สารคดี Bombshell ได้เปิดเผยเรื่องราวของ Hedy Lamarr นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง โดยนอกจากจะได้รับการยกย่องให้เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดโลกในช่วงทศวรรษที่ 1940 แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่เคยทราบมาก่อน คือ เธอยังเป็นนักประดิษฐ์คนสำคัญของโลก จากสิ่งประดิษฐ์ที่ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ WIFI และ บลูทูธ เทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
เธอเกิดที่ประเทศออสเตรีย 1914 ในครอบครัวชาวยิว โดยปรากฏตัวครั้งแรกบนจอภาพยนตร์ในปี 1933 ด้วยการรับบทเปลือยกาย ในหนังเรื่อง Ecstasy ที่ ตอนนั้นไม่มีนักแสดงคนใดกล้ารับบทนี้ แต่การเสี่ยงในครั้งก็ทำให้เธอดังในทันที
จากนั้นในปี 1934 เธอตัดสินใจลาออกจากวงการภาพยนตร์เยอรมัน และแต่งงานกับมหาเศรษฐีนักค้าอาวุธชาวเยอรมัน Friedrich Mandl ทำให้เธอเริ่มสนใจและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีทางการทหารนับแต่นั้นมา
ต่อมา Hedy ตัดสินใจกลับไปทำอาชีพนักแสดงอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องเสี่ยงชีวิตมากมายจากสามีนักค้าอาวุธของเธอ โดยอพยพไปยังประเทศอเมริกา
ระหว่างเดินทางเธอได้มีโอกาสพบกับ Louis Burt Mayer (ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ MGM) โดยชายผู้นี้ได้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดจากการพูดคุยกัน จึงชักชวนเธอให้เข้าสู่วงการฮอลลีวูด
Hedy ได้เซ็นสัญญากับค่ายหนังชื่อดังในของฮอลลีวู้ดอย่าง Metro-Goldwyn-Mayer โดยเธอได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Algiers ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ก็ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยฝีมือการแสดงและความกล้าที่จะรับบทท้าทายมากมายทำให้ Hedy มีชื่อเสียงและมีผลงานการแสดงอีกหลาย ๆ เรื่องตามมา เช่น Lady of the Tropics (1939) ,Boom Town (1940) ,Tortilla Flat (1942) ,Casablanca (1943) และ Samson and Delilah (1949) ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของเธอก็ล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์อีกหลายสาขา และได้รับการขนานนามว่า “Hedy Lamarr เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก” ในขณะนั้น
สำหรับเรื่องเทคโนโลยีข้างต้น ในปี 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอได้พบกับเพื่อนนักเปียโนและนักแต่งเพลง ชื่อ George Antheil ที่มีความสนใจเรื่องอาวุธและสงครามเช่นกันและทั้งคู่ต้องการจะมีส่วนช่วยฝ่ายพันธมิตร โดย Antheil เล่าว่า “ตอปิโดของฝ่ายเรามักถูกนาซีสกัดได้ง่ายมาก ๆ” เมื่อคิดอยู่นาน Hedy จึงออกไอเดียว่า “งั้นเราก็ทำให้พวกนั้นตรวจจับสัญญาณของเรายากขึ้นสิ” จากความคิดนั้นจึงได้ร่วมพัฒนาไอเดียขึ้นดังกล่าวขึ้น
แบบแปลนของแนวคิด ที่ถูกนำไปใช้ในกองทัพจริง ๆ
"Secret Communications System"
ทั้งคู่ร่วมมือกันพัฒนาวิธีการสื่อสารแบบใหม่จนสำเร็จ และตั้งชื่อว่า “Frequency-Hopping” เป็นเทคนิคปล่อยสัญญาณแบบหลายระดับ เพื่อให้สัญญาณมีความซับซ้อนมากๆเพื่อป้องกันการส่งสัญญาณของข้าศึก รวมถึงการดักฟังหรือการตรวจจับคลื่นความถี่ได้ยากยิ่งขึ้น เทคนิคนี้ใช้เวลาในการพัฒนาเพียง 2 ปีเท่านั้น
