.
1. Josephine Cochrane
The Dishwasher (เครื่องล้างจาน)
โล่งอกไปที Josephine Cochrane สร้างเครื่องล้างจาน
เพราะเธอโมโหกับการจ้างแม่บ้านมาช่วยงาน
ที่มักจะทำให้จานชามแตกเสียหายเป็นประจำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้วยชามจากประเทศจีน
(มักจะมีราคาแพงมากในสมัยนั้นเพราะขนส่งไกล)
เครื่องล้างจานของเธอใช้น้ำแรงดันสูง
ฉีดเข้าที่ตระแกรงใส่จานชาม
เธอได้รับสิทธิบัตรในปี 1886 (2429)
ในยุคนั้น บ้านจำนวนมาก
ยังไม่มีระบบทำน้ำอุ่นภายในบ้าน
แต่ Cochrane ไม่ย่อท้อและขายความคิดนี้
ให้กับโรงแรมกับภัตตาคารหลายแห่ง
ในเวลาต่อมาเครื่องล้างจาน
กลายเป็นของใช้ประจำบ้านมากขึ้น ๆ
เข้ามาทดแทนงานประจำของแม่บ้าน
.
.
.
.
2. Mary Phelps Jacob
The Modern Brassiere (ยกทรงทันสมัย)
Mary Jacobs ได้รับรางวัลสิทธิบัตร US patent ในปี 1914(2457)
ในการออกแบบยกทรงเสริมอกขึ้นจากไหล่
และแยกนมออกเป็นสองข้าง(ข้างละอัน)
ผู้หญิงในสมัยนั้นมีประสบการณ์ในเรื่องใช้ยกทรง
แต่แนวคิดในการออกแบบเธอเป็นเรื่องพิเศษมาก
ในยุคก่อนยกทรงสตรีที่ตัดเย็บสวมใส่ไม่สบาย
เพราะมีโครงถักแบบเป็นซี่ ๆ เหมือนกระดูกวาฬ
ที่ขึ้นรูปจากลวดเหล็ก
เพื่อทำให้การสวมใส่ได้รูปร่างของยกทรง
แต่รูปแบบยกทรงของ Jacobs กลับตรงกันข้ามเลย
นุ่มและเบาสบายในการสวมใส่
ถูกต้องตรงตามสรีระ/รูปร่างของสตรี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ยกทรงของเธอเป็นที่นิยมกันอย่างมาก
ยิ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศขอร้อง
ให้บรรดาสตรีช่วยหยุดซื้อชุดรัดรูปที่ทำจากลวดเหล็ก
เพื่อนำเหล็กไปใช้งานในราชการสงครามแทน
ผลิตอาวุธ เครื่องยนต์ต่าง ๆ
แม้ว่าในตอนนั้น Jacobs ได้ขายสิทธิบัตรให้กับ
Warner Brothers Corset Company แล้วก็ตาม
.
.
3. Grace Hopper
IBM-Harvard Mark 1
Admiral Dr. Grace Murray Hopper
รู้จักกันดีในฐานะมารดาคอมพิวเตอร์
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เธอได้ย้ายไปทำงานประจำที่ Harvard
เพื่อพัฒนา IBM-Harvard Mark 1
คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่รุ่นแรกของอเมริกา
เธอยังได้ค้นพบ compiler โปรแกรมแปลภาษา
ที่แปลภาษาเขียนเป็นภาษาเครื่อง
แล้วยังให้นิยามปัญหาคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่า bug
เวลาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีปัญหาสมัยก่อน
มักจะพูดว่าให้ Kick มันที หรือเตะแม่มมันออกไป
ทั้งยังเป็นผู้พัฒนาร่วมภาษา COBOL
โปรแกรมรุ่นแรกที่ใช้งานทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้ใช้
ในฐานะที่เป็นสตรีนักประดิษฐ์
เธอได้รับรางวัลมากมาย
รวมทั้งรางวัลระดับชาติในปี 1991(2534)
National Medal of Technology
เธอยังได้รับปริญญากิติมศักดิ์
จากมหาวิทยาลัยรวม 30 แห่ง
ก่อนที่เธอจะเสียชีวิต
.
