เพราะโตโยต้ามอเตอร์เป็นยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ข้ามชาติที่เข้ามาทำมาหากินบนแผ่นดินไทยมายาวนานทำไมจึงมีแนวคิดความเชื่อว่ากติกาของข้อตกลงทางการค้าไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เป็นช่องทางให้แจ้งการนำเข้ารถยนต์เป็นชิ้นส่วนได้ทั้งๆ ที่รู้ดีอยู่แก่ใจว่าเวลาที่ขายให้กับผู้บริโภคคนไทยนั้น
โตยาต้าขายโตโยต้าพรีอุสให้เป็นคันไม่ใช่เป็นชิ้นๆ
ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ อธิบดีกรมศุลกากรจะต้องติดตามตรวจสอบและนำความจริงมาเปิดเผยต่อสังคมว่าสุดท้ายแล้ววิธีการนำเข้าของโตโยต้าถูกต้องหรือไม่บริษัทรถยนต์ค่ายอื่นๆมีใครทำแบบโตโยต้าบ้างหรือไม่
ขณะเดียวกันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) จะต้องตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วแม้ว่านายประมนต์สุธีวงศ์ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริษัทโตโยต้าจะเป็นคนเดียวกับนายประมนต์ที่เป็นประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นก็ตาม
เมื่อประกาศจุดยืนว่าจะต่อต้านการโกงการทุจริตทุกรูปแบบแล้วเรื่องโตโยต้าพรีอุสที่สงสัยกันไปทั้งสังคมทำไมจึงยังไม่มีการขยับท่าทีใดๆ ออกมา
ระยะเวลาไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ผู้คนในสังคมลืมเลือนอะไรได้ง่ายๆ อย่างเช่นกรณีที่กำลังมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในสังคมอีกเรื่องหนึ่งทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เริ่มต้นฟ้องร้องกันมาตั้งแต่ปี 2540 ลากยาวมาจนถึงปี 2556 หรือ 16 ปีเต็มๆ แล้วก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาตัดสินออกมาผู้คนก็ยังคงให้ความสนใจ
นั่นก็คือ...
ดีฟ้องร้องโกงที่ดินระหว่างพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช โจทก์และนางสาวสุภา วงศ์เสนา โจทก์ร่วมกับนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล จำเลยที่ 1 และนางจินดา สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ เป็นจำเลยที่ 2 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2715/2540 คดีหมายเลขแดงที่ 993/2547 เกี่ยวกับเรื่องที่ดินเพิกถอนนิติกรรมเรียกทรัพย์คืน
ที่มาที่ไปตามคำฟ้องระบุว่าพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภาระบุว่า ได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยการลงลายมือชื่อในช่องมอบอำนาจแต่ไม่ได้กรอกข้อความจำนวน 15 ฉบับเพื่อให้นางทีปสุรางค์ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาสาขาหาดใหญ่เพื่อรวมโฉนดที่ดินทั้ง 51 แปลงเป็นแปลงเดียวแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยไม่เกินแปลงละ 50 ตารางวา เพื่อนำออกขายแก่บุคคลทั่วไป
แต่ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ทราบว่านางทีปสุรางค์ไม่ได้รวมและแบ่งแยกโฉนดตามที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการแต่กลับสบคบกับนางจินดาซึ่งเป็นมารดานำหนังสือมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือไว้ให้ไปกรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาเสียเองหลังจากนั้นนางทีปสุรางค์และมารดาได้นำที่ดินไปและได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอก
โจทก์ระบุว่าไม่เคยให้นางทีปสุรางค์นำที่ดินออกขายและไม่เคยให้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแต่อย่างใดรวมทั้งไม่ได้ขายที่ดินให้กับนางทีปสุรางค์และมารดาตามที่ทั้งสองให้การต่อศาลว่าซื้อมาในราคา 4 ล้านบาทและไม่เคยได้รับเงินค่าที่ดินจากนางทีปสุรางค์ และมารดาแม้แต่บาทเดียว
แน่นอนว่าข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเช่นนี้ฝ่ายจำเลยย่อมต้องสู้คดีอย่างเต็มที่
และที่คดีนี้กลายเป็นที่สนใจของสังคมก็ด้วยเหตตุผล 2 ประการคือประการแรกนางทีปสุรางค์ เป็นภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายของนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงกระบวนการศาลสถิตยุติธรรมและรับราชการตุลาการเกินครึ่งชีวิต
เมื่อคนใกล้ตัวมาเกิดคดีเช่นนี้จึงเป็นที่จับตามอง
ประการที่ 2 ที่คดีนี้โด่งดังก็เพราะว่าศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดสงขลาได้พิพากษาเมื่อวันที่26พฤษภาคม2547 วินิจฉัยว่านางทีปสุรางค์ กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนเจตนาของพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา จริง ดังนั้น นิติกรรมการโอนที่ดินมาเป็นของนางทีปสุรางค์จึงเกิดขึ้นจากการฉ้อฉลโดยเจตนาทุจริตและพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น
ศาลจึงพิพากษาให้นางทีปสุรางค์และมารดาจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามคำร้องของพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา ส่วนประเด็นข้อพิพาทเรื่องจำเลยได้ถมดินเพื่อพัฒนาซึ่งเท่ากับได้ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินได้พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา418วรรคแรกว่า...
