จากกระทู้ข้างล่างอันนี้
http://ppantip.com/topic/31739061
เจ้าของกระทู้ถาม เรื่อง เงินประกอบการของบริษัท กับ ราคาหุ้น และการเพิ่มทุนมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
จะตอบเพื่อนท่านั้น เลยอยากรวบรวม ให้เพื่อนๆมือใหม่ๆมากๆๆๆ สำหรับการลงทุนได้เห็นภาพ การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ในตลาาดหลักทรัพย์
สมมุติ ให้นึกภาพ การลงทุน เริ่มต้นใหม่เลย อย่างนี้ล่ะกันครับ
บริษัทนึง ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เลย โดยมีทุนจดทะเบียน 100 บาท โดย แบ่งเป็นหุ้น จำนวน 100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท(หรือเรียกว่า Par 1 บาท)
และแบ่ง ขายหุ้น นั้นให้กับ คนที่มารวมหุ้น ในราคา 1 บาท ให้ คน 100 คน คนล่ะ 1 หุ้น ได้เงิน เข้ามาเป็นทุนบริษัท 100 บาท มูลค่าหุ้นทางบัญชี ( Book Value ก็ = 100/100 =1 บาทต่อหุ้น) (ในความเป็นจริง อาจจะแบ่งให้คนล่ะกี่หุ้นก็ได้)
สมมุติผ่านไป หนึ่งปี ประกอบกิจการ มีกำไร หักภาษี แล้ว 20 บาท ก็จะมีเงินทุน(รวมสินทรัพย์ต่างๆ เป็น 120 บาท ) บริษัท ก็อาจจะแบ่งผลกำไรนั้น
ออกมาปันผล 10 บาท แบ่งคืนให้คนถือหุ้น คนล่ะ 10 สตางค์ เหลือ กำไร อีก10 บาท เอาไปรวมกับทุนเดิมได้เป็นสินทรัพย์ 110 บาท(Book Value หลังปันผลไปแล้วเหลือ 1.1 บาท ต่อหุ้น) ประกอบการ ในปีต่อไป
ถ้าปีต่อไป กำไร อีก ก็อาจจะปันผลอีก และมี กำไรสะสมส่วนที่เหลือ จากปันผลคืนให้ กับผู้ถือหุ้น ไปสะสมเป็นทุนเพิ่มขึ้น
ไปเรื่อยๆ หลายสิบปี ต่อไป ทุนมันอาจจะสะสม กลายเป็น 500 บาท ( มีมูลค่าทางบัญชี หุ้นล่ะ 500/100 = 5 บาท ต่อหุ้น)ก็ได้
ซึ่งในตอนที่บริษัท โตมา มีสินทรัพย์ มูลค่า 500 บาท นี้ กำไรต่อปี อาจจะกลายเป็น ปีล่ะ 100 บาท ถ้ายังคงปันผล 50% ของกำไร คือ 50 บาท ก็จะได้ปันผลกันต่อหุ้นหุ้นล่ะ 50 สตางค์
ซึ่งแน่นอน ถ้าบริษัท เติบโตดี อย่างนี้ ไปเรื่อย ราคาหุ้นในตลาด ก็จะ เปลี่ยนมือซื้อขายกัน ตามการเติบโตของสินทรัพย์ และผลประกอบการ ของบริษัท คงไม่ได้ขายกันที่ 1 บาท เหมือนตอน ที่ตั้งบริษัท ครั้งแรก แน่นอน
แต่ว่า ราคาในตลาดที่จะซื้อขายกัน ที่เท่าไรมันขึ้นกับหลายปัจจัย ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจรวม ของทั้งประเทศ และ โลก รวมทั้ง ความแน่นอน การเติบโตของบริษัทนั้นด้วย
ถ้านักลงทุนคิดว่า อนาคตมันอาจจะไม่ได้ดี อย่างนี้ตลอดไป ก็อาจจะซื้อขายกันต่ำกว่า Book Value เช่น อาจจะซื้อขายกันที่ 4 บาท ก็ได้
