นายช่างกลึง ในอานาปานสติสูตรเป็นอย่างไร



            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน 
เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น 

แม้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว 
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น 
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น 

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า 

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ 

อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่