นางทีปสุรางค์และมารดาได้เข้าไปลงทุนพัฒนาที่ดินแล้วทำให้ค่าของที่ดินที่พิพาทสูงขึ้นจึงพิพากษาให้ผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภาร่วมกันชดใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่นางทีปสุรางค์และมารดาเป็นเงิน10ล้านบาทคดีจึงมีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดสงขลาว่าโจทก์ไม่ได้โกงที่ดินตามที่ศาลจังหวัดสงขลาตัดสิน
และเมื่อรายการ “ความจริงวันนี้”ในเอ็นบีทีนำเรื่องนี้และคำพิพากษาไปพูดในรายการมีการวิเคราะห์ความเห็นเข้าไปด้วยจึงทำให้นางทีปสุรางค์ฟ้องหมิ่นประมาทกราวรูดทั้งนายวีระกานต์ มุกสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายเอนก เรืองเชื้อเหมือน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (เอ็นบีที) และนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์โดยระบุว่าทำให้ผู้ชมเอ็นบีทีช่อง 11 เข้าใจว่า...โจทก์เป็นคนไม่ดีโกงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งไม่เป็นความจริงโจทก์ไม่เคยโกงทรัพย์สินของผู้ใดเลย
เท่านั้นแหละคดีนี้กลายเป็นที่สนใจของสังคมในทันที
สุดท้ายคดีนี้ขึ้นสู่ชั้นฎีกาและเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 ศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่าโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแต่เป็นกรณีที่นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้โจทก์และโจทก์ร่วมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความแล้วนำไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตัวเองและจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นไปตามเจตนาของโจทก์และโจทก์ร่วมที่มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 ไปแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อขายต่อเท่านั้น
การกระทำของนางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นความเสียหายต่างๆ หากเกิดขึ้นจริงดังที่นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็เกิดจากการทำผิดกฎหมายและศีลธรรมทั้งสิ้น
พิพากษากลับให้นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 2 ตุลาคม 2538 ทุกฉบับระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทจำนวน 35 แปลงแล้วจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจฉบับวันที่ 2 ตุลาคม 2538 และฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทจำนวน 16 แปลงแล้วจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองหากจำเลยทั้งสองไม่อาจโอนที่ดินกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ราคาที่ดิน 45,000,000 บาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วม
กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์และโจทก์ร่วมโดยกำหนดค่าทนายความ 100,000 บาทค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของฟ้องแย้งทั้ง 3 ศาลให้
แน่นอนว่าเมื่อคำตัดสินคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาแล้วทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับไปตามนั้นเป็นอันว่าปิดคดีที่ดินยาวนานถึง 16 ปีลงไปโดยที่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล กับมารดาเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด
แต่อย่างที่บอกว่าเพราะนางทีปสุรางค์นั้นเป็นภรรยาของนายจรัญซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงตุลาการมาโดยตลอดจึงได้มีกระแสคำถามเกิดขึ้นว่านายจรัญ ไม่ได้มีการเตือนหรือห้ามภรรยาในเรื่องอันจะนำไปสู่คดีคามดังกล่าวเลยหรือ?
หรือว่านายจรัญไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นเลยแต่ตามประมวลกฏหมายแพ่งหมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมร่วมกันและถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือดังนั้นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นไปได้หรือที่นายจรัญ จะไม่รับรู้
ขณะที่ได้มีหลักฐานปรากฏออกมาว่า นายจรัญ มีการเซ็นยินยอมกรณีนี้ด้วย
ตรงนี้หากมองด้วยความเป็นธรรมจึงเป็นสิ่งที่น่าจะบอกได้ว่าการที่สามีเซ็นยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินแล้วภายหลังหากเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาในสังคมนั้นการที่จะไปลงโทษสามีก็อาจจะเป็นสิ่งที่ต้องคิดเหมือนกันว่ามันใช่หรือไม่ที่สามีซึ่งเซ็นยินยอมจะต้องมีความผิด
การสร้างบรรทัดฐานความยุติธรรมโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำไม่มีการเอียงหรือเลือกข้างจึงยังจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยที่ต้องการให้คำว่า 2 มาตรฐานหมดสิ้นไปจากสังคม
**ขอขอบคุณข้อมูลจาก บางกอก ทูเดย์**
จบคดีโกงที่ดินฉาว ดีไม่ดี...ต้องดูให้ลึก!
