**บทความนี้เป็นเพียงบันทึกการรักษาอาการป่วยของลูกชายตามความเข้าใจของคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์นะคะ บางเนื้อหาอาจไม่ถูกต้องตามหลักการวงการแพทย์ค่ะ เป็นเพียงสิ่งที่คุณแม่ถ่ายทอดออกมาตามความเข้าใจเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่คนอื่นๆค่ะ**
บทที่1 ลูกนอนกรนและหลับไม่สนิทจากต่อมอดีนอยด์โต
ลูกชายเริ่มมีภาวะการหายใจเสียงดังตั้งแต่อายุ2ขวบ ตอนนั้นคุณแม่เองก็ไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร คิดว่ามีน้ำมูกที่ไม่สามารถสั่งออกมาได้ จึงได้พาไปดูดน้ำมูก คุณหมอบอกว่าไม่มีน้ำมูกแต่เสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงลมหายใจที่ไปกระทบกับต่อมหลังจมูกที่บวม ต่อมนี้มีชื่อว่าต่อมอดีนอยด์ จากที่ไม่เคยได้ยินชื่อต่อมนี้มาก่อนในชีวิต คุณแม่เริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกับมัน และมหากาพย์การต่อสู้กับต่อมอดีนอยด์ที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและรบกวนชีวิตประจำวันของลูกชายก็ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่วันนั้น
รายละเอียดต่อมอะดีนอยด์
ต่อมอดีนอยด์ (adenoid) เป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก (nasopharynx) มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล (tonsils) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมอดีนอยด์จะทำหน้าที่มากในช่วงวัยเด็ก (1-10 ปี) และจะทำหน้าที่น้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากนั้นจะลดขนาดลง และไม่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคในผู้ใหญ่
ต่อมอดีนอยด์นี้มักจะมีขนาดโต (adenoid hypertrophy) (เซลล์ในต่อมถูกกระตุ้นให้เพิ่มจำนวน) หรือมีการอักเสบเรื้อรัง (chronic adenoiditis) (ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำมูก ไอ มีเสมหะลงคอ เรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis), โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (non-allergic rhinitis), โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic rhinosinusitis), โรคหวัด (common cold or acute viral rhinitis) หรือเป็นหวัดบ่อย (เช่น อยู่รวมกับคนกลุ่มมากๆ เช่น ในเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก) เนื่องจากมีการอักเสบ และการระคายเคืองของโพรงหลังจมูก
การอักเสบของต่อมอดีนอยด์ (adenoiditis) จะทำให้เกิด
1. อาการทางจมูก เช่น คัดจมูก หายใจทางปาก หายใจลำบาก น้ำมูกไหล หรือมีเสมหะในคอ จากน้ำมูกไหลลงคอ ไอ นอนกรน พูดไม่ชัด เพราะมีเสียงอู้อี้ หรือเสียงขึ้นจมูก ถ้าการอักเสบดังกล่าวเรื้อรัง และเป็นนาน อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า เนื่องจากต้องอ้าปากหายใจเป็นเวลานาน เช่น ริมฝีปากหุบไม่สนิท, ฟันบนยื่น (adenoid facies)
