อนาคตทีวีดิจิตอลไทยอึมครึม ใบสั่งชักใย“อสมท–ช่อง11” ตุกติกงาบเครื่องส่งสัญญาณ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2557 06:11 น.
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -1 เมษายน 2557 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศไทย โดยเป็นกำหนดการ “ออนแอร์”ของ “ทีวีดิจิตอล”ที่จะมีการแพร่ภาพออกอากาศ 24 ช่อง ในพื้นที่ 4 จังหวัด กทม. นครราชสีมา เชียงใหม่ และสงขลา
ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดประมูล และได้รายชื่อผู้ประกอบการในส่วนของช่องธุรกิจ 24 ช่องไปตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปีก่อน รวมทั้งยังได้ออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล (Multiplex : Mux) ให้กับ 4 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย “ททบ.5 - ไทยพีบีเอส - อสมท -กรมประชาสัมพันธ์”ที่จะทำหน้าที่ “แม่ข่าย”ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละช่อง
โดยแบ่งเป็น ททบ.5 รับสัมปทานควบคุม 2 โครงข่าย หรือ 2 Mux ที่เหลือ ไทยพีบีเอส - อสมท -กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมรายละ 1 Mux
แน่นอนหน้าที่ของ “แม่ข่าย”แต่ละเจ้าก็ต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือให้พร้อมสรรพ สำหรับการออกอากาศจริง โดยระหว่างนั้นก็ได้ทำการทดลองออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาหากบ้านไหนมีกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box)ที่เริ่มมีวางขายกันอย่างคึกคัก ก็สามารถปรับจูนรับชมกันได้บ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่
บางบ้านได้สัมผัสอรรถรสการรับชมละครยอดฮิตหลังข่าวในระบบ High-Definition (HD)ภาพสวยคมชัดกันไปบ้างแล้ว
ทั้ง ๆ ที่ใกล้วันดีเดย์ออกอากาศจริงแล้ว แต่กลับปรากฏข่าวที่ไม่น่าเชื่อว่า “แม่ข่าย”บางรายยังไม่มีอุปกรณ์ห้องส่งโทรทัศน์ระบบดิจิตอล สำหรับการออกอากาศจริงเลย
คำถามมีว่า แล้ววันที่ 1 เมษายน 2557 ประชาชนคนไทยในพื้นที่เป้าหมายจะได้เชยชม ทีวีดิจิตอล กันครบถ้วนทุกช่องตามที่ กสทช.เซ็ตไว้หรือไม่ คำตอบมีว่า
รับชมกันได้ เพราะ“แม่ข่าย”แต่ละเจ้ามีเจ้าอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณสำหรับการ “ทดลอง”อยู่แล้ว ซึ่งคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องจริง แบบไม่ผิดเพี้ยน
แม้จะรับชมกันได้ตามกำหนด แต่ก็ต้องมีคำถามถึง กสทช. ว่า เหตุใดจึงปล่อยให้ผู้ประกอบการที่ตัวเองเลือก มีสภาพไม่พร้อมสำหรับสัมปทานที่ได้รับ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ในฐานะแม่ข่าย จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ทันก่อนถึงวันกำหนด กี่วัน กี่สัปดาห์
ตรงนี้ถือเป็น “ช่องโหว่”ทำให้เกิดเรื่องราวตามมา
โดยในส่วนของ “ททบ.5-ไทยพีบีเอส”นั้นไร้ปัญหาข้อกังวล เพราะได้เดินหน้ากระบวนการจัดซื้อจัดหาเครื่องส่งสัญญาณเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แถมยังได้รับคำชมอีกต่างหาก ฐานที่ราคาประมูลที่ผู้ประกอบการเสนอและได้รับชัยชนะนั้น ต่ำกว่าราคากลาง หรืองบประมาณที่ตั้งไว้ 40 -50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