โตยาต้าขายโตโยต้าพรีอุสให้เป็นคันไม่ใช่เป็นชิ้นๆ
ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ อธิบดีกรมศุลกากรจะต้องติดตามตรวจสอบและนำความจริงมาเปิดเผยต่อสังคมว่าสุดท้ายแล้ววิธีการนำเข้าของโตโยต้าถูกต้องหรือไม่บริษัทรถยนต์ค่ายอื่นๆมีใครทำแบบโตโยต้าบ้างหรือไม่
ขณะเดียวกันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) จะต้องตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วแม้ว่านายประมนต์สุธีวงศ์ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริษัทโตโยต้าจะเป็นคนเดียวกับนายประมนต์ที่เป็นประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นก็ตาม
เมื่อประกาศจุดยืนว่าจะต่อต้านการโกงการทุจริตทุกรูปแบบแล้วเรื่องโตโยต้าพรีอุสที่สงสัยกันไปทั้งสังคมทำไมจึงยังไม่มีการขยับท่าทีใดๆ ออกมา
ระยะเวลาไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ผู้คนในสังคมลืมเลือนอะไรได้ง่ายๆ อย่างเช่นกรณีที่กำลังมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในสังคมอีกเรื่องหนึ่งทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เริ่มต้นฟ้องร้องกันมาตั้งแต่ปี 2540 ลากยาวมาจนถึงปี 2556 หรือ 16 ปีเต็มๆ แล้วก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาตัดสินออกมาผู้คนก็ยังคงให้ความสนใจ
นั่นก็คือ...
ดีฟ้องร้องโกงที่ดินระหว่างพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช โจทก์และนางสาวสุภา วงศ์เสนา โจทก์ร่วมกับนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล จำเลยที่ 1 และนางจินดา สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ เป็นจำเลยที่ 2 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2715/2540 คดีหมายเลขแดงที่ 993/2547 เกี่ยวกับเรื่องที่ดินเพิกถอนนิติกรรมเรียกทรัพย์คืน
ที่มาที่ไปตามคำฟ้องระบุว่าพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภาระบุว่า ได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยการลงลายมือชื่อในช่องมอบอำนาจแต่ไม่ได้กรอกข้อความจำนวน 15 ฉบับเพื่อให้นางทีปสุรางค์ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาสาขาหาดใหญ่เพื่อรวมโฉนดที่ดินทั้ง 51 แปลงเป็นแปลงเดียวแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยไม่เกินแปลงละ 50 ตารางวา เพื่อนำออกขายแก่บุคคลทั่วไป
แต่ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ทราบว่านางทีปสุรางค์ไม่ได้รวมและแบ่งแยกโฉนดตามที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการแต่กลับสบคบกับนางจินดาซึ่งเป็นมารดานำหนังสือมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือไว้ให้ไปกรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาเสียเองหลังจากนั้นนางทีปสุรางค์และมารดาได้นำที่ดินไปและได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอก
โจทก์ระบุว่าไม่เคยให้นางทีปสุรางค์นำที่ดินออกขายและไม่เคยให้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแต่อย่างใดรวมทั้งไม่ได้ขายที่ดินให้กับนางทีปสุรางค์และมารดาตามที่ทั้งสองให้การต่อศาลว่าซื้อมาในราคา 4 ล้านบาทและไม่เคยได้รับเงินค่าที่ดินจากนางทีปสุรางค์ และมารดาแม้แต่บาทเดียว
แน่นอนว่าข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเช่นนี้ฝ่ายจำเลยย่อมต้องสู้คดีอย่างเต็มที่
และที่คดีนี้กลายเป็นที่สนใจของสังคมก็ด้วยเหตตุผล 2 ประการคือประการแรกนางทีปสุรางค์ เป็นภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายของนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงกระบวนการศาลสถิตยุติธรรมและรับราชการตุลาการเกินครึ่งชีวิต
เมื่อคนใกล้ตัวมาเกิดคดีเช่นนี้จึงเป็นที่จับตามอง
ประการที่ 2 ที่คดีนี้โด่งดังก็เพราะว่าศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดสงขลาได้พิพากษาเมื่อวันที่26พฤษภาคม2547 วินิจฉัยว่านางทีปสุรางค์ กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนเจตนาของพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา จริง ดังนั้น นิติกรรมการโอนที่ดินมาเป็นของนางทีปสุรางค์จึงเกิดขึ้นจากการฉ้อฉลโดยเจตนาทุจริตและพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น
ศาลจึงพิพากษาให้นางทีปสุรางค์และมารดาจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามคำร้องของพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภา ส่วนประเด็นข้อพิพาทเรื่องจำเลยได้ถมดินเพื่อพัฒนาซึ่งเท่ากับได้ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินได้พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา418วรรคแรกว่า...