หลังจากทำการทดสอบอยู่หลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากกองทัพสหรัฐฯในปี 1942 จากนั้นจึงได้รับการอนุมัติให้ผลิตอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุที่มีชื่อว่า “Secret Communications System” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนความถี่ของวิทยุ เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูถอดรหัสลับได้ จากความสำเร็จนี้ Hedy และ Antheil ตัดสินใจเปิดบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายอย่างจริงจังร่วมกันในปี 1950 ซึ่งระหว่างนั้นเธอรับงานแสดงควบคู่ไปกับทำการประดิษฐ์และคิดค้น (ระหว่างปี 1930-1950)
ต่อมาเมื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยขึ้น เทคนิคการสื่อสารแบบซับซ้อนอย่าง Frequency-Hopping ก็ได้กลายเป็นรากฐานที่ถูกนำมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นเครือข่ายไร้สายที่มีคลื่นความถี่มหาศาล เช่น สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณไวไฟ จีพีเอส และบลูทูธ ที่ใช้กันในปัจจุบัน
Hedy ออกจากวงการฮอลลีวู้ดในช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง The Female Animal ในปี 1958 หลังจากออกจากวงการ ลามาร์ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวของเธอที่เมืองออร์แลนโด (Orlando) ในรัฐฟลอริดา (Florida) สหรัฐฯ เธอเสียชีวิตในวันที่ 19 มกราคม 2000 ด้วยวัย 85 ปี ด้วยโรคหัวใจ
และในปี 2014 ชื่อของเธอก็ได้รับการสลักอยู่ในหอเกียรติยศของสมาคมนักประดิษฐ์แห่งอเมริกา (National Inventors Hall of Fame) จากผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการเทคโนโลยีทางการสื่อสาร โดยก่อนหน้านั้นเมื่อปี 1966 ชื่อของเธอได้ถูกสลักไว้บนทางเท้า Hollywood Walk of Fame
Sigrid Gurie (ซ้าย) และ Hedy Lamarr (ขวา) เป็นสุภาพสตรีชั้นนำของCharles Boyerในภาพยนตร์ Algiers (1938)
Victor Mature และ Hedy Lamarr ในภาพยนตร์ Samson and Delilah (1949)
ข้อมูลและภาพจาก knowwithoutborders, zcooby, idewblog
Cr.
https://www.pbs.org/wnet/americanmasters/blog/7-things-didnt-know-hollywood-star-inventor-hedy-lamarr/
Cr.
https://www.facebook.com/histofun2/photos/-เฮดี-ลามาร์-hedy-lamarrนักแสดงสาวผู้วางรากฐานเทคโนโลยีไวไฟและบลูทูธเฮดี-ลามาร์-/279270530114265/
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/Hedy_Lamarr
Cr.
https://www.flagfrog.com/hollywood-actress-inventor/
Cr.
https://teen.mthai.com/variety/103872.html
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ WIFI GPS และบลูทูธ
เธอเกิดที่ประเทศออสเตรีย 1914 ในครอบครัวชาวยิว โดยปรากฏตัวครั้งแรกบนจอภาพยนตร์ในปี 1933 ด้วยการรับบทเปลือยกาย ในหนังเรื่อง Ecstasy ที่ ตอนนั้นไม่มีนักแสดงคนใดกล้ารับบทนี้ แต่การเสี่ยงในครั้งก็ทำให้เธอดังในทันที
จากนั้นในปี 1934 เธอตัดสินใจลาออกจากวงการภาพยนตร์เยอรมัน และแต่งงานกับมหาเศรษฐีนักค้าอาวุธชาวเยอรมัน Friedrich Mandl ทำให้เธอเริ่มสนใจและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีทางการทหารนับแต่นั้นมา
ต่อมา Hedy ตัดสินใจกลับไปทำอาชีพนักแสดงอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องเสี่ยงชีวิตมากมายจากสามีนักค้าอาวุธของเธอ โดยอพยพไปยังประเทศอเมริกา
ระหว่างเดินทางเธอได้มีโอกาสพบกับ Louis Burt Mayer (ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ MGM) โดยชายผู้นี้ได้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดจากการพูดคุยกัน จึงชักชวนเธอให้เข้าสู่วงการฮอลลีวูด