โดย “ไทยพีบีเอส” ที่รับผิดชอบ 1 โครงข่าย ตั้งงบประมาณไว่ที่ 550 ล้านบาท ผลสุดท้ายได้สินค้าในราคาที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วน ททบ.5 ตั้งงบประมาณไว้สูงกว่าที่ 840 ล้านบาท เพราะรับผิดชอบ 2 โครงข่าย ก็จบดีลที่ราคาต่ำกว่าถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ผิดวิสัยการประมูล-การแข่งเสนอราคาในโครงการหลักหลายร้อยล้านที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินมาตลอด
แต่ในส่วนของ“อสมท -กรมประชาสัมพันธ์” อีก 2 แม่ข่ายที่เหลือนั้น ยังไร้วี่แววที่จะได้ครอบครองเครื่องส่งสัญญาณดิจิตอลมาเป็นของตัวเอง ให้ทันกับการออกอากาศจริง ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จริงอยู่สามารถใช้เครื่องทดสอบการส่งสัญญาณไปพลางก่อนจะจัดหาเครื่องจริงมาทดแทน
แต่หากถามในแง่ความรับผิดชอบ ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
ในวงการทีวีดิจิตอล ซุบซิบกันหนาหูว่า งานนี้มี“ใบสั่ง”จึงทำให้กระบวนการของ 2 หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐชะงักงัน โดยไม่สนใจเดดไลน์ การออกอากาศ
โดยคนวงในมองว่าทั้งสองหน่วยงานพยายามถ่วงเวลา เพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ให้เข้าเงื่อนไขการจัดซื้อวิธีพิเศษ เปิดถ่างช่องทางหากิน ให้กว้างที่สุด
เปิดโอกาสสวาปามกันได้อย่างคล่องคอ
โดยที่ผ่านมาทั้ง “อสมท -กรมประชาสัมพันธ์”ไม่ใช่ว่าไม่ได้ขยับอะไรเลย มีการตั้งเรื่องเดินหน้าจัดทำร่างข้อกำหนด หรือ“ทีโออาร์”จนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ก็มี “ใบสั่ง”โผล่มากลางทาง ทำให้มีการดึงเรื่องไว้จนป่านนี้ ซึ่งไม่ทันกับการออกอากาศอย่างแน่นอน
สุดท้ายก็ต้องปักหัวเรือเข้าสู่ช่องทางวิธีพิเศษ สมใจของคนบางกลุ่ม โดยมีเงาทะมึนของ “สายตรงนายใหญ่”ผู้กว้างขวางในพื้นที่ภาคเหนือ อ้างว่ามี“ใบสั่งดูไบ”มารับบท “ผู้อำนวยการสร้าง”อยู่เบื้องหลัง จนทำให้คนทำงานหัวปั่น เดินหน้าไม่ถูก
ทั้งในส่วนของ อสมท ที่ร่างทีโออาร์ ถูกแก้ไขจนพรุน สุดท้ายใส่เงื่อนไขพิลึกพิลั่น บีบให้เหลือผู้ประกอบการที่เข้าข่ายร่วมเสนอราคาได้เพียงไม่กี่ราย รวมทั้งจัดแจง“ยัดไส้”รายละเอียดทางเทคนิคยิบย่อยอีกนับไม่ถ้วน เข้าข่าย ล็อกสเปก โดยใช้ของเล็กล็อกของใหญ่ แบบถ้าเป็นคนนอกวงการดูไม่ออก
จนทำให้บิ๊ก อสมท ระดับ “รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท”ที่คุมงานด้านการจัดหาอุปกรณ์ ขอ “ไขก๊อก”ถอนตัวออกจากการทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการจัดหา เพราะรู้ชะตากรรมว่า หากกระบวนการยิ่งงวดไปมากเท่าไร อนาคตอาจต้องเป็น“แพะ”เข้าไปอยู่ในซังเต หากเรื่องแดงขึ้น
ทั้งกระบวนการที่ผิดเพี้ยนไม่ชอบมาพากล ตลอดจนไปถึงการเสนอราคา ที่มีการตั้งงบประมาณไว้สูงลิ่ว ถึง 440 ล้านบาท ในระยะที่ 1 ซึ่งเทียบแล้วแพงกว่าราคาสุดท้ายของ“ททบ.5-ไทยพีบีเอส”เป็นเท่าตัว ด้วยจุดติดตั้งของ อสมท มีน้อยกว่าทั้งสองหน่วยงานที่ว่า
โดย 440 ล้านบาทของ อสมท เป็นเพียงโครงการระยะที่ 1 สำหรับการติดตั้ง 1 โครงข่าย 14 สถานีหลัก หรือ 14 เครื่องส่งเท่านั้น
ขณะที่ทาง ททบ.5 รับผิดชอบ 2 โครงข่าย 38 สถานี 114 เครื่องส่งโทรทัศน์ ตั้งงบประมาณไว้ที่ 840 ล้านบาท ก่อนจะได้ผู้ชนะที่ราคา 400 กว่าล้านบาท หรือทางไทยพีบีเอส จำนวน 1 โครงข่าย 44 สถานี 88 เครื่องส่ง ตั้งงบประมาณไว้เพียง 550 ล้านบาท ก็ได้ผู้ชนะในราคาต่ำกว่าครึ่ง