หรือบางครั้ง (และบ่อยครั้งด้วยซ้ำ) ที่ อาจจะซื้อขายกัน เกิน กว่า ราคา Book Value หรือ เกิน 5 บาท ก็ได้ ถ้ามองว่า บริษัทนั้นมีทิศทางการเติบโตที่ดี และก้าวกะโดด แนวโน้มดี หุ้นหลายตัว ในตลาดซื้อขายกันที่ราคาเกิน book Value ไปหลายๆเท่าก็มี
ถ้าสมมุติ บริษัท เติบโตมาจากเดิม ทุน 100 เดิมจนมี เงินทุนกลายเป็น 500 บาท อย่างที่บอกตอนแรก แล้วสมมุติ คนเชื่อว่าบริษัท ดี เลยให้ราคาซื้อขายกันในตลาดที่ 6 บาท
ถ้าบริษัทนี้ เกิดอยากเพิ่มทุนขึ้น เพื่อนำไปขยายกิจการ ให้เติบโตทำกำไรเพิ่มขึ้น
บริษัท ก็อาจจะเรียกระดมทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม เช่นอาจจะเพิ่มทุน 1:1 ในราคาหุ้นล่ะ 2 บาท
ผู้ถือหุ้นบริษัทใหม่ ที่เพิ่งซื้อหุ้นมาใหม่ ในราคาตลาด 6 บาท หรือซื้อมาก่อนนั้นที่ราคาต่างๆกัน
รวมทั้งตั้งแต่คนแรกที่ถือมาทุน 1 บาท ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
ก็จะมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ใหม่ที่บริษัทออกขายนี้ ในสัดส่วนตามจำนวนที่ตัวเองมี ถ้ามี หนึ่งหุ้น ก็จ่ายอีก 2 บาท ได้หุ้นเพิ่มทุน อีก 1 หุ้น
ทุนเฉลี่ย ของทุกคน ก็จะคิดจากราคา ตลาด 6 บาท + ราคาหุ้นเพิ่มทุน 2 บาท รวมเป็น 8 บาท ต่อสองหุ้น หรือ เฉลี่ยตกหุ้นล่ะ 4 บาท ซึ่งราคา ตลาดมันก็จะสะท้อนออกมาเหลือประมาณนี้ เช่นกัน จะมากกว่า หรือ น้อยกว่า ก็แล้วแต่อารมณ์ตลาดด้วย
ในส่วนเงินทุนของบริษัท การเพิ่มทุนนี้ บริษัท ก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 200 หุ้น มี สินทรัพย์ เพิ่มมาเป็น 500+200 =700 แต่ Book Value มันจะลดลง เพราะว่าต้องใช้ตัวหาร 200 เหลือหุ้นล่ะ 3.5 บาท นำไปใช้ ประกอบกิจการต่อไป ถ้าปีหน้า เกิดกำไร 140 บาท แบ่งมาปันผล 50% ก็เท่ากับ 70 บาท ตกหุ้นล่ะ 35 สตางค์(ตัวหาร แบ่งมันเป็น 200 แล้ว) คนที่ถือหุ้นเดิม 1 บวกเพิ้มทุน อีก 1 ถ้ายังถือต่อมาถึงตอนนั้น ก็จะได้ปันผล .35 X 2 หรือ 70 สตางค์
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดบริษัทนั้น เปิดมาตั้งแต่แรกทุน 100 แต่ขาดทุน ไป 50 บาท เหลือ ทุนส่วนของผู้ถือหุ้น แค่ 50 บาท หรือ คนล่ะ 50 สตางค์ต่อหุ้น ปันผล ก็คงไม่มี ราคาหุ้นในกระดาน ก็คงต่ำกว่า 1 บาท แน่นอน อาจจะต่ำก่า 50 สตางค์ก็ได้ ถ้าคนมองว่ามันจะแย่ลงต่อไป
สมมุติ ถ้ามันลงมาอย่างนั้น และราคาตลาด เหลือ 50 สตางค์เช่นกัน ถ้าบริษัท จะเรียกเพิ่มทุน จากผู้ถือหุ้น คงขายแพงๆ แบบ ข้างบนไม่ได้ไม่มีใครซื้อ อาจจะต้องเพิ่มทุน 1:1 แล้ว ขาย แค่ 20 สตางค์ต่อหุ้น ซึ่ง ทุนเฉลี่ยของ ผู้ถือหุ้น(คิดจากราคาตลาดก่อนเพิ่มทุน) ก็จะเป็น (.50+.20)/2 = .35 บาท ราคาในกระดานก็จะสะท้อนคล้ายๆแบบนั้น
