คำเตือน รูปบางรูปอาจจะโหดร้ายและสะเทือนใจไปหน่อย....
ประสิทธิภาพและอานุภาพแห่งภาพถ่ายนั้น มากมายมหาศาลจนถึงกับมีวลีในทำนองว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำหมื่นคำ" อย่างที่เราๆ ท่าน มักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆผมเชื่อว่าคนชอบเที่ยวทุกๆ คนในที่นี้ ชอบถ่ายภาพ และชอบดูภาพถ่าย วันนี้จึงได้จัดหา 10 ภาพที่ถือว่าเป็นภาพที่ทรงอานุภาพถึงขั้น สะเทือนโลก!!
ไปชมกันเลย ว่าจะสะเทือนใจแค่ไหน!!
10. แทงค์ แมน (Tank Man) ถ่ายภาพโดย เจฟ วิเดนเนอร์
ภาพ แทงค์ แมน หรือ กบฏแห่งจลาจล เป็นพฤติกรรมที่กล้าหาญ และ ท้าทายเป็นอย่างมาก เป็นการถ่ายภาพหน้ากว้าง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ในเหตุการณ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการจบสิ้นสงครามเย็น ภาพนี้ยังเป็นภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 20 ด้วย....
9. ไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช (Fire on Marlborough Street) ถ่ายภาพโดยสแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน
ในวันที่ 22 กรกฏาคม ค.ศ. 1975 สแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน ได้ถ่ายภาพที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมได้ ในขณะเดินทางไปทำงานที่ ฮารอล บอสตัน เขาคลานข้ามรถดับเพลิงขึ้นมาเพื่อทำข่าวไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช ขณะที่คลานเข้ามาใกล้เหตุการณ์ หญิงสาว กับ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ก็ร่วงลงมาจากอพาร์ทเม้นท์ด้านบน หญิงสาวตายสนิททันที แต่เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ รอดชีวิตมาได้ ภาพนี้ทำให้ฟอร์แมนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ และยังสามารถนำภาพนี้ไปใช้ในการออกกฎหมายเกี่ยวกับอัคคีภัยในเมืองบอสตันอีกด้วย....
8. Napalm Strike ถ่ายภาพโดย Huynh Cong Ut
Huynh Cong Ut หรือ Nick Ut ช่างภาพแนว Photojournalism จาก AP บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์ม ลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม ในวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน....
Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้า และเสียขวัญสุดขีดมาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไป พร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้านและลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือ กันวิ่งมาด้วย เหตุการณ์ก่อนการตีพิมพ์ภาพนี้ให้โลกได้รับรู้ บรรณาธิการ AP ไม่ยอมให้ตีพิมพ์รูปของ Kim Phuc ที่กำลังวิ่งไปบนถนน โดยไม่ใส่เสื้อผ้าเพราะเป็นภาพที่เห็นด้านหน้าชัดเจน และนโยบายของ AP ในยุคนั้นจะไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือย ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเพศใดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพ ด้านหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น ได้เกิดการโต้เถียงผ่าน Telex อย่างดุเดือดกับสำนักงานใหญ่ของ AP ที่นิวยอร์ค ให้ยกเว้นกฎระเบียบโดยมีข้อตกลงกันว่า จะต้องไม่มีภาพถ่ายใกล้ ของเธอ เผยแพร่ออกไป สุดท้าย Hal Buell บรรณาธิการภาพของ The New York ที่จะนำภาพไปตีพิมพ์ เห็นด้วยว่า คุณค่าของภาพข่าวนี้ มีเหนือกว่า แนวทางปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับภาพเปลือย และภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีนั้น....
7. The Falling Ma ถ่ายภาพโดย ริชาร์ด ดริว
เดอะ ฟอลลิ่ง แมน ถูกบันทึกภาพไว้โดย ริชาร์ด ดริว เมื่อเวลาเช้าของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ณ เวลา 9.41.15 น. เป็นภาพชายคนหนึ่งกำลังร่วงลงมาจากตึก เวิร์ด เทรด เซนเตแอร์ นครนิวยอร์ค ซึ่งไม่ทราบชื่อชายในภาพ หลายคนลงความเห็นว่า เป็นภาพที่รบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาพที่อกสั่นขวัญแขวนต่อผู้ชม ภาพที่แสดงเหมือนเป็นภาพลวงตา อย่างไรก็ตาม มีหลายคนวิจารณ์ว่าทำไมคนถึงร่วงลงมาในแนวดิ่งแบบนั้น แต่ยังไงภาพนี้ก็เป็นเพียงภาพเดียวจากหลายๆ ภาพของการตกลงมา และภาพนี้ก็อาจเป็นภาพที่เขากำลังตีลังกาขณะร่วงลงมาจากตึกโดยปราศจากการควบ คุมก็เป็นได้....
