ห่างเหินกันไม่ได้ตั้งกระทู้ในห้องรวมไปนานแต่ที่จริงแล้วผมก็ยังวนเวียนอยู่ในห้องกล้องตลอดเวลาเพราะตกหลุมรักมานานเกินกว่าจะถอนตัวได้
เพียงแต่ส่วนใหญ่จะสถิตย์อยู่ในห้องคนรักมือหมุนมากกว่าแบบว่าไม่ค่อยกล้าจะตั้งกระทู้ในห้องรวมเท่าไรเกรงว่าภาพไม่สวย+เรื่องไร้สาระอาจโดนไล่
หากน้าๆป้าๆติดตามภาพ (น้อย) และเรื่อง (โม้เยอะ)
ของผมก็คงเคยผ่านตาเรื่องราวในช่วงฤดูหนาวว่าจะมีสัตว์ที่มีปีกบินได้ไกลๆอพยบหนีความหนาวเย็นแถบขั้วโลกทางทิศเหนือลงมาหาอาหารและหลบพายุความหนาวเหน็บในฤดูหนาวมาทางใต้ๆของทวีป บ้านผมก็อยู่บริเวณกึ่งๆใต้คือฤดูหนาว
ปกติแล้วจะไม่ถือว่าเป็นเขตหนาวจัดเท่าไรปีหนึ่งๆก็อาจจะมีโอกาสพี่มะ (หิมะ) มาเยือนให้หายคิด (ที่จริงไม่เคยคิดถึงเลย
) ถึงกันสักปีละ 3-4 หน แต่ปีนี้คงเป็นเพราะสภาพอากาศทั่วโลกวิปริตอาเพศเลยทำให้อากาศหนาวเย็นและยาวเป็นพิเศษทำให้พวกสัตว์ปีกอพยบที่เคยแวะมาเยือนในช่วงฤดูหนาวหายไปแทบหมดในช่วงที่ควรจะพบเจอแล้วอย่างเช่น ห่านป่าแคนาดา (Canada Wild Goose) ห่านหิมะ (Snow Goose) หงส์ (Swan) เพราะผมไปสำรวจดูเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ล่าสุดก็เดือนปลายเดือน ม.ค. นี่เองแต่ไม่มีแววว่าจะมีสัตว์อพยบอะไรเลยยกเว้นนกอินทรีหัวขาวที่เห็นบินโฉบผ่านไปแค่นั้นเพราะอย่างที่บอกไว้ว่าอากาศปีนี้หนาวเย็นมากเกินไปน้ำในทะเลสาบยังเป็นน้ำแข็งอยู่หมดทำให้ไม่มีบริเวณที่เป็นพื้นที่เป็นน้ำพอที่พวกที่อพยบมาจะเป็นแหล่งอาหารได้
ปล.เรื่องราวของสัตว์ปีกที่อพยบมาในช่วงฤดูหนาวมีให้ชมในกระทู้ที่ผมแปะไว้เมื่อปีก่อนตามรายละเอียดด้านล่างเชิญท่านที่จะไม่เคยผ่านตาชมได้ครับ :
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 1 : เบื้องหลังและภาพเก็บตก
http://ppantip.com/topic/30041435
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 2 :เป็ดและห่านป่า
http://ppantip.com/topic/30044234
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 3 : ห่านหิมะและ..
http://ppantip.com/topic/30047960
มืดฟ้ามัวดิน
http://ppantip.com/topic/30077216
ล่าสุดคือเมื่อวานนี้ 27 ก.พ. อากาศเริ่มอุ่นขึ้นผมก็เลยลองแวะไปที่ทะเลสาบเกือกม้าอีกครั้งโดยไม่ได้คาดหวังอะไรมากเพราะเวลาก็ล่วงเลยมาจนปลายฤดูหนาวแล้ว....ว่าแล้วตามผมท่องไปในฤดูหนาวพร้อมๆกันเลยว่าฤดูหนาวปีนี้มีอะไรให้ชมบ้าง..