ด้าน กรมประชาสัมพันธ์ ก็ไม่แพ้กัน เพราะนอกจากกระบวนการจะไม่คืบหน้าแล้ว ในเรื่องของงบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 980 ล้านบาท ในระยะที่ 1 ซึ่งจัดหาเครื่องส่งสัญญาณแค่ 33 เครื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้เคยตั้งเรื่องจนเกือบจะมีการเสนอราคาอยู่แล้ว แต่ก็ถูกขัดคอโดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา ให้พิจารณาทบทวนโครงการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าหากเทียบกับการจัดซื้อของ ททบ.5-ไทยพีบีเอส ที่ราคาต่ำกว่ากันมาก
ทั้งที่มีจำนวนของเครื่องส่งที่มีมากกว่า ตรงนี้เองที่ทำให้กระบวนการของกรมประชาสัมพันธ์ ชะงักตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แม้จะอ้างว่างบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการก่อสร้างอาคารใหม่รองรับการปฏิบบัติการ“แม่ข่าย”ทีวีดิจิตอลก็ตาม
ถึงขั้น“อธิบดี”ไม่ยอมเซ็นต์หนังสือที่เกี่ยวกับโครงการเลย
ข่าวว่าดีลของกรมประชาสัมพันธ์ ท่าทางจะเก็บเข้าลิ้นชักไปแบบยาวๆ ด้วยตัวผู้รับผิดชอบใช้คำทักท้วงของ สตง. เป็นข้ออ้าง รวมทั้งขอรอดูทิศทางการเมืองก่อน ส่วนทาง อสมท มีข่าวว่า จะประกาศทีโออาร์ ให้ผู้สนใจเข้าร่วมเสนอราคาในเร็วๆนี้ ก็ต้องจับตาดูว่าทั้งสองหน่วยงานจะขยับได้ตาม“ใบสั่ง” หรือไม่
สนองตัณหา “ผู้อำนวยการสร้าง”ที่หวังอาศัยจังหวะชุลมุน มะรุมมะตุ้มทางการเมือง เข้ามางาบผลประโยชน์แบบหวานคอแร้ง แต่ก็ต้องฝันค้าง อยู่ในตอนนี้
ข่าวก่อนหน้านี้ อ่านได้ที่กระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/31803060
อนาคตทีวีดิจิตอลไทยอึมครึม ใบสั่งชักใย“อสมท–ช่อง 11” ตุกติกงาบเครื่องส่งสัญญาณ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2557 06:11 น.
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -1 เมษายน 2557 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศไทย โดยเป็นกำหนดการ “ออนแอร์”ของ “ทีวีดิจิตอล”ที่จะมีการแพร่ภาพออกอากาศ 24 ช่อง ในพื้นที่ 4 จังหวัด กทม. นครราชสีมา เชียงใหม่ และสงขลา
ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดประมูล และได้รายชื่อผู้ประกอบการในส่วนของช่องธุรกิจ 24 ช่องไปตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปีก่อน รวมทั้งยังได้ออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล (Multiplex : Mux) ให้กับ 4 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย “ททบ.5 - ไทยพีบีเอส - อสมท -กรมประชาสัมพันธ์”ที่จะทำหน้าที่ “แม่ข่าย”ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละช่อง
โดยแบ่งเป็น ททบ.5 รับสัมปทานควบคุม 2 โครงข่าย หรือ 2 Mux ที่เหลือ ไทยพีบีเอส - อสมท -กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมรายละ 1 Mux
แน่นอนหน้าที่ของ “แม่ข่าย”แต่ละเจ้าก็ต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือให้พร้อมสรรพ สำหรับการออกอากาศจริง โดยระหว่างนั้นก็ได้ทำการทดลองออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาหากบ้านไหนมีกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box)ที่เริ่มมีวางขายกันอย่างคึกคัก ก็สามารถปรับจูนรับชมกันได้บ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่
