จาก
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=57557
จากรูป ธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นของธนาคาร โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 2กลุ่ม คือ TCAP 50.96% และ สโกเทีย 48.99%
โดยแต่เดิม ธนาคารธนชาต เข้าควบรวมกิจการของธนาคารนครหลวงไทย แล้วมีรายรับเพิ่มขึ้นแต่ ทางสโกเทีย ไม่เห็นด้วยในแนวทางของ TCAP ซึ่งมุ่งเน้นขยายกิจการสาขาธุรกิจในด้านต่างๆ TCAP เลยซื้อกิจการที่ สโกเทีย ไม่เห็นด้วยมาทำเองเลย 555+
สโกเทีย ฮึดฮัดธนชาต
สโกเทียฯ กลุ่มผู้ถือหุ้น 48.99% ในธนาคารธนชาต (TBANK) เริ่มหงุดหงิดกับการบริหารงาน นัดผู้บริหารฝ่ายไทยคุยเกี่ยวกับแผนธุรกิจใหม่ หลังนโยบายหลายข้อไม่เป็นไปตามแผน ขณะกำไรส่วนใหญ่มาจากการขายธุรกิจ มากกว่าการดำเนินงาน
มีรายงานข่าวว่า Scotia Netherlands Holding B.V.ผู้ถือหุ้นจำนวน 48.99% ในธนาคารธนชาต (TBANK) ได้มีการนัดผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย (กลุ่มทุนธนชาต) เพื่อหารือถึงแผนธุรกิจของธนาคาร (อีกครั้ง) หลังพบว่า อาจจะมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับนโยบายการทำงาน เพราะที่ผ่านมายังไม่ตอบโจทย์ตามที่เคยมีการทำข้อตกลงกันไว้
“สโกเทียต้องการเห็นการเติบโตทางด้านสินเชื่อรายใหญ่และเอสเอ็มอี ตามที่ตกลงกันในตอนทำแผนธุรกิจ และรวมถึงต้องการให้ลดจำนวนพนักงาน และสาขาที่ไม่สร้างกำไรลงด้วย” รายงานข่าวระบุ
รายงานบอกอีกว่า ธนชาตได้เติบใหญ่อย่างหวือหวา ทว่านั่นมาจากการขายธุรกิจต่างๆ ออกไป เช่น ล่าสุด ที่มีการขายธุรกิจประกันชีวิต และจะบันทึกเป็นรายได้และกำไรพิเศษในไตรมาส 22556 ซึ่งรายได้และกำไรประเภทดังกล่าว ไม่ได้มาจากความสามารถในการทำกำไรแบบปกติ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ
นอกจากนั้น ในส่วนของอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่มีค่อนข้างสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นการได้รับปัจจัยบวกมาจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ทำให้มีคำถามจากสโกเทียว่า “แล้วจะทำอย่างไรต่อไป” และมองว่า แนวโน้มสินเชื่อรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังอาจะ “แผ่วลง”
ทั้งนี้ ทางสโกเทียต้องการรู้ว่า “จะทำอย่างไรให้สินเชื่อตัวอื่นๆ เติบโตขึ้นมาบ้าง ไม่ใช่พึ่งพาสินเชื่อรถยนต์เพียงอย่างเดียว”
“การพูดคุยกันดังกล่าว อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ในธนาคารธนชาต” รายงานข่าวเปิดเผยทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ธนาคารธนชาตถือหุ้นโดย Scotia Netherlands Holding B.V. ซึ่งจดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือหุ้น 48.99% และอีก 50.92% ถือหุ้นโดย บมจ.ทุนธนชาต (TCAP)
ธนาคารธนชาตยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อยหลายแห่ง ทั้ง ธุรกิจหลักทรัพย์ (บล.ธนชาต) กองทุนรวม (บลจ.ธนชาต) ประกัน (ธนชาตประกันชีวิต-ธนชาตประกันภัย) และธุรกิจอื่นๆ