***
อย่าลืมคลิ๊กขวาขยายชมภาพ view image ใหญ่สะใจให้สมกับพันทิประบบใหม่ด้วยนะครับ ***
1. อาณาบริเวณของทะเลสาบเกือกม้าใหญ่พอสมควรผมเองยังตระเวณไม่ครบรอบทะเลสาบเลยเพราะถนัดแต่ในจุดที่คุ้นเคยวันนี้ก็เช่นกันผมตระเวณไปตามจุดหลักสำคัญที่เคยพบฝูงห่านหิมะระดับหมื่นๆตัวเมื่อปีก่อน ปีนี้ที่จุดนี้มองไปไกลๆก็ยังพอมีฝูงเป็ดมัลลาร์คหรือ เป็ดหัวเขียว อยู่บ้าง
เป็ดมัลลาร์คหรือ เป็ดหัวเขียว (อังกฤษ: Mallard, Wild duck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anas platyrhynchos) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae)เป็ดมัลลาร์ดมีลักษณะเหมือนเป็ดทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาวท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน กินทั้งได้พืชและสัตว์มีความยาวเมื่อโตเต็มที่จากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 50-60 เซนติเมตรมีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ส่วนในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีผู้นำเข้าไปเผยแพร่จากประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ แต่ไม่พบรายงานการวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 50-60 ตัว ตามแหล่งน้ำทั่วไป และอาจจะรวมฝูงเข้ากับนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันหากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะว่ายน้ำพักผ่อนในแหล่งน้ำตื้น อาจกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เข้าไปด้วย มีนิสัยตื่นตกใจง่าย มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง สามารถบินขึ้นจากน้ำได้อย่างรวดเร็ว
2. ยังไม่ทันที่รถจะจอดนิ่งฝูงเป็ดขึ้ตกใจเพราะไม่ใช่เป็ดเลี้ยงทุ่งหรือเป็ดบ้านอย่างที่เราเคยเห็นกันอยู่ทั่วไปก็กระพือปิดพึบพับบินหนีทันที
3.ก็ยังไม่ได้บินหนีไปเสียเลยทีเดียวเพียงบินออกไปรักษาระยะให้ห่างจากสิ่งที่เค้าเองคิดว่าเป็นภัย เพราะได้ยินน้าๆหลายคนในห้องนี้บอกถ้าเห็นจะจับมาทำลาบ
4.ก็มีบางตัวบินขึ้นสูงระดับแนวยอดไม้
5.บ้างก็บินสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าไปหาที่ใหม่ก็มี
6.ถ้าโชคไม่ดีก็จะเจอพี่อินทรีหัวขาวที่รออยู่แล้วบนท้องฟ้าในระดับสูง
7.สังเกตดูว่าเป็ดไม่ว่าชนิดไหนก็ชอบหากินในน้ำระดับตื้นๆ
8.มองมุมกว้างๆจะเห็นว่าน้ำมีระดับแค่ไม่น่าจะเกินครึ่งหน้าแข้ง
9.มาอีกจุดที่เป็นบริเวณน้ำลึกมีป่าสนโบราณบังอยู่ที่ริมฝั่งผมได้ยินเสียงกู่ร้องของห่านแต่ไกลๆเลยเข้าไปดูหลังป่าสนโบราณเห็นกลุ่มขาวๆกลุ่มใหญ่พอประมาณลอยอยู่ในบริเวณน้ำลึก
10.แต่ไม่มีมุมใดหรือวิธีใดที่จะเข้าไปถ่ายใกล้ๆได้นอกจากมีเรือเลยได้ภาพมาแค่นี้พอจะมองเห็นและรู้ว่าเป็นห่านหิมะนั่นเอง