.
.
.
4. Mary Anderson
The Windshield Wiper (ที่ปัดน้ำฝน)
ลองนึกภาพดูว่าในช่วงก่อนปี 1900(2443)
เวลาฝนตกหรือมีหิมะตก
คนขับรถยนต์ต้องหยุดรถยนต์
ภายในไม่กี่ช่วงตึก
เพื่อเช็ดทำความสะอาดกระจกหน้ารถยนต์
ให้ปราศจากน้ำฝน และ/หรือ หิมะ
Mary Anderson ได้แก้ปัญหานี้
แม้ว่าในตอนนั้นรถยนต์จะค่อนข้างมีน้อย
โดยเธอได้สังเกตเรื่องนี้ในช่วงปี 1903(2446)
แล้วประดิษฐที่ปัดน้ำฝน/หิมะ
โดยมีก้านปัดหุ้มยางติดอยู่ภายนอกรถยนต์
มีก้านดึงคันโยกไปมาภายในรถยนต์ด้วยมือ
เมื่อต้องการทำความสะอาดกระจกหน้ารถยนต์
คนขับรถยนต์ช่วงแรกต่างไม่ยอมรับ
เครื่องปัดน้ำฝน/หิมะของ Anderson
เพราะต่างคิดว่ารบกวนสมาธิคนขับรถยนต์
แต่ 10 ปีให้หลังจากเธอได้จดสิทธิบัตร
รถยนต์ทุกคันต่างใช้ผลงานประดิษฐ์ของเธอ
มีอีกเรื่องราวที่น่ารู้คือ
ยังมีสตรีคนแรกที่ประดิษฐ์
เครื่องปัดน้ำฝนแบบอัตโนมัติในปี 1917(2460)
เธอคือ Charlotte Bridgwood
เครื่องทำความสะอาดน้ำฝนแบบลมพายุ
"Storm Windshield Cleaner"
.
.
.
Mary Anderson กับ The Windshield Wiper
.
.
Charlotte Bridgwood กับ Storm Windshield Cleaner
.
.
5. Hedy Lamarr
Secret Communications System
ระบบสื่อสารลับ
สิทธิบัตรระบบสื่อสารลับ Secret Communications Systems
ในปี 1941(2484) ส่งพร้อมไปกับความถี่วิทยุ
ที่มีรหัสลับแกะไม่ได้เพื่อป้องกันการดักฟังข้อความจากฝ่ายศัตรู
Hedy Lamarr ได้รับการเลี้ยงดูในออสเตรีย
ต่อมาแต่งงานกับมหาเศรษฐี
ผู้ฝักใฝ่นาซีเยอรมันนีและขายอาวุธสงครามให้กับฮิตเลอร์
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงที่เธอแต่งงานเธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
อาวุธที่ทันสมัยจากการได้ยินได้ฟัง
และเข้าร่วมกับสามีในการพูดคุยทางธุรกิจ
ต่อมา เธอกับสามีต่างไม่ชอบนาซีเยอรมันนี
ทั้งคู่จึงได้อพยพหลบหนีไปยังลอนดอน
แล้วย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ต่อมาเธอได้เลิกกับสามีที่อพยพมาด้วยกัน
ผลงานประดิษฐ์ของเธอทำงานร่วมกับ
George Anthiel (นักดนตรี/นักผลิตเสียงผสมผสาน
จากเครื่องดนตรีหรือเสียงอื่น ๆ เป็นรหัสตัวเลข)
เพื่อใช้ในการต่อต้านนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่มีการใช้งานในอีก 20 ปีต่อมา
.
.
6. Margaret Knight
The Queen of Paper Bags (ราชินีถุงกระดาษ)
ก่อนหน้าที่จะมีถุงกระดาษ
ถุงกระดาษรุ่นแรกแบบราบเหมือนซองจดหมาย
ไม่มีก้นแบนราบแบบตอนนี้
แล้วสมัยก่อนจะใส่แซนด์วิทกันอย่างไร ?
