กายานุปัสสนา พระไตรปิฎก vs ธรรมกาย

กระทู้คำถาม
พระไตรปิฏก http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง
ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง
กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


ธรรมกาย http://www.gotoknow.org/posts/85675

คราวนี้ก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง ท่านให้พิจารณากายในกาย คำว่า “กายในกาย” หมายถึง ท่าน
ที่ เป็นธรรมกาย อย่างน้อยท่านก็รู้จักกาย ๑๘ กาย คนที่ไม่เป็นธรรมกายก็พิจารณาไม่ได้ เพราะท่านรู้จักแต่กายมนุษย์กายเดียวเท่านั้น จึงไปพิจารณากายในกายไม่ได้ และเมื่อไม่รู้จักกายในกายแล้ว ก็ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต ไม่รู้ธรรมในธรรม เป็นอันว่าคนที่ไม่เป็นวิชา ๑๘ นั้นจึงหมดโอกาสเรียนวิชาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

  ๑. จงพิจารณากาย ท่องใจหยุดในหยุดแล้วนิ่งใจจรดลงกลางดวงธรรม นึกดูดวงกาย แล้วเราก็ เห็นดวงกาย ดวงกายเป็นดวงใสรองรับใจ (ใจ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้) นึกดูศูนย์กลางกายของดวงกาย เราก็เห็นว่า ดวงกายนี้มีดวงแก่-ดวงเจ็บ-ดวงตาย มาหุ้มเป็นชั้น ๆ ดวงแก่สีน้ำตาล ดวงเจ็บเป็นดวงขุ่นต่อไปก็ดำ ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงเหล่านี้มาหุ้มแล้ว ส่งผลให้กายมนุษย์ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตาย ดวงเหล่านี้ทำหน้าที่เผาผลาญ

     เมื่อเราส่งใจกายธรรมจรดลงไปกลางดวงกาย เราก็เห็นความแปรปรวนของกายว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ประกอบเป็นร่างกายของเราขึ้นมาเห็นความเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นคนมีอายุ แล้วก็ตายไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านจึงกล่าวว่าไม่ให้เรายึดมั่นกาย เพราะเราบังคับไม่ได้ มีแต่แก่-เจ็บ-ตาย กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้เราจึงเห็นไปตามที่กายธรรมท่านทำให้

--------------------------------------

ทำไมกายานุปัสสนาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนถึงต่างกับที่ธรรมกายสอนมากมายนัก โปรดพิจารณา
ที่รับไม่ได้สุดๆ คือ ธรรมกาย บอกว่า ถ้าไม่เป็นธรรมกาย 18 กาย จะพิจารณากายในกายไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่