เสาวรสไร่บุญรอด : ผลไม้ข้ามแผ่นดินแทนฝิ่นโครงการหลวง

เพื่อนโพสต์ขึ้นเฟซ เห็นว่าน่าสนใจ เลยอยากแบ่งปันนะคะ พาพันปั่นจักรยาน

ไม่มีแผนที่ไร่บุญรอด, ไม่กล่าวถึงรูปปั้นสิงห์สีทองและไม่ขอลงภาพต้นชา

ทว่า Blog นี้มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากเล่ามากกว่า เกี่ยวกับ “เสาวรส” หรือ “Passionfruit” ในภาษาอังกฤษที่คนไทยไม่ว่าใครก็คงคุ้นเคยกันดี

ใน Supermarket บนถนนสุขุมวิท, แค่บิดฝาขวด เราก็มีน้ำเสาวรสคุณภาพดีให้สดชื่นได้ตลอดเวลา

แต่ผมไม่เคยรู้ว่า “ต้นกำเนิดของเสาวรส” นั้น, มันข้ามท้องฟ้ามาจากดินแดนแสนไกล ถึงอเมริกาใต้

การมาไร่บุญรอดครั้งนี้, เคราะห์ดี ได้พบกับชายคนหนึ่งซึ่งเคยทำงานอยู่โครงการหลวงมานานเกือบครึ่งชีวิต

เม่าอ่านหนังสือพิมพ์ ย้อนไปในปี 1969, สมัยที่ชาวเขายังปลูกฝิ่น…ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังดอยปุย

ใกล้กับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการปลูกพืชอื่นทดแทน “ฝิ่น” ด้วยเงินส่วนพระองค์และการบริจาคเพิ่มเติม

ในที่สุด, ปี 1994 ทางสหประชาชาติก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด

ไม่มีการกวาดล้างและไม่มีความรุนแรง  ในหลวงทรงใช้วิธี “นำผักผลไม้เมืองหนาวมาปลูกในพื้นที่ฝิ่น”,

ในชั้นต้น มันคือการลองผิดลองถูกด้วยซ้ำ และ “เสาวรส” หรือ “Passion Fruit” ก็คือหนึ่งในผลไม้ที่ถูกนำข้ามฟ้ามาจากอเมริกาใต้,

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยบางคนจึงเรียก “เสาวรส” ว่า “กระทกรกฝรั่ง” ครับ

ชายชื่อ “สมสิน สิงขรัตน์” คนนี้ละครับที่สละเวลามานั่งเล่าเรื่องราวการกำเนิดของ “ไร่เสาวรส” ในไทย

และจากวันนั้น…จนถึงวันนี้, ไม่น่าเชื่อว่าแม้เราจะมีไร่เสาวรสมากแค่ไหน ก็ยังไม่พอกับความต้องการบริโภคน้ำเสาวรสในประเทศ

ทั้งจากไร่โครงการหลวงและไร่บุญรอดที่อยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบัน ไม่มีฝิ่นในดินแดนชาวเขาอีกแล้ว

ที่ไร่บุญรอดเองก็มีไร่เสาวรสคุณภาพดีขนาดใหญ่, มีการวางระบบน้ำลำเลียงเป็นท่อให้นักท่องเที่ยวชม

แต่ทว่า “ไร่เสาวรสใหญ่” ที่เห็นนี้ ก็ยังเป็นแค่ “ไร่เล็ก” เท่านั้น หากใครอยากชม “ไร่เสาวรสใหญ่จริงของบุญรอด”

จะต้องขับรถขึ้นเขาไปอีก 80 km, สู่ “ไร่แม่สรวย”

ยังแปลกใจตัวเองเหมือนกันครับว่า ผมจะตามรอยเสาวรสไปไกลได้ขนาดนี้…

ที่สถานีทดลองหมายเลข 1 ของไร่บุญรอด, มีภาพในหลวงเก่าๆ ตั้งเด่นอยู่หน้ากระท่อมไม้หลังเล็กๆ

