มีสิ่งหนึ่งที่ช่วยเก็บอวัยวะต่างๆ ของคุณไว้ภายใน บางครั้ง มันก็ทำให้รู้สึกคันบางครั้งก็เจ็บปวด ถึงแม้ว่ามันจะบางจนน่าอัศจรรย์ แต่บางครั้งมันกลับทอดลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดของเรามันมีวิวัฒนาการมาเมื่อพันปีก่อนในฐานะชุดที่เอื้อต่อการอยู่รอด และเราจะได้ผจญภัยอย่างลึกซึ้งภายในตัวเอง กับสิ่งที่เรียกว่าผิวหนังเมื่อราว 2 ล้านปีก่อน มนุษย์ยุคแรกได้พัฒนารูปแบบชีวิตแบบพเนจร ทำให้พวกเขาต้องการผิวหนังที่ต่างไปจากเดิม
เมื่อมนุษย์เริ่มออกเดินทางตอนกลางวัน การมีขนรุงรังจึงไม่สะดวกผิวหนังจึงเริ่มปรับเปลี่ยน หลายล้านปีที่ผ่านมาบรรพบุรุษของเราได้สลัดขนดกหนา และพัฒนาระบบที่ชาญฉลาดในการหลีกเลี่ยงความร้อนสูง ซึ่งจะเห็นได้จากผิวหนังของเราทุกวันนี้ เรายังมีเส้นขนปกคลุมราว 5 ล้านเส้นโดยเฉลี่ย แต่มันกลับพองฟูแขนที่จะดกหนา เส้นขนย่อส่วนเล็กลง ต่อมเหงื่อเพิ่มมากขึ้น และผิวหนังของเราสามารถกระจายความร้อยได้เร็วกว่าสัตว์อื่น มันเป็นการปฏิวัติทางชีววิทยาที่ช่วยให้เราออกจากป่า กระจายไปทั่วโลกได้
ผิวหนังมีอะไรสำคัญงั้นหรือ ? เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอวัยวะชิ้นใหญ่ที่สุดในร่างกายชิ้นนี้ นับแต่มหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์เบ่งบานด้วยชีวิต ผิวหนังกลายเป็นพื้นฐานแห่งความอยู่รอด เวลาผ่านไป เนื้อเยื่อที่เปราะบางวิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปแบบผิวหนังที่ชาญฉลาด รอยก้นหอยบนนิ้วมือและนิ้วเท้าของเราแสดงให้รู้ว่า “ผิวหนังเป็นของฉันและมันมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว” ผิวหนังของทุกคนเป็นมหัศจรรย์แห่งสรีระ ที่ชั้นนอกมันเป็นสิ่งห่อหุ้มที่หนาช่วยกันน้ำให้เราบนหนังกำพร้านี้เราสึกกร่อนลงทุกวัน เซลล์ผิวที่ตายนับล้านหลุดร่วงทุกนาที แต่ลึกลงไปจากรูขุมขนผิวหนังกลับตื่นตัวอย่างน่าแปลกใจ โรงงานผลิตเซลล์ทำงานอย่างหนักบนหนังกำพร้าลึกลงไปที่ชั้นหนังแท้ผิวหนังก็เหมือนกับป่าดงดิบบนดวงดาวอื่นๆ ที่เต็มไปด้วยเส้นเลือดยาวหลายไมล์เครือข่ายเส้นใยที่ยึดเกี่ยวกับตัวเราไว้ภายในชั้นหนังแท้ เส้นเลือดจะหดตัวและขยายออกเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ต่อมเหงื่อที่ขดอยู่ในชั้นหนังแท้จะปลดปล่อยเหงื่อและเกลือออกมาที่ผิวหนัง จึงจะระเหยออกไปช่วยทำให้ร่างกายเย็นลงภายในไม่กี่วินาที แม้แต่สันเล็กๆ ที่ปลายนิ้วมือก็ยังมีต่อมเหงื่ออยู่ใต้ผิว ผิวหนังจะช่วยในการกระจายความร้อน ช่วยให้เครื่องยนต์ที่บอบบางของมนุษย์ไม่ร้อนจนเดือด แต่ในบรรดาวิธีการที่ผิวหนังเราตอบสนอง วิธีที่ลึกลับที่สุดอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยามเราสัมผัส
สมองและผิวหนังเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งตั้งแต่นาทีแรกของชีวิต สัมผัสเป็นหนึ่งในประสาทที่พัฒนาขึ้นมาก่อนแม้แต่ในครรภ์ ทารกก็ยังเอามือมาอมในปากได้ ความรู้สึกเกิดขึ้นใต้ผิวหนังในส่วนของเส้นประสาท บ่อยครั้งที่ประสาทต้องทำงานร่วมกัน ยิงสัญญาณออกไปพร้อมกันเพื่อตีความโลกรอบตัวเราหากปราศจากการสัมผัสเราคงเคลื่อนไหว มีปฏิกิริยา หรือรู้สึกถึงการลูบไล้ไม่ได้
นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ว่าอวัยวะขนาดใหญ่ที่สุดของเรามีบทบาทในการดึงดูดเพศตรงข้าม ไม่ใช่ผ่านการสัมผัสแต่ผ่านทางสารเคมี ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งผิวหนังจะปลดปล่อยสารเคมี กลิ่นที่ปลดปล่อยจากต่อมบนผิวหนังมีผลต่อเกมการหาคู่ของมนุษย์ผิวหนังคือสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็นคนมีความรู้สึกไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงสงวนไว้เป็นของส่วนตัว
ความสับสนวุ่นวายเกี่ยวกับสีผิวเดขึ้นมานานหลายรุ่นแล้ว คำถามพื้นฐานเวลาดูผิวหนังมนุษย์คือ ทำไมสีจึงแตกต่างกันมาก? นักภูมิศาสตร์ นักชีววิทยา และนักมานุษยวิทยามองหาคำตอบมานานหลายปีแล้ว คำตอบมิได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของคนแต่มาจากสิ่งที่เราทุกคนแบ่งปันร่วมกัน เมื่อหลายล้านปีก่อน ตอนที่มนุษย์ยุคแรกสูญเสียขนพวกเขาเสี่ยงต่อรังสียูวีมากขึ้นถ้าหากผิวหนังที่ไร้ขนและชื้นเหงื่อแถมยังเป็นสีอ่อนท่ามกลางแสงอาทิตย์ที่เส้นศูนย์สูตร มันคงไม่ใช่เรื่องดี ดังนั้นผิวหนังมนุษย์ยุคแรกจึงผ่านการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยป้องกันจากรังสียูวีที่เกิดขึ้นคือ วิวัฒนาการขยายเม็ดสีบนผิวหนัง เมลานินเป็นโมเลกุลโบราณที่ผลิตในผิวหนังโดยเซลล์สีพิเศษที่มีรูปทรงคล้ายดาวทะเลขนาดจิ๋วหากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด พวกมันแก่วงแขนเหมือนกับท่อเชื้อเพลิงปั๊มเมลานินออกมาสู่เม็ดสีของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ เซลล์เหล่านั้นจะอพยพขึ้นมาอยู่ที่พื้นผิว มันจะช่วยปกป้องร่างกายด้วยเกราะที่สร้างจากเมลานิน ซึ่งมีเมลานินมากการคุ้มครองก็จะมากขึ้นเรื่อยๆและยิ่งทำให้ร่างกายมีผิวสีที่เข้มขึ้นแต่ถ้าหากว่าเมลานินดีกับเราขนาดนี้ ทำไมบางคนจึงมีสีอ่อนล่ะ?คำถามนี้ทำให้มีการใช้เครื่องมือวัดระดับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตบนพื้นผิวโลกมันน่าทึ่งมากทีเดียวที่ซีกโลกเหนือจะมีบางแห่งได้รับแสงแดดตลอดทั้งปีแต่ที่รอบเส้นศูนย์สูตรได้รับยูวีน้อยกว่าที่อื่น ๆ บริเวณขั้วโลก
เวลาผ่านไป มนุษย์หลายรุ่นอพยพจากแอฟริกาไปยังบริเวณที่ได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตน้อยกว่าและตรงที่ๆ พวกเขาต้องการการปกป้องจากแสงแดดน้อยลง มันทำให้ผิวหนังของพวกเขามีสีอ่อนลง และหมายถึงสีสันเป็นหนึ่งในวิธีการปรับตัวต่อโลก ผิวมนุษย์ที่หลากหลายก็คือภาพสะท้อนของแสงแดดไม่มีเชื้อชาติไม่มีเชื้อชาติผิวดำไม่มีเชื้อชาติคอเคซอยด์ มีแต่คนธรรมดาในส่วนต่างๆของโลกที่มีลักษณะต่างกัน บางคนก็ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และนี่คือคำอธิบายของวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เราหมดกังวล บางทีเราอาจเริ่มเรียนรู้ว่าผิวหนังทุกชนิดนั้นต่างก็สวยงาม ไม่จำเป็นต้องขีดเส้นแบ่งระหว่างผิวขาวอละดำ แต่ไม่ว่าจะคิดอย่างไรกับผิวหนังของเรา สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุด ผิวหนังของเราก็จะเริ่มถึงความสึกหรอ เส้นใยคลอราเจนซึ่งครั้งหนึ่งเคยยืดหยุ่นกลับกลายเป็นเพียงเนื้อเยื่อที่เชื่อต่อกัน ราวกับสปริงในฟูกเก่าๆขาดความยืดหยุ่นไปและผิวหนังที่เคยทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์มาตลอดก็เริ่มเสื่อมโทรม
เราอาศัยผิวหนังของเราตลอดชีวิต และมันตอบแทนโดยบันทึกชีวิตที่เราใช้ สงครามที่เราต่อสู้ คนที่เรารัก ต่างก็ปรากฏอยู่ในริ้วรอยบนผิวหนัง ซึ่งเป็นสิ่งช่วยห่อหุ้มอวัยวะภายใน แม้บางครั้งมันเจ็บแสบ แต่บางครั้งมันทำให้มีความสุข ในคือสิ่งที่กั้นกลางระหว่างฉันและเธอเขาและเราและมันคือชุดแห่งความอยู่รอดที่แปลกประหลาดแต่ทำให้มนุษย์เราเป็นเช่นทุกวันนี้
ที่มา :
http://www.nextsteptv.com/?p=626
ฝากเพจเฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world
ผิวหนังมหัศจรรย์ : Skin We‘re in
เมื่อมนุษย์เริ่มออกเดินทางตอนกลางวัน การมีขนรุงรังจึงไม่สะดวกผิวหนังจึงเริ่มปรับเปลี่ยน หลายล้านปีที่ผ่านมาบรรพบุรุษของเราได้สลัดขนดกหนา และพัฒนาระบบที่ชาญฉลาดในการหลีกเลี่ยงความร้อนสูง ซึ่งจะเห็นได้จากผิวหนังของเราทุกวันนี้ เรายังมีเส้นขนปกคลุมราว 5 ล้านเส้นโดยเฉลี่ย แต่มันกลับพองฟูแขนที่จะดกหนา เส้นขนย่อส่วนเล็กลง ต่อมเหงื่อเพิ่มมากขึ้น และผิวหนังของเราสามารถกระจายความร้อยได้เร็วกว่าสัตว์อื่น มันเป็นการปฏิวัติทางชีววิทยาที่ช่วยให้เราออกจากป่า กระจายไปทั่วโลกได้
ผิวหนังมีอะไรสำคัญงั้นหรือ ? เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอวัยวะชิ้นใหญ่ที่สุดในร่างกายชิ้นนี้ นับแต่มหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์เบ่งบานด้วยชีวิต ผิวหนังกลายเป็นพื้นฐานแห่งความอยู่รอด เวลาผ่านไป เนื้อเยื่อที่เปราะบางวิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปแบบผิวหนังที่ชาญฉลาด รอยก้นหอยบนนิ้วมือและนิ้วเท้าของเราแสดงให้รู้ว่า “ผิวหนังเป็นของฉันและมันมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว” ผิวหนังของทุกคนเป็นมหัศจรรย์แห่งสรีระ ที่ชั้นนอกมันเป็นสิ่งห่อหุ้มที่หนาช่วยกันน้ำให้เราบนหนังกำพร้านี้เราสึกกร่อนลงทุกวัน เซลล์ผิวที่ตายนับล้านหลุดร่วงทุกนาที แต่ลึกลงไปจากรูขุมขนผิวหนังกลับตื่นตัวอย่างน่าแปลกใจ โรงงานผลิตเซลล์ทำงานอย่างหนักบนหนังกำพร้าลึกลงไปที่ชั้นหนังแท้ผิวหนังก็เหมือนกับป่าดงดิบบนดวงดาวอื่นๆ ที่เต็มไปด้วยเส้นเลือดยาวหลายไมล์เครือข่ายเส้นใยที่ยึดเกี่ยวกับตัวเราไว้ภายในชั้นหนังแท้ เส้นเลือดจะหดตัวและขยายออกเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ต่อมเหงื่อที่ขดอยู่ในชั้นหนังแท้จะปลดปล่อยเหงื่อและเกลือออกมาที่ผิวหนัง จึงจะระเหยออกไปช่วยทำให้ร่างกายเย็นลงภายในไม่กี่วินาที แม้แต่สันเล็กๆ ที่ปลายนิ้วมือก็ยังมีต่อมเหงื่ออยู่ใต้ผิว ผิวหนังจะช่วยในการกระจายความร้อน ช่วยให้เครื่องยนต์ที่บอบบางของมนุษย์ไม่ร้อนจนเดือด แต่ในบรรดาวิธีการที่ผิวหนังเราตอบสนอง วิธีที่ลึกลับที่สุดอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยามเราสัมผัส
สมองและผิวหนังเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งตั้งแต่นาทีแรกของชีวิต สัมผัสเป็นหนึ่งในประสาทที่พัฒนาขึ้นมาก่อนแม้แต่ในครรภ์ ทารกก็ยังเอามือมาอมในปากได้ ความรู้สึกเกิดขึ้นใต้ผิวหนังในส่วนของเส้นประสาท บ่อยครั้งที่ประสาทต้องทำงานร่วมกัน ยิงสัญญาณออกไปพร้อมกันเพื่อตีความโลกรอบตัวเราหากปราศจากการสัมผัสเราคงเคลื่อนไหว มีปฏิกิริยา หรือรู้สึกถึงการลูบไล้ไม่ได้
นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ว่าอวัยวะขนาดใหญ่ที่สุดของเรามีบทบาทในการดึงดูดเพศตรงข้าม ไม่ใช่ผ่านการสัมผัสแต่ผ่านทางสารเคมี ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งผิวหนังจะปลดปล่อยสารเคมี กลิ่นที่ปลดปล่อยจากต่อมบนผิวหนังมีผลต่อเกมการหาคู่ของมนุษย์ผิวหนังคือสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็นคนมีความรู้สึกไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงสงวนไว้เป็นของส่วนตัว
ความสับสนวุ่นวายเกี่ยวกับสีผิวเดขึ้นมานานหลายรุ่นแล้ว คำถามพื้นฐานเวลาดูผิวหนังมนุษย์คือ ทำไมสีจึงแตกต่างกันมาก? นักภูมิศาสตร์ นักชีววิทยา และนักมานุษยวิทยามองหาคำตอบมานานหลายปีแล้ว คำตอบมิได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของคนแต่มาจากสิ่งที่เราทุกคนแบ่งปันร่วมกัน เมื่อหลายล้านปีก่อน ตอนที่มนุษย์ยุคแรกสูญเสียขนพวกเขาเสี่ยงต่อรังสียูวีมากขึ้นถ้าหากผิวหนังที่ไร้ขนและชื้นเหงื่อแถมยังเป็นสีอ่อนท่ามกลางแสงอาทิตย์ที่เส้นศูนย์สูตร มันคงไม่ใช่เรื่องดี ดังนั้นผิวหนังมนุษย์ยุคแรกจึงผ่านการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยป้องกันจากรังสียูวีที่เกิดขึ้นคือ วิวัฒนาการขยายเม็ดสีบนผิวหนัง เมลานินเป็นโมเลกุลโบราณที่ผลิตในผิวหนังโดยเซลล์สีพิเศษที่มีรูปทรงคล้ายดาวทะเลขนาดจิ๋วหากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด พวกมันแก่วงแขนเหมือนกับท่อเชื้อเพลิงปั๊มเมลานินออกมาสู่เม็ดสีของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ เซลล์เหล่านั้นจะอพยพขึ้นมาอยู่ที่พื้นผิว มันจะช่วยปกป้องร่างกายด้วยเกราะที่สร้างจากเมลานิน ซึ่งมีเมลานินมากการคุ้มครองก็จะมากขึ้นเรื่อยๆและยิ่งทำให้ร่างกายมีผิวสีที่เข้มขึ้นแต่ถ้าหากว่าเมลานินดีกับเราขนาดนี้ ทำไมบางคนจึงมีสีอ่อนล่ะ?คำถามนี้ทำให้มีการใช้เครื่องมือวัดระดับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตบนพื้นผิวโลกมันน่าทึ่งมากทีเดียวที่ซีกโลกเหนือจะมีบางแห่งได้รับแสงแดดตลอดทั้งปีแต่ที่รอบเส้นศูนย์สูตรได้รับยูวีน้อยกว่าที่อื่น ๆ บริเวณขั้วโลก
เวลาผ่านไป มนุษย์หลายรุ่นอพยพจากแอฟริกาไปยังบริเวณที่ได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตน้อยกว่าและตรงที่ๆ พวกเขาต้องการการปกป้องจากแสงแดดน้อยลง มันทำให้ผิวหนังของพวกเขามีสีอ่อนลง และหมายถึงสีสันเป็นหนึ่งในวิธีการปรับตัวต่อโลก ผิวมนุษย์ที่หลากหลายก็คือภาพสะท้อนของแสงแดดไม่มีเชื้อชาติไม่มีเชื้อชาติผิวดำไม่มีเชื้อชาติคอเคซอยด์ มีแต่คนธรรมดาในส่วนต่างๆของโลกที่มีลักษณะต่างกัน บางคนก็ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และนี่คือคำอธิบายของวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เราหมดกังวล บางทีเราอาจเริ่มเรียนรู้ว่าผิวหนังทุกชนิดนั้นต่างก็สวยงาม ไม่จำเป็นต้องขีดเส้นแบ่งระหว่างผิวขาวอละดำ แต่ไม่ว่าจะคิดอย่างไรกับผิวหนังของเรา สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุด ผิวหนังของเราก็จะเริ่มถึงความสึกหรอ เส้นใยคลอราเจนซึ่งครั้งหนึ่งเคยยืดหยุ่นกลับกลายเป็นเพียงเนื้อเยื่อที่เชื่อต่อกัน ราวกับสปริงในฟูกเก่าๆขาดความยืดหยุ่นไปและผิวหนังที่เคยทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์มาตลอดก็เริ่มเสื่อมโทรม
เราอาศัยผิวหนังของเราตลอดชีวิต และมันตอบแทนโดยบันทึกชีวิตที่เราใช้ สงครามที่เราต่อสู้ คนที่เรารัก ต่างก็ปรากฏอยู่ในริ้วรอยบนผิวหนัง ซึ่งเป็นสิ่งช่วยห่อหุ้มอวัยวะภายใน แม้บางครั้งมันเจ็บแสบ แต่บางครั้งมันทำให้มีความสุข ในคือสิ่งที่กั้นกลางระหว่างฉันและเธอเขาและเราและมันคือชุดแห่งความอยู่รอดที่แปลกประหลาดแต่ทำให้มนุษย์เราเป็นเช่นทุกวันนี้
ที่มา : http://www.nextsteptv.com/?p=626
ฝากเพจเฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world