กุญแกไขความลับ : เกษียณทันทีเมื่ออายุ 30 ปี เป็นไปได้จริงหรือ?!
บทความนี้จะมาไขความลับว่า Mr. Money Mustache หรือ Pete บล็อกเกอร์ด้านการเงินส่วนบุคคลที่สามารถเกษียณอายุจากงานประจำได้เมื่ออายุเพียง 30 ปี นั้นเขาทำได้อย่างไร และอะไรคือกุญแจสำคัญที่ทำให้เขาสามารถบรรลุเป้าหมายอิสรภาพทางการเงินตั้งแต่ยังหนุ่ม!
Pete และภรรยาเกษียณออกจากงานประจำเมื่อเขาอายุ 30 ปี และใช้เวลาตลอด 9 ปี จวบจนปัจจุบันอยู่บ้านเลี้ยงลูกชายที่น่ารักวัย 8 ปี โดยมีรายได้จากการลงทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมกับทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกเขาพึงพอใจ
หนึ่งในความลับของ Pete ก็คือ เขาและครอบครัวมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ $25,000 (ประมาณ 825,000 บาท) และอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถเกษียณได้ตั้งแต่ยังหนุ่มก็คือ อุปนิสัยทางการเงิน ที่จะเน้นการเก็บออมเงินมากกว่าจะใช้จ่ายเงินที่มีอยู่ไปจนหมด
หลังจากที่ Pete จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุ 22 ปี) เขาและภรรยาก็ย้ายมาอยู่ด้วยกัน และด้วยความที่มีอุปนิสัยทางการเงินที่คล้ายกัน พวกเขาจึงทยอยออมเงินที่ได้จากงานประจำอยู่เสมอ จนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจจะมีลูก ซึ่งขณะนั้น Pete อายุได้ 27 ปี ภาพเป้าหมายเกษียณอายุจึงชัดเจนขึ้น เขาและภรรยาตั้งใจจะเกษียณจากงานประจำให้ได้ก่อนที่จะให้กำเนิดลูกคนแรก และนี่ก็คือแรงจูงใจที่ทำให้พวกเขาใช้จ่ายน้อยลงและออมเงินมาลงทุนมากขึ้น เมื่อเขาอายุ 30 ปี เงินออมของพวกเขาก็เพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ตลอดไป
แนวทางการสร้าง passive income ของ Pete ก็คือ หาสินทรัพย์ที่จะให้ผลตอบแทน 4% แล้วทยอยลงทุนจนกระทั่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี นี่ก็คือเป้าหมายเกษียณของ Pete จากนั้นเขาจึงเริ่มบันทึกติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ และยอดเงินลงทุน จนกระทั่งเขาสามารถทำได้ครบตามเป้าหมาย จึงเกษียณออกจากงานประจำ
ทุกครั้งที่ Pete จะใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งของใดๆ ก็ตาม เขาจะถามตัวเองเสมอว่า "สิ่งนี้คุ้มค่ากับเงินที่จะต้องจ่ายออกไปหรือเปล่า ถ้าหากเป้าหมายของฉันคือ การมีความสุขในระยะยาวของชีวิต"
แน่นอนว่าครั้งสมัยหนุ่มๆ เขาก็มีความฝันอยากจะเป็นเจ้าของรถยนต์หรู เช่น Acura NSX แต่เขาก็ไม่ได้ตัดสินใจกู้เงินมาซื้อรถ เพราะเขาให้คุณค่ากับเงินเพื่อใช้จ่ายสิ่งอื่นๆ มากกว่า และแม้ว่าในปัจจุบันเขาจะมีเงินพอจะซื้อรถยนต์หรูโดยไม่ต้องกู้เงินเลยก็ตาม แต่เขาก็พบว่าความต้องการเหล่านั้นมันไม่เหลืออยู่แล้ว
บางคนอาจจะคิดว่าการที่เขาต้องประหยัดอดออมนั้นทำให้ต้องสูญเสียความสุขในชีวิตไป แต่ Pete กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น เขาเชื่อว่าการจะเป็นคนที่มีความสุขนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ กับสิ่งของหรูหราต่างๆ ที่เราซื้อมาเป็นเจ้าของเลย แต่คนที่มีความสุข คือคนที่เข้าใจพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่นๆ การมีสุขภาพที่ดี การได้ทำงานที่มีคุณค่าที่มีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ สุดท้ายเมื่อได้ใช้ชีวิตเพื่อสิ่งเหล่านี้ ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นไปเองโดยอัตโนมัติ