ห่านหิมะ (Snow Goose) และหงส์แห่งทุนดราที่เป็นสายพันธ์ห่านจากกรีนแลนด์, แคนาดา, อลาสกาและปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียอพยบหนีหนาวจากขั้วโลกเหนือมากระจายอยู่หลายรัฐทางตอนกลางของทวีปอเมริกาและแถบที่ผมอยู่ก็อยู่ในโซนของห่านหิมะพวกนี้เลือกมาหลบหนาวห่านหิมะจะแข็งแรงมากที่จะขุดรากของหญ้าในทุ่งนา สามารถกินหญ้า วัชพืชและกินข้าวสาลี, ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมล็ดหญ้าในทุ่งหญ้าแพรรี ห่านหิมะจะมีขนสีขาวหรือบางชนิดออกสีเทาๆปลายปีกทั้ง 2 ข้างจะเป็นขลิบสีดำ ห่านหิมะ ( Snow Goose) ไม่เหมือนกับห่านสีขาวทั่วๆไปที่มีสีขาวทั้งตัวคอสั้นและอ้วนป้อมกว่า
แต่เผอิญห่านหิมะไม่ได้เป็นตัวเอกในวันนี้แต่หากท่านใดสนใจชมภาพและเรื่องได้ที่กระทู้เก่า "มืดฟ้ามัวดิน"
http://ppantip.com/topic/30077216
11.ห่านป่าแคนาดาก็มากับเค้าด้วยแม้ว่าปีนี้จะมาจำนวนน้อยมาก
ห่านป่าแคนาดา (Canada Wild Goose) ที่มีหน้าขาวดำคล้ายสัญลักษณ์หยินหยางของจีน (IChing) ที่เราคุ้นเคยกันเพราะผมเคยนำห่านป่าชนิดนี้ที่อยู่ตาม Park ในเมืองที่ผมอยู่มาให้ชมกันบ่อยๆแต่ห่านป่าที่ Park กลายเป็นห่านเมืองไปโดยถาวรแล้วเพราะไม่เคยคิดที่จะกลับถิ่นฐานไม่ว่าฤดูไหนต่างกับห่านป่าชุดที่จะนำมาให้ชมวันนี้เป็นห่านป่าที่บินตรงมาจากแคนาดาเพราะเป็นช่วงฤดูหนาวที่ห่านป่าพวกนี้จะบินอพยบมาทางใต้พร้อมกับเป็ดมัลลาร์ค
สนใจติดตามภาพและเรื่องได้ที่กระทู้เก่า :
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 1 : เบื้องหลังและภาพเก็บตก
http://ppantip.com/topic/30041435
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 2 :เป็ดและห่านป่า
http://ppantip.com/topic/30044234
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 3 : ห่านหิมะและ..
http://ppantip.com/topic/30047960
12.และก็มาถึงไฮไลท์ของวันนี้เพราะเป็นสัตว์ที่ผมไม่เคยพบในเขตนี้และไม่เคยถ่ายภาพแบบธรรมชาติอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ช่วยมองดูซิครับว่านี่คือตัวอะไร ?
13. แวบแรกที่ผมเห็นไกลๆคิดว่าหงส์เพราะตัวใหญ่กว่าห่านหิมะ พอส่องกล้องมองอีกทีก็คิดว่านกกระสาขาว หรือ นกกระเรียน แต่ดูดีๆทำไมไม่ใช่หว่า
14.มากันเป็นฝูงใหญ่ไม่ใช่เล่น
15. นาทีที่ผมเห็นเค้าเริ่มบินขึ้นบินลงทีละหลายๆตัวสะกดให้ลืมทุกอย่างรอบๆตัวตาจ้องมองแต่ในวิวไฟเดอร์ของกล้องและกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆเพราะไม่อยากพลาดภาพธรรมชาติที่สวยงามสวยกว่าชมภาพยนต์พาโนราม่าบวกระบบเสียงเซอร์ราว 5.1 หรือ 7.1 ใดๆในโลก
16.คิดอยากจะกด (ที่จริงก็กดไปแล้วแต่ภาพคงสั่นไหวหมด) ปุ่มบันทึกภาพเป็น HD VDO แต่ตอนที่ถ่ายภาพนี้อยู่ผมไม่ได้ตั้งข้างตั้งกล้องอยู่แถมเท้าทั้ง 2 ข้างยังยืนไม่มั่นคงเท่าไรเพราะยืนอยู่บนกิ่งไม้ที่อยู่ในน้ำแบบทุลักทุเลพอสมควรเล่นเอาต้องเกร็งขาจนปวดขา
มีภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บริเวณที่แอบส่องเป็นป่าต้นสนโบราณที่อยู่ในน้ำต้องหักกิ่งที่บังกล้องและยืนบนกิ่งที่อยู่ในน้ำที่น้ำบางส่วนยังเป็นน้ำแข็งอยู่เพื่อให้พ้นระยะกิ่งไม้ที่บัง
17. มีอยู่ตัวหนึ่งว่ายออกจากฝูงมาหากินตามลำพังทำให้เห็นรูปร่างหน้าตาได้ชัดเจนขึ้น... ใช่แล้วครับตกลงตัวที่ว่านี่ก็คือ นกเพลิแกน หรือในภาษาไทยเรียกว่านกกระทุง นั่นเอง
18.
