วันนี้ ผมได้ยินคนพูดถึง
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ ไม่ใช่พูดแค่คนสองคนนะครับ มีกลุ่มการเมืองออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ว่าประเทศไทยจะต้องมีประชาธิปไตยแบบชี้นำ พอเข้าไปดูในอินเตอร์เน็ต ก็มีฝรั่งมังค่าพูดถึง
Guided Democracy แปลตรงตัวก็คือประชาธิปไตยแบบชี้นำ ระบบนี้ประธานาธิบดีอะห์เม็ด ซูการ์โน ของอินโดนีเซียเคยนำมาใช้แทนระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตั้งแต่ พ.ศ.2500 และใช้มายาวนานจนกระทั่งแกหมดอำนาจ
นายซูการ์โนแกบอกว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ใช้กันอยู่เกลื่อนกราดดาษดื่นทั่วโลก เป็นประชาธิปไตยที่สร้างความแตกแยกไร้เสถียรภาพ ตอนแรก ประชาชนคนอินโดนีเซียก็เอากับแกด้วย เพราะเห็นกันจะๆ เจ๋งๆ ว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไอ้นั้นด่าไอ้โน่น ไอ้โน่นด่าไอ้นี่
แต่พอใช้ประชาธิปไตยแบบชี้นำไปได้สักพัก ผู้อ่านท่านครับ
ผลลัพธ์กลับแย่กว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อินโดนีเซียทรุดโทรม ปัญหาด้านเศรษฐกิจโถมมายังทุกตรอกซอกมุมของประเทศ
พอนักการเมืองทะเลาะกัน นายซูการ์โนก็ไม่อดทนต่อระบอบการเมืองแบบหลายพรรค แกพูดกับประชาชนคนทั้งประเทศเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2599 ว่า เราต้องยกเลิกระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไปซะ และข้าพเจ้าขอเสนอ 'ประชาธิปไตยแบบชี้นำ' มาแทน
ประชาชนที่เคารพ ประชาธิปไตยแบบชี้นำนี่แหละครับ จะเป็นการปกครองโดยอาศัย 'ฉันทานุมัติ' แทนการใช้ 'เสียงข้างมาก' ข้าพเจ้าตัดสินแทนท่านแล้วว่า เสียงข้างมากไม่เหมาะสมกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีมากมายหลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้ประเทศของเรามีพรรคการเมืองมากเกินไป ถ้ายังขืนปล่อยไปอย่างนี้ อินโดนีเซียของเราล่มแน่
เผด็จการนะครับ
จะขึ้นสู่อำนาจ ก็อ้างอะไรได้สารพัด อ้างฟ้า อ้างฝน อ้างดิน อ้างน้ำ แต่
สุดท้ายหางก็โผล่ แก
ไม่ยอมให้มีเลือกตั้งโดยประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย แต่ดันไปตั้ง National Advisory Council ที่หมายถึง สภาที่ปรึกษาแห่งชาติ โดยมีตัวแกเป็นประธาน
ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นการให้อำนาจกับประชาชนคนทุกหมู่เหล่าของประเทศ ให้มีสิทธิ์มีเสียงเท่ากันในการเลือกผู้บริหาร
แต่สภาที่ปรึกษาแห่งชาติของนายซูการ์โน ประกอบไปด้วยตัวแทนกลุ่มอาชีพและกลุ่มการเมืองต่างๆ มีทั้งกลุ่มชาวนา กลุ่มคนงาน ผู้นำกลุ่มชาตินิยม ผู้นำกลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มทหาร ตอนที่ตั้งสภาประชาชน
ก็มีคนค้านเยอะ แกจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ.2500 ทำให้การเมืองแนวเสรีนิยมในระบอบประชาธิปไตยสิ้นสุดลง
ซูการ์โนประกาศให้
พรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของประชาธิปไตยแบบชี้นำเป็นพรรคนอกกฎหมาย หลังจากนั้นก็ตั้ง National Front ที่หมายถึง แนวร่วมแห่งชาติ เพื่อระดมพลังมวลชนเข้ามาสนับสนุนระบบประชาธิปไตยแบบชี้นำ
นายซูการ์โน
ตั้งองค์กรอิสระองค์กรหลายองค์กรขึ้นมาหลอกโลก ว่าเป็นองค์กรของประชาชน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ องค์กรต่างๆ อย่างนั้น
ไม่มีส่วนไหน 'ยึดโยง' กับประชาชนเลยแม้แต่แห่งเดียว แกบอกว่าใช้องค์กรพวกนี้ดีกว่ารัฐสภาที่มีตัวแทนมาจากพรรคการเมือง สำหรับข้าพเจ้าพรรคการเมืองไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
องค์กรที่ตั้งขึ้นมาหลอกโลก