6. Moon Landing การลงจอดบนดวงจันทร์
ภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวขาน และการโต้เถียงมากมาย ภาพการลงจอดบนดวงจันทร์ เป็นการประกาศถึงบทสำเร็จทางวิศวกรรมของมนุษยชาติ โดยอีกนัยหนึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการหลอกลวงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความสงสัยต่อข้อเท็จจริงในภาพถ่าย ซึ่งได้รับการวิจารอย่างกว้างขวางในแง่ของการปลอมแปลงภาพ ด้วยคำถามว่า ทำไม และ อย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริง และความสงสัยก็ขยายออกเป็นวงกว้าง หลายๆ กรณีถูกกล่าวถึงในแง่ภารกิจที่สำเร็จลุล่วง ของมนุษยชาติ ที่สามารถส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ธงชาติสหรัฐได้ถูกปักลงเพื่อเป็นเกียรติภูมิแห่งความสำเร็จ และได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตอวกาศ และยังคงประกาศถึงมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ด้วย....
5. Murder of a Vietcong by Saigon Police Chief ถ่ายภาพโดย เอ๊ดดี้ อดัมส์
ภาพ สัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 และ21 อีกภาพหนึ่ง ของ เอ็ดดี้ อดัม ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ และภาพนี้ด้วยเช่นกัน เอ็ดดี้ อดัม มีชื่อเสียงในการถ่ายภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงลงตามสือสิ่งพิมพ์มากมาย มีชีวิตในช่วงสงครามถึง 13 ครั้ง อย่างไรก็ดี ภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นภาพในสงครามเวียดนาม อดัม ได้ขอขมาต่อผู้คนในบังคับบัญชาของ พันเอก นูเยน และครอบครัวของเขาถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้น และรางวัลเกียรติยศในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่.....
ภาพ ถ่ายคืออาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก” เอ็ดดี้ อดัมส์เคยเขียนประโยคนี้ไว้ และเข้าใจได้ไม่ยาก หากทราบที่มาและที่ไป ในปี 1968 เอ็ดดี้ ได้ถ่ายรูปตำรวจ ที่จ่อยิงศีรษะของนักโทษเวียดกง ที่ถูกใส่กุญแจมืออยู่ และภาพนี้ ได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1969 ดูแล้วก็น่าสงสาร รันทดใจ ในชะตากรรมของผู้ตกเป็นเหยื่อ และอดดูถูกนายตำรวจตัวร้าย ผู้ลั่นไกมิได้ และทำให้นายพล Nguyen Ngoc Loan กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวโลก และเป็นสัญลักษณ์ของความร้ายกาจ รุนแรง แต่ อย่างที่พอจะเดากันได้ โลกนี้ไม่ใช่มีเฉพาะ ขาว-ดำ, ถูก-ผิด อย่างที่ เอ็ดดี้ได้เสนอไว้ในภาพนี้ เบื้องหลังก็คือ ผู้ที่ถูกยิง เป็นหัวหน้าหน่วยล่าสังหาร ของฝ่ายเวียดกง ที่วันนี้เพิ่งฆ่าหมู่ชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธ และไร้ทางต่อสู้นับสิบคน ส่วนนายพล Loanท่านนั้นก็ได้รับผลกระทบอย่างมากมายจากภาพนั้น ถูกไล่ออก โรงพยาบาลทหารผ่านศึกก็ปฏิเสธที่จะรักษาท่าน และเมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ก็ถูกต่อต้าน และต่อว่าเปิดร้านอาหารในอเมริกา ก็ต้องถูกบังคับให้ปิด และมีชีวิตที่ยากลำบาก ตลอดชีวิตที่เหลือ ในภายหลัง เอ็ดดี้ ได้แถลงขออภัย ต่อนายพล Loan ที่ได้ถ่ายทอดภาพออกมาในลักษณะนั้น “ท่านนายพลได้สังหารเวียดกงด้วยปืน แต่ผมกลับสังหารท่านด้วยกล้อง....