Pete ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่กังวลกับการเกษียณอายุและยังไม่สามารถเก็บออมได้เพียงพอว่า ให้เข้าใจว่าคุณสามารถควบคุมนิสัยการเงินของคุณได้มากกว่าที่คิด และการที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายเกษียณได้ คือ จะต้องเก็บออมให้มากขึ้น ลดการใช้จ่ายลง มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตให้สุรุ่ยสุร่ายน้อยลง
Pete เชื่อว่าระยะเวลา 10-15 ปี เป็นระยะเวลาที่เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่วไปที่จะเริ่มจากศูนย์แล้วก้าวไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงินครับ ทีนี้หลายคนก็อาจเกิดคำถามว่า "เอ๊ะ..แล้วนิสัยการใช้เงินของเรานั้น..จะต้องเก็บเงินกี่ปีจึงจะเกษียณได้นะ?!" ผมมีคำตอบให้ครับ
เริ่มจากจำนวนเงินที่จะต้องออมเงินเพื่อเกษียณตามแนวทางของ Pete คือ 25 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี เมื่อออมเงินได้ครบแล้วให้นำเงินออมก้อนนี้ไปลงทุนสร้าง passive income ประมาณ 4% ต่อปี (ถ้าคิดเรื่องเงินเฟ้อด้วยล่ะก็ จะต้องให้พอร์ตการลงทุนมีผลตอบแทนคาดหวังประมาณ 8% กว่าๆ นะครับ)
จากนั้นผมจึงใช้สมมติฐานง่ายๆ ว่าถ้าแบ่งรายได้ทั้งหมดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเงินเก็บ กับ ส่วนเงินจ่าย แล้วรวมส่วนเงินเก็บไปเรื่อยๆ จนได้ 25 เท่าของส่วนเงินจ่าย ก็จะได้จำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณออกมาครับ
ผมจึงสร้างกราฟ (เส้นสีน้ำเงิน) จำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณขึ้นมา (ดูภาพประกอบนะครับ) เช่น หากรายได้ 100% แบ่งออกเป็น ส่วนเงินเก็บครึ่งหนึ่ง ส่วนเงินจ่ายครึ่งหนึ่ง เท่ากับมีเงินเก็บ 50% เทียบกับรายได้ ก็ให้ลากเส้นสีแดงขึ้นไปจนชนกราฟเส้นสีน้ำเงิน พอชนปุ๊บ..ก็ให้ลากเส้นสีเขียวราบไปจนชนเส้นแกนข้างๆ ได้ค่าเท่ากับ 25 ปี ซึ่งก็คือจำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณจากงานประจำครับ .. ไม่ยากนะครับ
หรือหากมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แล้วใช้จ่ายไป 16,000 บาท มีเงินเก็บ 4,000 บาท เท่ากับมีเงินเก็บเพียง 20% เทียบกับรายได้ ทำแบบเดิม จะได้ค่าจำนวนปีที่ต้องออมเท่ากับ 100 ปี!! นั่นหมายความว่า คุณคนนี้จะไม่สามารถเกษียณจากงานประจำได้เลยหากยังคงมีอุปนิสัยทางการเงินแบบนี้ต่อไปนะครับ
สำหรับท่านที่พอจะมีเงินเก็บเพื่อการเกษียณอยู่แล้วบ้างหรืออาจจะมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) ก็สามารถนำมาคิดรวมได้ครับ ตามขั้นตอนนี้เลยครับ
1. ให้หาจำนวนปีตามขั้นตอนข้างต้นให้เรียบร้อยก่อน (ยกตัวอย่างได้ค่า 25 ปี)