ชัดที่สุดก็คือ Cooperative Parliament ชื่อบอกว่า Parliament ที่หมายถึงรัฐสภา ฝรั่งมังค่าและนักวิชาการได้ยินก็ยอมรับ แต่มันจะเป็นรัฐสภาในความหมายสากลไปได้ยังไงกันครับ เพราะรัฐสภานี้
สมาชิกไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เอ็ง
ตั้งเองทั้งนั้น แถมยังให้สมาชิกรัฐสภาบ้านี่สามารถพูดจาปราศรัยอภิปรายได้
ลงมติปลอมๆ หลอกๆ ได้ แต่ห้ามลงมติอย่างเป็นทางการ การตัดสินใจทั้งหมด ซูการ์โนให้เอาวิธีการของอินโดนีเซียโบราณมาใช้ ทั้งมูชาวารา ที่หมายถึงการปรึกษาไตร่ตรอง และโกตงโรจงที่หมายถึงฉันทามติ
ซูการ์โนเป็นนักพูด แกล้างสมองคนด้วยคำขวัญสั้นๆ ที่ปิดกั้นไม่ให้คนคิดนอกกรอบ คนไหนคิดไม่เหมือนคำขวัญของแก ไอ้คนนั้นเลว ยกตัวอย่างเช่น นาซาคอม ซึ่งเป็นคำรวมของชาตินิยม ศาสนา และลัทธิคอมมิวนิสต์ คือแกต้องการจะให้มีการรวมพรรคพีเอ็นไอ พรรคเอ็นยู และพรรคพีเคไอ เข้าด้วยกัน แกก็เอาคำย่อของทั้ง 3 พรรคมารวมกัน และใส่ตัวย่อของชาตินิยมกับศาสนาลงไป ใครค้านคำขวัญนี้ ไอ้คนนั้นไม่รักชาติ ไอ้คนนั้นต่อต้านศาสนา
วิธีการต่างๆ อย่างนี้นี่แหละครับ ที่ปัจจุบันทุกวันนี้ มีคนพยายามนำกลับมาใช้ในหลายประเทศ ผู้คนก็หลงงมงาย แต่หลอกนักประวัติศาสตร์ไม่ได้ดอกครับ นักประวัติศาสตร์รู้สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว และมีผลลัพธ์ปรากฏให้เห็นแล้ว
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ ทำให้อินโดนีเซียมีคอรัปชั่นสูงมาก
เพราะเมื่อประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของแท้ไม่มี
ประชาชนก็ตรวจสอบรัฐบาลไม่ได้.
.................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง ไทยรัฐ วันอังคาร ที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ (แต่ไม่นำมาลงย้อนหลังให้ดู/อ่าน)
หรือเราจะปล่อยให้ประเทศชาติ ต้องกลายเป็นอย่างที่เห็นๆ กัน อย่างนั้นหรือไม่....???
ปล. สังเกตุได้จากองค์กรกลางต่างๆ เช่น กสม. ปปช. ศาลตลก หรือแม้กระทั่งสว.บางส่วน ฯลฯ ไม่ยึดโยงกับประชาชนส่วนใหญ่จริงๆ แต่ยึดโยงเฉพาะกลุ่ม พวกพ้องตัวเองกันทั้งนั้น
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ....(เมื่อไทยรัฐไม่นำมาออนไลน์)!!!
นายซูการ์โนแกบอกว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ใช้กันอยู่เกลื่อนกราดดาษดื่นทั่วโลก เป็นประชาธิปไตยที่สร้างความแตกแยกไร้เสถียรภาพ ตอนแรก ประชาชนคนอินโดนีเซียก็เอากับแกด้วย เพราะเห็นกันจะๆ เจ๋งๆ ว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไอ้นั้นด่าไอ้โน่น ไอ้โน่นด่าไอ้นี่ แต่พอใช้ประชาธิปไตยแบบชี้นำไปได้สักพัก ผู้อ่านท่านครับ ผลลัพธ์กลับแย่กว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อินโดนีเซียทรุดโทรม ปัญหาด้านเศรษฐกิจโถมมายังทุกตรอกซอกมุมของประเทศ
พอนักการเมืองทะเลาะกัน นายซูการ์โนก็ไม่อดทนต่อระบอบการเมืองแบบหลายพรรค แกพูดกับประชาชนคนทั้งประเทศเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2599 ว่า เราต้องยกเลิกระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไปซะ และข้าพเจ้าขอเสนอ 'ประชาธิปไตยแบบชี้นำ' มาแทน
ประชาชนที่เคารพ ประชาธิปไตยแบบชี้นำนี่แหละครับ จะเป็นการปกครองโดยอาศัย 'ฉันทานุมัติ' แทนการใช้ 'เสียงข้างมาก' ข้าพเจ้าตัดสินแทนท่านแล้วว่า เสียงข้างมากไม่เหมาะสมกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีมากมายหลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้ประเทศของเรามีพรรคการเมืองมากเกินไป ถ้ายังขืนปล่อยไปอย่างนี้ อินโดนีเซียของเราล่มแน่