นกกระทุง หรือ นกเพลิแกน (อังกฤษ: Pelican) เป็นวงศ์ของนกน้ำขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pelecanidae เป็นนกที่มีลำตัวขนาดใหญ่ (125-165 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากใหญ่ ปากบนแบน ปลายจะงอยปากงอเป็นขอ ปากล่างมีถุงใต้คางแผ่จนถึงคอโดยไม่มีขนปกคลุม รูจมูกเล็กอยู่บริเวณร่องปากซึ่งยาวตลอดทางด้านข้างของจะงอยปากบน ปีกใหญ่และกว้าง ขนปลายปีกเส้นที่ 2 นับจากด้านนอกยาวที่สุด หางสั้น ปลายหางตัด ขณะบินคอจะหดสั้น ขาอ้วนและสั้น แข้งด้านข้างแบน ทางด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดแบบร่างแห มีฟังผืดนิ้วแบบตีนพัดเต็มเป็นนกหาปลาที่กินปลา โดยการใช้ถุงใต้คางช้อนปลาในน้ำ หรือบินลงในน้ำแล้วพุ่งจับ ทำรังเป็นกลุ่มด้วยวัสดุจากกิ่งไม้ ปกติทำรังบนพื้นดิน แต่บางครั้งก็ทำรังบนต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 1-4 ฟอง สีเปลือกไข่เหมือนสีผงชอร์คปกคลุม ลูกนกแรกเกิดเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ไม่มีขนปกคลุม ขนมีสีชมพูโดยปกติ เป็นนกที่หากินและอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำและชายทะเล
พบกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก ยกเว้นทางซีกโลกทางเหนือ, นิวซีแลนด์ และโพลีนีเซีย แบ่งออกได้แค่สกุลเดียว (บางข้อมูลแบ่งเป็น 2 สกุล) 8 ชนิด ในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว
>>>>>>>>> [ ท่องไปในฤดูหนาว ตอน ต่างถิ่นบินมาเยือน ] <<<<<<<<<
หากน้าๆป้าๆติดตามภาพ (น้อย) และเรื่อง (โม้เยอะ) ของผมก็คงเคยผ่านตาเรื่องราวในช่วงฤดูหนาวว่าจะมีสัตว์ที่มีปีกบินได้ไกลๆอพยบหนีความหนาวเย็นแถบขั้วโลกทางทิศเหนือลงมาหาอาหารและหลบพายุความหนาวเหน็บในฤดูหนาวมาทางใต้ๆของทวีป บ้านผมก็อยู่บริเวณกึ่งๆใต้คือฤดูหนาว
ปกติแล้วจะไม่ถือว่าเป็นเขตหนาวจัดเท่าไรปีหนึ่งๆก็อาจจะมีโอกาสพี่มะ (หิมะ) มาเยือนให้หายคิด (ที่จริงไม่เคยคิดถึงเลย ) ถึงกันสักปีละ 3-4 หน แต่ปีนี้คงเป็นเพราะสภาพอากาศทั่วโลกวิปริตอาเพศเลยทำให้อากาศหนาวเย็นและยาวเป็นพิเศษทำให้พวกสัตว์ปีกอพยบที่เคยแวะมาเยือนในช่วงฤดูหนาวหายไปแทบหมดในช่วงที่ควรจะพบเจอแล้วอย่างเช่น ห่านป่าแคนาดา (Canada Wild Goose) ห่านหิมะ (Snow Goose) หงส์ (Swan) เพราะผมไปสำรวจดูเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ล่าสุดก็เดือนปลายเดือน ม.ค. นี่เองแต่ไม่มีแววว่าจะมีสัตว์อพยบอะไรเลยยกเว้นนกอินทรีหัวขาวที่เห็นบินโฉบผ่านไปแค่นั้นเพราะอย่างที่บอกไว้ว่าอากาศปีนี้หนาวเย็นมากเกินไปน้ำในทะเลสาบยังเป็นน้ำแข็งอยู่หมดทำให้ไม่มีบริเวณที่เป็นพื้นที่เป็นน้ำพอที่พวกที่อพยบมาจะเป็นแหล่งอาหารได้
ปล.เรื่องราวของสัตว์ปีกที่อพยบมาในช่วงฤดูหนาวมีให้ชมในกระทู้ที่ผมแปะไว้เมื่อปีก่อนตามรายละเอียดด้านล่างเชิญท่านที่จะไม่เคยผ่านตาชมได้ครับ :
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 1 : เบื้องหลังและภาพเก็บตก
http://ppantip.com/topic/30041435
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 2 :เป็ดและห่านป่า
http://ppantip.com/topic/30044234
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 3 : ห่านหิมะและ..