4. เช กูวาร่า ถ่ายภาพโดย อัลเบอโต คอร์ดา
ภาพนี้เป็นภาพที่โด่งดังภาพหนึ่งในการปฏิวัติ มาร์คซิส ของ เช กูวารา ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นอนุสรณ์การระเบิด แห่ง ลา คูบร์ ภาพได้ถูกบันทึกมาร่วม 31 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังนำภาพสัญลักษณ์นี้มาแสดง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด รอยสัก และบนกำแพง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วโลก ถือเป็นภาพที่แสดงออกถึงการเรียกร้องสิทธิ์ และภาพก็ยังแสดงออกถึงความขัดแย้งซึ่งยังคงมีอยู่ และดำรงอยู่....
3. การอัญเชิญธง ณ อิโวจิม่า (Raising the Flag on Iwo Jima) ถ่ายภาพโดยโจ โรเซนไทล์
ภาพอัญเชิญธง ณ อิโวจิมา ถูกบันทึกไว้เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 โดย โจ โรเซนไทล์ ได้บันทึกภาพ นาวิกโยธินสหรัฐ และ นาวาอากาศสหรัฐ 5 นาย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ทหารเสนารักษ์ กำลังพยายามปักธงบนยอดเขา ซึริบาฉิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ อิโวจิมา ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีเดียวกัน นอกจากการได้บันทึกช่วงเวลานี้เป็นภาพ แต่ยังเป็นหมายเหตุให้กับสหรัฐด้วย ถึงการจดจำ และการบันทึกภาพเหตุการณ์ในช่วงต่างๆ.....
2. ศาลเตี้ย (Lynching) ถ่ายภาพโดย ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์
ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์ ได้บันทึกภาพนี้ไว้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ภาพแสดงถึงการประชาทัณฑ์ ชอง โธมัส ชิปป์ และ อาร์บ สมิธ มันถูกขายออกไปกว่าพันสำเนา โดย เบลท์เลอล์ ที่ใช้เวลาตลอด 10 วัน 10 คืนในการพิมพ์มันออกมา ภาพกลายเป็นสัญลักษณ์กล่าวขานสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายปี ถึงความเด่นในแง่มุมของการจดจำ ถึงการถูกประชาทัณฑ์ศาลเตี้ย ซึ่งในเวลานั้น เหมือนมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ประจำวัน ภาพนี้ต้องการแสดงถึงยุคก่อนสงครามกลางเมืองเท่านั้น ภาพแสดงถึงผู้คนพยายามเลี่ยงสายตาจากภาพการลงทัณฑ์ ด้วยอารมณ์อันหลากหลาย ระคนด้วยความโกรธและความสะใจ ภาพนี้ได้รับความนิยม และได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดานใจในการเขียนกลอน และแต่งเพลงในช่วงหลายปีต่อมา...
1. สมรภูมิ แห่งเกตติเบิร์ก (Battle of Gettysburg) ถ่ายภาพโดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน
ภาพถ่ายนี้ได้แสดงความเหมือนของสมรภูมินองเลือดระหว่าง สมรภูมิแห่ง เกตติเบิร์ค และ สมรภูมิ สงครามกลางเมืองแห่งสหรัฐ บันทึกภาพไว้โดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน ในบันทึกสารคดีแห่งสมรภูมิ ภาพนี้ได้ถ่ายทอดห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย และตีแผ่ช่วงเวลา แห่งสงครามกลางเมือง ให้แก่ผู้ที่ได้เห็นภาพในครั้งแรก หรือผ่านประสบการณ์นั้นมา อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่การแพร่ภาพอย่างกว้างขวาง และภาพนี้ก็ยังเป็นภาพที่ไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อน ภาพถูกทำให้เหมือนการพิมพ์ในสมัยโบราณ แต่ภาพได้แสดงถึงการตายหมู่ของทหารในสมรภูมิ และภาพได้ทำการบันทึกส่วนหนึ่งถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์....
แถมท้ายด้วยภาพที่อาจจะไม่ติด 1 ใน 10 ภาพระดับโลก.......
0. เหตุการณ์ 6 ตุลา
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจล ตลอดจนการปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วง ซึ่งเกิดขึ้นในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยร่วมกับประชาชนกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ....
หนึ่งวันก่อนเกิดเหตุการณ์ มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสื่อ สำหรับหลายฝ่าย นักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น....
พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและอนุญาตให้ยิงเสรีในวิทยาเขต คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่ากลุ่มของพลตรีประมาณ และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่มยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี....
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านครับ....