เผด็จการนะครับ จะขึ้นสู่อำนาจ ก็อ้างอะไรได้สารพัด อ้างฟ้า อ้างฝน อ้างดิน อ้างน้ำ แต่สุดท้ายหางก็โผล่ แกไม่ยอมให้มีเลือกตั้งโดยประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย แต่ดันไปตั้ง National Advisory Council ที่หมายถึง สภาที่ปรึกษาแห่งชาติ โดยมีตัวแกเป็นประธาน
ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นการให้อำนาจกับประชาชนคนทุกหมู่เหล่าของประเทศ ให้มีสิทธิ์มีเสียงเท่ากันในการเลือกผู้บริหาร แต่สภาที่ปรึกษาแห่งชาติของนายซูการ์โน ประกอบไปด้วยตัวแทนกลุ่มอาชีพและกลุ่มการเมืองต่างๆ มีทั้งกลุ่มชาวนา กลุ่มคนงาน ผู้นำกลุ่มชาตินิยม ผู้นำกลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มทหาร ตอนที่ตั้งสภาประชาชน ก็มีคนค้านเยอะ แกจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ.2500 ทำให้การเมืองแนวเสรีนิยมในระบอบประชาธิปไตยสิ้นสุดลง
ซูการ์โนประกาศให้พรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของประชาธิปไตยแบบชี้นำเป็นพรรคนอกกฎหมาย หลังจากนั้นก็ตั้ง National Front ที่หมายถึง แนวร่วมแห่งชาติ เพื่อระดมพลังมวลชนเข้ามาสนับสนุนระบบประชาธิปไตยแบบชี้นำ
นายซูการ์โนตั้งองค์กรอิสระองค์กรหลายองค์กรขึ้นมาหลอกโลก ว่าเป็นองค์กรของประชาชน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ องค์กรต่างๆ อย่างนั้น ไม่มีส่วนไหน 'ยึดโยง' กับประชาชนเลยแม้แต่แห่งเดียว แกบอกว่าใช้องค์กรพวกนี้ดีกว่ารัฐสภาที่มีตัวแทนมาจากพรรคการเมือง สำหรับข้าพเจ้าพรรคการเมืองไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
องค์กรที่ตั้งขึ้นมาหลอกโลกชัดที่สุดก็คือ Cooperative Parliament ชื่อบอกว่า Parliament ที่หมายถึงรัฐสภา ฝรั่งมังค่าและนักวิชาการได้ยินก็ยอมรับ แต่มันจะเป็นรัฐสภาในความหมายสากลไปได้ยังไงกันครับ เพราะรัฐสภานี้ สมาชิกไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เอ็งตั้งเองทั้งนั้น แถมยังให้สมาชิกรัฐสภาบ้านี่สามารถพูดจาปราศรัยอภิปรายได้ ลงมติปลอมๆ หลอกๆ ได้ แต่ห้ามลงมติอย่างเป็นทางการ การตัดสินใจทั้งหมด ซูการ์โนให้เอาวิธีการของอินโดนีเซียโบราณมาใช้ ทั้งมูชาวารา ที่หมายถึงการปรึกษาไตร่ตรอง และโกตงโรจงที่หมายถึงฉันทามติ
ซูการ์โนเป็นนักพูด แกล้างสมองคนด้วยคำขวัญสั้นๆ ที่ปิดกั้นไม่ให้คนคิดนอกกรอบ คนไหนคิดไม่เหมือนคำขวัญของแก ไอ้คนนั้นเลว ยกตัวอย่างเช่น นาซาคอม ซึ่งเป็นคำรวมของชาตินิยม ศาสนา และลัทธิคอมมิวนิสต์ คือแกต้องการจะให้มีการรวมพรรคพีเอ็นไอ พรรคเอ็นยู และพรรคพีเคไอ เข้าด้วยกัน แกก็เอาคำย่อของทั้ง 3 พรรคมารวมกัน และใส่ตัวย่อของชาตินิยมกับศาสนาลงไป ใครค้านคำขวัญนี้ ไอ้คนนั้นไม่รักชาติ ไอ้คนนั้นต่อต้านศาสนา วิธีการต่างๆ อย่างนี้นี่แหละครับ ที่ปัจจุบันทุกวันนี้ มีคนพยายามนำกลับมาใช้ในหลายประเทศ ผู้คนก็หลงงมงาย แต่หลอกนักประวัติศาสตร์ไม่ได้ดอกครับ นักประวัติศาสตร์รู้สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว และมีผลลัพธ์ปรากฏให้เห็นแล้ว
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ ทำให้อินโดนีเซียมีคอรัปชั่นสูงมาก
เพราะเมื่อประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของแท้ไม่มี
ประชาชนก็ตรวจสอบรัฐบาลไม่ได้.
.................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง ไทยรัฐ วันอังคาร ที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ (แต่ไม่นำมาลงย้อนหลังให้ดู/อ่าน)
หรือเราจะปล่อยให้ประเทศชาติ ต้องกลายเป็นอย่างที่เห็นๆ กัน อย่างนั้นหรือไม่....???
ปล. สังเกตุได้จากองค์กรกลางต่างๆ เช่น กสม. ปปช. ศาลตลก หรือแม้กระทั่งสว.บางส่วน ฯลฯ ไม่ยึดโยงกับประชาชนส่วนใหญ่จริงๆ แต่ยึดโยงเฉพาะกลุ่ม พวกพ้องตัวเองกันทั้งนั้น