http://ppantip.com/topic/30047960
มืดฟ้ามัวดิน
http://ppantip.com/topic/30077216
ล่าสุดคือเมื่อวานนี้ 27 ก.พ. อากาศเริ่มอุ่นขึ้นผมก็เลยลองแวะไปที่ทะเลสาบเกือกม้าอีกครั้งโดยไม่ได้คาดหวังอะไรมากเพราะเวลาก็ล่วงเลยมาจนปลายฤดูหนาวแล้ว....ว่าแล้วตามผมท่องไปในฤดูหนาวพร้อมๆกันเลยว่าฤดูหนาวปีนี้มีอะไรให้ชมบ้าง..
*** อย่าลืมคลิ๊กขวาขยายชมภาพ view image ใหญ่สะใจให้สมกับพันทิประบบใหม่ด้วยนะครับ ***
1. อาณาบริเวณของทะเลสาบเกือกม้าใหญ่พอสมควรผมเองยังตระเวณไม่ครบรอบทะเลสาบเลยเพราะถนัดแต่ในจุดที่คุ้นเคยวันนี้ก็เช่นกันผมตระเวณไปตามจุดหลักสำคัญที่เคยพบฝูงห่านหิมะระดับหมื่นๆตัวเมื่อปีก่อน ปีนี้ที่จุดนี้มองไปไกลๆก็ยังพอมีฝูงเป็ดมัลลาร์คหรือ เป็ดหัวเขียว อยู่บ้าง
เป็ดมัลลาร์คหรือ เป็ดหัวเขียว (อังกฤษ: Mallard, Wild duck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anas platyrhynchos) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae)เป็ดมัลลาร์ดมีลักษณะเหมือนเป็ดทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาวท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน กินทั้งได้พืชและสัตว์มีความยาวเมื่อโตเต็มที่จากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 50-60 เซนติเมตรมีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ส่วนในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีผู้นำเข้าไปเผยแพร่จากประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ แต่ไม่พบรายงานการวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 50-60 ตัว ตามแหล่งน้ำทั่วไป และอาจจะรวมฝูงเข้ากับนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันหากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะว่ายน้ำพักผ่อนในแหล่งน้ำตื้น อาจกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เข้าไปด้วย มีนิสัยตื่นตกใจง่าย มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง สามารถบินขึ้นจากน้ำได้อย่างรวดเร็ว
2. ยังไม่ทันที่รถจะจอดนิ่งฝูงเป็ดขึ้ตกใจเพราะไม่ใช่เป็ดเลี้ยงทุ่งหรือเป็ดบ้านอย่างที่เราเคยเห็นกันอยู่ทั่วไปก็กระพือปิดพึบพับบินหนีทันที
3.ก็ยังไม่ได้บินหนีไปเสียเลยทีเดียวเพียงบินออกไปรักษาระยะให้ห่างจากสิ่งที่เค้าเองคิดว่าเป็นภัย เพราะได้ยินน้าๆหลายคนในห้องนี้บอกถ้าเห็นจะจับมาทำลาบ
4.ก็มีบางตัวบินขึ้นสูงระดับแนวยอดไม้
5.บ้างก็บินสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าไปหาที่ใหม่ก็มี
6.ถ้าโชคไม่ดีก็จะเจอพี่อินทรีหัวขาวที่รออยู่แล้วบนท้องฟ้าในระดับสูง
