ในช่วงนี้หลายๆ คนที่เป็นคนรุ่นเดียวกับผมต่างก็เริ่มทำงานพิเศษกันแล้ว (ในขณะที่ผมยังไม่มีงานทำเบย) คนที่ทำงานทุกคนล้วนมีสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่ต้องการนั่นคือ "เงินเดือน" โดยตอนนี้หากเป็นพาร์ทไทม์อาจจะได้เงินเดือนสักประมาณ 9,000 - 10,000 บาท ซึ่งมันเป็นเงินจำนวนไม่น้อยสำหรับวัยรุ่น แล้วหลังจากนั้นไงต่อล่ะ ? บางคนเมื่อได้เงินมาก็อาจจะเอาไปซื้อของ ไปเที่ยว ฯลฯ แต่ผมเชื่อว่ามีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานเพื่อเก็บตังค์ แล้วจะเอาเงินเก็บไว้ไหนล่ะ จะที่ไหนได้นอกจากธนาคาร ซึ่งการทำงานเก็บเงินมันเป็นสิ่งที่ดี.. รึเปล่า
หากสมมติว่าเราเริ่มทำงานตอนอายุ 20 ปี และได้เงินเดือนเฉลี่ยสักเดือนละ 40,000 บาท ถ้าเราคิดในแง่ดีสุดๆ คือเราเก็บเงินได้เดือนละ 20,000 บาท (เก็บได้ครึ่งนึง) ถ้าเราคิดแบบง่ายๆ โดยไม่คิดไรมาก เท่ากับว่าปีนึงเราจะเก็บเงินได้ 240,000 บาท และเรามีเวลาทำงาน 60 ปีเท่ากับว่าเราจะเก็บเงินได้ถึง 9,600,000 บาท พอที่จะถอยปอเชร์ออกมาได้หนึ่งคันในเวลาบั้นปลาย แต่หากสมมติหลังจากเราเกษียณเราอยู่ได้อีกสัก 25 ปี (ตายตอน 85) เราจะมีเงินใช้แค่เดือนละ 32,000 บาท
แต่ยังไม่จบ ด้วยความที่เราเอาเงินที่ทำงานได้ไปฝากธนาคาร ดูเหมือนจะได้เยอะ แต่หากให้สมมติเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 3% ต่อปีในขณะที่เงินฝากประจำได้ดอกแค่ 0.75% เท่ากับว่าเราติดลบถึงปีละ 2.25% นั่นเท่ากับเบ็ดเสร็จแล้วพอตอนเราเกษียณเราจะมีเงินแค่ 6,230,569 บาทเท่านั้น นั่นเท่ากับว่าเราจะมีเงินเหลือใช้แค่เดือนละ 20,768.56 บาท ซึ่งมันเป็นเงินที่น้อยมากหากเทียบกับค่าเงินในตอนนั้น (เผลอๆ เราอาจได้กินก๋วยเตี๋ยวชามละร้อย) แล้วไหนจะค่ารักษาพยาบาลอีกล่ะ ?
จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด คนที่อ่านคงจะคิดว่าจะมีใครบ้าทำแบบนี้ คำตอบคือเยอะแยะ ! แต่บางคนอาจจะดีขึ้นมาหน่อยโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือกองทุนรวม โดยหากเป็นพันธบัตรรัฐบาลจะได้ดอกเบี้ยสักประมาณ 4% ต่อปีซึ่งมากกว่าเงินเฟ้อนิดหน่อย ส่วนกองทุนรวมเองโดยส่วนใหญ่ในระยะยาวให้ผลตอบแทนอาจจะถึงขั้นย่ำแย่มาก (บางครั้งอาจจะติดลบด้วยซ้ำ) ส่วนอัตราเงินเฟ้อ 3% ที่ผมบอกเป็นอัตราแบบในแง่ดีเท่านั้น เพราะในความจริงแล้วเงินเฟ้ออาจจะเกิน 5% ต่อปีด้วยซ้ำไป แต่น่าแปลกที่วิธีงี่เง่าที่ผมกล่าวมาทั้งหมดกลับมีอยู่ในหนังสือหรือตำราทางวิชาการที่แนะนำให้คนทำแบบนี้ ซึ่งท้ายที่สุดพอถึงตอนที่คนทำตามแผนนี้แล้วเกษียณ อาจจะเลือกฆ่าตัวตายมากกว่าอยู่ดูลูกหลานก็เป็นได้
สำหรับความคิดผมการเก็บเงินเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเก็บเงินอย่างเดียวมันเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ดังนั้นผมเองเชื่อว่าการนำเงินไป "ลงทุน" ในหุ้นคงเป็นทางรอดทางเดียวที่คนส่วนใหญ่จะทำได้ เพียงแต่ติดปัญหาตรงที่ค่านิยมของเราเกือบทั้งหมดเชื่อว่าหุ้นคือความเสี่ยง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงการลงทุนมันไม่มีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงมันอยู่ที่ตัวเราต่างหาก เสี่ยงเพราะเราไร้ความรู้ทางการเงิน เพราะคนเรายอมสละเวลาที่จะเรียนรู้วิธีหาเงินให้ได้มากๆ แต่กลับไม่มีใครยอมสละเวลาเพื่อเรียนรู้การสร้างมันให้งอกเงยอย่างจริงจังเลย หากเราเพียงแค่เรียนรู้ที่จะรักษาและทำให้มันเติบโตสัก 10% ต่อปี (ค่าเฉลี่ยการเติบโตของหุ้นในระยะยาว) หากเราเก็บเงินได้เดือนละ 20,000 ตอนอายุ 60 เราจะมีเงินถึง 116,843,300 บาท เงินจำนวนนี้พอที่จะให้เราเกษียณแบบมีความสุขๆด้จนอายุ 100 ปี นั่นเป็นผลจากการที่เราเรียนรู้ที่จะ "ลงทุน" แค่นั้นเอง (ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงไม่มีใครหนีเรื่องการลงทุนพ้นแต่คนส่วนใหญ่กลับหลีกหนีจากมัน)
มันคือความจริงที่โหดร้าย ผู้ที่รู้เท่านั้นคือผู้ที่อยู่รอด เราอยากมีความสุขในบั้นปลาย หรืออยากใช้ชีวิตไปวันๆ แล้วคิดสั้นตอนแก่
อยู่ที่เราเลือก
ยิ่งออมยิ่งจน
หากสมมติว่าเราเริ่มทำงานตอนอายุ 20 ปี และได้เงินเดือนเฉลี่ยสักเดือนละ 40,000 บาท ถ้าเราคิดในแง่ดีสุดๆ คือเราเก็บเงินได้เดือนละ 20,000 บาท (เก็บได้ครึ่งนึง) ถ้าเราคิดแบบง่ายๆ โดยไม่คิดไรมาก เท่ากับว่าปีนึงเราจะเก็บเงินได้ 240,000 บาท และเรามีเวลาทำงาน 60 ปีเท่ากับว่าเราจะเก็บเงินได้ถึง 9,600,000 บาท พอที่จะถอยปอเชร์ออกมาได้หนึ่งคันในเวลาบั้นปลาย แต่หากสมมติหลังจากเราเกษียณเราอยู่ได้อีกสัก 25 ปี (ตายตอน 85) เราจะมีเงินใช้แค่เดือนละ 32,000 บาท
แต่ยังไม่จบ ด้วยความที่เราเอาเงินที่ทำงานได้ไปฝากธนาคาร ดูเหมือนจะได้เยอะ แต่หากให้สมมติเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 3% ต่อปีในขณะที่เงินฝากประจำได้ดอกแค่ 0.75% เท่ากับว่าเราติดลบถึงปีละ 2.25% นั่นเท่ากับเบ็ดเสร็จแล้วพอตอนเราเกษียณเราจะมีเงินแค่ 6,230,569 บาทเท่านั้น นั่นเท่ากับว่าเราจะมีเงินเหลือใช้แค่เดือนละ 20,768.56 บาท ซึ่งมันเป็นเงินที่น้อยมากหากเทียบกับค่าเงินในตอนนั้น (เผลอๆ เราอาจได้กินก๋วยเตี๋ยวชามละร้อย) แล้วไหนจะค่ารักษาพยาบาลอีกล่ะ ?
จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด คนที่อ่านคงจะคิดว่าจะมีใครบ้าทำแบบนี้ คำตอบคือเยอะแยะ ! แต่บางคนอาจจะดีขึ้นมาหน่อยโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือกองทุนรวม โดยหากเป็นพันธบัตรรัฐบาลจะได้ดอกเบี้ยสักประมาณ 4% ต่อปีซึ่งมากกว่าเงินเฟ้อนิดหน่อย ส่วนกองทุนรวมเองโดยส่วนใหญ่ในระยะยาวให้ผลตอบแทนอาจจะถึงขั้นย่ำแย่มาก (บางครั้งอาจจะติดลบด้วยซ้ำ) ส่วนอัตราเงินเฟ้อ 3% ที่ผมบอกเป็นอัตราแบบในแง่ดีเท่านั้น เพราะในความจริงแล้วเงินเฟ้ออาจจะเกิน 5% ต่อปีด้วยซ้ำไป แต่น่าแปลกที่วิธีงี่เง่าที่ผมกล่าวมาทั้งหมดกลับมีอยู่ในหนังสือหรือตำราทางวิชาการที่แนะนำให้คนทำแบบนี้ ซึ่งท้ายที่สุดพอถึงตอนที่คนทำตามแผนนี้แล้วเกษียณ อาจจะเลือกฆ่าตัวตายมากกว่าอยู่ดูลูกหลานก็เป็นได้
สำหรับความคิดผมการเก็บเงินเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเก็บเงินอย่างเดียวมันเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ดังนั้นผมเองเชื่อว่าการนำเงินไป "ลงทุน" ในหุ้นคงเป็นทางรอดทางเดียวที่คนส่วนใหญ่จะทำได้ เพียงแต่ติดปัญหาตรงที่ค่านิยมของเราเกือบทั้งหมดเชื่อว่าหุ้นคือความเสี่ยง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงการลงทุนมันไม่มีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงมันอยู่ที่ตัวเราต่างหาก เสี่ยงเพราะเราไร้ความรู้ทางการเงิน เพราะคนเรายอมสละเวลาที่จะเรียนรู้วิธีหาเงินให้ได้มากๆ แต่กลับไม่มีใครยอมสละเวลาเพื่อเรียนรู้การสร้างมันให้งอกเงยอย่างจริงจังเลย หากเราเพียงแค่เรียนรู้ที่จะรักษาและทำให้มันเติบโตสัก 10% ต่อปี (ค่าเฉลี่ยการเติบโตของหุ้นในระยะยาว) หากเราเก็บเงินได้เดือนละ 20,000 ตอนอายุ 60 เราจะมีเงินถึง 116,843,300 บาท เงินจำนวนนี้พอที่จะให้เราเกษียณแบบมีความสุขๆด้จนอายุ 100 ปี นั่นเป็นผลจากการที่เราเรียนรู้ที่จะ "ลงทุน" แค่นั้นเอง (ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงไม่มีใครหนีเรื่องการลงทุนพ้นแต่คนส่วนใหญ่กลับหลีกหนีจากมัน)
มันคือความจริงที่โหดร้าย ผู้ที่รู้เท่านั้นคือผู้ที่อยู่รอด เราอยากมีความสุขในบั้นปลาย หรืออยากใช้ชีวิตไปวันๆ แล้วคิดสั้นตอนแก่
อยู่ที่เราเลือก