ที่มา : TopTenThailand , วิกิพีเดีย
10 ภาพถ่ายสะเทือนโลก!!....
ประสิทธิภาพและอานุภาพแห่งภาพถ่ายนั้น มากมายมหาศาลจนถึงกับมีวลีในทำนองว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำหมื่นคำ" อย่างที่เราๆ ท่าน มักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆผมเชื่อว่าคนชอบเที่ยวทุกๆ คนในที่นี้ ชอบถ่ายภาพ และชอบดูภาพถ่าย วันนี้จึงได้จัดหา 10 ภาพที่ถือว่าเป็นภาพที่ทรงอานุภาพถึงขั้น สะเทือนโลก!!
ไปชมกันเลย ว่าจะสะเทือนใจแค่ไหน!!
10. แทงค์ แมน (Tank Man) ถ่ายภาพโดย เจฟ วิเดนเนอร์
ภาพ แทงค์ แมน หรือ กบฏแห่งจลาจล เป็นพฤติกรรมที่กล้าหาญ และ ท้าทายเป็นอย่างมาก เป็นการถ่ายภาพหน้ากว้าง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ในเหตุการณ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการจบสิ้นสงครามเย็น ภาพนี้ยังเป็นภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 20 ด้วย....
9. ไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช (Fire on Marlborough Street) ถ่ายภาพโดยสแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน
ในวันที่ 22 กรกฏาคม ค.ศ. 1975 สแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน ได้ถ่ายภาพที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมได้ ในขณะเดินทางไปทำงานที่ ฮารอล บอสตัน เขาคลานข้ามรถดับเพลิงขึ้นมาเพื่อทำข่าวไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช ขณะที่คลานเข้ามาใกล้เหตุการณ์ หญิงสาว กับ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ก็ร่วงลงมาจากอพาร์ทเม้นท์ด้านบน หญิงสาวตายสนิททันที แต่เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ รอดชีวิตมาได้ ภาพนี้ทำให้ฟอร์แมนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ และยังสามารถนำภาพนี้ไปใช้ในการออกกฎหมายเกี่ยวกับอัคคีภัยในเมืองบอสตันอีกด้วย....
8. Napalm Strike ถ่ายภาพโดย Huynh Cong Ut
Huynh Cong Ut หรือ Nick Ut ช่างภาพแนว Photojournalism จาก AP บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์ม ลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม ในวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน....
Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้า และเสียขวัญสุดขีดมาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไป พร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้านและลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือ กันวิ่งมาด้วย เหตุการณ์ก่อนการตีพิมพ์ภาพนี้ให้โลกได้รับรู้ บรรณาธิการ AP ไม่ยอมให้ตีพิมพ์รูปของ Kim Phuc ที่กำลังวิ่งไปบนถนน โดยไม่ใส่เสื้อผ้าเพราะเป็นภาพที่เห็นด้านหน้าชัดเจน และนโยบายของ AP ในยุคนั้นจะไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือย ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเพศใดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพ ด้านหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น ได้เกิดการโต้เถียงผ่าน Telex อย่างดุเดือดกับสำนักงานใหญ่ของ AP ที่นิวยอร์ค ให้ยกเว้นกฎระเบียบโดยมีข้อตกลงกันว่า จะต้องไม่มีภาพถ่ายใกล้ ของเธอ เผยแพร่ออกไป สุดท้าย Hal Buell บรรณาธิการภาพของ The New York ที่จะนำภาพไปตีพิมพ์ เห็นด้วยว่า คุณค่าของภาพข่าวนี้ มีเหนือกว่า แนวทางปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับภาพเปลือย และภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีนั้น....
7. The Falling Ma ถ่ายภาพโดย ริชาร์ด ดริว
เดอะ ฟอลลิ่ง แมน ถูกบันทึกภาพไว้โดย ริชาร์ด ดริว เมื่อเวลาเช้าของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ณ เวลา 9.41.15 น. เป็นภาพชายคนหนึ่งกำลังร่วงลงมาจากตึก เวิร์ด เทรด เซนเตแอร์ นครนิวยอร์ค ซึ่งไม่ทราบชื่อชายในภาพ หลายคนลงความเห็นว่า เป็นภาพที่รบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาพที่อกสั่นขวัญแขวนต่อผู้ชม ภาพที่แสดงเหมือนเป็นภาพลวงตา อย่างไรก็ตาม มีหลายคนวิจารณ์ว่าทำไมคนถึงร่วงลงมาในแนวดิ่งแบบนั้น แต่ยังไงภาพนี้ก็เป็นเพียงภาพเดียวจากหลายๆ ภาพของการตกลงมา และภาพนี้ก็อาจเป็นภาพที่เขากำลังตีลังกาขณะร่วงลงมาจากตึกโดยปราศจากการควบ คุมก็เป็นได้....
6. Moon Landing การลงจอดบนดวงจันทร์
ภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวขาน และการโต้เถียงมากมาย ภาพการลงจอดบนดวงจันทร์ เป็นการประกาศถึงบทสำเร็จทางวิศวกรรมของมนุษยชาติ โดยอีกนัยหนึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการหลอกลวงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความสงสัยต่อข้อเท็จจริงในภาพถ่าย ซึ่งได้รับการวิจารอย่างกว้างขวางในแง่ของการปลอมแปลงภาพ ด้วยคำถามว่า ทำไม และ อย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริง และความสงสัยก็ขยายออกเป็นวงกว้าง หลายๆ กรณีถูกกล่าวถึงในแง่ภารกิจที่สำเร็จลุล่วง ของมนุษยชาติ ที่สามารถส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ธงชาติสหรัฐได้ถูกปักลงเพื่อเป็นเกียรติภูมิแห่งความสำเร็จ และได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตอวกาศ และยังคงประกาศถึงมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ด้วย....
5. Murder of a Vietcong by Saigon Police Chief ถ่ายภาพโดย เอ๊ดดี้ อดัมส์
ภาพ สัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 และ21 อีกภาพหนึ่ง ของ เอ็ดดี้ อดัม ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ และภาพนี้ด้วยเช่นกัน เอ็ดดี้ อดัม มีชื่อเสียงในการถ่ายภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงลงตามสือสิ่งพิมพ์มากมาย มีชีวิตในช่วงสงครามถึง 13 ครั้ง อย่างไรก็ดี ภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นภาพในสงครามเวียดนาม อดัม ได้ขอขมาต่อผู้คนในบังคับบัญชาของ พันเอก นูเยน และครอบครัวของเขาถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้น และรางวัลเกียรติยศในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่.....
ภาพ ถ่ายคืออาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก” เอ็ดดี้ อดัมส์เคยเขียนประโยคนี้ไว้ และเข้าใจได้ไม่ยาก หากทราบที่มาและที่ไป ในปี 1968 เอ็ดดี้ ได้ถ่ายรูปตำรวจ ที่จ่อยิงศีรษะของนักโทษเวียดกง ที่ถูกใส่กุญแจมืออยู่ และภาพนี้ ได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1969 ดูแล้วก็น่าสงสาร รันทดใจ ในชะตากรรมของผู้ตกเป็นเหยื่อ และอดดูถูกนายตำรวจตัวร้าย ผู้ลั่นไกมิได้ และทำให้นายพล Nguyen Ngoc Loan กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวโลก และเป็นสัญลักษณ์ของความร้ายกาจ รุนแรง แต่ อย่างที่พอจะเดากันได้ โลกนี้ไม่ใช่มีเฉพาะ ขาว-ดำ, ถูก-ผิด อย่างที่ เอ็ดดี้ได้เสนอไว้ในภาพนี้ เบื้องหลังก็คือ ผู้ที่ถูกยิง เป็นหัวหน้าหน่วยล่าสังหาร ของฝ่ายเวียดกง ที่วันนี้เพิ่งฆ่าหมู่ชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธ และไร้ทางต่อสู้นับสิบคน ส่วนนายพล Loanท่านนั้นก็ได้รับผลกระทบอย่างมากมายจากภาพนั้น ถูกไล่ออก โรงพยาบาลทหารผ่านศึกก็ปฏิเสธที่จะรักษาท่าน และเมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ก็ถูกต่อต้าน และต่อว่าเปิดร้านอาหารในอเมริกา ก็ต้องถูกบังคับให้ปิด และมีชีวิตที่ยากลำบาก ตลอดชีวิตที่เหลือ ในภายหลัง เอ็ดดี้ ได้แถลงขออภัย ต่อนายพล Loan ที่ได้ถ่ายทอดภาพออกมาในลักษณะนั้น “ท่านนายพลได้สังหารเวียดกงด้วยปืน แต่ผมกลับสังหารท่านด้วยกล้อง....