2. คำนวณว่ายอดเงินเก็บและ/หรือยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เท่ากับ กี่เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี เช่น มีเงินเก็บและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวม 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท หรือปีละ 240,000 บาท ให้เอา 1,000,000 บาท ตั้งแล้วหารด้วย 240,000 บาท จะได้ประมาณ 4 ปีกว่าๆ
3. นำคำตอบในข้อ 2. ไปลบออกจากคำตอบในข้อ 1. (ตามตัวอย่างจะได้ 25 - 4 กว่าๆ ก็จะเหลือ 20 ปีกว่าๆ นั่นเองครับ)
เพียงเท่านี้ทุกท่านก็คงจะพอเห็นอนาคตทางการเงินของตัวเองกันบ้างแล้วนะครับว่า จะต้องทำงานเก็บเงินไปอีกกี่ปีจึงจะเกษียณจากงานประจำหรือมีอิสรภาพทางการเงินได้สักที ส่วนบางท่านที่ผลออกมาว่าเกษียณไม่ได้ ก็ไม่ต้องตกใจไปครับ ผมว่าเป็นเรื่องดีซะอีกครับที่รู้ตัวก่อน จะได้ถึงเวลาเปลี่ยนนิสัยของตัวเองสักที
กุญแจสำคัญของเรื่องนี้คือ สัดส่วนของเงินออมเทียบกับรายได้ วิธีจะเพิ่มส่วนนี้ได้ก็คือ
1. เพิ่มเงินเก็บ ลดเงินจ่าย
2. หารายได้เพิ่ม แต่ไม่ใช้จ่ายเพิ่ม
ลองคิดดูนะครับ หากยอมสบายน้อยลงสักนิดในวันนี้ แล้วมีชีวิตที่สุขสบายแบบนี้ไปตลอดชีวิต ย่อมดีกว่าสุขสบายสุดๆ ในวันนี้ แล้วปล่อยตัวเราที่สูงวัยไปตามยถากรรมตอนหลังเกษียณ จริงมั้ยครับ?! ทุกท่านครับ ถึงเวลาหรือยังครับ ที่เราจะต้องมาทบทวนอุปนิสัยทางการเงินของเราว่าเป็นอุปสรรคต่ออิสรภาพทางการเงินหรือเปล่า?!
เจมส์พีร์ - ปราโมชย์ พงษ์ประเสริฐ
ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล บจ. เวลท์ ดีไซน์ คอนซัลติ้ง
Financial Planning Cafe by เจมส์พีร์
อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่
How To Retire Early — 35 Years Early
http://michaelginsberg.net/?cat=10
เกษียณทันทีเมื่ออายุ 30 ปี เป็นไปได้จริงหรือ?!
บทความนี้จะมาไขความลับว่า Mr. Money Mustache หรือ Pete บล็อกเกอร์ด้านการเงินส่วนบุคคลที่สามารถเกษียณอายุจากงานประจำได้เมื่ออายุเพียง 30 ปี นั้นเขาทำได้อย่างไร และอะไรคือกุญแจสำคัญที่ทำให้เขาสามารถบรรลุเป้าหมายอิสรภาพทางการเงินตั้งแต่ยังหนุ่ม!
Pete และภรรยาเกษียณออกจากงานประจำเมื่อเขาอายุ 30 ปี และใช้เวลาตลอด 9 ปี จวบจนปัจจุบันอยู่บ้านเลี้ยงลูกชายที่น่ารักวัย 8 ปี โดยมีรายได้จากการลงทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมกับทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกเขาพึงพอใจ
หนึ่งในความลับของ Pete ก็คือ เขาและครอบครัวมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ $25,000 (ประมาณ 825,000 บาท) และอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถเกษียณได้ตั้งแต่ยังหนุ่มก็คือ อุปนิสัยทางการเงิน ที่จะเน้นการเก็บออมเงินมากกว่าจะใช้จ่ายเงินที่มีอยู่ไปจนหมด
หลังจากที่ Pete จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุ 22 ปี) เขาและภรรยาก็ย้ายมาอยู่ด้วยกัน และด้วยความที่มีอุปนิสัยทางการเงินที่คล้ายกัน พวกเขาจึงทยอยออมเงินที่ได้จากงานประจำอยู่เสมอ จนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจจะมีลูก ซึ่งขณะนั้น Pete อายุได้ 27 ปี ภาพเป้าหมายเกษียณอายุจึงชัดเจนขึ้น เขาและภรรยาตั้งใจจะเกษียณจากงานประจำให้ได้ก่อนที่จะให้กำเนิดลูกคนแรก และนี่ก็คือแรงจูงใจที่ทำให้พวกเขาใช้จ่ายน้อยลงและออมเงินมาลงทุนมากขึ้น เมื่อเขาอายุ 30 ปี เงินออมของพวกเขาก็เพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ตลอดไป