Margaret Knight ได้แก้ปัญหาดังกล่าว
ด้วยการผลิตเครื่องจักรตัด พับ ติดกาว
ถุงกระดาษได้ในกระบวนการผลิตครั้งเดียว
เธอได้รับประโยชน์จากสิทธิบัตรในปี 1871(2414)
แต่ต้องฟ้องละเมิดจากคนที่ขโมยแนวความคิดของเธอไป
จำเลยอ้างลอย ๆ และกึ่งดูถูกเธอว่า
" ไม่มีผู้หญิงคนไหนหรอก ที่ออกแบบเครื่องจักรที่มีนวัตกรรมได้ "
แต่เธอมีแบบพิมพ์เขียวเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและเธอชนะคดีในที่สุด
ความเป็นนักประดิษฐ์ของเธอเริ่มต้นเมื่อวัย 12 ขวบ
เมื่อเธอสามารถพัฒนาให้เครื่องจักรหยุดทำงานได้ทันที
ถ้าเครื่องจักรมีอะไรบางอย่างที่ติดขัด
หรือต้องเอาของบางอย่างออกจากเครื่องจักร
หรือนำออกจากกระบวนการผลิตสินค้า
ตลอดชีวิตของเธอ
เธอได้รับรางวัลสิทธิบัตรมากกว่า 26 รายการ
.
.
.
.
7. Tabitha Babbitt
The Circular Saw (เลื่อยวงเดือน)
ในช่วงต้น ๆ ปี 1800(2343) ต้องใช้ชายถึงสองคนในการเลื่อยไม้/ท่อนซุง
ด้วยการดึงเลื่อยมือกลับไปกลับมา เดินหน้าแล้วถอยหลังในการเลื่อยไม้
ต้องขอบคุณสตรีรายหนึ่ง ที่ทำให้กระบวนการเลื่อยไม้เป็นไปแบบเรียบง่าย
ในปี 1813(2356) Tabitha Babbitt ได้ประดิษฐ์เลื่อยวงเดือน
เลื่อยของ Babbitt เป็นรูปใบเลื่อยวงกลม
มีฟันหลายซี่ในการเลื่อย/ตัดไม้ได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่เหมือนใบเลื่อยแบบเดิมที่เป็นเส้นตรง
นอกจากนี้เธอยังได้ประดิษฐ์นวัตกรรมอีกอย่าง
คือที่ตัดเล็บ แทนการใช้มีด+ฝีมือในการตัดเล็บแบบเดิม
เนื่องจากเธอเป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกาย Massachusetts Shaker
เธอยังมีส่วนร่วมในนวัตกรรมงานผลิตเฟอร์นิเจอร์
เป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่า เธอใช้ชีวิตที่เรียบง่าย
ตามแบบฉบับคริสต์ศาสนิกชนนิกาย Shaker
ดังนั้นงานประดิษฐ์ของเธอ
จึงไม่มีการจดสิทธิบัตรแต่อย่างใด
.
.
8. Stephanie Kwolek
Bullet Proof Vests (เกราะกันกระสุนปืน)
Stephanie Kwolek คิดค้น Kevlar
วัสดุที่คงทนตอนนี้ใช้ทำเกราะกันกระสุนปืน
เป็นเวลาหลายปีที่เธอทำงานอยู่กับ
กระบวนการผลิตคิดค้นวิจัยของ DuPont
และในปี 1963 (2506) เธอก็ได้ polymers
หรือเส้นใยไฟเบอร์ที่สอดรับไปในทิศทางเดียวกัน
วัสดุใหม่ตัวนี้มีความแข็งแรงมากกว่าวัสดุประเภทอื่น ๆ
เพราะโมเลกุลมีการประสานกันเป็นกลุ่มก้อน
ตามข้อเท็จจริงแล้ววัสดุใหม่ตัวนี้แข็งแรงพอ ๆ กับเหล็ก
เทคโนโลยีของ Kwolek มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
เช่น สายเคเบิลสะพานแขวน หมวกนิรภัย ผ้าเบรค
สกรีน้ำแข็ง และอุปกรณ์ในการพักแรม ฯลฯ
.