4. เช กูวาร่า ถ่ายภาพโดย อัลเบอโต คอร์ดา
ภาพนี้เป็นภาพที่โด่งดังภาพหนึ่งในการปฏิวัติ มาร์คซิส ของ เช กูวารา ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นอนุสรณ์การระเบิด แห่ง ลา คูบร์ ภาพได้ถูกบันทึกมาร่วม 31 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังนำภาพสัญลักษณ์นี้มาแสดง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด รอยสัก และบนกำแพง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วโลก ถือเป็นภาพที่แสดงออกถึงการเรียกร้องสิทธิ์ และภาพก็ยังแสดงออกถึงความขัดแย้งซึ่งยังคงมีอยู่ และดำรงอยู่....
3. การอัญเชิญธง ณ อิโวจิม่า (Raising the Flag on Iwo Jima) ถ่ายภาพโดยโจ โรเซนไทล์
ภาพอัญเชิญธง ณ อิโวจิมา ถูกบันทึกไว้เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 โดย โจ โรเซนไทล์ ได้บันทึกภาพ นาวิกโยธินสหรัฐ และ นาวาอากาศสหรัฐ 5 นาย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ทหารเสนารักษ์ กำลังพยายามปักธงบนยอดเขา ซึริบาฉิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ อิโวจิมา ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีเดียวกัน นอกจากการได้บันทึกช่วงเวลานี้เป็นภาพ แต่ยังเป็นหมายเหตุให้กับสหรัฐด้วย ถึงการจดจำ และการบันทึกภาพเหตุการณ์ในช่วงต่างๆ.....
2. ศาลเตี้ย (Lynching) ถ่ายภาพโดย ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์
ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์ ได้บันทึกภาพนี้ไว้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ภาพแสดงถึงการประชาทัณฑ์ ชอง โธมัส ชิปป์ และ อาร์บ สมิธ มันถูกขายออกไปกว่าพันสำเนา โดย เบลท์เลอล์ ที่ใช้เวลาตลอด 10 วัน 10 คืนในการพิมพ์มันออกมา ภาพกลายเป็นสัญลักษณ์กล่าวขานสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายปี ถึงความเด่นในแง่มุมของการจดจำ ถึงการถูกประชาทัณฑ์ศาลเตี้ย ซึ่งในเวลานั้น เหมือนมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ประจำวัน ภาพนี้ต้องการแสดงถึงยุคก่อนสงครามกลางเมืองเท่านั้น ภาพแสดงถึงผู้คนพยายามเลี่ยงสายตาจากภาพการลงทัณฑ์ ด้วยอารมณ์อันหลากหลาย ระคนด้วยความโกรธและความสะใจ ภาพนี้ได้รับความนิยม และได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดานใจในการเขียนกลอน และแต่งเพลงในช่วงหลายปีต่อมา...
1. สมรภูมิ แห่งเกตติเบิร์ก (Battle of Gettysburg) ถ่ายภาพโดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน
ภาพถ่ายนี้ได้แสดงความเหมือนของสมรภูมินองเลือดระหว่าง สมรภูมิแห่ง เกตติเบิร์ค และ สมรภูมิ สงครามกลางเมืองแห่งสหรัฐ บันทึกภาพไว้โดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน ในบันทึกสารคดีแห่งสมรภูมิ ภาพนี้ได้ถ่ายทอดห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย และตีแผ่ช่วงเวลา แห่งสงครามกลางเมือง ให้แก่ผู้ที่ได้เห็นภาพในครั้งแรก หรือผ่านประสบการณ์นั้นมา อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่การแพร่ภาพอย่างกว้างขวาง และภาพนี้ก็ยังเป็นภาพที่ไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อน ภาพถูกทำให้เหมือนการพิมพ์ในสมัยโบราณ แต่ภาพได้แสดงถึงการตายหมู่ของทหารในสมรภูมิ และภาพได้ทำการบันทึกส่วนหนึ่งถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์....
แถมท้ายด้วยภาพที่อาจจะไม่ติด 1 ใน 10 ภาพระดับโลก.......
0. เหตุการณ์ 6 ตุลา
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจล ตลอดจนการปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วง ซึ่งเกิดขึ้นในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยร่วมกับประชาชนกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ....
หนึ่งวันก่อนเกิดเหตุการณ์ มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสื่อ สำหรับหลายฝ่าย นักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น....
พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและอนุญาตให้ยิงเสรีในวิทยาเขต คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่ากลุ่มของพลตรีประมาณ และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่มยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี....
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านครับ....
ที่มา : TopTenThailand , วิกิพีเดีย