บางบ้านได้สัมผัสอรรถรสการรับชมละครยอดฮิตหลังข่าวในระบบ High-Definition (HD)ภาพสวยคมชัดกันไปบ้างแล้ว
ทั้ง ๆ ที่ใกล้วันดีเดย์ออกอากาศจริงแล้ว แต่กลับปรากฏข่าวที่ไม่น่าเชื่อว่า “แม่ข่าย”บางรายยังไม่มีอุปกรณ์ห้องส่งโทรทัศน์ระบบดิจิตอล สำหรับการออกอากาศจริงเลย
คำถามมีว่า แล้ววันที่ 1 เมษายน 2557 ประชาชนคนไทยในพื้นที่เป้าหมายจะได้เชยชม ทีวีดิจิตอล กันครบถ้วนทุกช่องตามที่ กสทช.เซ็ตไว้หรือไม่ คำตอบมีว่า รับชมกันได้ เพราะ“แม่ข่าย”แต่ละเจ้ามีเจ้าอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณสำหรับการ “ทดลอง”อยู่แล้ว ซึ่งคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องจริง แบบไม่ผิดเพี้ยน
แม้จะรับชมกันได้ตามกำหนด แต่ก็ต้องมีคำถามถึง กสทช. ว่า เหตุใดจึงปล่อยให้ผู้ประกอบการที่ตัวเองเลือก มีสภาพไม่พร้อมสำหรับสัมปทานที่ได้รับ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ในฐานะแม่ข่าย จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ทันก่อนถึงวันกำหนด กี่วัน กี่สัปดาห์
ตรงนี้ถือเป็น “ช่องโหว่”ทำให้เกิดเรื่องราวตามมา
โดยในส่วนของ “ททบ.5-ไทยพีบีเอส”นั้นไร้ปัญหาข้อกังวล เพราะได้เดินหน้ากระบวนการจัดซื้อจัดหาเครื่องส่งสัญญาณเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แถมยังได้รับคำชมอีกต่างหาก ฐานที่ราคาประมูลที่ผู้ประกอบการเสนอและได้รับชัยชนะนั้น ต่ำกว่าราคากลาง หรืองบประมาณที่ตั้งไว้ 40 -50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
โดย “ไทยพีบีเอส” ที่รับผิดชอบ 1 โครงข่าย ตั้งงบประมาณไว่ที่ 550 ล้านบาท ผลสุดท้ายได้สินค้าในราคาที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วน ททบ.5 ตั้งงบประมาณไว้สูงกว่าที่ 840 ล้านบาท เพราะรับผิดชอบ 2 โครงข่าย ก็จบดีลที่ราคาต่ำกว่าถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ผิดวิสัยการประมูล-การแข่งเสนอราคาในโครงการหลักหลายร้อยล้านที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินมาตลอด
แต่ในส่วนของ“อสมท -กรมประชาสัมพันธ์” อีก 2 แม่ข่ายที่เหลือนั้น ยังไร้วี่แววที่จะได้ครอบครองเครื่องส่งสัญญาณดิจิตอลมาเป็นของตัวเอง ให้ทันกับการออกอากาศจริง ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จริงอยู่สามารถใช้เครื่องทดสอบการส่งสัญญาณไปพลางก่อนจะจัดหาเครื่องจริงมาทดแทน
แต่หากถามในแง่ความรับผิดชอบ ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
ในวงการทีวีดิจิตอล ซุบซิบกันหนาหูว่า งานนี้มี“ใบสั่ง”จึงทำให้กระบวนการของ 2 หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐชะงักงัน โดยไม่สนใจเดดไลน์ การออกอากาศ
โดยคนวงในมองว่าทั้งสองหน่วยงานพยายามถ่วงเวลา เพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ให้เข้าเงื่อนไขการจัดซื้อวิธีพิเศษ เปิดถ่างช่องทางหากิน ให้กว้างที่สุด
เปิดโอกาสสวาปามกันได้อย่างคล่องคอ
โดยที่ผ่านมาทั้ง “อสมท -กรมประชาสัมพันธ์”ไม่ใช่ว่าไม่ได้ขยับอะไรเลย มีการตั้งเรื่องเดินหน้าจัดทำร่างข้อกำหนด หรือ“ทีโออาร์”จนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ก็มี “ใบสั่ง”โผล่มากลางทาง ทำให้มีการดึงเรื่องไว้จนป่านนี้ ซึ่งไม่ทันกับการออกอากาศอย่างแน่นอน
