สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
รอบ 7 ปีกว่าหลังรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีปรากฏการณ์แปลกพิลึกทาง การเมืองของรัฐไทยหลายประการ อาทิ :
- กันยายน 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ทหารไม่ดำเนินการอันใดต่อผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล
- ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการทหาร ตำรวจ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกทีวี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออก
- พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการที่รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการที่บุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ(ผิดมาตรา68ของรัฐธรรมนูญ)
-ธันวาคม 2556 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอให้ยุบสภา นายกฯ รักษาการลาออก ตั้งคนกลางเป็นนายกฯ แทนได้
- มกราคม 2557 ทหารจัดชุดปรามตำรวจปราบม็อบขณะประกาศกฎหมายความมั่นคง
- มกราคม 2557 แทนที่จะพยายามจัดเลือกตั้งให้สำเร็จอย่างสุดความสามารถ กกต. กลับเป็นตัวตั้งตัวตีเสนอให้เลื่อนเลือกตั้งอย่างกระตือรือร้นอ้าขาผวาปีกจนออกนอกหน้า
เป็นต้น
--------
ทั้งหลายทั้งปวงนี้สะท้อนสภาพการณ์เฉพาะพิเศษอย่างหนึ่งของภูมิทัศน์การเมืองไทยที่เปลี่ยนไปกล่าวคือสภาพที่รัฐไทยแตกแยกระส่ำระสาย(afragmented state in disarray) ในปัจจุบัน อันเป็นแนวคิดที่ Tyrell Haberkorn ใช้บรรยายรัฐไทยสมัยปี พ.ศ.2518 ท่ามกลางความขัดแย้ง ดุเดือดเลือดพล่านทางชนชั้นระหว่างชาวนาผู้เช่ากับเจ้าที่ดินภาคเหนือในหนังสือ Revolution Interrupted, 2011)
ความแตกแยกระส่ำระสายของรัฐไทยดังกล่าวยังนำไปสู่ภาวะสังคมอนารยะ (uncivil society) อีกด้วย
สภาพรัฐไทยแตกแยกระส่ำระสายหลายปีหลังนี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง "ระบอบ ทักษิณ" กับ "กลุ่มอำมาตย์"
ผมหมายถึงระหว่าง [รัฐบาลทักษิณและกลุ่มทุนเครือข่ายทักษิณ ณ ไทยรักไทยที่เข้าครอง อำนาจนำเหนือระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง]
กับ [กลุ่มชนชั้นนำเก่า/ทุนเก่าที่เคยครองอำนาจอยู่ซึ่งเรียกทางวิชาการได้ว่า "non-majoritarian institutions" หรือบรรดาสถาบันอำนาจที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก]
ความขัดแย้งนี้ทำให้สังคมการเมืองไทยเข้าสู่สภาวะแบ่งข้างแยกขั้วต่อสู้กันสุดโต่งระหว่างสีระหว่างพรรคฝ่ายเครือข่ายต่างๆกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทว่าปราศจากอำนาจนำทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับอย่างสากลของทุกฝ่าย
เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะเลือกตั้งขึ้นปกครองฝ่ายตรงข้ามก็หาโอกาสจังหวะก่อม็อบชุมนุมต่อต้านคัดค้านโค่นล้มอย่างยืดเยื้อดุเดือดรุนแรงในทางกลับกันเมื่ออีกฝ่ายก่อรัฐประหารหรือใช้อำนาจนอกระบบผลักดันพรรคตัวแทนขึ้นปกครองบ้าง ฝ่ายตรงข้ามก็ก่อม็อบชุมนุมต่อต้านทำนองเดียวกัน (ดูตารางประกอบ) กลายเป็นอาการ "อนาธิปไตยบนท้องถนน vs. อำนาจนิยมของรัฐ/รัฐบาล" สลับข้างกันไปมาแล้วถึง 6 รอบ
และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
เมื่อพรรค/คณะรัฐประหารต่างฝ่ายผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลแล้วพวกเขาก็รุล้างข้าราชการที่รับใช้เข้าข้างฝ่ายตรงข้ามม็อบต่างฝ่ายก็ผลัดกันบุกยึดหน่วยราชการ/ที่ทำการธุรกิจเอกชนที่เห็นเป็นปฏิปักษ์แล้วก่อกวนโจมตีดิสเครดิตข้าราชการที่รับใช้รัฐบาล
นอกจากนี้การเมืองยังค่อนข้างขาดเสถียรภาพ สลับขั้วพลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยเฉลี่ยอายุสั้น อยู่ไม่ครบเทอม (นายกฯ 5 คนใน 7 ปี), บางคนปีก่อนยังนอนติดคุกอยู่ ปีนี้กลายมาเป็น ฯพณฯ รัฐมนตรีเสียแล้ว บางคนปีก่อนยังเป็น ฯพณฯ นายกฯ/รองนายกฯ อยู่ ปีนี้กลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลหรือนักโทษหนีคดีทุจริตไปเสียแล้ว เป็นต้น
เหล่านี้ทำให้ข้าราชการขาดความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน หากทำงานรับใช้ นโยบายรัฐบาลในอำนาจเต็มที่ ก็อาจโดนปลดย้ายฟ้องร้องจากรัฐบาลชุดใหม่ของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ทำ ก็อาจโดนปลดย้ายแช่เย็นขึ้นหิ้งจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงพากัน play safe ด้วยการ "ใส่เกียร์ว่าง" รอดูสถานการณ์พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปพลางๆ ก่อน จนทั้ง พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องออกปากบ่นแกมเตือนข้าราชการดังๆ ต่างข้างต่างช่วงเวลา (2550 และ 2556) แต่ตรงกันเป๊ะว่า
"อย่าใส่เกียร์ว่าง"
การที่พลังมวลชนกลุ่มฝ่ายต่างๆ ในสังคมบุกรุกไล่ยึดพื้นที่รัฐอย่างอลเวงเช่นนี้หาได้เป็นผลดีต่อความเข้มแข็งและอารยะ (strength and civility) ของสังคมไม่ แต่กลับคุกคามเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประชาสังคม/สังคมเข้มแข็ง (civil society) เสียเอง
เพราะท่ามกลางการแยกขั้วแบ่งข้างต่อสู้ทำสงครามการเมืองระหว่างสีระหว่างฝ่ายอย่างดุ เดือดนองเลือด รัฐก็พลอยแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโตตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆ ที่จำเป็นแก่การดำรงคงอยู่ของประชาสังคมไม่ได้ไปด้วย ไม่ว่ากองทัพ ตำรวจ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา ศาลปกครอง ฯลฯ ล้วนเสื่อมถอยประสิทธิภาพและความชอบธรรม น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนโดยรวมลงไปอย่างน่าใจหาย
จนความขัดแย้งจำนวนมาก ลงเอยด้วยความรุนแรงบนท้องถนนแบบอนาธิปไตยโดยไม่มีใครหน้าไหนหรือองค์กรหน่วยราชการใดสามารถเล่นบทผู้รักษาสันติภาพหรืออนุญาโตตุลาการที่ทุกฝ่ายยอมรับในความเป็นกลางและเที่ยงธรรม
ไม่มีรัฐที่ทรงประสิทธิภาพความชอบธรรมจะแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโต-ตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆแล้วประชาสังคม/สังคมเข้มแข็งก็มีอยู่ไม่ได้เหมือนกันมันกลับเสื่อมทรุดตกต่ำกลายสภาพเป็นอนารยะ(incivility-uncivil society) มากขึ้นทุกที
ดังเหตุการณ์ปะทะรุนแรงนองเลือดสองสามเดือนที่ผ่านมาไม่ว่าที่หน้ารามคำแหง-ราชมังคลากีฬาสถาน(30พฤศจิกายน-1ธันวาคม2556), สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (25 ธันวาคม 2556), แยกหลักสี่ (1 กุมภาพันธ์ 2557) และสะพานผ่านฟ้าฯ (18 กุมภาพันธ์ 2557) เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
"รัฐที่แตกแยกระส่ำระสายกับสังคมอนารยะ"
มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 มีนาคม 57
รอบ 7 ปีกว่าหลังรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีปรากฏการณ์แปลกพิลึกทาง การเมืองของรัฐไทยหลายประการ อาทิ :
- กันยายน 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ทหารไม่ดำเนินการอันใดต่อผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล
- ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการทหาร ตำรวจ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกทีวี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออก
- พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการที่รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการที่บุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ(ผิดมาตรา68ของรัฐธรรมนูญ)
-ธันวาคม 2556 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอให้ยุบสภา นายกฯ รักษาการลาออก ตั้งคนกลางเป็นนายกฯ แทนได้
- มกราคม 2557 ทหารจัดชุดปรามตำรวจปราบม็อบขณะประกาศกฎหมายความมั่นคง
- มกราคม 2557 แทนที่จะพยายามจัดเลือกตั้งให้สำเร็จอย่างสุดความสามารถ กกต. กลับเป็นตัวตั้งตัวตีเสนอให้เลื่อนเลือกตั้งอย่างกระตือรือร้นอ้าขาผวาปีกจนออกนอกหน้า
เป็นต้น
--------
ทั้งหลายทั้งปวงนี้สะท้อนสภาพการณ์เฉพาะพิเศษอย่างหนึ่งของภูมิทัศน์การเมืองไทยที่เปลี่ยนไปกล่าวคือสภาพที่รัฐไทยแตกแยกระส่ำระสาย(afragmented state in disarray) ในปัจจุบัน อันเป็นแนวคิดที่ Tyrell Haberkorn ใช้บรรยายรัฐไทยสมัยปี พ.ศ.2518 ท่ามกลางความขัดแย้ง ดุเดือดเลือดพล่านทางชนชั้นระหว่างชาวนาผู้เช่ากับเจ้าที่ดินภาคเหนือในหนังสือ Revolution Interrupted, 2011)
ความแตกแยกระส่ำระสายของรัฐไทยดังกล่าวยังนำไปสู่ภาวะสังคมอนารยะ (uncivil society) อีกด้วย
สภาพรัฐไทยแตกแยกระส่ำระสายหลายปีหลังนี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง "ระบอบ ทักษิณ" กับ "กลุ่มอำมาตย์"
ผมหมายถึงระหว่าง [รัฐบาลทักษิณและกลุ่มทุนเครือข่ายทักษิณ ณ ไทยรักไทยที่เข้าครอง อำนาจนำเหนือระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง]
กับ [กลุ่มชนชั้นนำเก่า/ทุนเก่าที่เคยครองอำนาจอยู่ซึ่งเรียกทางวิชาการได้ว่า "non-majoritarian institutions" หรือบรรดาสถาบันอำนาจที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก]
ความขัดแย้งนี้ทำให้สังคมการเมืองไทยเข้าสู่สภาวะแบ่งข้างแยกขั้วต่อสู้กันสุดโต่งระหว่างสีระหว่างพรรคฝ่ายเครือข่ายต่างๆกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทว่าปราศจากอำนาจนำทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับอย่างสากลของทุกฝ่าย
เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะเลือกตั้งขึ้นปกครองฝ่ายตรงข้ามก็หาโอกาสจังหวะก่อม็อบชุมนุมต่อต้านคัดค้านโค่นล้มอย่างยืดเยื้อดุเดือดรุนแรงในทางกลับกันเมื่ออีกฝ่ายก่อรัฐประหารหรือใช้อำนาจนอกระบบผลักดันพรรคตัวแทนขึ้นปกครองบ้าง ฝ่ายตรงข้ามก็ก่อม็อบชุมนุมต่อต้านทำนองเดียวกัน (ดูตารางประกอบ) กลายเป็นอาการ "อนาธิปไตยบนท้องถนน vs. อำนาจนิยมของรัฐ/รัฐบาล" สลับข้างกันไปมาแล้วถึง 6 รอบ
และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
เมื่อพรรค/คณะรัฐประหารต่างฝ่ายผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลแล้วพวกเขาก็รุล้างข้าราชการที่รับใช้เข้าข้างฝ่ายตรงข้ามม็อบต่างฝ่ายก็ผลัดกันบุกยึดหน่วยราชการ/ที่ทำการธุรกิจเอกชนที่เห็นเป็นปฏิปักษ์แล้วก่อกวนโจมตีดิสเครดิตข้าราชการที่รับใช้รัฐบาล
นอกจากนี้การเมืองยังค่อนข้างขาดเสถียรภาพ สลับขั้วพลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยเฉลี่ยอายุสั้น อยู่ไม่ครบเทอม (นายกฯ 5 คนใน 7 ปี), บางคนปีก่อนยังนอนติดคุกอยู่ ปีนี้กลายมาเป็น ฯพณฯ รัฐมนตรีเสียแล้ว บางคนปีก่อนยังเป็น ฯพณฯ นายกฯ/รองนายกฯ อยู่ ปีนี้กลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลหรือนักโทษหนีคดีทุจริตไปเสียแล้ว เป็นต้น
เหล่านี้ทำให้ข้าราชการขาดความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน หากทำงานรับใช้ นโยบายรัฐบาลในอำนาจเต็มที่ ก็อาจโดนปลดย้ายฟ้องร้องจากรัฐบาลชุดใหม่ของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ทำ ก็อาจโดนปลดย้ายแช่เย็นขึ้นหิ้งจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงพากัน play safe ด้วยการ "ใส่เกียร์ว่าง" รอดูสถานการณ์พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปพลางๆ ก่อน จนทั้ง พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องออกปากบ่นแกมเตือนข้าราชการดังๆ ต่างข้างต่างช่วงเวลา (2550 และ 2556) แต่ตรงกันเป๊ะว่า
"อย่าใส่เกียร์ว่าง"
การที่พลังมวลชนกลุ่มฝ่ายต่างๆ ในสังคมบุกรุกไล่ยึดพื้นที่รัฐอย่างอลเวงเช่นนี้หาได้เป็นผลดีต่อความเข้มแข็งและอารยะ (strength and civility) ของสังคมไม่ แต่กลับคุกคามเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประชาสังคม/สังคมเข้มแข็ง (civil society) เสียเอง
เพราะท่ามกลางการแยกขั้วแบ่งข้างต่อสู้ทำสงครามการเมืองระหว่างสีระหว่างฝ่ายอย่างดุ เดือดนองเลือด รัฐก็พลอยแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโตตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆ ที่จำเป็นแก่การดำรงคงอยู่ของประชาสังคมไม่ได้ไปด้วย ไม่ว่ากองทัพ ตำรวจ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา ศาลปกครอง ฯลฯ ล้วนเสื่อมถอยประสิทธิภาพและความชอบธรรม น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนโดยรวมลงไปอย่างน่าใจหาย
จนความขัดแย้งจำนวนมาก ลงเอยด้วยความรุนแรงบนท้องถนนแบบอนาธิปไตยโดยไม่มีใครหน้าไหนหรือองค์กรหน่วยราชการใดสามารถเล่นบทผู้รักษาสันติภาพหรืออนุญาโตตุลาการที่ทุกฝ่ายยอมรับในความเป็นกลางและเที่ยงธรรม
ไม่มีรัฐที่ทรงประสิทธิภาพความชอบธรรมจะแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโต-ตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆแล้วประชาสังคม/สังคมเข้มแข็งก็มีอยู่ไม่ได้เหมือนกันมันกลับเสื่อมทรุดตกต่ำกลายสภาพเป็นอนารยะ(incivility-uncivil society) มากขึ้นทุกที
ดังเหตุการณ์ปะทะรุนแรงนองเลือดสองสามเดือนที่ผ่านมาไม่ว่าที่หน้ารามคำแหง-ราชมังคลากีฬาสถาน(30พฤศจิกายน-1ธันวาคม2556), สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (25 ธันวาคม 2556), แยกหลักสี่ (1 กุมภาพันธ์ 2557) และสะพานผ่านฟ้าฯ (18 กุมภาพันธ์ 2557) เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
"รัฐที่แตกแยกระส่ำระสายกับสังคมอนารยะ"
มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 มีนาคม 57
รอบ 7 ปีกว่าหลังรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีปรากฏการณ์แปลกพิลึกทาง การเมืองของรัฐไทย
รอบ 7 ปีกว่าหลังรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีปรากฏการณ์แปลกพิลึกทาง การเมืองของรัฐไทยหลายประการ อาทิ :
- กันยายน 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ทหารไม่ดำเนินการอันใดต่อผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล
- ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการทหาร ตำรวจ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกทีวี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออก
- พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการที่รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการที่บุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ(ผิดมาตรา68ของรัฐธรรมนูญ)
-ธันวาคม 2556 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอให้ยุบสภา นายกฯ รักษาการลาออก ตั้งคนกลางเป็นนายกฯ แทนได้
- มกราคม 2557 ทหารจัดชุดปรามตำรวจปราบม็อบขณะประกาศกฎหมายความมั่นคง
- มกราคม 2557 แทนที่จะพยายามจัดเลือกตั้งให้สำเร็จอย่างสุดความสามารถ กกต. กลับเป็นตัวตั้งตัวตีเสนอให้เลื่อนเลือกตั้งอย่างกระตือรือร้นอ้าขาผวาปีกจนออกนอกหน้า
เป็นต้น
--------
ทั้งหลายทั้งปวงนี้สะท้อนสภาพการณ์เฉพาะพิเศษอย่างหนึ่งของภูมิทัศน์การเมืองไทยที่เปลี่ยนไปกล่าวคือสภาพที่รัฐไทยแตกแยกระส่ำระสาย(afragmented state in disarray) ในปัจจุบัน อันเป็นแนวคิดที่ Tyrell Haberkorn ใช้บรรยายรัฐไทยสมัยปี พ.ศ.2518 ท่ามกลางความขัดแย้ง ดุเดือดเลือดพล่านทางชนชั้นระหว่างชาวนาผู้เช่ากับเจ้าที่ดินภาคเหนือในหนังสือ Revolution Interrupted, 2011)
ความแตกแยกระส่ำระสายของรัฐไทยดังกล่าวยังนำไปสู่ภาวะสังคมอนารยะ (uncivil society) อีกด้วย
สภาพรัฐไทยแตกแยกระส่ำระสายหลายปีหลังนี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง "ระบอบ ทักษิณ" กับ "กลุ่มอำมาตย์"
ผมหมายถึงระหว่าง [รัฐบาลทักษิณและกลุ่มทุนเครือข่ายทักษิณ ณ ไทยรักไทยที่เข้าครอง อำนาจนำเหนือระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง]
กับ [กลุ่มชนชั้นนำเก่า/ทุนเก่าที่เคยครองอำนาจอยู่ซึ่งเรียกทางวิชาการได้ว่า "non-majoritarian institutions" หรือบรรดาสถาบันอำนาจที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก]
ความขัดแย้งนี้ทำให้สังคมการเมืองไทยเข้าสู่สภาวะแบ่งข้างแยกขั้วต่อสู้กันสุดโต่งระหว่างสีระหว่างพรรคฝ่ายเครือข่ายต่างๆกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทว่าปราศจากอำนาจนำทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับอย่างสากลของทุกฝ่าย
เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะเลือกตั้งขึ้นปกครองฝ่ายตรงข้ามก็หาโอกาสจังหวะก่อม็อบชุมนุมต่อต้านคัดค้านโค่นล้มอย่างยืดเยื้อดุเดือดรุนแรงในทางกลับกันเมื่ออีกฝ่ายก่อรัฐประหารหรือใช้อำนาจนอกระบบผลักดันพรรคตัวแทนขึ้นปกครองบ้าง ฝ่ายตรงข้ามก็ก่อม็อบชุมนุมต่อต้านทำนองเดียวกัน (ดูตารางประกอบ) กลายเป็นอาการ "อนาธิปไตยบนท้องถนน vs. อำนาจนิยมของรัฐ/รัฐบาล" สลับข้างกันไปมาแล้วถึง 6 รอบ
และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
เมื่อพรรค/คณะรัฐประหารต่างฝ่ายผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลแล้วพวกเขาก็รุล้างข้าราชการที่รับใช้เข้าข้างฝ่ายตรงข้ามม็อบต่างฝ่ายก็ผลัดกันบุกยึดหน่วยราชการ/ที่ทำการธุรกิจเอกชนที่เห็นเป็นปฏิปักษ์แล้วก่อกวนโจมตีดิสเครดิตข้าราชการที่รับใช้รัฐบาล
นอกจากนี้การเมืองยังค่อนข้างขาดเสถียรภาพ สลับขั้วพลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยเฉลี่ยอายุสั้น อยู่ไม่ครบเทอม (นายกฯ 5 คนใน 7 ปี), บางคนปีก่อนยังนอนติดคุกอยู่ ปีนี้กลายมาเป็น ฯพณฯ รัฐมนตรีเสียแล้ว บางคนปีก่อนยังเป็น ฯพณฯ นายกฯ/รองนายกฯ อยู่ ปีนี้กลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลหรือนักโทษหนีคดีทุจริตไปเสียแล้ว เป็นต้น
เหล่านี้ทำให้ข้าราชการขาดความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน หากทำงานรับใช้ นโยบายรัฐบาลในอำนาจเต็มที่ ก็อาจโดนปลดย้ายฟ้องร้องจากรัฐบาลชุดใหม่ของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ทำ ก็อาจโดนปลดย้ายแช่เย็นขึ้นหิ้งจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงพากัน play safe ด้วยการ "ใส่เกียร์ว่าง" รอดูสถานการณ์พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปพลางๆ ก่อน จนทั้ง พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องออกปากบ่นแกมเตือนข้าราชการดังๆ ต่างข้างต่างช่วงเวลา (2550 และ 2556) แต่ตรงกันเป๊ะว่า
"อย่าใส่เกียร์ว่าง"
การที่พลังมวลชนกลุ่มฝ่ายต่างๆ ในสังคมบุกรุกไล่ยึดพื้นที่รัฐอย่างอลเวงเช่นนี้หาได้เป็นผลดีต่อความเข้มแข็งและอารยะ (strength and civility) ของสังคมไม่ แต่กลับคุกคามเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประชาสังคม/สังคมเข้มแข็ง (civil society) เสียเอง
เพราะท่ามกลางการแยกขั้วแบ่งข้างต่อสู้ทำสงครามการเมืองระหว่างสีระหว่างฝ่ายอย่างดุ เดือดนองเลือด รัฐก็พลอยแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโตตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆ ที่จำเป็นแก่การดำรงคงอยู่ของประชาสังคมไม่ได้ไปด้วย ไม่ว่ากองทัพ ตำรวจ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา ศาลปกครอง ฯลฯ ล้วนเสื่อมถอยประสิทธิภาพและความชอบธรรม น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนโดยรวมลงไปอย่างน่าใจหาย
จนความขัดแย้งจำนวนมาก ลงเอยด้วยความรุนแรงบนท้องถนนแบบอนาธิปไตยโดยไม่มีใครหน้าไหนหรือองค์กรหน่วยราชการใดสามารถเล่นบทผู้รักษาสันติภาพหรืออนุญาโตตุลาการที่ทุกฝ่ายยอมรับในความเป็นกลางและเที่ยงธรรม
ไม่มีรัฐที่ทรงประสิทธิภาพความชอบธรรมจะแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโต-ตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆแล้วประชาสังคม/สังคมเข้มแข็งก็มีอยู่ไม่ได้เหมือนกันมันกลับเสื่อมทรุดตกต่ำกลายสภาพเป็นอนารยะ(incivility-uncivil society) มากขึ้นทุกที
ดังเหตุการณ์ปะทะรุนแรงนองเลือดสองสามเดือนที่ผ่านมาไม่ว่าที่หน้ารามคำแหง-ราชมังคลากีฬาสถาน(30พฤศจิกายน-1ธันวาคม2556), สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (25 ธันวาคม 2556), แยกหลักสี่ (1 กุมภาพันธ์ 2557) และสะพานผ่านฟ้าฯ (18 กุมภาพันธ์ 2557) เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
"รัฐที่แตกแยกระส่ำระสายกับสังคมอนารยะ"
มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 มีนาคม 57
รอบ 7 ปีกว่าหลังรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีปรากฏการณ์แปลกพิลึกทาง การเมืองของรัฐไทยหลายประการ อาทิ :
- กันยายน 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ทหารไม่ดำเนินการอันใดต่อผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล
- ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการทหาร ตำรวจ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกทีวี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออก
- พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการที่รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการที่บุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ(ผิดมาตรา68ของรัฐธรรมนูญ)
-ธันวาคม 2556 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอให้ยุบสภา นายกฯ รักษาการลาออก ตั้งคนกลางเป็นนายกฯ แทนได้
- มกราคม 2557 ทหารจัดชุดปรามตำรวจปราบม็อบขณะประกาศกฎหมายความมั่นคง
- มกราคม 2557 แทนที่จะพยายามจัดเลือกตั้งให้สำเร็จอย่างสุดความสามารถ กกต. กลับเป็นตัวตั้งตัวตีเสนอให้เลื่อนเลือกตั้งอย่างกระตือรือร้นอ้าขาผวาปีกจนออกนอกหน้า
เป็นต้น
--------
ทั้งหลายทั้งปวงนี้สะท้อนสภาพการณ์เฉพาะพิเศษอย่างหนึ่งของภูมิทัศน์การเมืองไทยที่เปลี่ยนไปกล่าวคือสภาพที่รัฐไทยแตกแยกระส่ำระสาย(afragmented state in disarray) ในปัจจุบัน อันเป็นแนวคิดที่ Tyrell Haberkorn ใช้บรรยายรัฐไทยสมัยปี พ.ศ.2518 ท่ามกลางความขัดแย้ง ดุเดือดเลือดพล่านทางชนชั้นระหว่างชาวนาผู้เช่ากับเจ้าที่ดินภาคเหนือในหนังสือ Revolution Interrupted, 2011)
ความแตกแยกระส่ำระสายของรัฐไทยดังกล่าวยังนำไปสู่ภาวะสังคมอนารยะ (uncivil society) อีกด้วย
สภาพรัฐไทยแตกแยกระส่ำระสายหลายปีหลังนี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง "ระบอบ ทักษิณ" กับ "กลุ่มอำมาตย์"
ผมหมายถึงระหว่าง [รัฐบาลทักษิณและกลุ่มทุนเครือข่ายทักษิณ ณ ไทยรักไทยที่เข้าครอง อำนาจนำเหนือระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง]
กับ [กลุ่มชนชั้นนำเก่า/ทุนเก่าที่เคยครองอำนาจอยู่ซึ่งเรียกทางวิชาการได้ว่า "non-majoritarian institutions" หรือบรรดาสถาบันอำนาจที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก]
ความขัดแย้งนี้ทำให้สังคมการเมืองไทยเข้าสู่สภาวะแบ่งข้างแยกขั้วต่อสู้กันสุดโต่งระหว่างสีระหว่างพรรคฝ่ายเครือข่ายต่างๆกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทว่าปราศจากอำนาจนำทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับอย่างสากลของทุกฝ่าย
เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะเลือกตั้งขึ้นปกครองฝ่ายตรงข้ามก็หาโอกาสจังหวะก่อม็อบชุมนุมต่อต้านคัดค้านโค่นล้มอย่างยืดเยื้อดุเดือดรุนแรงในทางกลับกันเมื่ออีกฝ่ายก่อรัฐประหารหรือใช้อำนาจนอกระบบผลักดันพรรคตัวแทนขึ้นปกครองบ้าง ฝ่ายตรงข้ามก็ก่อม็อบชุมนุมต่อต้านทำนองเดียวกัน (ดูตารางประกอบ) กลายเป็นอาการ "อนาธิปไตยบนท้องถนน vs. อำนาจนิยมของรัฐ/รัฐบาล" สลับข้างกันไปมาแล้วถึง 6 รอบ
และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
เมื่อพรรค/คณะรัฐประหารต่างฝ่ายผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลแล้วพวกเขาก็รุล้างข้าราชการที่รับใช้เข้าข้างฝ่ายตรงข้ามม็อบต่างฝ่ายก็ผลัดกันบุกยึดหน่วยราชการ/ที่ทำการธุรกิจเอกชนที่เห็นเป็นปฏิปักษ์แล้วก่อกวนโจมตีดิสเครดิตข้าราชการที่รับใช้รัฐบาล
นอกจากนี้การเมืองยังค่อนข้างขาดเสถียรภาพ สลับขั้วพลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยเฉลี่ยอายุสั้น อยู่ไม่ครบเทอม (นายกฯ 5 คนใน 7 ปี), บางคนปีก่อนยังนอนติดคุกอยู่ ปีนี้กลายมาเป็น ฯพณฯ รัฐมนตรีเสียแล้ว บางคนปีก่อนยังเป็น ฯพณฯ นายกฯ/รองนายกฯ อยู่ ปีนี้กลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลหรือนักโทษหนีคดีทุจริตไปเสียแล้ว เป็นต้น
เหล่านี้ทำให้ข้าราชการขาดความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน หากทำงานรับใช้ นโยบายรัฐบาลในอำนาจเต็มที่ ก็อาจโดนปลดย้ายฟ้องร้องจากรัฐบาลชุดใหม่ของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ทำ ก็อาจโดนปลดย้ายแช่เย็นขึ้นหิ้งจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงพากัน play safe ด้วยการ "ใส่เกียร์ว่าง" รอดูสถานการณ์พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปพลางๆ ก่อน จนทั้ง พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องออกปากบ่นแกมเตือนข้าราชการดังๆ ต่างข้างต่างช่วงเวลา (2550 และ 2556) แต่ตรงกันเป๊ะว่า
"อย่าใส่เกียร์ว่าง"
การที่พลังมวลชนกลุ่มฝ่ายต่างๆ ในสังคมบุกรุกไล่ยึดพื้นที่รัฐอย่างอลเวงเช่นนี้หาได้เป็นผลดีต่อความเข้มแข็งและอารยะ (strength and civility) ของสังคมไม่ แต่กลับคุกคามเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประชาสังคม/สังคมเข้มแข็ง (civil society) เสียเอง
เพราะท่ามกลางการแยกขั้วแบ่งข้างต่อสู้ทำสงครามการเมืองระหว่างสีระหว่างฝ่ายอย่างดุ เดือดนองเลือด รัฐก็พลอยแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโตตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆ ที่จำเป็นแก่การดำรงคงอยู่ของประชาสังคมไม่ได้ไปด้วย ไม่ว่ากองทัพ ตำรวจ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา ศาลปกครอง ฯลฯ ล้วนเสื่อมถอยประสิทธิภาพและความชอบธรรม น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนโดยรวมลงไปอย่างน่าใจหาย
จนความขัดแย้งจำนวนมาก ลงเอยด้วยความรุนแรงบนท้องถนนแบบอนาธิปไตยโดยไม่มีใครหน้าไหนหรือองค์กรหน่วยราชการใดสามารถเล่นบทผู้รักษาสันติภาพหรืออนุญาโตตุลาการที่ทุกฝ่ายยอมรับในความเป็นกลางและเที่ยงธรรม
ไม่มีรัฐที่ทรงประสิทธิภาพความชอบธรรมจะแสดงบทบาทผู้รักษาสันติภาพและอนุญาโต-ตุลาการระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หลักๆแล้วประชาสังคม/สังคมเข้มแข็งก็มีอยู่ไม่ได้เหมือนกันมันกลับเสื่อมทรุดตกต่ำกลายสภาพเป็นอนารยะ(incivility-uncivil society) มากขึ้นทุกที
ดังเหตุการณ์ปะทะรุนแรงนองเลือดสองสามเดือนที่ผ่านมาไม่ว่าที่หน้ารามคำแหง-ราชมังคลากีฬาสถาน(30พฤศจิกายน-1ธันวาคม2556), สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (25 ธันวาคม 2556), แยกหลักสี่ (1 กุมภาพันธ์ 2557) และสะพานผ่านฟ้าฯ (18 กุมภาพันธ์ 2557) เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
"รัฐที่แตกแยกระส่ำระสายกับสังคมอนารยะ"
มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 มีนาคม 57