หลังศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคว่ำ ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน โดยชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ
เสียงชื่นชมศาลรัฐธรรมนูญก็มาก
แต่เสียงวิจารณ์ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีไม่น้อย
แรงขนาดที่ว่า ยุบศาลรัฐธรรมนูญ จะดีกว่าหรือไม่ ?
มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์ ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ต่อประเด็นที่สังคมอยากรู้คำตอบและหลักการที่ถูกต้อง
อาจารย์มองว่าอะไรที่เป็นปัญหาจริงๆ ของศาลรัฐธรรมนูญไทย ?
ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าประเทศไทยเรามีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี2540ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเอง หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องก็มีเป็นปัญหาเกือบทุกองค์กร เนื่องจากบุคคลากรที่เข้ามามีตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญเป็นบุคคลที่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือไม่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งที่ประเทศไทยมีบุคคลากรที่จบหลักสูตรกฎหมายจำนวนมากและมี ดอกเตอร์ จำนวนมาก ซึ่งเป็นคนเก่ง แต่เมื่อมาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้วิธีคิดเแบบนักกฎหมายมหาชน คือ ต้องใช้ หลักกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองในสถานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอำนาจเหนือกว่าเอกชน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหลักกฎหมายเอกชน ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐและหน่วยงานของรัฐมีนิติสัมพันธ์ในระดับเดียวกับเอกชน นิติสัมพันธ์ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชน เพราะกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่งอันเป็นสิทธิทางกฎหมายที่เอกชนคนใดคนหนึ่งจะใช้ยันกับเอกชนคนอื่นได้ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อ ตุลาการที่มีแนวคิดเป็นนักกฎหมายเอกชน แต่มาตัดสินคดีความโดยใช้แนวคิดของนักกฎหมายมหาชน จึงใช้หลักการเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจในแนวคิดค่อนข้างที่จะต่างกันอย่างมาก จนเกิดเป็นปัญหา
อยากให้เปรียบเทียบศาลรัฐธรรมนูญไทยกับต่างประเทศ
องค์กรศาลรัฐธรรมนูญ หากเทียบกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อมีการพิจารณาตัดสินคดีความเกี่ยวรัฐบาล จะต้องตัดสินให้โครงการของรัฐบาลสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ ไม่เกิดการติดขัด แต่ในความเห็นส่วนตัว การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญของไทย ทำให้โครงการต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง การตัดสินทำให้เกิดการติดขัด โดยมักจะนำเอาเรื่องถูกผิดของบุคคลมาใช้ และหลายกรณีเป็นสิ่งที่ทำลายรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาโดยการยุบศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่แนวทางถูกต้อง ในอดีตเรามีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ในการดูว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่การชี้ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะคล้ายกับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ที่พิจารณาว่า กฎหมายหมายใดขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมถึงประชามติที่นำเสนอมานั้นขัดหรือแย้งหรือไม่ด้วยเช่นกัน ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยยังมีความเป็นกึ่งเยอรมัน คือให้อำนาจในการตรวจสอบคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้
จะมีวิธีแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร?
การแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญไทยอาจเป็นเรื่องที่ยาก สาเหตุที่ยากคือ ศาลรัฐธรรมนูญไทย ตัดสินไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชน และจะยึดแนวทางการตัดสินคดีที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีโดยอ้างว่า คดีกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งก็จะถูกหยิบยกมาใช้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สิ่งที่ควรต้องทำ คือ การทำความเข้าใจว่าคำพิพากษาผิดหรือไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชน หรือแม้แต่การวิเคราะห์กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ควรมีการกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะสามารถพ้นปัญหาที่เรากำลังประสบอยู่ได้
มีข้อเสนออะไรต่อ ระบบศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?
อยากให้บรรดา นักกฎหมายบ้านเรา หรือผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ มีความต้องการเข้าไปสู่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หรือตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ พึงรำลึกว่ามีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากน้อยเพียงใด หรืออาจลองมองว่าให้ผู้อื่นที่เชี่ยวชาญมากกว่าเข้ามารับตำแหน่งดีกว่าหรือไม่ เช่น หากอยากเข้ามาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรนูญ คุณต้องเป็นคนที่เก่งที่สุด หรืออย่างน้อยต้องมีตำรารัฐธรรมนูญที่ตัวเองเป็นคนเขียน ในองค์กรอิสระก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ รับบุคลากรที่จะมาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ มาจากศาลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้วมารับตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีการปรับวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ามารับตำแหน่งเป็นพิเศษ โดยผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ 1.ต้องเป็นผู้ชำนาญด้านกฎหมายอย่างที่สุด 2.ศึกษาตัวบทกฎหมายที่มีข้อบกพร่องในการกำหนดอำนาจที่ไม่ชัดเจนของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยปรับปรุง
แต่หากยังมีแนวคิดที่จะยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักการมีวิธีเดียวคือ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด เท่านั้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394761965&grpid&catid=01&subcatid=0100
ยุบศาลรัฐธรรมนูญคือคำตอบ?