หรือ บางที อาจจะต้องเพิ่มทุนในสัดส่วนอื่นๆ เช่น 1:3 ราคาหุ้นล่ะ 10 สตางค์(ถ้าต้องการเงินเพิ่มทุนมากๆ) ดังนั้นคนที่มีหุ้น ราคา 50 สตางค์ในตลาด ก็จะต้องควัก อีก 30 สตางค์ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนสามหุ้น รวมเป็นมีสี่หุ้น เฉลี้ย 20 สตางค์ต่อหุ้น อย่างนี้เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริง บริษัทที่ประกอบการณ์ขาดทุน พอมีข่าวระดมทุนเพิ่มไปอุด นี่ หุ้นในตลาดจะโดนถล่มขายทิ้งเพาะว่า คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากควักเงินไปถมให้กับบริษัทที่กำลังขาดทุน ดังนั้น บริษัทพวกนี้ มักมีลูกเล่นเอา W มาล่อ มาแจกแถม ให้คนอยากเพิ่มทุนกันก็มี
ในด้านบริษัทที่เคยโต มีกำไร เหมือนที่ยกตัวอย่างข้างบน ถ้านานไปเกิดเริ่มขาดทุนบ้าง
เช่นจากข้างบน เคยไต่ จาก 100 ล้าน โตมาเป็น 500 ล้าน แต่เกิด แนวโน้มแย่ เริ่มขาดทุน สมมุติ สินทรัพย์ลดลงมาเหลือ 200 ล้าน ราคาหุ้น จากแถว 5 บาท ก็จะลดลงมาแถวๆ 2 บาท ได้ ถ้าจะเพิ่มทุน คงขาย 2 บาท เหมือน ตอนรุ่งๆที่บอกไม่ได้ แต่ต้องลดราคาลงมา เงินเข้าบริษัท ก็น้อยลง หรือ บางที ก็ต้องใช้สัดส่วนแตกต่างกันไป เพื่อจูงใจคนมาเพิ่มทุน
จะเห็นว่า ถ้าบริษัทผลประกอบการณ์ดี มีกำไรต่อเนื่อง ทำไร ก็ง่าย ราคาหุ้นก็ดี
แต่ถ้าไม่ดี ก็จะให้ผลตรงกันข้าม
นึกภาพกันออกมั้ย ถ้าสงสัยตรงไหนถามได้ ครับ เด๋วมาเคลียร์ให้ อิๆ
อ้อ ตัวอย่างข้างบนนั่นสมมุติให้เห็นการเริ่มต้นตั้งบริษัทใหม่
แต่หลายบริษัทที่เข่ามาในตลาด อาจจะประกอบกิจการ มาก่อนหน้าแล้ว แล้วถึงนำมาเข้าเสนอขาย IPO ให้กับคนทั่วไปเข้ามาถือหุ้น ในราคาที่อาจจะไม่ใช่ราคาพาร์ ก็ได้ ขึ้นกับ มูลค่า ของบริษัทนั้นๆและความน่าเชื่อถือ
เช่น จากตัวอย่างเดียวกัน บริษัท นี้ อาจจะนำหุ้นมาเข้าตลาด ตอนที่มูลค่า ของเค้า จาก 100 เพิ่มมาเป็น 500 หรือ มี Book Value 5 บาทต่อหุ้นแล้ว (ทั้งที่ ราคาพาร์ยังเป็น 1 บาท เช่นเดิม) อย่างนี้ เค้าอาจจะแบ่งเอาขาย IPO ที่ราคา 5 บาท หรือ 6 บาท หรือ 4 บาท ก็ได้ แล้ว แต่ ว่า บริษัทที่เป็นแกนนำใน การ อันเดอร์ไรท์หุ้นเข้าตลาด จะประเมินว่า ราคาเหมาะสมควรเป็นเท่าไร (แต่ต้องระวังการแต่งบัญชีหลอกเราด้วย) หรือ บางที เค้าก็ออกหุ้นเพิ่มทุน แล้ว เอามาขาย โดยกำหนดราคา ออกมาตามส่วนการเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับ หุ้นเดิมเค้าด้วย ได้เช่นกัน