.
.
.
9. Rachel Zimmerman
The Blissymbol Printer (เครื่องพิมพ์คนพิการ)
อะไรคือเครื่องพิมพ์ระบบสรวงสวรรค์
เป็นโปรแกรมการใช้งานที่สร้างโดยเด็กหญิงชาวแคนาดา
วัยเพียง 12 ขวบในช่วงกลางปี 1980(2523)
เครื่องพิมพ์นี้ช่วยคนพิการทางร่างกายหรือสมอง
สามารถติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้
ผู้ใช้งานเพียงแค่จดจำความคิดในรูปแบบสัญญลักษณ์รูปภาพ
ด้วยการพิมพ์บนแป้นสัมผัส ระบบก็จะแปลเป็นภาษาเขียนให้
ระบบการทำงานของ Zimmerman
เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน
แต่สุดท้ายลงเอยด้วยการแข่งขัน
และได้รางวัลเหรียญเงินในการแข่งขับระดับชาติ
เช่นเดียวกับรางวัล YTV Television Youth Achievement Award
.
.
.
.
10. Bette Nesmith Graham
Liquid Paper (น้ำยาลบคำผิด)
ผู้ผลิต Liquid Paper หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า
White-Out (หมึกขาว) คือ Betty Nesmith Graham
เธอได้แนวคิดมาจากช่างวาดรูป
ที่เติมสีเข้าไปในส่วนชิ้นงานที่ผิดพลาด/ไม่สวยสมใจ
เธอจึงใช้เครื่องปั่นผสมอาหารที่บ้าน
ในการทดลองหาสัดส่วนเคมีที่เหมาะสม
ในการแก้ไขคำผิดบนกระดาษที่ทำงาน
แต่ผลจากการทดลองมากเกินไป
และการแจกจ่ายตัวอย่างทดลองใช้งาน
ทำให้เธอถูกไล่ออกจากงานประจำ
แต่เธอได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1958(2501)
หมายเหตุ
ในสมัยเรียนโรงเรียนประถมถึงมัธยมที่ ห.ใ.
คณะซาเลเซียน นิกายโรมันคาทอลิค
เดิมบาทหลวงอยากตั้งชื่อโรงเรียนว่า เซ็นต์โทมัส
แต่อยู่ในยุคเผด็จการคลั่งชาติ คลั่งภาษาไทย
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ต่อเนื่องถึง จอมพล สฤษฏิ์ ธนรัชต์
อำมาตย์ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคจึงห้ามใช้ชื่อภาษาต่างด้าว
เลยได้ชื่อเชย ๆ ภาษาไทยว่า แสงทอง
ตามคำบอกเล่าบาทหลวงท่านหนึ่งที่สนิทกับผม
และเคยประกาศในห้องประชุมโรงเรียนครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพื่อน ๆ ผมมักจะหยอกล้อบราเดอร์ชาวเนเธอแลนด์
แกเป็นประเภทไม่ได้เตรียมตัวเป็นนักบวช
หรือสมัครใจจะรับใช้พระเจ้าด้วยการเป็นฆราวาส
ทำหน้าที่ดูแลร้านขายหนังสือเครื่องเขียนเด็กนักเรียน
ใต้อาคารหนึ่งติดกับโรงอาหารโรงเรียน
เพื่อน ๆ มักจะขอซื้อปากกาสีขาว กระดาษสีดำ
แกมักจะบ่นแล้วหาว่าเด็กนักเรียนล้อเลียนกวนใจแก
แต่ถ้าตอนนี้มีขายแบบเป็นแท่งปากกาและพร้อมกระดาษสีดำ
รับรองเด็กที่ขอซื้อปากกาหมึกสีขาว กระดาษสีดำ
เงิบกันไปตาม ๆ กันกับต้องจ่ายเงินอย่างแน่นอน
.
.