Hedy ได้เซ็นสัญญากับค่ายหนังชื่อดังในของฮอลลีวู้ดอย่าง Metro-Goldwyn-Mayer โดยเธอได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Algiers ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ก็ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยฝีมือการแสดงและความกล้าที่จะรับบทท้าทายมากมายทำให้ Hedy มีชื่อเสียงและมีผลงานการแสดงอีกหลาย ๆ เรื่องตามมา เช่น Lady of the Tropics (1939) ,Boom Town (1940) ,Tortilla Flat (1942) ,Casablanca (1943) และ Samson and Delilah (1949) ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของเธอก็ล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์อีกหลายสาขา และได้รับการขนานนามว่า “Hedy Lamarr เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก” ในขณะนั้น
สำหรับเรื่องเทคโนโลยีข้างต้น ในปี 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอได้พบกับเพื่อนนักเปียโนและนักแต่งเพลง ชื่อ George Antheil ที่มีความสนใจเรื่องอาวุธและสงครามเช่นกันและทั้งคู่ต้องการจะมีส่วนช่วยฝ่ายพันธมิตร โดย Antheil เล่าว่า “ตอปิโดของฝ่ายเรามักถูกนาซีสกัดได้ง่ายมาก ๆ” เมื่อคิดอยู่นาน Hedy จึงออกไอเดียว่า “งั้นเราก็ทำให้พวกนั้นตรวจจับสัญญาณของเรายากขึ้นสิ” จากความคิดนั้นจึงได้ร่วมพัฒนาไอเดียขึ้นดังกล่าวขึ้น
หลังจากทำการทดสอบอยู่หลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากกองทัพสหรัฐฯในปี 1942 จากนั้นจึงได้รับการอนุมัติให้ผลิตอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุที่มีชื่อว่า “Secret Communications System” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนความถี่ของวิทยุ เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูถอดรหัสลับได้ จากความสำเร็จนี้ Hedy และ Antheil ตัดสินใจเปิดบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายอย่างจริงจังร่วมกันในปี 1950 ซึ่งระหว่างนั้นเธอรับงานแสดงควบคู่ไปกับทำการประดิษฐ์และคิดค้น (ระหว่างปี 1930-1950)
ต่อมาเมื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยขึ้น เทคนิคการสื่อสารแบบซับซ้อนอย่าง Frequency-Hopping ก็ได้กลายเป็นรากฐานที่ถูกนำมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นเครือข่ายไร้สายที่มีคลื่นความถี่มหาศาล เช่น สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณไวไฟ จีพีเอส และบลูทูธ ที่ใช้กันในปัจจุบัน
Hedy ออกจากวงการฮอลลีวู้ดในช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง The Female Animal ในปี 1958 หลังจากออกจากวงการ ลามาร์ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวของเธอที่เมืองออร์แลนโด (Orlando) ในรัฐฟลอริดา (Florida) สหรัฐฯ เธอเสียชีวิตในวันที่ 19 มกราคม 2000 ด้วยวัย 85 ปี ด้วยโรคหัวใจ
และในปี 2014 ชื่อของเธอก็ได้รับการสลักอยู่ในหอเกียรติยศของสมาคมนักประดิษฐ์แห่งอเมริกา (National Inventors Hall of Fame) จากผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการเทคโนโลยีทางการสื่อสาร โดยก่อนหน้านั้นเมื่อปี 1966 ชื่อของเธอได้ถูกสลักไว้บนทางเท้า Hollywood Walk of Fame
Cr.https://www.pbs.org/wnet/americanmasters/blog/7-things-didnt-know-hollywood-star-inventor-hedy-lamarr/
Cr.https://www.facebook.com/histofun2/photos/-เฮดี-ลามาร์-hedy-lamarrนักแสดงสาวผู้วางรากฐานเทคโนโลยีไวไฟและบลูทูธเฮดี-ลามาร์-/279270530114265/
Cr.https://en.wikipedia.org/wiki/Hedy_Lamarr
Cr.https://www.flagfrog.com/hollywood-actress-inventor/
Cr.https://teen.mthai.com/variety/103872.html
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)