แม้จะเป็นภาพที่ดูแล้วผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน แต่ก็มีพาน, ดอกไม้และถ้อยคำว่า “ทรงพระเจริญ” อยู่ด้านล่าง

ผมได้พบกับเจ้าของสวนเดิม ที่ตอนนี้ทางบุญรอดจ้างให้ดูแล “ไร่เสาวรส” ด้วยความรักและความตั้งใจ,

แกขับรถกระบะ 4WD ลุยเข้าไปในไร่ แล้วก็ชี้ให้ดูว่า ทางไร่บุญรอดต้องทำท่อทดน้ำขึ้นมาบนเขานี้อย่างไร

ปุ๋ยที่ใช้ “ปรุงเสาวรส” ในไร่แม่สรวยก็นำมาจาก “กากเบียร์”, เพื่อเสริมให้มัน “เลิศรส” สมดังชื่อผลไม้ชนิดนี้ บวกกับแสงแดด / ก้อนเมฆบนฟ้าและพระมหากรุณา, ที่พาเอา “Passion Fruit” ข้ามซีกโลกมา

ในที่สุด, เราก็สามารถปลูกเสาวรสคุณภาพดีได้ที่มุมหนึ่งของภูเขาในจังหวัดเชียงรายอย่างน่ามหัศจรรย์
ระหว่างที่ผมพยายามใช้สองมือแหวกทางเดินในคูอย่างยากลำบาก, ลุงแกก็เล่าถึงวิธีการเก็บผลเสาวรสในไร่บุญรอดอย่างภาคภูมิใจว่า

พาพันรดน้ำต้นไม้“ทั้งหมดเป็นการเก็บด้วยมือคน”


แต่เราจะไม่ดึงเสาวรสลงจากต้น ทว่าจะรอจนกว่ามันจะหล่นลงมาเอง จากนั้นจึงค่อยๆ คัดมัน เพื่อส่งไปยังโรงงานในไร่บุญรอดใหญ่

เพื่อแปรรูปเป็น “น้ำเสาวรสบรรจุขวด” เกรดเอ แต่กว่าจะเห็นเป็นผลเสาวรสที่คนกรุงเทพฯ ทานกัน…

7 เดือน…จากดอกสู่ผล, ผมเองไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีดอก “Passion Flower” ด้วย

เสาวรสถือกำเนิดขึ้นที่นี่ ในฐานะผลไม้จากแดนไกลที่เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาวไทยบนภูเขา
เม่าออกรถช่วงเวลาที่ผมขับรถเช่าหนึ่งคันวิ่งผ่านถนนเล็กๆ เต็มไปด้วยฝุ่นเป็นระยะทางกว่า 70 – 80 km.
ไกล 785 km จากกรุงเทพฯ ที่ผมใช้ชีวิตประจำวัน ระหว่างนั้นก็ถามตัวเองว่า กำลังตามหาอะไรอยู่ ?

ทำไมไม่เคยคิด ไม่เคยสงสัยว่า “เสาวรส” ที่คุ้นตาในฐานะผลไม้ไทยนั้น มันมาจากไหน ?

จะเป็นที่ไร่บุญรอดหรือที่โครงการหลวง, ดอกไม้ เสาวรสเกิดมาด้วยความตั้งใจแน่วแน่บางอย่าง ที่ต้องการ “พลิกฟื้น” ผืนดินไทยให้ห่างไกลจากอันตรายอย่าง “ฝิ่น” จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายมากหากคนไทยไม่ได้ทราบที่มาว่า ผลไม้ชนิดนี้ที่ข้ามฟ้ามานั้น…


มันคือหลักฐานแทนความรักและความห่วงใย จากในหลวง ถึงปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดินฯ อมยิ้ม17


เครดิตภาพและเรื่อง : http://www.cookiecoffee.com/food/63653/passion-fruit-boonrawd-farm-singha-royal-project-poppy-kin#more-63653
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่