25 สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นโดยสตรี
1. Josephine Cochrane
The Dishwasher (เครื่องล้างจาน)
โล่งอกไปที Josephine Cochrane สร้างเครื่องล้างจาน
เพราะเธอโมโหกับการจ้างแม่บ้านมาช่วยงาน
ที่มักจะทำให้จานชามแตกเสียหายเป็นประจำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้วยชามจากประเทศจีน
(มักจะมีราคาแพงมากในสมัยนั้นเพราะขนส่งไกล)
เครื่องล้างจานของเธอใช้น้ำแรงดันสูง
ฉีดเข้าที่ตระแกรงใส่จานชาม
เธอได้รับสิทธิบัตรในปี 1886 (2429)
ในยุคนั้น บ้านจำนวนมาก
ยังไม่มีระบบทำน้ำอุ่นภายในบ้าน
แต่ Cochrane ไม่ย่อท้อและขายความคิดนี้
ให้กับโรงแรมกับภัตตาคารหลายแห่ง
ในเวลาต่อมาเครื่องล้างจาน
กลายเป็นของใช้ประจำบ้านมากขึ้น ๆ
เข้ามาทดแทนงานประจำของแม่บ้าน
.
.
.
2. Mary Phelps Jacob
The Modern Brassiere (ยกทรงทันสมัย)
Mary Jacobs ได้รับรางวัลสิทธิบัตร US patent ในปี 1914(2457)
ในการออกแบบยกทรงเสริมอกขึ้นจากไหล่
และแยกนมออกเป็นสองข้าง(ข้างละอัน)
ผู้หญิงในสมัยนั้นมีประสบการณ์ในเรื่องใช้ยกทรง
แต่แนวคิดในการออกแบบเธอเป็นเรื่องพิเศษมาก
ในยุคก่อนยกทรงสตรีที่ตัดเย็บสวมใส่ไม่สบาย
เพราะมีโครงถักแบบเป็นซี่ ๆ เหมือนกระดูกวาฬ
ที่ขึ้นรูปจากลวดเหล็ก
เพื่อทำให้การสวมใส่ได้รูปร่างของยกทรง
แต่รูปแบบยกทรงของ Jacobs กลับตรงกันข้ามเลย
นุ่มและเบาสบายในการสวมใส่
ถูกต้องตรงตามสรีระ/รูปร่างของสตรี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ยกทรงของเธอเป็นที่นิยมกันอย่างมาก
ยิ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศขอร้อง
ให้บรรดาสตรีช่วยหยุดซื้อชุดรัดรูปที่ทำจากลวดเหล็ก
เพื่อนำเหล็กไปใช้งานในราชการสงครามแทน
ผลิตอาวุธ เครื่องยนต์ต่าง ๆ
แม้ว่าในตอนนั้น Jacobs ได้ขายสิทธิบัตรให้กับ
Warner Brothers Corset Company แล้วก็ตาม
.
.
@ https://goo.gl/DAI2vD
.
.
.
@ http://goo.gl/kjmsLP
.
3. Grace Hopper
IBM-Harvard Mark 1
Admiral Dr. Grace Murray Hopper
รู้จักกันดีในฐานะมารดาคอมพิวเตอร์
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เธอได้ย้ายไปทำงานประจำที่ Harvard
เพื่อพัฒนา IBM-Harvard Mark 1
คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่รุ่นแรกของอเมริกา
เธอยังได้ค้นพบ compiler โปรแกรมแปลภาษา
ที่แปลภาษาเขียนเป็นภาษาเครื่อง
แล้วยังให้นิยามปัญหาคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่า bug
เวลาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีปัญหาสมัยก่อน
มักจะพูดว่าให้ Kick มันที หรือเตะแม่มมันออกไป
ทั้งยังเป็นผู้พัฒนาร่วมภาษา COBOL
โปรแกรมรุ่นแรกที่ใช้งานทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้ใช้
ในฐานะที่เป็นสตรีนักประดิษฐ์
เธอได้รับรางวัลมากมาย
รวมทั้งรางวัลระดับชาติในปี 1991(2534)
National Medal of Technology
เธอยังได้รับปริญญากิติมศักดิ์
จากมหาวิทยาลัยรวม 30 แห่ง
ก่อนที่เธอจะเสียชีวิต
.
.