แนวทางการสร้าง passive income ของ Pete ก็คือ หาสินทรัพย์ที่จะให้ผลตอบแทน 4% แล้วทยอยลงทุนจนกระทั่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี นี่ก็คือเป้าหมายเกษียณของ Pete จากนั้นเขาจึงเริ่มบันทึกติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ และยอดเงินลงทุน จนกระทั่งเขาสามารถทำได้ครบตามเป้าหมาย จึงเกษียณออกจากงานประจำ
ทุกครั้งที่ Pete จะใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งของใดๆ ก็ตาม เขาจะถามตัวเองเสมอว่า "สิ่งนี้คุ้มค่ากับเงินที่จะต้องจ่ายออกไปหรือเปล่า ถ้าหากเป้าหมายของฉันคือ การมีความสุขในระยะยาวของชีวิต"
แน่นอนว่าครั้งสมัยหนุ่มๆ เขาก็มีความฝันอยากจะเป็นเจ้าของรถยนต์หรู เช่น Acura NSX แต่เขาก็ไม่ได้ตัดสินใจกู้เงินมาซื้อรถ เพราะเขาให้คุณค่ากับเงินเพื่อใช้จ่ายสิ่งอื่นๆ มากกว่า และแม้ว่าในปัจจุบันเขาจะมีเงินพอจะซื้อรถยนต์หรูโดยไม่ต้องกู้เงินเลยก็ตาม แต่เขาก็พบว่าความต้องการเหล่านั้นมันไม่เหลืออยู่แล้ว
บางคนอาจจะคิดว่าการที่เขาต้องประหยัดอดออมนั้นทำให้ต้องสูญเสียความสุขในชีวิตไป แต่ Pete กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น เขาเชื่อว่าการจะเป็นคนที่มีความสุขนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ กับสิ่งของหรูหราต่างๆ ที่เราซื้อมาเป็นเจ้าของเลย แต่คนที่มีความสุข คือคนที่เข้าใจพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่นๆ การมีสุขภาพที่ดี การได้ทำงานที่มีคุณค่าที่มีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ สุดท้ายเมื่อได้ใช้ชีวิตเพื่อสิ่งเหล่านี้ ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นไปเองโดยอัตโนมัติ
Pete ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่กังวลกับการเกษียณอายุและยังไม่สามารถเก็บออมได้เพียงพอว่า ให้เข้าใจว่าคุณสามารถควบคุมนิสัยการเงินของคุณได้มากกว่าที่คิด และการที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายเกษียณได้ คือ จะต้องเก็บออมให้มากขึ้น ลดการใช้จ่ายลง มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตให้สุรุ่ยสุร่ายน้อยลง
Pete เชื่อว่าระยะเวลา 10-15 ปี เป็นระยะเวลาที่เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่วไปที่จะเริ่มจากศูนย์แล้วก้าวไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงินครับ ทีนี้หลายคนก็อาจเกิดคำถามว่า "เอ๊ะ..แล้วนิสัยการใช้เงินของเรานั้น..จะต้องเก็บเงินกี่ปีจึงจะเกษียณได้นะ?!" ผมมีคำตอบให้ครับ
เริ่มจากจำนวนเงินที่จะต้องออมเงินเพื่อเกษียณตามแนวทางของ Pete คือ 25 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี เมื่อออมเงินได้ครบแล้วให้นำเงินออมก้อนนี้ไปลงทุนสร้าง passive income ประมาณ 4% ต่อปี (ถ้าคิดเรื่องเงินเฟ้อด้วยล่ะก็ จะต้องให้พอร์ตการลงทุนมีผลตอบแทนคาดหวังประมาณ 8% กว่าๆ นะครับ)