[มือใหม่หัดลงทุน] มาดูกันว่า เงินลงทุนเริ่มต้น ในบริษัท กับ ราคาหุ้น มันสัมพันธุ์กันอย่างไร[มือใหม่หัดลงทุน]
http://ppantip.com/topic/31739061
เจ้าของกระทู้ถาม เรื่อง เงินประกอบการของบริษัท กับ ราคาหุ้น และการเพิ่มทุนมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
จะตอบเพื่อนท่านั้น เลยอยากรวบรวม ให้เพื่อนๆมือใหม่ๆมากๆๆๆ สำหรับการลงทุนได้เห็นภาพ การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ในตลาาดหลักทรัพย์
สมมุติ ให้นึกภาพ การลงทุน เริ่มต้นใหม่เลย อย่างนี้ล่ะกันครับ
บริษัทนึง ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เลย โดยมีทุนจดทะเบียน 100 บาท โดย แบ่งเป็นหุ้น จำนวน 100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท(หรือเรียกว่า Par 1 บาท)
และแบ่ง ขายหุ้น นั้นให้กับ คนที่มารวมหุ้น ในราคา 1 บาท ให้ คน 100 คน คนล่ะ 1 หุ้น ได้เงิน เข้ามาเป็นทุนบริษัท 100 บาท มูลค่าหุ้นทางบัญชี ( Book Value ก็ = 100/100 =1 บาทต่อหุ้น) (ในความเป็นจริง อาจจะแบ่งให้คนล่ะกี่หุ้นก็ได้)
สมมุติผ่านไป หนึ่งปี ประกอบกิจการ มีกำไร หักภาษี แล้ว 20 บาท ก็จะมีเงินทุน(รวมสินทรัพย์ต่างๆ เป็น 120 บาท ) บริษัท ก็อาจจะแบ่งผลกำไรนั้น
ออกมาปันผล 10 บาท แบ่งคืนให้คนถือหุ้น คนล่ะ 10 สตางค์ เหลือ กำไร อีก10 บาท เอาไปรวมกับทุนเดิมได้เป็นสินทรัพย์ 110 บาท(Book Value หลังปันผลไปแล้วเหลือ 1.1 บาท ต่อหุ้น) ประกอบการ ในปีต่อไป
ถ้าปีต่อไป กำไร อีก ก็อาจจะปันผลอีก และมี กำไรสะสมส่วนที่เหลือ จากปันผลคืนให้ กับผู้ถือหุ้น ไปสะสมเป็นทุนเพิ่มขึ้น
ไปเรื่อยๆ หลายสิบปี ต่อไป ทุนมันอาจจะสะสม กลายเป็น 500 บาท ( มีมูลค่าทางบัญชี หุ้นล่ะ 500/100 = 5 บาท ต่อหุ้น)ก็ได้
ซึ่งในตอนที่บริษัท โตมา มีสินทรัพย์ มูลค่า 500 บาท นี้ กำไรต่อปี อาจจะกลายเป็น ปีล่ะ 100 บาท ถ้ายังคงปันผล 50% ของกำไร คือ 50 บาท ก็จะได้ปันผลกันต่อหุ้นหุ้นล่ะ 50 สตางค์
ซึ่งแน่นอน ถ้าบริษัท เติบโตดี อย่างนี้ ไปเรื่อย ราคาหุ้นในตลาด ก็จะ เปลี่ยนมือซื้อขายกัน ตามการเติบโตของสินทรัพย์ และผลประกอบการ ของบริษัท คงไม่ได้ขายกันที่ 1 บาท เหมือนตอน ที่ตั้งบริษัท ครั้งแรก แน่นอน
แต่ว่า ราคาในตลาดที่จะซื้อขายกัน ที่เท่าไรมันขึ้นกับหลายปัจจัย ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจรวม ของทั้งประเทศ และ โลก รวมทั้ง ความแน่นอน การเติบโตของบริษัทนั้นด้วย
ถ้านักลงทุนคิดว่า อนาคตมันอาจจะไม่ได้ดี อย่างนี้ตลอดไป ก็อาจจะซื้อขายกันต่ำกว่า Book Value เช่น อาจจะซื้อขายกันที่ 4 บาท ก็ได้
