คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เล่นเหมือนเดิมกล้ามเนื้อก็จะแข็งแรงเท่าตอนเดิมไปเรื่อยๆครับ ไม่โตไม่แข็งแรงขึ้นครับ
จริงๆแล้วมีหลายคนเข้าใจผิด ถ้าเป้าหมายคือเพิ่ม Absolute Strength หรือความแข็งแรงที่มากที่สุดของขนาดกล้ามเนื้อนั้นๆ
การปวดกล้ามเนื้อไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้วัดว่าเราเล่นแล้วโดนหรือไม่โดนครับ
ถ้าอยากเล่นให้แข็งแรงขึ้น สิ่งเดียวที่บอกได้ว่าเราเล่นมาถูกไหมคือ
วันนี้เรายกได้มากกว่าเมื่อวานหรือเปล่า เดือนนี้ยกได้มากกว่าเดือนที่แล้วหรือเปล่า
ถ้าวันนี้ยังยกได้เท่ากับเดือนที่แล้ว ก็แสดงว่าตารางของเราไม่ได้ผลละครับ
การฝึกเวทเทรนนิ่งเพื่อเอาไปใช้ในการกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้ความเร็วอย่างแบตมินตัน ไม่ควรจะฝึกให้กล้ามเนื้อปวดด้วยซ้ำไปครับ
(กล้ามเนื้อปวดเพราะเราสร้างความเครียดให้มันมากๆในเวลาจำกัด เป็นการฝึกเพื่อให้เกิด Hypertrophy คือกล้ามโตขึ้นเรื่อยๆแบบนักเพาะกาย)
ฝึกแบบนี้แล้วไปเล่นกีฬาที่ต้องการความเร็วไม่เกิดประโยชน์ครับ เพราะนอกจากจะปวดตัวเล่นได้ไม่เต็มที่แล้ว ยังตัวใหญ่เทอะทะเกินไป
การฝึกสำหรับกีฬาแบบแบตมินตันต้องฝึกอีกแบบนึงจะดีกว่า
- ให้และเลือกเล่นท่าที่เป็น compound exercise และยกหนักๆจำนวนครั้งน้อยๆ เลือกน้ำหนักที่ยกได้ 1-5 ครั้ง ทำ 4-5 เซต
การฝึกแบบนี้ทำให้ชั้นใยกล้ามเนื้อ(Myofibril) แข็งแรงและหนาแน่นขึ้น ซึ่งกล้ามจะไม่ใหญ่ขึ้นมากแต่จะมีแรงมากขึ้นมหาศาล
- รวมกับการฝึกแบบใช้น้ำหนักกลางๆ แต่ทำเร็วๆๆๆ เลือกน้ำหนักที่ทำได้ 20 ครั้ง ทำท่าพวก Speed Squat หรือ Box Jump
พวกนี้จะเป็นการกระตุ้นมัดกล้ามเนื้อแบบออกแรงอย่างรวดเร็ว (fast-twitch) ได้ดีครับ
ฝึกประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ก็พอแล้ว เวลาที่เหลือเอาไปฝึก skill ที่ต้องใช้กับแบตมินตันดีกว่าครับ
เพราะ Skill สำคัญที่สุดในการจะประสบความสำเร็จในกีฬาใดๆ ร่างกายจะควายถึกขนาดไหน ก็สู้คนที่มี skill ที่ดีกว่ายากครับ
สุดท้าย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด การเล่นเวทแบบเพาะกายไม่ใช่ไม่ดีนะครับ ดีมากด้วย
แต่ถ้าโฟกัสหลักของคุณคือเอาไปเสริมในการเล่นกีฬาอื่นๆ เล่นแบบเพาะกายจะใช้เวลานานและสร้างความเครียดให้ร่างกายมากเกินไป
การเล่นเวทมีประโยชน์มาก พิสูจน์แล้วว่ามีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพทางการกีฬาได้จริง แต่เราต้องเล่นให้เหมาะกับชนิดกีฬาของเราด้วยครับ
ยังไงวันหลังจะมาแชร์เรื่องวิธีเล่นเวทแบบเอาไว้เสริมการเล่นกีฬาชนิดต่างๆมาให้อ่านกันครับ
