การทำสมาธิในพุทธศาสนาที่สอนกันอยู่ทั่วไปในเมืองไทยรวมถึงกลุ่มประเทศตะวันตกในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเลยก็ว่าได้ มีวิธีทำอยู่อย่างเดียว คือ วิปัสสนากรรมฐาน และสำนักปฏิบัติทั้งหลายเหล่านั้นก็จะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติว่า สำนักวิปัสสนากรรมฐาน และเรียกพระผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า พระวิปัสสนาจารย์ โดยในเมืองไทยทั้งหมดจะนิยมทำวิปัสสนากรรมฐานกันมากจนไม่เคยได้ยินวัดใดสอนสมถกรรมฐานเลย
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะ(พระวิปัสสนาจารย์)เกือบทั้งหมดให้เหตุผลว่าวิปัสสนาเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดสามารถตัดกิเลสได้เป็นการสิ้นภพสิ้นชาติได้ ส่วนสมถกรรมฐานนั้นไม่สามารถตัดกิเลสได้เป็นเพียงการใช้สมาธิกดทับกิเลสไว้เท่านั้นเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้เวลานำเอาหินออกหญ้าก็กลับงอกงามเหมือนเดิม ด้วยเหตุผลเหล่านี้พระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลายจึงมุ่งสอนวิปัสสนากันมากเพื่อละกิเลสเพื่อนิพพานกันทั้งหมด
เวลาสอนกรรมฐานวิปัสสนาจารย์จะเน้นหนักเสมอว่า อย่ากำหนดอย่างเดียวนะเดี๋ยวจะถูกสมถะไม่ใช่วิปัสสนา ต้องกำหนดรู้ทันขณะจิตกำหนดรูปกำหนดนามอย่าให้สติขาด ใช้สติเป็นเชือกดึงจิตใช้ปัญญาตัดกิเลสให้ขาดไป ๆ เกิดมาเท่าไรตัดให้ขาดไปเท่านั้นๆ ดังนี้
สมถกรรมฐานซึ่งท่านจะเน้นเสมอว่า อย่าไปเล่นนะสมถะไปไม่ถึงไหนหรอก ตัดกิเลสไม่ขาด ไม่ถึงนิพพาน ไม่สิ้นภพสิ้นชาติ ยังอยู่ในวัฏฏสงสารต่อไป ไปได้สูงแค่พรหมโลกแล้วก็เวียนกลับมาอีก ส่วนวิปัสสนาทำให้กิเลสขาดนิพพานได้เป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา ส่วนสมถะเป็นของพวกฤาษีเขาเล่นกัน อย่าไปเล่นเลย และทั่วไปจะปฏิเสธการทำสมาธิแบบสมถะนี้เป็นส่วนใหญ่
แต่มีพระธุดงค์ไปตามป่าตามชายทุ่ง พักอาศัยตามป่าช้าบ้าง ป่าทึบบ้าง (มิใช่พระธุดงค์ที่มาปักกลดข้างตึกหรือหลังบ้านของโยมในเมืองกรุงนะ) พระเหล่านี้จะฝึกสมาธิต่อๆ กันมาจากปากของอาจารย์จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง มักจะไม่มีเขียนเป็นตำราไว้จะเรียนกันแบบรับมาจากครูอาจารย์ผู้สอนและที่สำคัญยิ่งก็คือ พระเหล่านี้มักจะเป็นผู้มีบารมีเดิมอยู่แล้วปฏิบัติกรรมฐานไปด้วยความมุ่งหวังมรรคผลเป็นสำคัญด้วยพลังจิตอันมุ่งมั่นไม่หวังลาภสักการะเป็นเครื่องตอบแทน ท่านมักจะไม่ตั้งสำนักกรรมฐานเป็นจริงเป็นจังมากนัก(ในขณะปฏิบัติ)
ท่านเหล่านี้ส่วนมากจะฝึกกสิณสมาธิทำฌานได้สูงสุดถึงฌาน ๘ ดังนั้นท่านเหล่านั้นจึงไม่ปฏิเสธวิธีการของสมถกรรมฐาน เพราะสมถกรรมฐานทั้งหมด คือ บ่อเกิดแห่งฌานและสมาบัติทั้งหมด อำนาจที่เกินเลยประสาทสัมผัสของมนุษย์ธรรมดาเกิดจาก สมถกรรมฐานทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่ ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธสมาบัติ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ล้วนเกิดต่อจากการฝึกสมาธิด้วยวิธีการของสมถะทั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง คือ สมถกรรมฐานนี้พระพุทธองค์ยกขึ้นมาแสดงก่อนวิปัสสนากรรมฐาน เวลาตรัสเรื่องการทำสมาธิจะตรัสว่า สมถะและวิปัสสนา
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ตรัสว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตให้นิ่งบริสุทธิ์ได้ที่เสียก่อนจะไปเจริญวิปัสสนาโดยตรงเป็นอฐานะ แปลว่า เป็นไปไม่ได้ เหมือนคนตาดีนั่งมองน้ำขุ่นย่อมไม่เห็นวัตถุใต้น้ำ หรือเหมือนคนคิดจะสร้างตึกสัก ๑๐ ชั้น แต่คิดว่า ตัวเองจะอยู่ชั้นที่ ๑๐ ชั้นเดียว ดังนั้นจะสร้างเฉพาะชั้นที่ ๑๐ อย่างเดียวโดยไม่สร้างอีก ๙ ชั้น มาเป็นฐานให้เสียก่อนก็เป็นอฐานะเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เมืองไทยมีสำนักวิปัสสนากรรมฐานเต็มไปหมด พระวิปัสสนาจารย์ก็เดินกันเต็มเมือง แต่ผู้ที่ประกาศว่าบรรลุรู้แจ้งความจริงแล้วด้วยวิปัสสนาญาณจึงหาแทบไม่มีเลย ถ้าเป็นการลงทุนก็ขาดทั้งทุนขาดทั้งกำไร
ผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตให้นิ่งบริสุทธิ์ได้ที่เสียก่อนจะไปเจริญวิปัสสนาโดยตรงเป็นอฐานะ
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะ(พระวิปัสสนาจารย์)เกือบทั้งหมดให้เหตุผลว่าวิปัสสนาเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดสามารถตัดกิเลสได้เป็นการสิ้นภพสิ้นชาติได้ ส่วนสมถกรรมฐานนั้นไม่สามารถตัดกิเลสได้เป็นเพียงการใช้สมาธิกดทับกิเลสไว้เท่านั้นเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้เวลานำเอาหินออกหญ้าก็กลับงอกงามเหมือนเดิม ด้วยเหตุผลเหล่านี้พระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลายจึงมุ่งสอนวิปัสสนากันมากเพื่อละกิเลสเพื่อนิพพานกันทั้งหมด
เวลาสอนกรรมฐานวิปัสสนาจารย์จะเน้นหนักเสมอว่า อย่ากำหนดอย่างเดียวนะเดี๋ยวจะถูกสมถะไม่ใช่วิปัสสนา ต้องกำหนดรู้ทันขณะจิตกำหนดรูปกำหนดนามอย่าให้สติขาด ใช้สติเป็นเชือกดึงจิตใช้ปัญญาตัดกิเลสให้ขาดไป ๆ เกิดมาเท่าไรตัดให้ขาดไปเท่านั้นๆ ดังนี้
สมถกรรมฐานซึ่งท่านจะเน้นเสมอว่า อย่าไปเล่นนะสมถะไปไม่ถึงไหนหรอก ตัดกิเลสไม่ขาด ไม่ถึงนิพพาน ไม่สิ้นภพสิ้นชาติ ยังอยู่ในวัฏฏสงสารต่อไป ไปได้สูงแค่พรหมโลกแล้วก็เวียนกลับมาอีก ส่วนวิปัสสนาทำให้กิเลสขาดนิพพานได้เป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา ส่วนสมถะเป็นของพวกฤาษีเขาเล่นกัน อย่าไปเล่นเลย และทั่วไปจะปฏิเสธการทำสมาธิแบบสมถะนี้เป็นส่วนใหญ่
แต่มีพระธุดงค์ไปตามป่าตามชายทุ่ง พักอาศัยตามป่าช้าบ้าง ป่าทึบบ้าง (มิใช่พระธุดงค์ที่มาปักกลดข้างตึกหรือหลังบ้านของโยมในเมืองกรุงนะ) พระเหล่านี้จะฝึกสมาธิต่อๆ กันมาจากปากของอาจารย์จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง มักจะไม่มีเขียนเป็นตำราไว้จะเรียนกันแบบรับมาจากครูอาจารย์ผู้สอนและที่สำคัญยิ่งก็คือ พระเหล่านี้มักจะเป็นผู้มีบารมีเดิมอยู่แล้วปฏิบัติกรรมฐานไปด้วยความมุ่งหวังมรรคผลเป็นสำคัญด้วยพลังจิตอันมุ่งมั่นไม่หวังลาภสักการะเป็นเครื่องตอบแทน ท่านมักจะไม่ตั้งสำนักกรรมฐานเป็นจริงเป็นจังมากนัก(ในขณะปฏิบัติ)
ท่านเหล่านี้ส่วนมากจะฝึกกสิณสมาธิทำฌานได้สูงสุดถึงฌาน ๘ ดังนั้นท่านเหล่านั้นจึงไม่ปฏิเสธวิธีการของสมถกรรมฐาน เพราะสมถกรรมฐานทั้งหมด คือ บ่อเกิดแห่งฌานและสมาบัติทั้งหมด อำนาจที่เกินเลยประสาทสัมผัสของมนุษย์ธรรมดาเกิดจาก สมถกรรมฐานทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่ ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นิโรธสมาบัติ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ล้วนเกิดต่อจากการฝึกสมาธิด้วยวิธีการของสมถะทั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง คือ สมถกรรมฐานนี้พระพุทธองค์ยกขึ้นมาแสดงก่อนวิปัสสนากรรมฐาน เวลาตรัสเรื่องการทำสมาธิจะตรัสว่า สมถะและวิปัสสนา
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ตรัสว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตให้นิ่งบริสุทธิ์ได้ที่เสียก่อนจะไปเจริญวิปัสสนาโดยตรงเป็นอฐานะ แปลว่า เป็นไปไม่ได้ เหมือนคนตาดีนั่งมองน้ำขุ่นย่อมไม่เห็นวัตถุใต้น้ำ หรือเหมือนคนคิดจะสร้างตึกสัก ๑๐ ชั้น แต่คิดว่า ตัวเองจะอยู่ชั้นที่ ๑๐ ชั้นเดียว ดังนั้นจะสร้างเฉพาะชั้นที่ ๑๐ อย่างเดียวโดยไม่สร้างอีก ๙ ชั้น มาเป็นฐานให้เสียก่อนก็เป็นอฐานะเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เมืองไทยมีสำนักวิปัสสนากรรมฐานเต็มไปหมด พระวิปัสสนาจารย์ก็เดินกันเต็มเมือง แต่ผู้ที่ประกาศว่าบรรลุรู้แจ้งความจริงแล้วด้วยวิปัสสนาญาณจึงหาแทบไม่มีเลย ถ้าเป็นการลงทุนก็ขาดทั้งทุนขาดทั้งกำไร