หรือบางครั้ง (และบ่อยครั้งด้วยซ้ำ) ที่ อาจจะซื้อขายกัน เกิน กว่า ราคา Book Value หรือ เกิน 5 บาท ก็ได้ ถ้ามองว่า บริษัทนั้นมีทิศทางการเติบโตที่ดี และก้าวกะโดด แนวโน้มดี หุ้นหลายตัว ในตลาดซื้อขายกันที่ราคาเกิน book Value ไปหลายๆเท่าก็มี
ถ้าสมมุติ บริษัท เติบโตมาจากเดิม ทุน 100 เดิมจนมี เงินทุนกลายเป็น 500 บาท อย่างที่บอกตอนแรก แล้วสมมุติ คนเชื่อว่าบริษัท ดี เลยให้ราคาซื้อขายกันในตลาดที่ 6 บาท
ถ้าบริษัทนี้ เกิดอยากเพิ่มทุนขึ้น เพื่อนำไปขยายกิจการ ให้เติบโตทำกำไรเพิ่มขึ้น
บริษัท ก็อาจจะเรียกระดมทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม เช่นอาจจะเพิ่มทุน 1:1 ในราคาหุ้นล่ะ 2 บาท
ผู้ถือหุ้นบริษัทใหม่ ที่เพิ่งซื้อหุ้นมาใหม่ ในราคาตลาด 6 บาท หรือซื้อมาก่อนนั้นที่ราคาต่างๆกัน
รวมทั้งตั้งแต่คนแรกที่ถือมาทุน 1 บาท ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
ก็จะมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ใหม่ที่บริษัทออกขายนี้ ในสัดส่วนตามจำนวนที่ตัวเองมี ถ้ามี หนึ่งหุ้น ก็จ่ายอีก 2 บาท ได้หุ้นเพิ่มทุน อีก 1 หุ้น
ทุนเฉลี่ย ของทุกคน ก็จะคิดจากราคา ตลาด 6 บาท + ราคาหุ้นเพิ่มทุน 2 บาท รวมเป็น 8 บาท ต่อสองหุ้น หรือ เฉลี่ยตกหุ้นล่ะ 4 บาท ซึ่งราคา ตลาดมันก็จะสะท้อนออกมาเหลือประมาณนี้ เช่นกัน จะมากกว่า หรือ น้อยกว่า ก็แล้วแต่อารมณ์ตลาดด้วย
ในส่วนเงินทุนของบริษัท การเพิ่มทุนนี้ บริษัท ก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 200 หุ้น มี สินทรัพย์ เพิ่มมาเป็น 500+200 =700 แต่ Book Value มันจะลดลง เพราะว่าต้องใช้ตัวหาร 200 เหลือหุ้นล่ะ 3.5 บาท นำไปใช้ ประกอบกิจการต่อไป ถ้าปีหน้า เกิดกำไร 140 บาท แบ่งมาปันผล 50% ก็เท่ากับ 70 บาท ตกหุ้นล่ะ 35 สตางค์(ตัวหาร แบ่งมันเป็น 200 แล้ว) คนที่ถือหุ้นเดิม 1 บวกเพิ้มทุน อีก 1 ถ้ายังถือต่อมาถึงตอนนั้น ก็จะได้ปันผล .35 X 2 หรือ 70 สตางค์
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดบริษัทนั้น เปิดมาตั้งแต่แรกทุน 100 แต่ขาดทุน ไป 50 บาท เหลือ ทุนส่วนของผู้ถือหุ้น แค่ 50 บาท หรือ คนล่ะ 50 สตางค์ต่อหุ้น ปันผล ก็คงไม่มี ราคาหุ้นในกระดาน ก็คงต่ำกว่า 1 บาท แน่นอน อาจจะต่ำก่า 50 สตางค์ก็ได้ ถ้าคนมองว่ามันจะแย่ลงต่อไป
สมมุติ ถ้ามันลงมาอย่างนั้น และราคาตลาด เหลือ 50 สตางค์เช่นกัน ถ้าบริษัท จะเรียกเพิ่มทุน จากผู้ถือหุ้น คงขายแพงๆ แบบ ข้างบนไม่ได้ไม่มีใครซื้อ อาจจะต้องเพิ่มทุน 1:1 แล้ว ขาย แค่ 20 สตางค์ต่อหุ้น ซึ่ง ทุนเฉลี่ยของ ผู้ถือหุ้น(คิดจากราคาตลาดก่อนเพิ่มทุน) ก็จะเป็น (.50+.20)/2 = .35 บาท ราคาในกระดานก็จะสะท้อนคล้ายๆแบบนั้น