เสียงชื่นชมศาลรัฐธรรมนูญก็มาก
แต่เสียงวิจารณ์ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีไม่น้อย
แรงขนาดที่ว่า ยุบศาลรัฐธรรมนูญ จะดีกว่าหรือไม่ ?
มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์ ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ต่อประเด็นที่สังคมอยากรู้คำตอบและหลักการที่ถูกต้อง
อาจารย์มองว่าอะไรที่เป็นปัญหาจริงๆ ของศาลรัฐธรรมนูญไทย ?
ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าประเทศไทยเรามีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี2540ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเอง หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องก็มีเป็นปัญหาเกือบทุกองค์กร เนื่องจากบุคคลากรที่เข้ามามีตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญเป็นบุคคลที่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือไม่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งที่ประเทศไทยมีบุคคลากรที่จบหลักสูตรกฎหมายจำนวนมากและมี ดอกเตอร์ จำนวนมาก ซึ่งเป็นคนเก่ง แต่เมื่อมาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้วิธีคิดเแบบนักกฎหมายมหาชน คือ ต้องใช้ หลักกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองในสถานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอำนาจเหนือกว่าเอกชน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหลักกฎหมายเอกชน ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐและหน่วยงานของรัฐมีนิติสัมพันธ์ในระดับเดียวกับเอกชน นิติสัมพันธ์ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชน เพราะกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่งอันเป็นสิทธิทางกฎหมายที่เอกชนคนใดคนหนึ่งจะใช้ยันกับเอกชนคนอื่นได้ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อ ตุลาการที่มีแนวคิดเป็นนักกฎหมายเอกชน แต่มาตัดสินคดีความโดยใช้แนวคิดของนักกฎหมายมหาชน จึงใช้หลักการเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจในแนวคิดค่อนข้างที่จะต่างกันอย่างมาก จนเกิดเป็นปัญหา
อยากให้เปรียบเทียบศาลรัฐธรรมนูญไทยกับต่างประเทศ
องค์กรศาลรัฐธรรมนูญ หากเทียบกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อมีการพิจารณาตัดสินคดีความเกี่ยวรัฐบาล จะต้องตัดสินให้โครงการของรัฐบาลสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ ไม่เกิดการติดขัด แต่ในความเห็นส่วนตัว การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญของไทย ทำให้โครงการต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง การตัดสินทำให้เกิดการติดขัด โดยมักจะนำเอาเรื่องถูกผิดของบุคคลมาใช้ และหลายกรณีเป็นสิ่งที่ทำลายรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาโดยการยุบศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่แนวทางถูกต้อง ในอดีตเรามีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ในการดูว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่การชี้ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะคล้ายกับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ที่พิจารณาว่า กฎหมายหมายใดขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมถึงประชามติที่นำเสนอมานั้นขัดหรือแย้งหรือไม่ด้วยเช่นกัน ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยยังมีความเป็นกึ่งเยอรมัน คือให้อำนาจในการตรวจสอบคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้
จะมีวิธีแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร?
การแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญไทยอาจเป็นเรื่องที่ยาก สาเหตุที่ยากคือ ศาลรัฐธรรมนูญไทย ตัดสินไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชน และจะยึดแนวทางการตัดสินคดีที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีโดยอ้างว่า คดีกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งก็จะถูกหยิบยกมาใช้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สิ่งที่ควรต้องทำ คือ การทำความเข้าใจว่าคำพิพากษาผิดหรือไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชน หรือแม้แต่การวิเคราะห์กฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ควรมีการกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะสามารถพ้นปัญหาที่เรากำลังประสบอยู่ได้
มีข้อเสนออะไรต่อ ระบบศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?
อยากให้บรรดา นักกฎหมายบ้านเรา หรือผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ มีความต้องการเข้าไปสู่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หรือตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ พึงรำลึกว่ามีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากน้อยเพียงใด หรืออาจลองมองว่าให้ผู้อื่นที่เชี่ยวชาญมากกว่าเข้ามารับตำแหน่งดีกว่าหรือไม่ เช่น หากอยากเข้ามาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรนูญ คุณต้องเป็นคนที่เก่งที่สุด หรืออย่างน้อยต้องมีตำรารัฐธรรมนูญที่ตัวเองเป็นคนเขียน ในองค์กรอิสระก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ รับบุคลากรที่จะมาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ มาจากศาลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้วมารับตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีการปรับวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ามารับตำแหน่งเป็นพิเศษ โดยผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ 1.ต้องเป็นผู้ชำนาญด้านกฎหมายอย่างที่สุด 2.ศึกษาตัวบทกฎหมายที่มีข้อบกพร่องในการกำหนดอำนาจที่ไม่ชัดเจนของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยปรับปรุง
แต่หากยังมีแนวคิดที่จะยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักการมีวิธีเดียวคือ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด เท่านั้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394761965&grpid&catid=01&subcatid=0100