ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น นี้เป็นหลักของทางพระพุทธศาสนาทีเดียว
บาลีว่า สพเพธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
มีอรรถคล้ายกับที่เราสวดกันเวลาเช้า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน
แต่ก็พึงเข้าใจว่า ธรรมบทนี้เป็นปรมัตถธรรม คือธรรมที่เป็นอรรถเป็นอย่างสูง
พระพุทธเจ้าจะแสดงก็แต่ผู้ที่จะโปรดให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ถ้าบุคคลสามัญก็ไม่ตรัสธรรมนี้
ธรรมทั้งปวงนั้นถ้าพูดอย่างสามัญก็แบ่งออกเป็นกุศลธรรมส่วนหนึ่ง อกุศล-ธรรมส่วนหนึ่ง
ในเบื้องต้นท่านก็สอนให้ละอกุศล แต่ว่าสอนให้ทำกุศล ยึดมั่นในกุศล ปล่อยอกุศล
นี่ยังต้องยึด
คือว่าทิ้งชั่ว ยึดดีเอาไว้ ดีนั้นทิ้งไม่ได้ ต้องยึดเอาไว้
เพราะว่าทุกๆ คนนั้นยังไม่ถึงจุดสุดดี ดั่งที่กล่าวแล้ว ยังต้องมีความดีที่จะทำต่อไป
แต่ว่าเมื่อทำความดีเรื่อย ๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด หากยังจะยึดความดีนั้นอยู่ก็แปลว่ายังไม่เสร็จกิจ
เหมือนอย่างว่าเราเรียนไปจนจบชั้นสูงสุดแล้ว และยังจะยึดชั้นนั้นอยู่ไม่ยอมออก
อย่างนี้ก็แปลว่าไม่สำเร็จ ไม่จบ
เพราะฉะนั้นในขั้นที่ถึงจุดที่เป็นที่สุดดีแล้ว ก็ต้องปล่อยวางทั้งหมด
ถ้ายังยึดอยู่ ก็แสดงว่ายังมีตัณหาอุปาทาน ความปรารถนาและความยึดถือ ตัณหาอุปาทานนั้นเป็นตัวกิเลส
ยังมีกิเลสอยู่ก็ แปลว่ายังไม่สิ้น กิเลสอื่นๆ หมดไปแล้ว แต่ว่ายังรักษาตัณหาอุปาทานไว้
เพราะฉะนั้น ต้องสละตัณหาอุปาทานออกไปเสียให้หมด ปล่อยวางทั้งหมด นั่นแหละจึงจะถึงจุดสุดดี
ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายในขั้นสุดท้ายนี้เท่านั้น
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ไม่ยึดมั่นธรรมทั้งปวง ในขั้นสามัญท่านไม่สอนอย่างนี้ จะต้องยึดดีเอาไว้ ละความชั่วไปโดยลำดับ
เพราะฉะนั้นการแสดงธรรมต้องอย่าให้ผิดที่ ถ้าหากว่าแสดงผิดที่ก็จะเกิดความไขว้เขวสับสนไปหมด แล้วก็จะไม่เข้าใจ
คัดจากคำค้น " ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น"
จากหนังสือธรรมมาภิธานธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สามารถค้น Online ได้แล้วที่
http://www.sangharaja.org/dic/
สพเพธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย - ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
บาลีว่า สพเพธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
มีอรรถคล้ายกับที่เราสวดกันเวลาเช้า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน
แต่ก็พึงเข้าใจว่า ธรรมบทนี้เป็นปรมัตถธรรม คือธรรมที่เป็นอรรถเป็นอย่างสูง
พระพุทธเจ้าจะแสดงก็แต่ผู้ที่จะโปรดให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ถ้าบุคคลสามัญก็ไม่ตรัสธรรมนี้
ธรรมทั้งปวงนั้นถ้าพูดอย่างสามัญก็แบ่งออกเป็นกุศลธรรมส่วนหนึ่ง อกุศล-ธรรมส่วนหนึ่ง
ในเบื้องต้นท่านก็สอนให้ละอกุศล แต่ว่าสอนให้ทำกุศล ยึดมั่นในกุศล ปล่อยอกุศล
นี่ยังต้องยึด
คือว่าทิ้งชั่ว ยึดดีเอาไว้ ดีนั้นทิ้งไม่ได้ ต้องยึดเอาไว้
เพราะว่าทุกๆ คนนั้นยังไม่ถึงจุดสุดดี ดั่งที่กล่าวแล้ว ยังต้องมีความดีที่จะทำต่อไป
แต่ว่าเมื่อทำความดีเรื่อย ๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด หากยังจะยึดความดีนั้นอยู่ก็แปลว่ายังไม่เสร็จกิจ
เหมือนอย่างว่าเราเรียนไปจนจบชั้นสูงสุดแล้ว และยังจะยึดชั้นนั้นอยู่ไม่ยอมออก
อย่างนี้ก็แปลว่าไม่สำเร็จ ไม่จบ
เพราะฉะนั้นในขั้นที่ถึงจุดที่เป็นที่สุดดีแล้ว ก็ต้องปล่อยวางทั้งหมด
ถ้ายังยึดอยู่ ก็แสดงว่ายังมีตัณหาอุปาทาน ความปรารถนาและความยึดถือ ตัณหาอุปาทานนั้นเป็นตัวกิเลส
ยังมีกิเลสอยู่ก็ แปลว่ายังไม่สิ้น กิเลสอื่นๆ หมดไปแล้ว แต่ว่ายังรักษาตัณหาอุปาทานไว้
เพราะฉะนั้น ต้องสละตัณหาอุปาทานออกไปเสียให้หมด ปล่อยวางทั้งหมด นั่นแหละจึงจะถึงจุดสุดดี
ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายในขั้นสุดท้ายนี้เท่านั้น
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ไม่ยึดมั่นธรรมทั้งปวง ในขั้นสามัญท่านไม่สอนอย่างนี้ จะต้องยึดดีเอาไว้ ละความชั่วไปโดยลำดับ
เพราะฉะนั้นการแสดงธรรมต้องอย่าให้ผิดที่ ถ้าหากว่าแสดงผิดที่ก็จะเกิดความไขว้เขวสับสนไปหมด แล้วก็จะไม่เข้าใจ
คัดจากคำค้น " ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น"
จากหนังสือธรรมมาภิธานธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สามารถค้น Online ได้แล้วที่
http://www.sangharaja.org/dic/