หรือ บางที อาจจะต้องเพิ่มทุนในสัดส่วนอื่นๆ เช่น 1:3 ราคาหุ้นล่ะ 10 สตางค์(ถ้าต้องการเงินเพิ่มทุนมากๆ) ดังนั้นคนที่มีหุ้น ราคา 50 สตางค์ในตลาด ก็จะต้องควัก อีก 30 สตางค์ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนสามหุ้น รวมเป็นมีสี่หุ้น เฉลี้ย 20 สตางค์ต่อหุ้น อย่างนี้เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริง บริษัทที่ประกอบการณ์ขาดทุน พอมีข่าวระดมทุนเพิ่มไปอุด นี่ หุ้นในตลาดจะโดนถล่มขายทิ้งเพาะว่า คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากควักเงินไปถมให้กับบริษัทที่กำลังขาดทุน ดังนั้น บริษัทพวกนี้ มักมีลูกเล่นเอา W มาล่อ มาแจกแถม ให้คนอยากเพิ่มทุนกันก็มี
ในด้านบริษัทที่เคยโต มีกำไร เหมือนที่ยกตัวอย่างข้างบน ถ้านานไปเกิดเริ่มขาดทุนบ้าง
เช่นจากข้างบน เคยไต่ จาก 100 ล้าน โตมาเป็น 500 ล้าน แต่เกิด แนวโน้มแย่ เริ่มขาดทุน สมมุติ สินทรัพย์ลดลงมาเหลือ 200 ล้าน ราคาหุ้น จากแถว 5 บาท ก็จะลดลงมาแถวๆ 2 บาท ได้ ถ้าจะเพิ่มทุน คงขาย 2 บาท เหมือน ตอนรุ่งๆที่บอกไม่ได้ แต่ต้องลดราคาลงมา เงินเข้าบริษัท ก็น้อยลง หรือ บางที ก็ต้องใช้สัดส่วนแตกต่างกันไป เพื่อจูงใจคนมาเพิ่มทุน
จะเห็นว่า ถ้าบริษัทผลประกอบการณ์ดี มีกำไรต่อเนื่อง ทำไร ก็ง่าย ราคาหุ้นก็ดี
แต่ถ้าไม่ดี ก็จะให้ผลตรงกันข้าม
นึกภาพกันออกมั้ย ถ้าสงสัยตรงไหนถามได้ ครับ เด๋วมาเคลียร์ให้ อิๆ
อ้อ ตัวอย่างข้างบนนั่นสมมุติให้เห็นการเริ่มต้นตั้งบริษัทใหม่
แต่หลายบริษัทที่เข่ามาในตลาด อาจจะประกอบกิจการ มาก่อนหน้าแล้ว แล้วถึงนำมาเข้าเสนอขาย IPO ให้กับคนทั่วไปเข้ามาถือหุ้น ในราคาที่อาจจะไม่ใช่ราคาพาร์ ก็ได้ ขึ้นกับ มูลค่า ของบริษัทนั้นๆและความน่าเชื่อถือ
เช่น จากตัวอย่างเดียวกัน บริษัท นี้ อาจจะนำหุ้นมาเข้าตลาด ตอนที่มูลค่า ของเค้า จาก 100 เพิ่มมาเป็น 500 หรือ มี Book Value 5 บาทต่อหุ้นแล้ว (ทั้งที่ ราคาพาร์ยังเป็น 1 บาท เช่นเดิม) อย่างนี้ เค้าอาจจะแบ่งเอาขาย IPO ที่ราคา 5 บาท หรือ 6 บาท หรือ 4 บาท ก็ได้ แล้ว แต่ ว่า บริษัทที่เป็นแกนนำใน การ อันเดอร์ไรท์หุ้นเข้าตลาด จะประเมินว่า ราคาเหมาะสมควรเป็นเท่าไร (แต่ต้องระวังการแต่งบัญชีหลอกเราด้วย) หรือ บางที เค้าก็ออกหุ้นเพิ่มทุน แล้ว เอามาขาย โดยกำหนดราคา ออกมาตามส่วนการเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับ หุ้นเดิมเค้าด้วย ได้เช่นกัน