นางทีปสุรางค์และมารดาได้เข้าไปลงทุนพัฒนาที่ดินแล้วทำให้ค่าของที่ดินที่พิพาทสูงขึ้นจึงพิพากษาให้ผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริมและนางสาวสุภาร่วมกันชดใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่นางทีปสุรางค์และมารดาเป็นเงิน10ล้านบาทคดีจึงมีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดสงขลาว่าโจทก์ไม่ได้โกงที่ดินตามที่ศาลจังหวัดสงขลาตัดสิน
และเมื่อรายการ “ความจริงวันนี้”ในเอ็นบีทีนำเรื่องนี้และคำพิพากษาไปพูดในรายการมีการวิเคราะห์ความเห็นเข้าไปด้วยจึงทำให้นางทีปสุรางค์ฟ้องหมิ่นประมาทกราวรูดทั้งนายวีระกานต์ มุกสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายเอนก เรืองเชื้อเหมือน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (เอ็นบีที) และนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์โดยระบุว่าทำให้ผู้ชมเอ็นบีทีช่อง 11 เข้าใจว่า...โจทก์เป็นคนไม่ดีโกงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งไม่เป็นความจริงโจทก์ไม่เคยโกงทรัพย์สินของผู้ใดเลย
เท่านั้นแหละคดีนี้กลายเป็นที่สนใจของสังคมในทันที
สุดท้ายคดีนี้ขึ้นสู่ชั้นฎีกาและเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 ศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่าโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแต่เป็นกรณีที่นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้โจทก์และโจทก์ร่วมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความแล้วนำไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตัวเองและจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นไปตามเจตนาของโจทก์และโจทก์ร่วมที่มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 ไปแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อขายต่อเท่านั้น
การกระทำของนางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นความเสียหายต่างๆ หากเกิดขึ้นจริงดังที่นางทีปสุรางค์จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็เกิดจากการทำผิดกฎหมายและศีลธรรมทั้งสิ้น
พิพากษากลับให้นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 2 ตุลาคม 2538 ทุกฉบับระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทจำนวน 35 แปลงแล้วจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจฉบับวันที่ 2 ตุลาคม 2538 และฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทจำนวน 16 แปลงแล้วจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองหากจำเลยทั้งสองไม่อาจโอนที่ดินกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ราคาที่ดิน 45,000,000 บาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วม
กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์และโจทก์ร่วมโดยกำหนดค่าทนายความ 100,000 บาทค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของฟ้องแย้งทั้ง 3 ศาลให้
แน่นอนว่าเมื่อคำตัดสินคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาแล้วทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับไปตามนั้นเป็นอันว่าปิดคดีที่ดินยาวนานถึง 16 ปีลงไปโดยที่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล กับมารดาเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด
แต่อย่างที่บอกว่าเพราะนางทีปสุรางค์นั้นเป็นภรรยาของนายจรัญซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงตุลาการมาโดยตลอดจึงได้มีกระแสคำถามเกิดขึ้นว่านายจรัญ ไม่ได้มีการเตือนหรือห้ามภรรยาในเรื่องอันจะนำไปสู่คดีคามดังกล่าวเลยหรือ?
หรือว่านายจรัญไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นเลยแต่ตามประมวลกฏหมายแพ่งหมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมร่วมกันและถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือดังนั้นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นไปได้หรือที่นายจรัญ จะไม่รับรู้
ขณะที่ได้มีหลักฐานปรากฏออกมาว่า นายจรัญ มีการเซ็นยินยอมกรณีนี้ด้วย
ตรงนี้หากมองด้วยความเป็นธรรมจึงเป็นสิ่งที่น่าจะบอกได้ว่าการที่สามีเซ็นยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินแล้วภายหลังหากเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาในสังคมนั้นการที่จะไปลงโทษสามีก็อาจจะเป็นสิ่งที่ต้องคิดเหมือนกันว่ามันใช่หรือไม่ที่สามีซึ่งเซ็นยินยอมจะต้องมีความผิด
การสร้างบรรทัดฐานความยุติธรรมโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำไม่มีการเอียงหรือเลือกข้างจึงยังจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยที่ต้องการให้คำว่า 2 มาตรฐานหมดสิ้นไปจากสังคม
**ขอขอบคุณข้อมูลจาก บางกอก ทูเดย์**