4. Mary Anderson
The Windshield Wiper (ที่ปัดน้ำฝน)
ลองนึกภาพดูว่าในช่วงก่อนปี 1900(2443)
เวลาฝนตกหรือมีหิมะตก
คนขับรถยนต์ต้องหยุดรถยนต์
ภายในไม่กี่ช่วงตึก
เพื่อเช็ดทำความสะอาดกระจกหน้ารถยนต์
ให้ปราศจากน้ำฝน และ/หรือ หิมะ
Mary Anderson ได้แก้ปัญหานี้
แม้ว่าในตอนนั้นรถยนต์จะค่อนข้างมีน้อย
โดยเธอได้สังเกตเรื่องนี้ในช่วงปี 1903(2446)
แล้วประดิษฐที่ปัดน้ำฝน/หิมะ
โดยมีก้านปัดหุ้มยางติดอยู่ภายนอกรถยนต์
มีก้านดึงคันโยกไปมาภายในรถยนต์ด้วยมือ
เมื่อต้องการทำความสะอาดกระจกหน้ารถยนต์
คนขับรถยนต์ช่วงแรกต่างไม่ยอมรับ
เครื่องปัดน้ำฝน/หิมะของ Anderson
เพราะต่างคิดว่ารบกวนสมาธิคนขับรถยนต์
แต่ 10 ปีให้หลังจากเธอได้จดสิทธิบัตร
รถยนต์ทุกคันต่างใช้ผลงานประดิษฐ์ของเธอ
มีอีกเรื่องราวที่น่ารู้คือ
ยังมีสตรีคนแรกที่ประดิษฐ์
เครื่องปัดน้ำฝนแบบอัตโนมัติในปี 1917(2460)
เธอคือ Charlotte Bridgwood
เครื่องทำความสะอาดน้ำฝนแบบลมพายุ
"Storm Windshield Cleaner"
.
.
Mary Anderson กับ The Windshield Wiper
.
.
Charlotte Bridgwood กับ Storm Windshield Cleaner
.
5. Hedy Lamarr
Secret Communications System
ระบบสื่อสารลับ
สิทธิบัตรระบบสื่อสารลับ Secret Communications Systems
ในปี 1941(2484) ส่งพร้อมไปกับความถี่วิทยุ
ที่มีรหัสลับแกะไม่ได้เพื่อป้องกันการดักฟังข้อความจากฝ่ายศัตรู
Hedy Lamarr ได้รับการเลี้ยงดูในออสเตรีย
ต่อมาแต่งงานกับมหาเศรษฐี
ผู้ฝักใฝ่นาซีเยอรมันนีและขายอาวุธสงครามให้กับฮิตเลอร์
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงที่เธอแต่งงานเธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
อาวุธที่ทันสมัยจากการได้ยินได้ฟัง
และเข้าร่วมกับสามีในการพูดคุยทางธุรกิจ
ต่อมา เธอกับสามีต่างไม่ชอบนาซีเยอรมันนี
ทั้งคู่จึงได้อพยพหลบหนีไปยังลอนดอน
แล้วย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ต่อมาเธอได้เลิกกับสามีที่อพยพมาด้วยกัน
ผลงานประดิษฐ์ของเธอทำงานร่วมกับ
George Anthiel (นักดนตรี/นักผลิตเสียงผสมผสาน
จากเครื่องดนตรีหรือเสียงอื่น ๆ เป็นรหัสตัวเลข)
เพื่อใช้ในการต่อต้านนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่มีการใช้งานในอีก 20 ปีต่อมา
.
.
เสียงที่ผสมผสานรหัสลับ กดที่ link ด้านบน
.
.
Hedy Lamarr
.
.
Hedy Lamarr กับ George Anthiel
.
@ http://goo.gl/2iSAkc
.
6. Margaret Knight
The Queen of Paper Bags (ราชินีถุงกระดาษ)
ก่อนหน้าที่จะมีถุงกระดาษ
ถุงกระดาษรุ่นแรกแบบราบเหมือนซองจดหมาย
ไม่มีก้นแบนราบแบบตอนนี้
แล้วสมัยก่อนจะใส่แซนด์วิทกันอย่างไร ?
