ทุกวันนี้การเดินทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานผ่านถนนมิตรภาพ มีความสะดวก เว้นแต่ช่วงสุดสัปดาห์ เทศกาลสำคัญ หรือวันหยุดยาว ที่ถนนเส้นนี้จะติดขัดคลาคล่ำไปด้วยยวดยานพาหนะ
ยิ่งถ้าวันไหนมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จะทำให้รถติดยาวเหยียด กะเกณฑ์เวลาเดินทางได้ยากยิ่ง เพราะปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางเลี่ยง
ตอนนี้ปัญหาใหม่ที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ กระแสการปิดถนน ในช่วง 1-2 ปีนี้มักมีการชุมนุมปิดถนนประท้วงบนถนนสายหลักของประเทศบ่อยครั้ง ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าเริ่มมีปัญหาไม่น้อยเช่นกัน
ในกรณีของภาคอีสาน ผู้คนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการถนนมิตรภาพล้วนต้องการให้ทุกรัฐบาลเร่งลงทุนก่อ สร้างถนนสำรองคู่ขนานกันไป ซึ่งตอนนี้ก็มีอย่างน้อย 3 โครงการที่รอการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม นั่นคือ โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช โครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการไฮสปีดเทรน หรือรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย
โดยเฉพาะไฮสปีดเทรนที่เป็นโครงการแห่งความหวังของทั้งชาวอีสาน นักลงทุน และชาวจีน ตอนนี้ยังค้างเติ่งรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาชี้ขาดภายใต้โครงการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกำลังจะถูกเก็บเข้าลิ้นชัก เพราะบางฝ่ายกังวลเรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุนและภาระหนี้สิน
งานนี้ อาจไม่มีใครถูกใครผิด หลายฝ่ายช่วยกันตรวจสอบกลั่นกรองเป็นเรื่องที่ดี แต่เมืองไทยก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเร็ว ยิ่งขัดแย้งกันและมีสุญญากาศทางการเมืองนานเท่าไหร่ คนไทยทั้ง 68 ล้านคนก็จะยิ่งเสียโอกาสในการพัฒนามากเท่านั้น ท่ามกลางวงล้อมของชาติอื่น ๆ ที่เดินหน้าพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าไม่หยุดยั้ง แต่เมืองไทยกำลังถอยหลังลงทะเลลึก
การลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า ประปา ท่าเรือ ด่านชายแดน ระบบชลประทาน ล้วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาระดับพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท
การเกิดขึ้นของถนนหนทางในจังหวัดต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญคือทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามมานับไม่ถ้วน
เราต้องยอมรับความจริงว่า การค้า การลงทุนที่ขยายไปสู่ต่างจังหวัดเวลานี้ ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเรื่องถนน ไฟฟ้า ประปา ให้บริการไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอแทบทั้งสิ้น เพราะเมืองในต่างจังหวัดขยายตัวอย่างรวดเร็ว สวนทางกับการพัฒนาของภาครัฐที่ล่าช้าไม่ทันกับความเจริญที่ถาโถมเข้าไป
ถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักสายแรกที่เปิดสู่ภาคอีสาน โดยผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เป็นถนนที่รับใช้คนไทยมานานราว 60 ปีแล้ว
การเกิดขึ้นของถนนมิตรภาพเป็นตัวพลิกโฉมภาคอีสานครั้งใหญ่ เพราะเป็นการ "เปิดประตูแห่งโอกาส" ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของดินแดนที่ราบสูงทั้ง 20 จังหวัดในวันนี้
นั่นคือ "จุดเปลี่ยน" ของดินแดนที่แห้งแล้งกันดาร ดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ดินแดนที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ำ เป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ แต่อีสานเป็นดินแดนอารยธรรม มีรากเหง้าของตนเอง
ในแง่เศรษฐกิจ อีสานมีแรงงานเหลือเฟือแม้ไม่ใช่แรงงานฝีมือมากนัก แต่พวกเขาได้กลายมาเป็นปัจจัยการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม งานสร้างบ้าน-สร้างตึกสูงใหญ่ ช่วยสร้างความร่ำรวย มั่งคั่งให้กับธุรกิจในกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร และยังเป็นกลุ่มนักรบแรงงานในต่างแดน สร้างรายได้เข้าประเทศปีละมหาศาล นั่นคือภาพในห้วงวันวาน
จุดเปลี่ยนอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน ในยุครัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้มีการลงทุนขยายถนนมิตรภาพจาก
2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอีสานให้สอดคล้องไปกับนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ในกลุ่มอินโดจีน
ถนนมิตรภาพจึงเป็นถนนแห่งการค้าการลงทุนอย่างแท้จริง เพราะหลังจากนั้นก็มีนักลงทุนหลั่งไหลเข้าไปปักธงตั้งฐานการผลิตในภาคอีสาน ไม่ขาดสายจนถึงทุกวันนี้
ในอนาคตแม้ภาคอีสานจะไม่มีรถไฟความเร็วสูง ให้ใช้ แต่ในวันนี้เศรษฐกิจของภาคอีสานก็มีความมั่งคั่งพอตัวและพึ่งพาตนเองได้แล้ว โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผลิตอาหารหล่อเลี้ยงคนไทยและชาวโลก
วันนี้ภาคอีสานมีข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดในโลก เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพาราส่งออก พืชผัก ผลไม้ก็ปลูกได้แทบทุกชนิด
ขณะนี้ยังเป็นฐานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) มีแหล่งก๊าซและน้ำมัน แม้แต่สนามฟุตบอลมาตรฐานระดับโลกก็อยู่ที่ภาคอีสาน
ในแง่ทำเลที่ตั้ง ภาคอีสานยังมีจุดแข็งในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและอินโดจีนเป็นจุดเชื่อม ต่อทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคนี้อีกด้วย
ปัจจุบันภาคอีสานมีพลเมืองประมาณ 22 ล้านคน มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ แม้รายได้ประชากรจะไม่สูงเทียบชั้นกรุงเทพฯหรือเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ แต่พลังการบริโภคและกำลังซื้อมีต่อเนื่อง นับได้ว่า "มีกินมีใช้" ไม่อดอยากแร้นแค้นเหมือนในยุค 2-3 ทศวรรษที่แล้ว สินค้าหลายชนิดมียอดขายถล่มทลายที่ภาคอีสาน
ใครที่ไม่เคยมาสัมผัสภาคอีสานจริง ๆขอเชิญมายลโฉมความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่อยู่บนหอคอยที่มักหยิบฉวยชุดข้อมูลเก่า ๆ หรือจินตนาการแบบเดิม ๆ มาใช้ ทำให้การวิเคราะห์ชาวอีสานผิดพลาดมานักต่อนักแล้ว
"สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น" ภาคอีสานเปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ ..!
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ
โดยรัตนา จีนกลาง
++++++++++++++++++++++
อีสานในวันนี้เจริญจริงๆ ครับ
"อีสาน" พึ่งตนเองได้
ทุกวันนี้การเดินทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานผ่านถนนมิตรภาพ มีความสะดวก เว้นแต่ช่วงสุดสัปดาห์ เทศกาลสำคัญ หรือวันหยุดยาว ที่ถนนเส้นนี้จะติดขัดคลาคล่ำไปด้วยยวดยานพาหนะ
ยิ่งถ้าวันไหนมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จะทำให้รถติดยาวเหยียด กะเกณฑ์เวลาเดินทางได้ยากยิ่ง เพราะปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางเลี่ยง
ตอนนี้ปัญหาใหม่ที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ กระแสการปิดถนน ในช่วง 1-2 ปีนี้มักมีการชุมนุมปิดถนนประท้วงบนถนนสายหลักของประเทศบ่อยครั้ง ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าเริ่มมีปัญหาไม่น้อยเช่นกัน
ในกรณีของภาคอีสาน ผู้คนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการถนนมิตรภาพล้วนต้องการให้ทุกรัฐบาลเร่งลงทุนก่อ สร้างถนนสำรองคู่ขนานกันไป ซึ่งตอนนี้ก็มีอย่างน้อย 3 โครงการที่รอการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม นั่นคือ โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช โครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการไฮสปีดเทรน หรือรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย
โดยเฉพาะไฮสปีดเทรนที่เป็นโครงการแห่งความหวังของทั้งชาวอีสาน นักลงทุน และชาวจีน ตอนนี้ยังค้างเติ่งรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาชี้ขาดภายใต้โครงการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกำลังจะถูกเก็บเข้าลิ้นชัก เพราะบางฝ่ายกังวลเรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุนและภาระหนี้สิน
งานนี้ อาจไม่มีใครถูกใครผิด หลายฝ่ายช่วยกันตรวจสอบกลั่นกรองเป็นเรื่องที่ดี แต่เมืองไทยก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเร็ว ยิ่งขัดแย้งกันและมีสุญญากาศทางการเมืองนานเท่าไหร่ คนไทยทั้ง 68 ล้านคนก็จะยิ่งเสียโอกาสในการพัฒนามากเท่านั้น ท่ามกลางวงล้อมของชาติอื่น ๆ ที่เดินหน้าพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าไม่หยุดยั้ง แต่เมืองไทยกำลังถอยหลังลงทะเลลึก
การลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า ประปา ท่าเรือ ด่านชายแดน ระบบชลประทาน ล้วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาระดับพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท
การเกิดขึ้นของถนนหนทางในจังหวัดต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญคือทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามมานับไม่ถ้วน
เราต้องยอมรับความจริงว่า การค้า การลงทุนที่ขยายไปสู่ต่างจังหวัดเวลานี้ ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเรื่องถนน ไฟฟ้า ประปา ให้บริการไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอแทบทั้งสิ้น เพราะเมืองในต่างจังหวัดขยายตัวอย่างรวดเร็ว สวนทางกับการพัฒนาของภาครัฐที่ล่าช้าไม่ทันกับความเจริญที่ถาโถมเข้าไป
ถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักสายแรกที่เปิดสู่ภาคอีสาน โดยผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เป็นถนนที่รับใช้คนไทยมานานราว 60 ปีแล้ว
การเกิดขึ้นของถนนมิตรภาพเป็นตัวพลิกโฉมภาคอีสานครั้งใหญ่ เพราะเป็นการ "เปิดประตูแห่งโอกาส" ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของดินแดนที่ราบสูงทั้ง 20 จังหวัดในวันนี้
นั่นคือ "จุดเปลี่ยน" ของดินแดนที่แห้งแล้งกันดาร ดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ดินแดนที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ำ เป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ แต่อีสานเป็นดินแดนอารยธรรม มีรากเหง้าของตนเอง
ในแง่เศรษฐกิจ อีสานมีแรงงานเหลือเฟือแม้ไม่ใช่แรงงานฝีมือมากนัก แต่พวกเขาได้กลายมาเป็นปัจจัยการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม งานสร้างบ้าน-สร้างตึกสูงใหญ่ ช่วยสร้างความร่ำรวย มั่งคั่งให้กับธุรกิจในกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร และยังเป็นกลุ่มนักรบแรงงานในต่างแดน สร้างรายได้เข้าประเทศปีละมหาศาล นั่นคือภาพในห้วงวันวาน
จุดเปลี่ยนอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน ในยุครัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้มีการลงทุนขยายถนนมิตรภาพจาก
2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอีสานให้สอดคล้องไปกับนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ในกลุ่มอินโดจีน
ถนนมิตรภาพจึงเป็นถนนแห่งการค้าการลงทุนอย่างแท้จริง เพราะหลังจากนั้นก็มีนักลงทุนหลั่งไหลเข้าไปปักธงตั้งฐานการผลิตในภาคอีสาน ไม่ขาดสายจนถึงทุกวันนี้
ในอนาคตแม้ภาคอีสานจะไม่มีรถไฟความเร็วสูง ให้ใช้ แต่ในวันนี้เศรษฐกิจของภาคอีสานก็มีความมั่งคั่งพอตัวและพึ่งพาตนเองได้แล้ว โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผลิตอาหารหล่อเลี้ยงคนไทยและชาวโลก
วันนี้ภาคอีสานมีข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดในโลก เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพาราส่งออก พืชผัก ผลไม้ก็ปลูกได้แทบทุกชนิด
ขณะนี้ยังเป็นฐานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) มีแหล่งก๊าซและน้ำมัน แม้แต่สนามฟุตบอลมาตรฐานระดับโลกก็อยู่ที่ภาคอีสาน
ในแง่ทำเลที่ตั้ง ภาคอีสานยังมีจุดแข็งในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและอินโดจีนเป็นจุดเชื่อม ต่อทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคนี้อีกด้วย
ปัจจุบันภาคอีสานมีพลเมืองประมาณ 22 ล้านคน มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ แม้รายได้ประชากรจะไม่สูงเทียบชั้นกรุงเทพฯหรือเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ แต่พลังการบริโภคและกำลังซื้อมีต่อเนื่อง นับได้ว่า "มีกินมีใช้" ไม่อดอยากแร้นแค้นเหมือนในยุค 2-3 ทศวรรษที่แล้ว สินค้าหลายชนิดมียอดขายถล่มทลายที่ภาคอีสาน
ใครที่ไม่เคยมาสัมผัสภาคอีสานจริง ๆขอเชิญมายลโฉมความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่อยู่บนหอคอยที่มักหยิบฉวยชุดข้อมูลเก่า ๆ หรือจินตนาการแบบเดิม ๆ มาใช้ ทำให้การวิเคราะห์ชาวอีสานผิดพลาดมานักต่อนักแล้ว
"สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น" ภาคอีสานเปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ ..!
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ
โดยรัตนา จีนกลาง
++++++++++++++++++++++
อีสานในวันนี้เจริญจริงๆ ครับ