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี มองว่า ปีนี้ TCAP มีเรื่องที่ต้องติดตามอยู่ 2 เรื่อง อย่างแรก คือ เรื่องขายสินทรัพย์ธุรกิจประกันออกไปทำให้รับรู้กำไรมาก่อนครึ่งหนึ่ง เนื่องจากทุนธนชาตถือหุ้นอยู่ใน TBANK ทำให้รับรู้กำไรต้องหาร 2 เท่ากับว่าจะได้รับกำไร 7 พันล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ประมาณไตรมาส 256
อย่างที่ 2 คือ ธุรกิจสินเชื่อจะเติบโตที่ 10% ซึ่งจะชะลอตัวลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากสินเชื่อรถไม่หวือหวาเท่าปีที่แล้ว โดยปีนี้จะเห็นการเติบโตสินเชื่อที่ลดลง ซึ่งถือว่าเติบโตในระดับปานกลาง นอกนั้นการบริหารจัดการหนี้เสียเชื่อว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องได้
ในปี 2556 จะมีกำไรพิเศษเข้ามา โดยพื้นฐานถือว่าดี แต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมากเมื่อเทียบกับธนาคารแห่งอื่น
ส่วนความสามารถในการทำกำไรยังอยู่ในระดับต่ำถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะอยู่ที่ 1 เท่าของบุ๊คแวลู ซึ่งให้ราคาเป้าหมายที่ 45 บาท
โดยมองกำไรไตรมาส 156 ไว้ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าทำให้ทั้งปี 2556 มีกำไร 1.09 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 98% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นการเติบโตมาจากการขายธุรกิจประกันออกไป
“สเปรดดีขึ้น หนี้เสียลดลง สินเชื่อโต 10% ประมาณ 2-3 ปี ไม่หวือหวาแล้ว เรื่อยๆ ปานกลาง แต่สิ่งที่ดีหน่อย คือ เงินกองทุน หลังขายประกันออกไปเงินกองทุนเพิ่มขึ้น 2% ก็เชื่อว่ารองรับการเติบโตได้ แต่ไม่มากถ้าหากขยายสินเชื่อให้โตมากๆ แต่เชื่อว่าเติบโตไม่สูงมาก”นักวิเคราะห์ กล่าว
TCAP ขึ้นเพราะข่าวไปซื้อกิจการ
จากรูป ธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นของธนาคาร โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 2กลุ่ม คือ TCAP 50.96% และ สโกเทีย 48.99%
โดยแต่เดิม ธนาคารธนชาต เข้าควบรวมกิจการของธนาคารนครหลวงไทย แล้วมีรายรับเพิ่มขึ้นแต่ ทางสโกเทีย ไม่เห็นด้วยในแนวทางของ TCAP ซึ่งมุ่งเน้นขยายกิจการสาขาธุรกิจในด้านต่างๆ TCAP เลยซื้อกิจการที่ สโกเทีย ไม่เห็นด้วยมาทำเองเลย 555+
สโกเทีย ฮึดฮัดธนชาต
สโกเทียฯ กลุ่มผู้ถือหุ้น 48.99% ในธนาคารธนชาต (TBANK) เริ่มหงุดหงิดกับการบริหารงาน นัดผู้บริหารฝ่ายไทยคุยเกี่ยวกับแผนธุรกิจใหม่ หลังนโยบายหลายข้อไม่เป็นไปตามแผน ขณะกำไรส่วนใหญ่มาจากการขายธุรกิจ มากกว่าการดำเนินงาน
มีรายงานข่าวว่า Scotia Netherlands Holding B.V.ผู้ถือหุ้นจำนวน 48.99% ในธนาคารธนชาต (TBANK) ได้มีการนัดผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย (กลุ่มทุนธนชาต) เพื่อหารือถึงแผนธุรกิจของธนาคาร (อีกครั้ง) หลังพบว่า อาจจะมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับนโยบายการทำงาน เพราะที่ผ่านมายังไม่ตอบโจทย์ตามที่เคยมีการทำข้อตกลงกันไว้
“สโกเทียต้องการเห็นการเติบโตทางด้านสินเชื่อรายใหญ่และเอสเอ็มอี ตามที่ตกลงกันในตอนทำแผนธุรกิจ และรวมถึงต้องการให้ลดจำนวนพนักงาน และสาขาที่ไม่สร้างกำไรลงด้วย” รายงานข่าวระบุ