จากนั้นผมจึงใช้สมมติฐานง่ายๆ ว่าถ้าแบ่งรายได้ทั้งหมดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเงินเก็บ กับ ส่วนเงินจ่าย แล้วรวมส่วนเงินเก็บไปเรื่อยๆ จนได้ 25 เท่าของส่วนเงินจ่าย ก็จะได้จำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณออกมาครับ
ผมจึงสร้างกราฟ (เส้นสีน้ำเงิน) จำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณขึ้นมา (ดูภาพประกอบนะครับ) เช่น หากรายได้ 100% แบ่งออกเป็น ส่วนเงินเก็บครึ่งหนึ่ง ส่วนเงินจ่ายครึ่งหนึ่ง เท่ากับมีเงินเก็บ 50% เทียบกับรายได้ ก็ให้ลากเส้นสีแดงขึ้นไปจนชนกราฟเส้นสีน้ำเงิน พอชนปุ๊บ..ก็ให้ลากเส้นสีเขียวราบไปจนชนเส้นแกนข้างๆ ได้ค่าเท่ากับ 25 ปี ซึ่งก็คือจำนวนปีที่จะต้องออมเพื่อเกษียณจากงานประจำครับ .. ไม่ยากนะครับ
หรือหากมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แล้วใช้จ่ายไป 16,000 บาท มีเงินเก็บ 4,000 บาท เท่ากับมีเงินเก็บเพียง 20% เทียบกับรายได้ ทำแบบเดิม จะได้ค่าจำนวนปีที่ต้องออมเท่ากับ 100 ปี!! นั่นหมายความว่า คุณคนนี้จะไม่สามารถเกษียณจากงานประจำได้เลยหากยังคงมีอุปนิสัยทางการเงินแบบนี้ต่อไปนะครับ
สำหรับท่านที่พอจะมีเงินเก็บเพื่อการเกษียณอยู่แล้วบ้างหรืออาจจะมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) ก็สามารถนำมาคิดรวมได้ครับ ตามขั้นตอนนี้เลยครับ
1. ให้หาจำนวนปีตามขั้นตอนข้างต้นให้เรียบร้อยก่อน (ยกตัวอย่างได้ค่า 25 ปี)
2. คำนวณว่ายอดเงินเก็บและ/หรือยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เท่ากับ กี่เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี เช่น มีเงินเก็บและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวม 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท หรือปีละ 240,000 บาท ให้เอา 1,000,000 บาท ตั้งแล้วหารด้วย 240,000 บาท จะได้ประมาณ 4 ปีกว่าๆ
3. นำคำตอบในข้อ 2. ไปลบออกจากคำตอบในข้อ 1. (ตามตัวอย่างจะได้ 25 - 4 กว่าๆ ก็จะเหลือ 20 ปีกว่าๆ นั่นเองครับ)
เพียงเท่านี้ทุกท่านก็คงจะพอเห็นอนาคตทางการเงินของตัวเองกันบ้างแล้วนะครับว่า จะต้องทำงานเก็บเงินไปอีกกี่ปีจึงจะเกษียณจากงานประจำหรือมีอิสรภาพทางการเงินได้สักที ส่วนบางท่านที่ผลออกมาว่าเกษียณไม่ได้ ก็ไม่ต้องตกใจไปครับ ผมว่าเป็นเรื่องดีซะอีกครับที่รู้ตัวก่อน จะได้ถึงเวลาเปลี่ยนนิสัยของตัวเองสักที
กุญแจสำคัญของเรื่องนี้คือ สัดส่วนของเงินออมเทียบกับรายได้ วิธีจะเพิ่มส่วนนี้ได้ก็คือ
1. เพิ่มเงินเก็บ ลดเงินจ่าย
2. หารายได้เพิ่ม แต่ไม่ใช้จ่ายเพิ่ม
ลองคิดดูนะครับ หากยอมสบายน้อยลงสักนิดในวันนี้ แล้วมีชีวิตที่สุขสบายแบบนี้ไปตลอดชีวิต ย่อมดีกว่าสุขสบายสุดๆ ในวันนี้ แล้วปล่อยตัวเราที่สูงวัยไปตามยถากรรมตอนหลังเกษียณ จริงมั้ยครับ?! ทุกท่านครับ ถึงเวลาหรือยังครับ ที่เราจะต้องมาทบทวนอุปนิสัยทางการเงินของเราว่าเป็นอุปสรรคต่ออิสรภาพทางการเงินหรือเปล่า?!
เจมส์พีร์ - ปราโมชย์ พงษ์ประเสริฐ
ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล บจ. เวลท์ ดีไซน์ คอนซัลติ้ง
Financial Planning Cafe by เจมส์พีร์
อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่
How To Retire Early — 35 Years Early
http://michaelginsberg.net/?cat=10