่อื่นๆ อีกหรือไม่"นายตัน กล่าว
ด้านการเข้าซื้อขายวันแรกในวันที่ 21 เม.ย. นี้ มั่นใจว่าราคาหุ้นจะสามารถยืนเหนือราคาไอพีโอที่ 13 บาทได้ เนื่องจากหุ้น ICHI ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่สามารถให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนได้ว่า ICHI จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งบริษัทฯ พร้อมทั้งทีมงานคุณภาพและศักยภาพของการผลิต- การตลาด "ผมมั่นใจว่าจะไม่มีการขายกิจการเหมือนคราวก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งอยากให้นักลงทุนมั่นใจในศักยภาพการทำงานของผมและทีมงาน ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ไม่มีนโยบายลดสัดส่วนการถือหุ้นแต่อย่างใด"นายตัน กล่าว
นายตัน กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ไม่กังวลกับปัญหาภาวะการเมืองในการนำหุ้นเข้าซื้อขายในวันที่ 21 เม.ย. นี้ โดยทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามแผนและธุรกิจเครื่องดื่มก็ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในปีนี้เกิดภาวะอากาศร้อนกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ยอดขายดีตามไปด้วย ด้านนายเล็ก สิขรวิทย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัสในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ ICHI เปิดเผยว่า ราคาไอพีโอที่ 13 บาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม คิดเป็นอัตรา P/E เท่ากับ 19.2 เท่า ซึ่งเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี P/E เท่ากับ 30 เท่า หรือคิดเป็นส่วนลด 36% ซึ่ง ICHI มีศักยภาพทั้งการดำเนินงานการเงิน และการตลาดที่แข็งแกร่ง เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี
"การตั้งราคาไอพีโอของ ICHI ที่มีส่วนลดมากถึง 36% เทียบกับ P/E ของอุตสาหกรรมเดียวกันในประเทศ ไม่ได้เป็นเพราะว่าเรากังวลการเมืองจึงมีส่วนลดมาก แต่เหตุผลหลักคือเราให้ความสำคัญในการเทียบกับกลุ่มธุรกิจเดียวกันในภูมิภาคเอเชีย ที่มี P/E เฉลี่ยที่ 26 เท่า ซึ่งที่ราคา 13 บาท คิดเป็น P/E ประมาณ 19.2% ก็มีส่วนลดจากภูมิภาคประมาณ 20% แต่หากเทียบกับอุตสาหกรรมในประเทศที่ P/E อยู่ที่ 30 เท่า เลยดูเหมือนมีดิสเคาท์เยอะ" นายเล็กกล่าว นายตัน กล่าวอีกว่า คาดว่าโรงงานเฟส 2 ซึ่งจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาใช้ จะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วปลายไตรมาส 2/2557 พร้อมเดินเครื่องครบทั้งสองเฟส ในช่วงไตรมาส 3/57 เป็นต้นไป โดยจะทำให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะ 1,000 ล้านขวดต่อปี และ 200 ล้านกล่องต่อปี จากเดิม ที่มีการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบขวดอยู่ที่ 600 ล้านขวดต่อปี ส่วนแบบกล่องเป็นการว่าจ้างการผลิต (OEM) ทั้งนี้ หากบริษัทฯ สามารถเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 100% ของกำลังการผลิตทั้งหมดหลังจากโรงงานเฟส 2 สร้างเสร็จ จะสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 10,000 ล้านบาท โดยคาดว่าหลังจากเริ่มเดินเครื่องการผลิตครบทุกเฟสจะมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเบื้องต้นราว 70-80%
ด้านงบการตลาดในปีนี้คาดว่าจะมีการใช้ลดลงที่ 12% ของยอดขาย จากปีก่อนอยู่ที่ 14% ของยอดขาย ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการบริหารต้นทุนของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกในปีนี้เป็น 5-10% จากปีก่อนที่อยู่ระดับ 1% โดยจะเน้นขยายกลุ่มลูกค้าในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันด้านอาหารและเครื่องดื่ม และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต ทั้งนี้การขยายธุรกิจของ ICHI จะมีทั้งการตั้งตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ รวมไปถึงสร้างโรงงานในต่างประเทศด้วย แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา
โดยในช่วงเช้าที่ผ่านมา บมจ.อิชิตัน (ICHI) จัดงานเซ็นสัญญาการจัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ที่ตลาดหลักทรัพย์ และให้สิทธิ์ประชาชนผู้สนใจซื้อหุ้น IPO จองซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 5,000 หุ้น โดยจะให้สิทธิ์สำหรับ 250 คนแรกที่มาจองคิวในวันนี้ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีนักลงทุนและประชาชนทั่วไป เดินทางไปเข้าคิวเพื่อจองหุ้น IPO ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกันอย่างหนาแน่น คนแรกมาตั้งแต่ 21.30 น. วานนี้ และคิวเต็ม 250 คนตามโควต้าที่บริษัทฯให้สิทธิ์จองหุ้น ในเวลาประมาณ 06.15 น. ซึ่งมีนักลงทุนเดินทางไปเข้าคิวจองหุ้นรวมมากกว่า 600 คน
บมจ.อิชิตัน (ICHI) กำหนดราคาขายหุ้นที่ 13 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ที่ 19.2 เท่า โดยคำนวณจำกกำไรสุทธิในปี 2556 ที่ 881.7 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสำมัญภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้แล้วรวม 1,300,000,000 หุ้น ที่เท่ากับ 0.7 บาทต่อหุ้น โดย P/E Ratio ที่เสนอขายคิดเป็นส่วนลดประมาณร้อยละ 36.0 ของ P/E Ratio เฉลี่ยของผู้ประกอบการอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2557 ที่ 30.0 เท่า
ICHI เปิดจองซื้อหุ้น IPO ระหว่างวันที่ 8-11 เม.ย. 2557 คาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) วันที่ 21 เม.ย. 2557 โดยหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น จะจัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 80 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการะคุณ 70 ล้านหุ้น ที่เหลือเป็นการเสนอขายนักลงทุนทั่วไป
รายงาน โดย ศราพงค์ นันติวงค์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
เข้าใจตรงกันนะ (เอามั่งเดี๋ยวตกเทรนด์)
Update / ICHI ตั้งเป้ายอดขาย 3-5 ปี โตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ปั๊มอัตรากำไรสุทธิปีนี้มากกว่า 14% หลังลดต้นทุน OEM - นำเงิน IPO จ่ายหนี้ ลดภาระดบ.
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -4 เม.ย. 57 13:51 น.
ICHI ตั้งเป้ายอดขาย 3-5 ปี นับจากปีนี้ โตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ตามอุตสาหกรรม ลั่นรักษามาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 คาดอัตรากำไรสุทธิปีนี้มากกว่า 14% หลังลดต้นทุน OEM - นำเงิน IPO จ่ายหนี้ ลดภาระดบ. ส่วนโรงงานเฟส 2 พร้อมเดินเครื่องต้น Q3/57 ดันกำลังการผลิตเพิ่มอีก 400 ล้านขวด - 200 ล้านกล่อง ต่อปี ชี้หากเดินเครื่องเต็ม 100% ดันยอดขายทะลุ 1 หมื่นลบ. ขณะที่ เล็งเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกปีนี้เป็น 5-10% จากปีก่อน 1% เปิดเกมรุกตลาดอาเซียน ด้านบรรยากาศเข้าคิวจองหุ้นวันนี้ นักลงทุน-ประชาชนแห่จองคึกคัก
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 20% ในระยะเวลา 3-5 นับจากปีนี้ (2557- 2561) โดยจะเป็นการเติบโตไปพร้อมกับตลาดชาพร้อมดื่ม ที่คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละอย่างน้อย 20% นอกจากนี้ ICHI มีเป้าหมายจะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดชาพร้อมดื่ม ให้อยู่ในอันดับ 1 โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 42% เป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม
"อันดับมาร์เก็ตแชร์เราจะมุ่งมั่นรักษาไว้ให้อยู่ในอันดับที่ 1 ต่อไป ปีนี้คงใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 42% แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดเป็นการทำกำไร เพราะจะเป็นส่วนที่ทำให้นักลงทุนพอใจที่สุด ด้านรายได้เราตั้งเป้าแบบ conservative ไว้ที่อย่างน้อย 20% ต่อปีตามอุตสาหกรรม แต่ปกติเราจะโตมากกว่าอุตสาหกรรมเสมอ"นายตัน กล่าว พร้อมกันนี้ คาดว่าอัตรากำไรสุทธิของบริษัทฯ ในปีนี้จะมากกว่าปีก่อนที่อยู่ระดับ 14% เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการลดต้นทุนการผลิต และจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังจากนี้บริษัทฯ จะลดสัดส่วนการว่าจ้างผลิต (OEM) ลงให้เหลือไม่ถึง 10% จากเดิมในปีก่อนที่ 25% ซึ่งต้นทุนจากการทำ OEM เทียบกับการผลิตเองต่างกันราว 2 บาทต่อขวด นอกจากนี้ หลังจากได้เงินระดมทุนจากการขายหุ้นไอพีโอจำนวน 3,900 ล้านบาทแล้ว บริษัทฯ จะนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินกู้จากคณะกรรมการจำนวน 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทฯอยู่ที่เฉลี่ย 4-5% จากหนี้สินรวม 4,572.60 ล้านบาท
"ส่วนเรื่องปันผลของปี 56 เราได้ขอผู้ถือหุ้นไปแล้วว่าจะงดจ่าย เนื่องจากติดเงื่อนไขกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินว่าจะต้องมี D/E ต่ำกว่า 1.2 เท่า โดยตอนนี้ D/E เราอยู่ในระดับดังกล่าว ซึ่งหลังจากการขายหุ้น IPO และนำเงินไปชำระเงินกู้ 2,500 ล้านบาทแล้ว จะทำให้ D/E ลดลง และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ โดยบริษัทฯ มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ แต่ทั้งนี้ต้องนำเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะมีการเสนอจ่ายปันผลสำหรับผลประกอบการในปี 57 หรือไม่ โดยต้องดูภาวะเศรษฐกิจ และกระแสเงินหมุนเวียนว่าจะมีการลงทุนใหม่อื่นๆ อีกหรือไม่"นายตัน กล่าว
ด้านการเข้าซื้อขายวันแรกในวันที่ 21 เม.ย. นี้ มั่นใจว่าราคาหุ้นจะสามารถยืนเหนือราคาไอพีโอที่ 13 บาทได้ เนื่องจากหุ้น ICHI ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่สามารถให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนได้ว่า ICHI จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งบริษัทฯ พร้อมทั้งทีมงานคุณภาพและศักยภาพของการผลิต- การตลาด "ผมมั่นใจว่าจะไม่มีการขายกิจการเหมือนคราวก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งอยากให้นักลงทุนมั่นใจในศักยภาพการทำงานของผมและทีมงาน ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ไม่มีนโยบายลดสัดส่วนการถือหุ้นแต่อย่างใด"นายตัน กล่าว
นายตัน กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ไม่กังวลกับปัญหาภาวะการเมืองในการนำหุ้นเข้าซื้อขายในวันที่ 21 เม.ย. นี้ โดยทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามแผนและธุรกิจเครื่องดื่มก็ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในปีนี้เกิดภาวะอากาศร้อนกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ยอดขายดีตามไปด้วย ด้านนายเล็ก สิขรวิทย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัสในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ ICHI เปิดเผยว่า ราคาไอพีโอที่ 13 บาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม คิดเป็นอัตรา P/E เท่ากับ 19.2 เท่า ซึ่งเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี P/E เท่ากับ 30 เท่า หรือคิดเป็นส่วนลด 36% ซึ่ง ICHI มีศักยภาพทั้งการดำเนินงานการเงิน และการตลาดที่แข็งแกร่ง เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี
"การตั้งราคาไอพีโอของ ICHI ที่มีส่วนลดมากถึง 36% เทียบกับ P/E ของอุตสาหกรรมเดียวกันในประเทศ ไม่ได้เป็นเพราะว่าเรากังวลการเมืองจึงมีส่วนลดมาก แต่เหตุผลหลักคือเราให้ความสำคัญในการเทียบกับกลุ่มธุรกิจเดียวกันในภูมิภาคเอเชีย ที่มี P/E เฉลี่ยที่ 26 เท่า ซึ่งที่ราคา 13 บาท คิดเป็น P/E ประมาณ 19.2% ก็มีส่วนลดจากภูมิภาคประมาณ 20% แต่หากเทียบกับอุตสาหกรรมในประเทศที่ P/E อยู่ที่ 30 เท่า เลยดูเหมือนมีดิสเคาท์เยอะ" นายเล็กกล่าว นายตัน กล่าวอีกว่า คาดว่าโรงงานเฟส 2 ซึ่งจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาใช้ จะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วปลายไตรมาส 2/2557 พร้อมเดินเครื่องครบทั้งสองเฟส ในช่วงไตรมาส 3/57 เป็นต้นไป โดยจะทำให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะ 1,000 ล้านขวดต่อปี และ 200 ล้านกล่องต่อปี จากเดิม ที่มีการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบขวดอยู่ที่ 600 ล้านขวดต่อปี ส่วนแบบกล่องเป็นการว่าจ้างการผลิต (OEM) ทั้งนี้ หากบริษัทฯ สามารถเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 100% ของกำลังการผลิตทั้งหมดหลังจากโรงงานเฟส 2 สร้างเสร็จ จะสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 10,000 ล้านบาท โดยคาดว่าหลังจากเริ่มเดินเครื่องการผลิตครบทุกเฟสจะมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเบื้องต้นราว 70-80%
ด้านงบการตลาดในปีนี้คาดว่าจะมีการใช้ลดลงที่ 12% ของยอดขาย จากปีก่อนอยู่ที่ 14% ของยอดขาย ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการบริหารต้นทุนของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกในปีนี้เป็น 5-10% จากปีก่อนที่อยู่ระดับ 1% โดยจะเน้นขยายกลุ่มลูกค้าในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันด้านอาหารและเครื่องดื่ม และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต ทั้งนี้การขยายธุรกิจของ ICHI จะมีทั้งการตั้งตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ รวมไปถึงสร้างโรงงานในต่างประเทศด้วย แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา
โดยในช่วงเช้าที่ผ่านมา บมจ.อิชิตัน (ICHI) จัดงานเซ็นสัญญาการจัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ที่ตลาดหลักทรัพย์ และให้สิทธิ์ประชาชนผู้สนใจซื้อหุ้น IPO จองซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 5,000 หุ้น โดยจะให้สิทธิ์สำหรับ 250 คนแรกที่มาจองคิวในวันนี้ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีนักลงทุนและประชาชนทั่วไป เดินทางไปเข้าคิวเพื่อจองหุ้น IPO ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกันอย่างหนาแน่น คนแรกมาตั้งแต่ 21.30 น. วานนี้ และคิวเต็ม 250 คนตามโควต้าที่บริษัทฯให้สิทธิ์จองหุ้น ในเวลาประมาณ 06.15 น. ซึ่งมีนักลงทุนเดินทางไปเข้าคิวจองหุ้นรวมมากกว่า 600 คน
บมจ.อิชิตัน (ICHI) กำหนดราคาขายหุ้นที่ 13 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ที่ 19.2 เท่า โดยคำนวณจำกกำไรสุทธิในปี 2556 ที่ 881.7 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสำมัญภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้แล้วรวม 1,300,000,000 หุ้น ที่เท่ากับ 0.7 บาทต่อหุ้น โดย P/E Ratio ที่เสนอขายคิดเป็นส่วนลดประมาณร้อยละ 36.0 ของ P/E Ratio เฉลี่ยของผู้ประกอบการอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2557 ที่ 30.0 เท่า
ICHI เปิดจองซื้อหุ้น IPO ระหว่างวันที่ 8-11 เม.ย. 2557 คาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) วันที่ 21 เม.ย. 2557 โดยหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น จะจัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 80 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการะคุณ 70 ล้านหุ้น ที่เหลือเป็นการเสนอขายนักลงทุนทั่วไป
รายงาน โดย ศราพงค์ นันติวงค์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน