Guyon canel syndrome หรือ ulnar tunnel syndrome เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถพบเห็นได้บ่อย
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้งานมือซ้ำๆ หรือต้องจับอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือนอยู่เป็นประจำ หรือมีภาวะการอักเสบเรื้อรัง
เช่น การใช้สว่าน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น โดยโรคชนิดนี้เกิดจากภาวะการอักเสบของเส้นประสาท ulnar
ที่ลอดผ่านช่องระหว่างกระดูกมือสองชิ้น ส่งผลให้มีการอ่อนแรงของกล้ามนื้อที่เส้นประสาทเส้นนี้ไปเลี้ยง
และอาจจะมีการสูญเสียความรู้สึกบริเวณกล้ามเนื้อนั้น
อาการและอาการแสดง
- ชาทางด้านฝ่ามือและหลังมือของนิ้วก้อย และครึ่งซีกของนิ้วนาง
- มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือ และโคนนิ้วก้อย
- มีอาการเจ็บเมื่อทำงานหรือเมื่อข้อมืออยู่ในท่าทางกระดกข้อมือหรือมีแรงกดบริเวณข้อมือ
(ทางด้านนิ้วก้อย) และจะปวดแปล๊บโดยเฉพาะเวลาขยับ
- ปวดลึกๆอยู่ตลอดเวลา ปวดร้าวบริเวณศอกด้านนอกหรือร้าวถึงข้อมือ เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อนั้น
- มีการสูญเสียความรู้สึกสัมผัสบริเวณฝ่ามือ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากมีอาการมากๆอาจมีกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วย
- การเคลื่อนไหวของข้อต่อลดลง
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- พักหรือลดการใช้งานมือ หากมีอาการปวดมากๆควรใส่ที่พยุงข้อมือ
- ใช้เครื่องทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด เช่น อัลตร้าซาวน์ การจุ่มพาราฟิน
วางแผ่นร้อน การใช้ไฟฟ้าลดอาการปวด
- ยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรง
บทความโดยฟิสิกคอลคลินิกกายภาพบำบัด
อาการและการรักษาทางกายภาพบำบัดโรค Guyon canel syndrome
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้งานมือซ้ำๆ หรือต้องจับอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือนอยู่เป็นประจำ หรือมีภาวะการอักเสบเรื้อรัง
เช่น การใช้สว่าน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น โดยโรคชนิดนี้เกิดจากภาวะการอักเสบของเส้นประสาท ulnar
ที่ลอดผ่านช่องระหว่างกระดูกมือสองชิ้น ส่งผลให้มีการอ่อนแรงของกล้ามนื้อที่เส้นประสาทเส้นนี้ไปเลี้ยง
และอาจจะมีการสูญเสียความรู้สึกบริเวณกล้ามเนื้อนั้น
อาการและอาการแสดง
- ชาทางด้านฝ่ามือและหลังมือของนิ้วก้อย และครึ่งซีกของนิ้วนาง
- มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือ และโคนนิ้วก้อย
- มีอาการเจ็บเมื่อทำงานหรือเมื่อข้อมืออยู่ในท่าทางกระดกข้อมือหรือมีแรงกดบริเวณข้อมือ
(ทางด้านนิ้วก้อย) และจะปวดแปล๊บโดยเฉพาะเวลาขยับ
- ปวดลึกๆอยู่ตลอดเวลา ปวดร้าวบริเวณศอกด้านนอกหรือร้าวถึงข้อมือ เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อนั้น
- มีการสูญเสียความรู้สึกสัมผัสบริเวณฝ่ามือ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากมีอาการมากๆอาจมีกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วย
- การเคลื่อนไหวของข้อต่อลดลง
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- พักหรือลดการใช้งานมือ หากมีอาการปวดมากๆควรใส่ที่พยุงข้อมือ
- ใช้เครื่องทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด เช่น อัลตร้าซาวน์ การจุ่มพาราฟิน
วางแผ่นร้อน การใช้ไฟฟ้าลดอาการปวด
- ยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรง
บทความโดยฟิสิกคอลคลินิกกายภาพบำบัด