รายงานบอกอีกว่า ธนชาตได้เติบใหญ่อย่างหวือหวา ทว่านั่นมาจากการขายธุรกิจต่างๆ ออกไป เช่น ล่าสุด ที่มีการขายธุรกิจประกันชีวิต และจะบันทึกเป็นรายได้และกำไรพิเศษในไตรมาส 22556 ซึ่งรายได้และกำไรประเภทดังกล่าว ไม่ได้มาจากความสามารถในการทำกำไรแบบปกติ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ
นอกจากนั้น ในส่วนของอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่มีค่อนข้างสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นการได้รับปัจจัยบวกมาจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ทำให้มีคำถามจากสโกเทียว่า “แล้วจะทำอย่างไรต่อไป” และมองว่า แนวโน้มสินเชื่อรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังอาจะ “แผ่วลง”
ทั้งนี้ ทางสโกเทียต้องการรู้ว่า “จะทำอย่างไรให้สินเชื่อตัวอื่นๆ เติบโตขึ้นมาบ้าง ไม่ใช่พึ่งพาสินเชื่อรถยนต์เพียงอย่างเดียว”
“การพูดคุยกันดังกล่าว อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ในธนาคารธนชาต” รายงานข่าวเปิดเผยทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ธนาคารธนชาตถือหุ้นโดย Scotia Netherlands Holding B.V. ซึ่งจดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือหุ้น 48.99% และอีก 50.92% ถือหุ้นโดย บมจ.ทุนธนชาต (TCAP)
ธนาคารธนชาตยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อยหลายแห่ง ทั้ง ธุรกิจหลักทรัพย์ (บล.ธนชาต) กองทุนรวม (บลจ.ธนชาต) ประกัน (ธนชาตประกันชีวิต-ธนชาตประกันภัย) และธุรกิจอื่นๆ
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี มองว่า ปีนี้ TCAP มีเรื่องที่ต้องติดตามอยู่ 2 เรื่อง อย่างแรก คือ เรื่องขายสินทรัพย์ธุรกิจประกันออกไปทำให้รับรู้กำไรมาก่อนครึ่งหนึ่ง เนื่องจากทุนธนชาตถือหุ้นอยู่ใน TBANK ทำให้รับรู้กำไรต้องหาร 2 เท่ากับว่าจะได้รับกำไร 7 พันล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ประมาณไตรมาส 256
อย่างที่ 2 คือ ธุรกิจสินเชื่อจะเติบโตที่ 10% ซึ่งจะชะลอตัวลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากสินเชื่อรถไม่หวือหวาเท่าปีที่แล้ว โดยปีนี้จะเห็นการเติบโตสินเชื่อที่ลดลง ซึ่งถือว่าเติบโตในระดับปานกลาง นอกนั้นการบริหารจัดการหนี้เสียเชื่อว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องได้
ในปี 2556 จะมีกำไรพิเศษเข้ามา โดยพื้นฐานถือว่าดี แต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมากเมื่อเทียบกับธนาคารแห่งอื่น
ส่วนความสามารถในการทำกำไรยังอยู่ในระดับต่ำถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะอยู่ที่ 1 เท่าของบุ๊คแวลู ซึ่งให้ราคาเป้าหมายที่ 45 บาท
โดยมองกำไรไตรมาส 156 ไว้ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าทำให้ทั้งปี 2556 มีกำไร 1.09 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 98% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นการเติบโตมาจากการขายธุรกิจประกันออกไป
“สเปรดดีขึ้น หนี้เสียลดลง สินเชื่อโต 10% ประมาณ 2-3 ปี ไม่หวือหวาแล้ว เรื่อยๆ ปานกลาง แต่สิ่งที่ดีหน่อย คือ เงินกองทุน หลังขายประกันออกไปเงินกองทุนเพิ่มขึ้น 2% ก็เชื่อว่ารองรับการเติบโตได้ แต่ไม่มากถ้าหากขยายสินเชื่อให้โตมากๆ แต่เชื่อว่าเติบโตไม่สูงมาก”นักวิเคราะห์ กล่าว