2. อาการทางหู เนื่องจากการอักเสบดังกล่าว อาจทำให้ท่อยูสเตเชียน (ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction) อาจมีน้ำขังในหูชั้นกลาง (otitis media with effusion) หรือ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media)
3. นอนกรน นอนกระสับกระส่าย หยุดหายใจกลางคืนเป็นพักๆ (obstructive sleep disordered breathing)
ต่อมอดีนอยด์จึงเป็นแหล่งเก็บเชื้อโรคที่สำคัญสำหรับโรคไซนัส และหูชั้นกลางอักเสบ การรักษาต่อมอดีนอยด์โต หรืออักเสบ ประกอบด้วย การให้ยา เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasal steroids) หรือ antileukotriene หรือยาต้านจุลชีพ และการล้างจมูก ควบคุมโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (ถ้ามี)
จากนั้น ลูกชายได้รับการเอกซเรย์ดูขนาดของต่อมอดีนอยด์เพื่อประเมินการรักษา พบว่ามีขนาดใหญ่จริง ขนาดที่ใหญ่นี้จะไปปิดกั้นทางเดินหายใจของเด็กให้แคบลงโดยเฉพาะเวลานอนหลับ แต่ยังไม่มีภาวะการหยุดหายใจซึ่งถ้าเป็นจะอันตรายมาก มีผลต่อสมองเพราะออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
คุณหมอดูฟิล์มแล้วสรุปว่าขนาดของต่อมอดีนอยด์ไม่ใหญ่มาก ยอมรับได้ การรักษาคือให้ยากินและยาพ่นสเตียรอยด์เพื่อควบคุมและลดขนาดของเจ้าต่อมนี้ลง ยากินคือ Zyrtec (ยาแก้ภูมิแพ้จำพวก Antihistamine) ส่วนยาพ่นสเตียรอยด์คือ Avamis
ลูกชายได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เวลาสบายดีก็ต้องกินยาเหล่านี้เป็นยาพื้นฐาน จากนั้นเมื่อเข้าโรงเรียนการเจ็บป่วยก็มากขึ้น ป่วยทุกเดือน การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งลูกชายจะได้รับยาปฏิชีวนะทุกครั้งตั้งแต่ augmentin, omicef, miac, zithromax ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าการกินยาปฏิชีวนะบ่อยๆนั้นไม่เป็นผลดีต่อตับ แต่ไม่มีทางเลือก ไปโรงเรียน ป่วย รักษา ไปโรงเรียน กลับมาป่วยอีก อย่างนี้วนเวียนเป็นวัฎจักรของชีวิตเริ่มเรียนใน2เทอมของลูกชายตัวน้อย
บทที่2 ไซนัสอักเสบ โรคที่บั่นทอนสุขภาพกายและใจของเด็กและคุณแม่
การไปโรงเรียนแค่2เทอมนี้ส่งผลให้ลูกชายแอดมิทในโรงพยาบาลทั้งหมด6-7ครั้ง โดยหนึ่งในโรคที่ป่วยจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล2ครั้งคือ ไซนัสอักเสบ gdbfยาปฏิชีวนะที่คุณหมอจะให้เวลาเด็กเข้าโรงพยาบาลคือ Rocephine (Ceftriaxone) เป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือด คุณแม่สอนให้ลูกชายรู้จักการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ วันละอย่างน้อย3ครั้ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เด็กตัวแค่นี้สามารถใช้ syringe เพื่อล้างจมูกตัวเองได้ตั้งแต่อายุก่อน3ขวบถือว่าเก่งมากๆ แต่การเจ็บป่วยก็ยังเป็นๆหายมาโดยตลอด สุดท้ายคุณแม่ตัดสินใจให้ออกจากโรงเรียนนี้ทันที คุณแม่ตัดสินใจผิดเองตั้งแต่แรก โรงเรียนนี้เป็นระบบปิดติดแอร์ทั้งหมด แม้แต่ห้องทานข้าวก็ยังติดแอร์ เวลามีโรคติดต่อระบาด โรงเรียนไม่สามารถบริหารจัดการได้เพราะมีความคิดที่ว่า การเจ็บป่วยของเด็กเป็นเรื่องปกติ แต่คุณแม่ไม่คิดอย่างนั้น เมื่อแนวความคิดไม่ตรงกันเราเอาลูกเราออกมาดีกว่า จากนั้นได้ย้ายลูกชายมาเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนติดพัดลม เปิดแอร์เฉพาะเวลานอนซึ่งแค่1.30ชม.ต่อวันเท่านั้น ถ้าเด็กคนไหนไอมาโรงเรียน จะให้ใส่ mask ปิดปาก แม้กระทั่งคุณครูเองเมื่อไม่สบายต้องใส่ mask ปิดปาก เมื่อคอนเซปความคิดเรื่องนี้ตรงกัน คุณแม่จึงตัดสินใจให้ลูกชายเข้าเรียนที่นี่