Margaret Knight ได้แก้ปัญหาดังกล่าว
ด้วยการผลิตเครื่องจักรตัด พับ ติดกาว
ถุงกระดาษได้ในกระบวนการผลิตครั้งเดียว
เธอได้รับประโยชน์จากสิทธิบัตรในปี 1871(2414)
แต่ต้องฟ้องละเมิดจากคนที่ขโมยแนวความคิดของเธอไป
จำเลยอ้างลอย ๆ และกึ่งดูถูกเธอว่า
" ไม่มีผู้หญิงคนไหนหรอก ที่ออกแบบเครื่องจักรที่มีนวัตกรรมได้ "
แต่เธอมีแบบพิมพ์เขียวเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและเธอชนะคดีในที่สุด
ความเป็นนักประดิษฐ์ของเธอเริ่มต้นเมื่อวัย 12 ขวบ
เมื่อเธอสามารถพัฒนาให้เครื่องจักรหยุดทำงานได้ทันที
ถ้าเครื่องจักรมีอะไรบางอย่างที่ติดขัด
หรือต้องเอาของบางอย่างออกจากเครื่องจักร
หรือนำออกจากกระบวนการผลิตสินค้า
ตลอดชีวิตของเธอ
เธอได้รับรางวัลสิทธิบัตรมากกว่า 26 รายการ
.
.
7. Tabitha Babbitt
The Circular Saw (เลื่อยวงเดือน)
ในช่วงต้น ๆ ปี 1800(2343) ต้องใช้ชายถึงสองคนในการเลื่อยไม้/ท่อนซุง
ด้วยการดึงเลื่อยมือกลับไปกลับมา เดินหน้าแล้วถอยหลังในการเลื่อยไม้
ต้องขอบคุณสตรีรายหนึ่ง ที่ทำให้กระบวนการเลื่อยไม้เป็นไปแบบเรียบง่าย
ในปี 1813(2356) Tabitha Babbitt ได้ประดิษฐ์เลื่อยวงเดือน
เลื่อยของ Babbitt เป็นรูปใบเลื่อยวงกลม
มีฟันหลายซี่ในการเลื่อย/ตัดไม้ได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่เหมือนใบเลื่อยแบบเดิมที่เป็นเส้นตรง
นอกจากนี้เธอยังได้ประดิษฐ์นวัตกรรมอีกอย่าง
คือที่ตัดเล็บ แทนการใช้มีด+ฝีมือในการตัดเล็บแบบเดิม
เนื่องจากเธอเป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกาย Massachusetts Shaker
เธอยังมีส่วนร่วมในนวัตกรรมงานผลิตเฟอร์นิเจอร์
เป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่า เธอใช้ชีวิตที่เรียบง่าย
ตามแบบฉบับคริสต์ศาสนิกชนนิกาย Shaker
ดังนั้นงานประดิษฐ์ของเธอ
จึงไม่มีการจดสิทธิบัตรแต่อย่างใด
.
.
@ http://goo.gl/Z8zCeY
.
.
.
พิธีกรรมทางศาสนาของนิกาย Shakers
.
@ http://goo.gl/TTAmQj
.
8. Stephanie Kwolek
Bullet Proof Vests (เกราะกันกระสุนปืน)
Stephanie Kwolek คิดค้น Kevlar
วัสดุที่คงทนตอนนี้ใช้ทำเกราะกันกระสุนปืน
เป็นเวลาหลายปีที่เธอทำงานอยู่กับ
กระบวนการผลิตคิดค้นวิจัยของ DuPont
และในปี 1963 (2506) เธอก็ได้ polymers
หรือเส้นใยไฟเบอร์ที่สอดรับไปในทิศทางเดียวกัน
วัสดุใหม่ตัวนี้มีความแข็งแรงมากกว่าวัสดุประเภทอื่น ๆ
เพราะโมเลกุลมีการประสานกันเป็นกลุ่มก้อน
ตามข้อเท็จจริงแล้ววัสดุใหม่ตัวนี้แข็งแรงพอ ๆ กับเหล็ก
เทคโนโลยีของ Kwolek มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
เช่น สายเคเบิลสะพานแขวน หมวกนิรภัย ผ้าเบรค
สกรีน้ำแข็ง และอุปกรณ์ในการพักแรม ฯลฯ
.
.
9. Rachel Zimmerman
The Blissymbol Printer (เครื่องพิมพ์คนพิการ)
อะไรคือเครื่องพิมพ์ระบบสรวงสวรรค์
เป็นโปรแกรมการใช้งานที่สร้างโดยเด็กหญิงชาวแคนาดา
วัยเพียง 12 ขวบในช่วงกลางปี 1980(2523)
เครื่องพิมพ์นี้ช่วยคนพิการทางร่างกายหรือสมอง
สามารถติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้
ผู้ใช้งานเพียงแค่จดจำความคิดในรูปแบบสัญญลักษณ์รูปภาพ
ด้วยการพิมพ์บนแป้นสัมผัส ระบบก็จะแปลเป็นภาษาเขียนให้
ระบบการทำงานของ Zimmerman
เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน
แต่สุดท้ายลงเอยด้วยการแข่งขัน
และได้รางวัลเหรียญเงินในการแข่งขับระดับชาติ
เช่นเดียวกับรางวัล YTV Television Youth Achievement Award
.
.
10. Bette Nesmith Graham
Liquid Paper (น้ำยาลบคำผิด)
ผู้ผลิต Liquid Paper หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า
White-Out (หมึกขาว) คือ Betty Nesmith Graham
เธอได้แนวคิดมาจากช่างวาดรูป
ที่เติมสีเข้าไปในส่วนชิ้นงานที่ผิดพลาด/ไม่สวยสมใจ
เธอจึงใช้เครื่องปั่นผสมอาหารที่บ้าน
ในการทดลองหาสัดส่วนเคมีที่เหมาะสม
ในการแก้ไขคำผิดบนกระดาษที่ทำงาน
แต่ผลจากการทดลองมากเกินไป
และการแจกจ่ายตัวอย่างทดลองใช้งาน
ทำให้เธอถูกไล่ออกจากงานประจำ
แต่เธอได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1958(2501)
หมายเหตุ
ในสมัยเรียนโรงเรียนประถมถึงมัธยมที่ ห.ใ.
คณะซาเลเซียน นิกายโรมันคาทอลิค
เดิมบาทหลวงอยากตั้งชื่อโรงเรียนว่า เซ็นต์โทมัส
แต่อยู่ในยุคเผด็จการคลั่งชาติ คลั่งภาษาไทย
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ต่อเนื่องถึง จอมพล สฤษฏิ์ ธนรัชต์
อำมาตย์ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคจึงห้ามใช้ชื่อภาษาต่างด้าว
เลยได้ชื่อเชย ๆ ภาษาไทยว่า แสงทอง
ตามคำบอกเล่าบาทหลวงท่านหนึ่งที่สนิทกับผม
และเคยประกาศในห้องประชุมโรงเรียนครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เพื่อน ๆ ผมมักจะหยอกล้อบราเดอร์ชาวเนเธอแลนด์
แกเป็นประเภทไม่ได้เตรียมตัวเป็นนักบวช
หรือสมัครใจจะรับใช้พระเจ้าด้วยการเป็นฆราวาส
ทำหน้าที่ดูแลร้านขายหนังสือเครื่องเขียนเด็กนักเรียน
ใต้อาคารหนึ่งติดกับโรงอาหารโรงเรียน
เพื่อน ๆ มักจะขอซื้อปากกาสีขาว กระดาษสีดำ
แกมักจะบ่นแล้วหาว่าเด็กนักเรียนล้อเลียนกวนใจแก
แต่ถ้าตอนนี้มีขายแบบเป็นแท่งปากกาและพร้อมกระดาษสีดำ
รับรองเด็กที่ขอซื้อปากกาหมึกสีขาว กระดาษสีดำ
เงิบกันไปตาม ๆ กันกับต้องจ่ายเงินอย่างแน่นอน
.