สุดท้ายก็ต้องปักหัวเรือเข้าสู่ช่องทางวิธีพิเศษ สมใจของคนบางกลุ่ม โดยมีเงาทะมึนของ “สายตรงนายใหญ่”ผู้กว้างขวางในพื้นที่ภาคเหนือ อ้างว่ามี“ใบสั่งดูไบ”มารับบท “ผู้อำนวยการสร้าง”อยู่เบื้องหลัง จนทำให้คนทำงานหัวปั่น เดินหน้าไม่ถูก
ทั้งในส่วนของ อสมท ที่ร่างทีโออาร์ ถูกแก้ไขจนพรุน สุดท้ายใส่เงื่อนไขพิลึกพิลั่น บีบให้เหลือผู้ประกอบการที่เข้าข่ายร่วมเสนอราคาได้เพียงไม่กี่ราย รวมทั้งจัดแจง“ยัดไส้”รายละเอียดทางเทคนิคยิบย่อยอีกนับไม่ถ้วน เข้าข่าย ล็อกสเปก โดยใช้ของเล็กล็อกของใหญ่ แบบถ้าเป็นคนนอกวงการดูไม่ออก
จนทำให้บิ๊ก อสมท ระดับ “รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท”ที่คุมงานด้านการจัดหาอุปกรณ์ ขอ “ไขก๊อก”ถอนตัวออกจากการทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการจัดหา เพราะรู้ชะตากรรมว่า หากกระบวนการยิ่งงวดไปมากเท่าไร อนาคตอาจต้องเป็น“แพะ”เข้าไปอยู่ในซังเต หากเรื่องแดงขึ้น
ทั้งกระบวนการที่ผิดเพี้ยนไม่ชอบมาพากล ตลอดจนไปถึงการเสนอราคา ที่มีการตั้งงบประมาณไว้สูงลิ่ว ถึง 440 ล้านบาท ในระยะที่ 1 ซึ่งเทียบแล้วแพงกว่าราคาสุดท้ายของ“ททบ.5-ไทยพีบีเอส”เป็นเท่าตัว ด้วยจุดติดตั้งของ อสมท มีน้อยกว่าทั้งสองหน่วยงานที่ว่า
โดย 440 ล้านบาทของ อสมท เป็นเพียงโครงการระยะที่ 1 สำหรับการติดตั้ง 1 โครงข่าย 14 สถานีหลัก หรือ 14 เครื่องส่งเท่านั้น
ขณะที่ทาง ททบ.5 รับผิดชอบ 2 โครงข่าย 38 สถานี 114 เครื่องส่งโทรทัศน์ ตั้งงบประมาณไว้ที่ 840 ล้านบาท ก่อนจะได้ผู้ชนะที่ราคา 400 กว่าล้านบาท หรือทางไทยพีบีเอส จำนวน 1 โครงข่าย 44 สถานี 88 เครื่องส่ง ตั้งงบประมาณไว้เพียง 550 ล้านบาท ก็ได้ผู้ชนะในราคาต่ำกว่าครึ่ง
ด้าน กรมประชาสัมพันธ์ ก็ไม่แพ้กัน เพราะนอกจากกระบวนการจะไม่คืบหน้าแล้ว ในเรื่องของงบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 980 ล้านบาท ในระยะที่ 1 ซึ่งจัดหาเครื่องส่งสัญญาณแค่ 33 เครื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้เคยตั้งเรื่องจนเกือบจะมีการเสนอราคาอยู่แล้ว แต่ก็ถูกขัดคอโดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา ให้พิจารณาทบทวนโครงการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าหากเทียบกับการจัดซื้อของ ททบ.5-ไทยพีบีเอส ที่ราคาต่ำกว่ากันมาก
ทั้งที่มีจำนวนของเครื่องส่งที่มีมากกว่า ตรงนี้เองที่ทำให้กระบวนการของกรมประชาสัมพันธ์ ชะงักตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แม้จะอ้างว่างบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการก่อสร้างอาคารใหม่รองรับการปฏิบบัติการ“แม่ข่าย”ทีวีดิจิตอลก็ตาม
ถึงขั้น“อธิบดี”ไม่ยอมเซ็นต์หนังสือที่เกี่ยวกับโครงการเลย
ข่าวว่าดีลของกรมประชาสัมพันธ์ ท่าทางจะเก็บเข้าลิ้นชักไปแบบยาวๆ ด้วยตัวผู้รับผิดชอบใช้คำทักท้วงของ สตง. เป็นข้ออ้าง รวมทั้งขอรอดูทิศทางการเมืองก่อน ส่วนทาง อสมท มีข่าวว่า จะประกาศทีโออาร์ ให้ผู้สนใจเข้าร่วมเสนอราคาในเร็วๆนี้ ก็ต้องจับตาดูว่าทั้งสองหน่วยงานจะขยับได้ตาม“ใบสั่ง” หรือไม่
สนองตัณหา “ผู้อำนวยการสร้าง”ที่หวังอาศัยจังหวะชุลมุน มะรุมมะตุ้มทางการเมือง เข้ามางาบผลประโยชน์แบบหวานคอแร้ง แต่ก็ต้องฝันค้าง อยู่ในตอนนี้
ข่าวก่อนหน้านี้ อ่านได้ที่กระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/31803060