จริงๆแล้วมีหลายคนเข้าใจผิด ถ้าเป้าหมายคือเพิ่ม Absolute Strength หรือความแข็งแรงที่มากที่สุดของขนาดกล้ามเนื้อนั้นๆ
การปวดกล้ามเนื้อไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้วัดว่าเราเล่นแล้วโดนหรือไม่โดนครับ
ถ้าอยากเล่นให้แข็งแรงขึ้น สิ่งเดียวที่บอกได้ว่าเราเล่นมาถูกไหมคือ
วันนี้เรายกได้มากกว่าเมื่อวานหรือเปล่า เดือนนี้ยกได้มากกว่าเดือนที่แล้วหรือเปล่า
ถ้าวันนี้ยังยกได้เท่ากับเดือนที่แล้ว ก็แสดงว่าตารางของเราไม่ได้ผลละครับ
การฝึกเวทเทรนนิ่งเพื่อเอาไปใช้ในการกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้ความเร็วอย่างแบตมินตัน ไม่ควรจะฝึกให้กล้ามเนื้อปวดด้วยซ้ำไปครับ
(กล้ามเนื้อปวดเพราะเราสร้างความเครียดให้มันมากๆในเวลาจำกัด เป็นการฝึกเพื่อให้เกิด Hypertrophy คือกล้ามโตขึ้นเรื่อยๆแบบนักเพาะกาย)
ฝึกแบบนี้แล้วไปเล่นกีฬาที่ต้องการความเร็วไม่เกิดประโยชน์ครับ เพราะนอกจากจะปวดตัวเล่นได้ไม่เต็มที่แล้ว ยังตัวใหญ่เทอะทะเกินไป
การฝึกสำหรับกีฬาแบบแบตมินตันต้องฝึกอีกแบบนึงจะดีกว่า
- ให้และเลือกเล่นท่าที่เป็น compound exercise และยกหนักๆจำนวนครั้งน้อยๆ เลือกน้ำหนักที่ยกได้ 1-5 ครั้ง ทำ 4-5 เซต
การฝึกแบบนี้ทำให้ชั้นใยกล้ามเนื้อ(Myofibril) แข็งแรงและหนาแน่นขึ้น ซึ่งกล้ามจะไม่ใหญ่ขึ้นมากแต่จะมีแรงมากขึ้นมหาศาล
- รวมกับการฝึกแบบใช้น้ำหนักกลางๆ แต่ทำเร็วๆๆๆ เลือกน้ำหนักที่ทำได้ 20 ครั้ง ทำท่าพวก Speed Squat หรือ Box Jump
พวกนี้จะเป็นการกระตุ้นมัดกล้ามเนื้อแบบออกแรงอย่างรวดเร็ว (fast-twitch) ได้ดีครับ
ฝึกประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ก็พอแล้ว เวลาที่เหลือเอาไปฝึก skill ที่ต้องใช้กับแบตมินตันดีกว่าครับ
เพราะ Skill สำคัญที่สุดในการจะประสบความสำเร็จในกีฬาใดๆ ร่างกายจะควายถึกขนาดไหน ก็สู้คนที่มี skill ที่ดีกว่ายากครับ
สุดท้าย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด การเล่นเวทแบบเพาะกายไม่ใช่ไม่ดีนะครับ ดีมากด้วย
แต่ถ้าโฟกัสหลักของคุณคือเอาไปเสริมในการเล่นกีฬาอื่นๆ เล่นแบบเพาะกายจะใช้เวลานานและสร้างความเครียดให้ร่างกายมากเกินไป
การเล่นเวทมีประโยชน์มาก พิสูจน์แล้วว่ามีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพทางการกีฬาได้จริง แต่เราต้องเล่นให้เหมาะกับชนิดกีฬาของเราด้วยครับ
ยังไงวันหลังจะมาแชร์เรื่องวิธีเล่นเวทแบบเอาไว้เสริมการเล่นกีฬาชนิดต่างๆมาให้อ่านกันครับ
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเล่นเวท แล้วไม่ปวดกล้ามเนื้อ ที่เล่นไปจะสูญเปล่ามั้ยครับ
จริงๆแล้วผมเล่นแบดมินตันเป็นหลักมากกว่า เลยไม่อยากให้กล้ามเนื้อปวดมากนัก แต่ยังอยากได้ความแข็งแรงอยู่