7.สังเกตดูว่าเป็ดไม่ว่าชนิดไหนก็ชอบหากินในน้ำระดับตื้นๆ
8.มองมุมกว้างๆจะเห็นว่าน้ำมีระดับแค่ไม่น่าจะเกินครึ่งหน้าแข้ง
9.มาอีกจุดที่เป็นบริเวณน้ำลึกมีป่าสนโบราณบังอยู่ที่ริมฝั่งผมได้ยินเสียงกู่ร้องของห่านแต่ไกลๆเลยเข้าไปดูหลังป่าสนโบราณเห็นกลุ่มขาวๆกลุ่มใหญ่พอประมาณลอยอยู่ในบริเวณน้ำลึก
10.แต่ไม่มีมุมใดหรือวิธีใดที่จะเข้าไปถ่ายใกล้ๆได้นอกจากมีเรือเลยได้ภาพมาแค่นี้พอจะมองเห็นและรู้ว่าเป็นห่านหิมะนั่นเอง
ห่านหิมะ (Snow Goose) และหงส์แห่งทุนดราที่เป็นสายพันธ์ห่านจากกรีนแลนด์, แคนาดา, อลาสกาและปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียอพยบหนีหนาวจากขั้วโลกเหนือมากระจายอยู่หลายรัฐทางตอนกลางของทวีปอเมริกาและแถบที่ผมอยู่ก็อยู่ในโซนของห่านหิมะพวกนี้เลือกมาหลบหนาวห่านหิมะจะแข็งแรงมากที่จะขุดรากของหญ้าในทุ่งนา สามารถกินหญ้า วัชพืชและกินข้าวสาลี, ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมล็ดหญ้าในทุ่งหญ้าแพรรี ห่านหิมะจะมีขนสีขาวหรือบางชนิดออกสีเทาๆปลายปีกทั้ง 2 ข้างจะเป็นขลิบสีดำ ห่านหิมะ ( Snow Goose) ไม่เหมือนกับห่านสีขาวทั่วๆไปที่มีสีขาวทั้งตัวคอสั้นและอ้วนป้อมกว่า
แต่เผอิญห่านหิมะไม่ได้เป็นตัวเอกในวันนี้แต่หากท่านใดสนใจชมภาพและเรื่องได้ที่กระทู้เก่า "มืดฟ้ามัวดิน" http://ppantip.com/topic/30077216
11.ห่านป่าแคนาดาก็มากับเค้าด้วยแม้ว่าปีนี้จะมาจำนวนน้อยมาก
ห่านป่าแคนาดา (Canada Wild Goose) ที่มีหน้าขาวดำคล้ายสัญลักษณ์หยินหยางของจีน (IChing) ที่เราคุ้นเคยกันเพราะผมเคยนำห่านป่าชนิดนี้ที่อยู่ตาม Park ในเมืองที่ผมอยู่มาให้ชมกันบ่อยๆแต่ห่านป่าที่ Park กลายเป็นห่านเมืองไปโดยถาวรแล้วเพราะไม่เคยคิดที่จะกลับถิ่นฐานไม่ว่าฤดูไหนต่างกับห่านป่าชุดที่จะนำมาให้ชมวันนี้เป็นห่านป่าที่บินตรงมาจากแคนาดาเพราะเป็นช่วงฤดูหนาวที่ห่านป่าพวกนี้จะบินอพยบมาทางใต้พร้อมกับเป็ดมัลลาร์ค
สนใจติดตามภาพและเรื่องได้ที่กระทู้เก่า :
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 1 : เบื้องหลังและภาพเก็บตก
http://ppantip.com/topic/30041435
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 2 :เป็ดและห่านป่า
http://ppantip.com/topic/30044234
นกเป็ดน้ำ ห่านป่า ห่านหิมะ มาดูซิจ๊ะเยอะจริงๆ ตอน 3 : ห่านหิมะและ..
http://ppantip.com/topic/30047960
12.และก็มาถึงไฮไลท์ของวันนี้เพราะเป็นสัตว์ที่ผมไม่เคยพบในเขตนี้และไม่เคยถ่ายภาพแบบธรรมชาติอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ช่วยมองดูซิครับว่านี่คือตัวอะไร ?