บทที่3 ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ยังไม่หายขาด
การเจ็บป่วยของลูกชายเริ่มเบาบางลง เวลาป่วย น้อยครั้งที่จะมีไข้สูงเหมือนตอนเล็กๆ แต่ก็ยังมีเจ็บป่วยบ้างมาตลอด จนเมื่อประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน 2556 อาการเจ็บป่วยเรื้อรังกลับมาอีกครั้ง ยาปฏิชีวนะที่ได้กินคือ Augmentin สลับกันไปกับ Omicef ทุกครั้งที่ยาครบโดสที่คุณหมอให้มา ลูกชายจะมีลักษณะมีน้ำมูกอยู่ แต่ไม่เขียว เมื่อยาหมดคุณแม่จะพาลูกชายไปให้คุณหมอประเมินทุกครั้งว่าหายขาดมั้ย คำตอบที่ได้มาคือคอไม่แดงแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะต่อ ส่วนน้ำมูกให้ใช้น้ำเกลือล้างทุกวันจะหายไปเอง เมื่อหยุดยาปฏิชีวนะ ผ่านไปประมาณ5-10วันลูกชายจะกลับมาไอและมีน้ำมูกเขียวใหม่อีกตลอด เป็นอย่างนี้3-4รอบ การวินิจฉัยของหมอทุกครั้ง คุณหมอบอกว่าคุณแม่คิดมากไปเรื่องความเจ็บป่วยของลูกชาย ไม่เป็นไร ล้างจมูกไปเรื่อยๆ แต่คุณแม่ไม่คิดอย่างนั้นเพราะเราคือคนใกล้ชิดลูกมากที่สุด อย่างนี้ไม่ปกติแน่ ครั้งหลังๆคุณหมอไม่ให้ทานยาปฏิชีวนะให้ล้างจมูกอย่างเดียว จนคืนนึงลูกชายหายใจเสียงดังวี้ดตอนหลับกลางคืน ทำให้รู้ได้ว่าเรามาผิดทางแล้ว เช้านั้นคุณแม่เปลี่ยนไปปรึกษาหมออีกท่าน คุณหมอฟังเสียงปอดและหลอดลม ปรากฎว่าเสมหะลงหลอดลมแล้ว แต่ปอดยังดีอยู่ การรักษาครั้งนั้นคือ พ่นยาขยายหลอดลมวันละ2ครั้งเช้าเย็น ร่วมกับการกินยาปฏิชีวนะ การพ่นยาขยายหลอดลมนี้ทำให้เสมหะของลูกชายหลุดล่อนออกมาทุกครั้งหลังการพ่นแล้วบอกให้ไอออกมา การพ่นยาดำเนินต่อไปอย่างนี้ประมาณ10วัน เป็นช่วงที่ทรมานใจของคุณแม่มาก แต่คิดว่ายังไงครั้งนี้ต้องเอาให้หาย หลังจาก 10 วันผ่านไป หลอดลมกลับมาปกติ แต่น้ำมูกยังข้นเหนียวอยู่ คุณหมอให้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะได้ดำเนินต่อไปตามแผนภูมิการรักษาไซนัสอักเสบในเด็ก (ด้านล่างค่ะ)
หลังจากกินยาจนสุดแผนภูมิแล้วไม่ตอบสนองต่อยาตัวใดเลย คุณแม่เองกังวลมากระหว่างการกินยาแต่ละตัว และคุณแม่ได้ศึกษาข้อมูลการรักษาไซนัสอักเสบด้วยตัวเองตลอดควบคู่กับการรอผลการรักษาเพื่อเราจะได้สามารถวางแผนต่อไปได้ว่าถ้าไม่หายจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งหนึ่งที่ศึกษาแล้วติดอยู่ในใจมาตลอดคือต่อมอดีนอยด์ตัวปัญหาที่มีรายงานจากแพทย์หูคอจมูกว่าควรตัดทิ้งนั้นอยู่ในใจคุณแม่มาโดยตลอด แต่คิดว่าจะเป็นวิธีสุดท้ายที่จะทำเนื่องจากลูกยังเล็กและคุณหมอเกือบทุกคนที่ปรึกษาให้ความเห็นว่า โครงสร้างทางเดินหายใจของเด็กจะใหญ่ขึ้นเมื่ออายุ6ขวบ ต่อมอดีนอยด์ที่มีขนาดใหญ่จึงมีผลน้อยเมื่อถึงตอนนั้น แต่มันก็รอนานและเมื่อถึงอายุ6ขวบแล้วมันไม่ดีขึ้นมันจะเสียเวลาไปเปล่าๆ
บันทึกการรักษาการนอนกรนและไซนัสเรื้อรังของลูกชายที่ยาวนาน
บทที่1 ลูกนอนกรนและหลับไม่สนิทจากต่อมอดีนอยด์โต
ลูกชายเริ่มมีภาวะการหายใจเสียงดังตั้งแต่อายุ2ขวบ ตอนนั้นคุณแม่เองก็ไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร คิดว่ามีน้ำมูกที่ไม่สามารถสั่งออกมาได้ จึงได้พาไปดูดน้ำมูก คุณหมอบอกว่าไม่มีน้ำมูกแต่เสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงลมหายใจที่ไปกระทบกับต่อมหลังจมูกที่บวม ต่อมนี้มีชื่อว่าต่อมอดีนอยด์ จากที่ไม่เคยได้ยินชื่อต่อมนี้มาก่อนในชีวิต คุณแม่เริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกับมัน และมหากาพย์การต่อสู้กับต่อมอดีนอยด์ที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและรบกวนชีวิตประจำวันของลูกชายก็ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่วันนั้น
รายละเอียดต่อมอะดีนอยด์
ต่อมอดีนอยด์ (adenoid) เป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก (nasopharynx) มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล (tonsils) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมอดีนอยด์จะทำหน้าที่มากในช่วงวัยเด็ก (1-10 ปี) และจะทำหน้าที่น้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากนั้นจะลดขนาดลง และไม่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคในผู้ใหญ่
ต่อมอดีนอยด์นี้มักจะมีขนาดโต (adenoid hypertrophy) (เซลล์ในต่อมถูกกระตุ้นให้เพิ่มจำนวน) หรือมีการอักเสบเรื้อรัง (chronic adenoiditis) (ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำมูก ไอ มีเสมหะลงคอ เรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis), โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (non-allergic rhinitis), โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic rhinosinusitis), โรคหวัด (common cold or acute viral rhinitis) หรือเป็นหวัดบ่อย (เช่น อยู่รวมกับคนกลุ่มมากๆ เช่น ในเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก) เนื่องจากมีการอักเสบ และการระคายเคืองของโพรงหลังจมูก
การอักเสบของต่อมอดีนอยด์ (adenoiditis) จะทำให้เกิด
1. อาการทางจมูก เช่น คัดจมูก หายใจทางปาก หายใจลำบาก น้ำมูกไหล หรือมีเสมหะในคอ จากน้ำมูกไหลลงคอ ไอ นอนกรน พูดไม่ชัด เพราะมีเสียงอู้อี้ หรือเสียงขึ้นจมูก ถ้าการอักเสบดังกล่าวเรื้อรัง และเป็นนาน อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า เนื่องจากต้องอ้าปากหายใจเป็นเวลานาน เช่น ริมฝีปากหุบไม่สนิท, ฟันบนยื่น (adenoid facies)
2. อาการทางหู เนื่องจากการอักเสบดังกล่าว อาจทำให้ท่อยูสเตเชียน (ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction) อาจมีน้ำขังในหูชั้นกลาง (otitis media with effusion) หรือ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media)
3. นอนกรน นอนกระสับกระส่าย หยุดหายใจกลางคืนเป็นพักๆ (obstructive sleep disordered breathing)
ต่อมอดีนอยด์จึงเป็นแหล่งเก็บเชื้อโรคที่สำคัญสำหรับโรคไซนัส และหูชั้นกลางอักเสบ การรักษาต่อมอดีนอยด์โต หรืออักเสบ ประกอบด้วย การให้ยา เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasal steroids) หรือ antileukotriene หรือยาต้านจุลชีพ และการล้างจมูก ควบคุมโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (ถ้ามี)
จากนั้น ลูกชายได้รับการเอกซเรย์ดูขนาดของต่อมอดีนอยด์เพื่อประเมินการรักษา พบว่ามีขนาดใหญ่จริง ขนาดที่ใหญ่นี้จะไปปิดกั้นทางเดินหายใจของเด็กให้แคบลงโดยเฉพาะเวลานอนหลับ แต่ยังไม่มีภาวะการหยุดหายใจซึ่งถ้าเป็นจะอันตรายมาก มีผลต่อสมองเพราะออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
คุณหมอดูฟิล์มแล้วสรุปว่าขนาดของต่อมอดีนอยด์ไม่ใหญ่มาก ยอมรับได้ การรักษาคือให้ยากินและยาพ่นสเตียรอยด์เพื่อควบคุมและลดขนาดของเจ้าต่อมนี้ลง ยากินคือ Zyrtec (ยาแก้ภูมิแพ้จำพวก Antihistamine) ส่วนยาพ่นสเตียรอยด์คือ Avamis
ลูกชายได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เวลาสบายดีก็ต้องกินยาเหล่านี้เป็นยาพื้นฐาน จากนั้นเมื่อเข้าโรงเรียนการเจ็บป่วยก็มากขึ้น ป่วยทุกเดือน การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งลูกชายจะได้รับยาปฏิชีวนะทุกครั้งตั้งแต่ augmentin, omicef, miac, zithromax ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าการกินยาปฏิชีวนะบ่อยๆนั้นไม่เป็นผลดีต่อตับ แต่ไม่มีทางเลือก ไปโรงเรียน ป่วย รักษา ไปโรงเรียน กลับมาป่วยอีก อย่างนี้วนเวียนเป็นวัฎจักรของชีวิตเริ่มเรียนใน2เทอมของลูกชายตัวน้อย
บทที่2 ไซนัสอักเสบ โรคที่บั่นทอนสุขภาพกายและใจของเด็กและคุณแม่
การไปโรงเรียนแค่2เทอมนี้ส่งผลให้ลูกชายแอดมิทในโรงพยาบาลทั้งหมด6-7ครั้ง โดยหนึ่งในโรคที่ป่วยจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล2ครั้งคือ ไซนัสอักเสบ gdbfยาปฏิชีวนะที่คุณหมอจะให้เวลาเด็กเข้าโรงพยาบาลคือ Rocephine (Ceftriaxone) เป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือด คุณแม่สอนให้ลูกชายรู้จักการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ วันละอย่างน้อย3ครั้ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เด็กตัวแค่นี้สามารถใช้ syringe เพื่อล้างจมูกตัวเองได้ตั้งแต่อายุก่อน3ขวบถือว่าเก่งมากๆ แต่การเจ็บป่วยก็ยังเป็นๆหายมาโดยตลอด สุดท้ายคุณแม่ตัดสินใจให้ออกจากโรงเรียนนี้ทันที คุณแม่ตัดสินใจผิดเองตั้งแต่แรก โรงเรียนนี้เป็นระบบปิดติดแอร์ทั้งหมด แม้แต่ห้องทานข้าวก็ยังติดแอร์ เวลามีโรคติดต่อระบาด โรงเรียนไม่สามารถบริหารจัดการได้เพราะมีความคิดที่ว่า การเจ็บป่วยของเด็กเป็นเรื่องปกติ แต่คุณแม่ไม่คิดอย่างนั้น เมื่อแนวความคิดไม่ตรงกันเราเอาลูกเราออกมาดีกว่า จากนั้นได้ย้ายลูกชายมาเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนติดพัดลม เปิดแอร์เฉพาะเวลานอนซึ่งแค่1.30ชม.ต่อวันเท่านั้น ถ้าเด็กคนไหนไอมาโรงเรียน จะให้ใส่ mask ปิดปาก แม้กระทั่งคุณครูเองเมื่อไม่สบายต้องใส่ mask ปิดปาก เมื่อคอนเซปความคิดเรื่องนี้ตรงกัน คุณแม่จึงตัดสินใจให้ลูกชายเข้าเรียนที่นี่
บทที่3 ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ยังไม่หายขาด
การเจ็บป่วยของลูกชายเริ่มเบาบางลง เวลาป่วย น้อยครั้งที่จะมีไข้สูงเหมือนตอนเล็กๆ แต่ก็ยังมีเจ็บป่วยบ้างมาตลอด จนเมื่อประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน 2556 อาการเจ็บป่วยเรื้อรังกลับมาอีกครั้ง ยาปฏิชีวนะที่ได้กินคือ Augmentin สลับกันไปกับ Omicef ทุกครั้งที่ยาครบโดสที่คุณหมอให้มา ลูกชายจะมีลักษณะมีน้ำมูกอยู่ แต่ไม่เขียว เมื่อยาหมดคุณแม่จะพาลูกชายไปให้คุณหมอประเมินทุกครั้งว่าหายขาดมั้ย คำตอบที่ได้มาคือคอไม่แดงแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะต่อ ส่วนน้ำมูกให้ใช้น้ำเกลือล้างทุกวันจะหายไปเอง เมื่อหยุดยาปฏิชีวนะ ผ่านไปประมาณ5-10วันลูกชายจะกลับมาไอและมีน้ำมูกเขียวใหม่อีกตลอด เป็นอย่างนี้3-4รอบ การวินิจฉัยของหมอทุกครั้ง คุณหมอบอกว่าคุณแม่คิดมากไปเรื่องความเจ็บป่วยของลูกชาย ไม่เป็นไร ล้างจมูกไปเรื่อยๆ แต่คุณแม่ไม่คิดอย่างนั้นเพราะเราคือคนใกล้ชิดลูกมากที่สุด อย่างนี้ไม่ปกติแน่ ครั้งหลังๆคุณหมอไม่ให้ทานยาปฏิชีวนะให้ล้างจมูกอย่างเดียว จนคืนนึงลูกชายหายใจเสียงดังวี้ดตอนหลับกลางคืน ทำให้รู้ได้ว่าเรามาผิดทางแล้ว เช้านั้นคุณแม่เปลี่ยนไปปรึกษาหมออีกท่าน คุณหมอฟังเสียงปอดและหลอดลม ปรากฎว่าเสมหะลงหลอดลมแล้ว แต่ปอดยังดีอยู่ การรักษาครั้งนั้นคือ พ่นยาขยายหลอดลมวันละ2ครั้งเช้าเย็น ร่วมกับการกินยาปฏิชีวนะ การพ่นยาขยายหลอดลมนี้ทำให้เสมหะของลูกชายหลุดล่อนออกมาทุกครั้งหลังการพ่นแล้วบอกให้ไอออกมา การพ่นยาดำเนินต่อไปอย่างนี้ประมาณ10วัน เป็นช่วงที่ทรมานใจของคุณแม่มาก แต่คิดว่ายังไงครั้งนี้ต้องเอาให้หาย หลังจาก 10 วันผ่านไป หลอดลมกลับมาปกติ แต่น้ำมูกยังข้นเหนียวอยู่ คุณหมอให้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะได้ดำเนินต่อไปตามแผนภูมิการรักษาไซนัสอักเสบในเด็ก (ด้านล่างค่ะ)
หลังจากกินยาจนสุดแผนภูมิแล้วไม่ตอบสนองต่อยาตัวใดเลย คุณแม่เองกังวลมากระหว่างการกินยาแต่ละตัว และคุณแม่ได้ศึกษาข้อมูลการรักษาไซนัสอักเสบด้วยตัวเองตลอดควบคู่กับการรอผลการรักษาเพื่อเราจะได้สามารถวางแผนต่อไปได้ว่าถ้าไม่หายจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งหนึ่งที่ศึกษาแล้วติดอยู่ในใจมาตลอดคือต่อมอดีนอยด์ตัวปัญหาที่มีรายงานจากแพทย์หูคอจมูกว่าควรตัดทิ้งนั้นอยู่ในใจคุณแม่มาโดยตลอด แต่คิดว่าจะเป็นวิธีสุดท้ายที่จะทำเนื่องจากลูกยังเล็กและคุณหมอเกือบทุกคนที่ปรึกษาให้ความเห็นว่า โครงสร้างทางเดินหายใจของเด็กจะใหญ่ขึ้นเมื่ออายุ6ขวบ ต่อมอดีนอยด์ที่มีขนาดใหญ่จึงมีผลน้อยเมื่อถึงตอนนั้น แต่มันก็รอนานและเมื่อถึงอายุ6ขวบแล้วมันไม่ดีขึ้นมันจะเสียเวลาไปเปล่าๆ