13. แวบแรกที่ผมเห็นไกลๆคิดว่าหงส์เพราะตัวใหญ่กว่าห่านหิมะ พอส่องกล้องมองอีกทีก็คิดว่านกกระสาขาว หรือ นกกระเรียน แต่ดูดีๆทำไมไม่ใช่หว่า
14.มากันเป็นฝูงใหญ่ไม่ใช่เล่น
15. นาทีที่ผมเห็นเค้าเริ่มบินขึ้นบินลงทีละหลายๆตัวสะกดให้ลืมทุกอย่างรอบๆตัวตาจ้องมองแต่ในวิวไฟเดอร์ของกล้องและกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆเพราะไม่อยากพลาดภาพธรรมชาติที่สวยงามสวยกว่าชมภาพยนต์พาโนราม่าบวกระบบเสียงเซอร์ราว 5.1 หรือ 7.1 ใดๆในโลก
16.คิดอยากจะกด (ที่จริงก็กดไปแล้วแต่ภาพคงสั่นไหวหมด) ปุ่มบันทึกภาพเป็น HD VDO แต่ตอนที่ถ่ายภาพนี้อยู่ผมไม่ได้ตั้งข้างตั้งกล้องอยู่แถมเท้าทั้ง 2 ข้างยังยืนไม่มั่นคงเท่าไรเพราะยืนอยู่บนกิ่งไม้ที่อยู่ในน้ำแบบทุลักทุเลพอสมควรเล่นเอาต้องเกร็งขาจนปวดขา
มีภาพประกอบ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
17. มีอยู่ตัวหนึ่งว่ายออกจากฝูงมาหากินตามลำพังทำให้เห็นรูปร่างหน้าตาได้ชัดเจนขึ้น... ใช่แล้วครับตกลงตัวที่ว่านี่ก็คือ นกเพลิแกน หรือในภาษาไทยเรียกว่านกกระทุง นั่นเอง
18.นกกระทุง หรือ นกเพลิแกน (อังกฤษ: Pelican) เป็นวงศ์ของนกน้ำขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pelecanidae เป็นนกที่มีลำตัวขนาดใหญ่ (125-165 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากใหญ่ ปากบนแบน ปลายจะงอยปากงอเป็นขอ ปากล่างมีถุงใต้คางแผ่จนถึงคอโดยไม่มีขนปกคลุม รูจมูกเล็กอยู่บริเวณร่องปากซึ่งยาวตลอดทางด้านข้างของจะงอยปากบน ปีกใหญ่และกว้าง ขนปลายปีกเส้นที่ 2 นับจากด้านนอกยาวที่สุด หางสั้น ปลายหางตัด ขณะบินคอจะหดสั้น ขาอ้วนและสั้น แข้งด้านข้างแบน ทางด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดแบบร่างแห มีฟังผืดนิ้วแบบตีนพัดเต็มเป็นนกหาปลาที่กินปลา โดยการใช้ถุงใต้คางช้อนปลาในน้ำ หรือบินลงในน้ำแล้วพุ่งจับ ทำรังเป็นกลุ่มด้วยวัสดุจากกิ่งไม้ ปกติทำรังบนพื้นดิน แต่บางครั้งก็ทำรังบนต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 1-4 ฟอง สีเปลือกไข่เหมือนสีผงชอร์คปกคลุม ลูกนกแรกเกิดเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ไม่มีขนปกคลุม ขนมีสีชมพูโดยปกติ เป็นนกที่หากินและอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำและชายทะเล
พบกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก ยกเว้นทางซีกโลกทางเหนือ, นิวซีแลนด์ และโพลีนีเซีย แบ่งออกได้แค่สกุลเดียว (บางข้อมูลแบ่งเป็น 2 สกุล) 8 ชนิด ในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว