(คำนำจากจขกท - บทความนี้มีรายละเอียดเยอะพอสมควร อาจจะมีที่ตกไปบ้าง ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย)
ที่มา
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40411651
หลังจากความปราชัยที่มิดเวย์ของกองทัพเรือและการสูญเสียทหารของกองทัพบกอย่างมากมายที่สุสานทหารญี่ปุ่นชื่อเกาะกัวดาคาแนล กองทัพเรือญี่ปุ่นหรือแม้แต่กองทัพบกญี่ปุ่นไม่สามารถกำหนดทิศทางของสงครามได้อีก ทุกอย่างขึ้นกับอเมริกันแล้วว่าจะเลือกบุกที่ไหน เมื่อไหร่ ญี่ปุ่นทำได้แค่ส่งกองเรือหรือสั่งให้ทหารที่อยู่แถวนั้นป้องกันตัวเองอย่างสุดความสามารถเท่านั้น แต่ก็เหมือนปาไข่ใส่กำแพงเหล็ก
กองทัพบกและกองทัพเรือของสหรัฐและพันธมิตรออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เถียงกันว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร โดยแผนของกองทัพเรือของนายพลเชสเตอร์ นิมิตส์เสนอให้ใช้กองทัพเรือบุกยึดหมู่เกาะมาร์แแชล-กิวเบิร์ต หมู่เกาะมาริอาน่า เกาะอิโว จิม่าและสุดท้ายที่ไต้หวันหรือเกาะริวกิว(โอกินาว่า) จากนั้น สร้างสนามบินและฐานทัพตามเกาะ เพื่อใช้เครื่องบิน เรือรบและเรือดำน้ำตัดเส้นทางลำเลียงเรือพาณิชย์ของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นขาดทรัพยากรทำสงครามและขาดเสบียงเลี้ยงดูทหารและประชาชนให้อดตายกันไปข้าง โดยมีข้อดีตรงที่ใช้ทหารบุกยึดเกาะน้อย ส่วนกองทัพบกนำโดยนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ เสนอให้บุกตามแนวเกาะใหญ่ ตั้งแต่ปาปัวกินีและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ขึ้นไป และใช้แนวเกาะนี้เป็นฐานทัพ เพื่อตัดเสบียงเส้นเดียวกับแผนของกองทัพเรือ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนที่แม็คอาเธอร์หนีจากฟิลิปปินส์ ได้สัญญาออกทางวิทยุว่าจะกลับไปช่วย เลยติดหนี้สัญญาอยู่ อย่างที่เห็นกัน แผนของกองทัพเรือไม่ใช้กองทัพบก และแผนของกองทัพบกก็ไม่ใช้กองทัพเรือ เกิดอาการกินเกาเหลากันแบบนี้ไปเรื่อย
อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการให้ทั้งสองทัพดำเนินการพร้อมกันไปเลย กองทัพเรืออเมริกาและนาวิกโยธินจึงมุ่งหน้าสู่มาร์แแชล-กิวเบิร์ตและหมู่เกาะมาริอาน่าทันที (ได้ข่าวว่าที่ปาปัวนิวกินี กองทัพบกญี่ปุ่นเจอกับกองทัพบกสหรัฐจนสภาพดูไม่จืดเลยทีเดียว แต่อย่างที่บอกไปหลายรอบแล้วว่า กองทัพเรือเราไม่ถูกกับกองทัพบก เราจะข้ามตรงนี้ไปเลย)
แต่ก่อนอื่น ขอให้ชาว Kancolle ยืนไว้อาลัยนายพลเรือเอกอิโซโรคุ ยามาโมโตะซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินถูกยิงตกระหว่างเดินทางจากเกาะทรุคไปเกาะราบาลเพื่อตรวจตราทหาร (เพราะรหัสกองทัพเรือญี่ปุ่นโดนอเมริกันดักฟังและถอดรหัสได้...อีกแล้ว) และนายพลเรือมิเนอิชิ โคงะ ผู้สืบทอดที่เครื่องบินตกหลังบินเข้าไปในพายุไต้ฝุ่น (ขณะนี้ ผู้บัญชาการสูงสุดของกองเรือผสมเป็นนายพลเรือโซเอมุ โทโยดะ)
ที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/Isoroku_Yamamoto
-ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์-
หมู่เกาะมาริอาน่าเป็นหนึ่งในแนวป้องกันที่นายพลเอกยามาโมโตะวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนแรก ที่สำคัญกว่านั้น ระยะการบินของเครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันรุ่นใหม่ B-29 Superfortress ที่ไกลขึ้นทำให้อเมริกันสามารถทิ้งระเบิดเกาะญี่ปุ่นได้ ถ้ากองเรืออเมริกันสามารถยึดเกาะนี้ได้ กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกนอกจากสู้ตายอย่าให้อเมริกันยึดหมู่เกาะนี้ได้โดยเด็ดขาด
แต่ตอนนี้ พลังทางอุตสาหกรรมของสหรัฐได้สำแดงเดชแล้วเรียบร้อย ฝูงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเส็กที่ทั้งเร็วกว่า แข็งแรงกว่าและจุเครื่องบินเยอะกว่า (Wasp, Hornet, และ Yorktown ที่โดนญี่ปุ่นจมไประหว่างศึกก่อนหน้านี้ก็มาเกิดใหม่เป็นเรือชั้นเอสเส๊กด้วย) เรือประจันบานรุ่นใหม่ที่ทั้งเร็วและแรง (ช้ากว่าชั้นคองโกนิดหน่อย แต่แกร่งกว่าแน่นอนเนื่องจากเรือชั้นคองโกถูกดัดแปลงมาจากเรือลาดตระเวน) และเครื่องบินขับไล่ Hellcat ที่ทั้งเกราะหนากว่าและเร็วกว่า Mitsubishi Zero ของญี่ปุ่น กำลังจะได้แสดงแสงยานุภาพในศึกนี้
ที่มา
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40905996
ศึกนี้ กองเรือญี่ปุ่นนำโดยนายพลเรือโทจิซาบุโระ โอซาวะ โดยมีไทโฮเป็นเรือธง (ติดตามความเทพของเรือไทโฮได้ที่กระทู้ของคุณ Asceli ที่นี่
http://ppantip.com/topic/31660086 ) เรืออื่นที่มาด้วยกันทั้งโชวคาคุ ซุยคาคุ จุนโย ฮิโย ริวโฮ ชิโทเสะ ชิโยดะ ซุยโฮ อีกทั้งเรือประจันบานคองโก ฮารุนะ นากาโตะ และซุปเปอร์เรือประจันบานยามาโตะและมูซาชิ (ที่ใหม่สดซิงๆ) แต่นักบินที่ประจำเครื่องบิน 450 เครื่องบนกองเรือ ล้วนแต่เป็นนักบินใหม่ด้อยประสบการณ์ แถมยังได้รับการฝึกแบบขอไปที เพื่อให้เต็มโควต้า จะกลายเป็นสมันน้อยในศึกนี้ (ยังมีเครื่องบินบนเกาะอีก 300 เครื่อง แต่เป็นของกองทัพบกอะนะ)
ส่วนกองทัพเรืออเมริกา มาชุดใหญ่มหึมา โดยมีนายพลเรือเรย์มอนด์ สปรูซเป็นผู้บัญชาการ นายพลเรือโทวิลลิส ลีเป็นแม่ทัพเรือธง Washinton เรือที่นำมาได้แก่
เรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน Essex, Hornet, Yorktown, Bunker Hill, Wasp, Enterprise, Lexington
เรือบรรทุกเครื่องบินเบา Langley, Cowpens, Belleau Wood, Bataan, Cabot, Monterey, San Jacinto, Princeton
เรือประจันบาน Washington (เรือธง), North Carolina, Indiana, Iowa, New Jersey, South Dakota, Alabama
เรือลาดตระเวนหนัก Baltimore, Boston, Canberra, Indianapolis, Wichita, Minneapolis, New Orleans, และ San Francisco
(เยอะไหม นี่ยังไม่ได้รวมเรือลาดตระเวนเบา เรือพิฆาตและเรือดำน้ำที่มีมากกว่าญี่ปุ่นถึง 2 เท่าอีกนะเนี่ย)
และยังมาพร้อมกับนักบินหนุ่มที่ตอนนี้เป็นนักบินเจนศึกเรียบร้อยกับเครื่องบินอีก 956 ลำ
(กองเรืออเมริกันยกทัพมารวม 5 ทัพ รวมทั้งหมดมีเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน 7 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 8 ลำ เรือประจันบานเร็ว 7 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 8 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 13 ลำ เรือพิฆาต 58 ลำและเรือดำน้ำอีก 28 ลำ ส่วนญี่ปุ่นมีเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน 5 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 4 ลำ เรือประจันบาน 5 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 13 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ เรือพิฆาต 27 ลำและเรือดำน้ำ 24 ลำ)
ในวันแรกของยุทธนาวีนี้ กองเรืออเมริกันไม่ได้บุกเข้าไปหากองเรือญี่ปุ่นทันทีเนื่องจากมีประสบการณ์ที่หมู่เกาะโซโลมอนว่าสู้ตอนกลางคืนไม่ได้เลย (ฝันร้ายแห่งโซโลมอนยังคงตามหลอกหลอนอยู่) แถมกองทัพเรือญี่ปุ่นยังชอบวางแผนการซับซ้อน นิมิตส์จึงสั่งให้รักษากองเรือไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการเข้าโจมตีตอนกลางคืน จนกว่าพระอาทิตย์จะขึ้น กองเรือญี่ปุ่นที่เพิ่งจะเดินทางมาถึงและกำลังเติมน้ำมันอยู่เลยรอดไปได้อย่างหวุดหวิด
พอเริ่มขึ้นตีห้าเท่านั้น ฝูงบินลาดตระเวนญี่ปุ่น(กองทัพบก)จากเกาะกวมตรวจเจอกองเรือของสปรูซ ก็รีบส่งเครื่องบินขับไล่มาสู้ทันที เครื่องบินอเมริกันตก 1 ลำขณะที่ของญี่ปุ่นตก 35 ลำ!
ถึงตอนสายของวัน คราวนี้เป็นทีของเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินบ้าง คราวนี้เครื่องบินของญี่ปุ่นตก 25 ลำจาก 68 ลำ แต่ก็ยังยิงเครื่องบินของอเมริกันตกแค่ลำเดียวเท่านั้น! South Dakota โดนระดมยิงอย่างหนัก แต่ก็ยังแล่นต่อไปได้ ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินไม่แม้แต่จะเฉียดด้วยซ้ำ
รอบแรกของกองทัพเรือเน่าสนิท รอบสองส่งไปอีก คราวนี้ส่งชุดใหญ่เลย 107 ลำ มีเพียงสามลำเท่านั้นที่ฝ่าไปจนเจอเรือบรรทุกเครื่องบินเบา Princeton แต่ก็ถูกยิงตกหมดอยู่ดี รวมแล้ว เสียเครื่องบินไปอีก 97 ลำ (อเมริกันโดนยิงตก 4 ลำ และชนกันเองอีก 2 ลำ)
รอบที่สาม ส่งไปแค่ 47 ลำ เจอกับฝูงบินอเมริกัน 40 ลำเข้าอย่างจัง แต่ก็รอดมาได้หวุดหวิด มี 7 ลำเท่านั้นที่ตก และได้ยิง Enterprise ด้วย แต่ก็แค่ถากๆเท่านั้น (ที่รอดมาได้เยอะเพราะฝูงบินนี้เป็นนักบินที่รอดมาจากที่มิดเวย์และกัวดาคาแนลทั้งนั้น)
รอบที่สี่ เน่าสนิทก่อนส่งออกไปเสียอีก เพราะแจ้งตำแหน่งผิด นักบินเลยเผาน้ำมันฟรีก่อนลงจอดที่เกาะกวมและโรต้าเพื่อเติมน้ำมัน (ยิ่งมีน้อยๆอยู่ด้วย เจ้าพวกนี้นี่) หลังจากนั้น จึงบินกลับไปหากองเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันต่อ USS Wasp และ USS Bunker Hill โดนโจมตี แต่พลาดเป้าหมด แถมยังเจอเครื่องบิน Hellcat ยิงตกไปอีก 30 ลำ จนนักบินอเมริกันได้แจ้งข่าวอันโด่งดังทางวิทยุ
"Hell, this is like an old-time turkey shoot!"
"โอ้โหเหะ นี่ยังกะยิงไก่งวงเมื่อวันวานเลยวุ้ย"
นับจากนี้ไป ศึกนี้เลยได้รับการขนานนามว่า "The Great Mariana Turkey Shoot - เทศกาลยิงไก่งวงที่มาริอาน่า" (ขอโทษด้วยนะซุยคาคุ)
ที่มา
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=38189294
ในขณะที่ฝูงบินญี่ปุ่นโดนยิงตกเป็นใบไม้ร่วงอยู่นั้น กองเรือดำน้ำอเมริกันก็เจอไทโฮ เรือธงของโอซาวะเข้า เรือดำน้ำ USS Albacore เลยได้โอกาสยิงตอปิโดใส่ไทโฮ 6 ลูก แล้วรีบหนีไปก่อนที่เครื่องบินจากไทโฮจะจมเรือของตน มีตอปิโดเพียงลูกเดียวเท่านั้นที่เข้าเป้า ทำให้แก็สในเรือรั่ว แต่ลูกเรือดันไปซ่อมโดยไปเร่งเครื่องระบายอากาศจนแก็สกระจายจนทั่วเรือประกอบกับตัวเรือเกราะหนามากแก๊สเลยอัดอยู่ในเรืออย่างนั้น จนในที่สุดก็ไปเจอสะเก็ดไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟบนเพดานบินและเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ลูกเรือ 1650 คน(จากทั้งหมด 2150 คน)เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้และไทโฮก็หายไปจากสารระบบกองทัพเรือญี่ปุ่น
แต่ความซวยยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น เรือดำน้ำ USS Cavalla ไปเจอกับโชวคาคุเข้า เลยยิงตอปิโดใส่ไป 6 ลูกเช่นกัน และโดนเข้ากราบขวาเข้าอย่างจัง 3 ลูก โดยลูกหนึ่งโดนที่บรรจุน้ำมันเครื่องบินด้วย ไม่กี่นาทีถัดมา โชวคาคุก็ลุกไหม้ทั้งลำและระเบิดอย่างต่อเนื่องจนคว่ำลง เรือพิฆาตยูระคาเซะพยายามจะล้างแค้นให้ แต่ Cavalla ก็หนีรอดไปได้
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=39061978
ตกกลางคืน กองเรือสหรัฐถึงได้ถอนตัว แล้วค่อยกลับมาตอนพระอาทิตย์ขึ้น แต่ท่าทางจะถอนไปไกลเกิน ทำให้หลังจบศึกกว่าจะกลับถึงเครื่องบินของตนก็ค่ำแล้ว (ส่งเครื่องบินไปตอนบ่ายกลับตอนค่ำ) จนนายพลเรือมาร์ค มิตเชอร์ต้องขึ้นไปส่องไฟบนลานบินด้วยตนเองพร้อมกับลูกเรือ ช่วยส่องทางให้เครื่องบินอเมริกันบินกลับเรือได้ จากฝูงเครื่องบินมหึมาที่ส่งออกไป 230 ลำ มี 80 ลำตกกลางทางหรือชนกับลานบิน (ถ้ามีเรือดำน้ำญี่ปุ่นอยู่แถวนั้นแหละก็ รับรองไม่รอดแน่นอน)
แต่เครื่องบินอเมริกันได้ทำหน้าที่ของตนเองเรียบร้อยแล้วก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะเครื่องบินญี่ปุ่นเหลือแค่ 35 ลำเท่านั้น ฮิโยโดนโจมตีอย่างหนักจนจมลง จุนโซ ชิโยดะและซุยคาคุเสียหายไม่น้อย ฮารุนะที่ช่วยคุ้มกันก็โดนด้วย โดยมีเครื่องบินอเมริกัน 20 ลำเท่านั้นที่ถูกยิงตก และเครื่องบินที่เหลือของญี่ปุ่นตายเรียบไม่มีเหลือ
ภายในสองวัน กองทัพเรือญี่ปุ่นก็ไม่เหลือเครื่องบินสำหรับทำการรบครั้งนี้หรือหลังจากนี้ได้อีก เรือบรรทุกเครื่องบินกลายเป็นเรือป่าช้า ไม่มีเครื่องบิน ไม่มีนักบิน มีแต่ลูกเรือกับกัปตันเท่านั้น
ขณะเดียวกัน กองทัพบกญี่ปุ่นบนเกาะไซปันเริ่มแสดงอาการระยะสุดท้ายที่อันตรายที่สุดของชาติที่ใกล้แพ้สงคราม นั่นคือสั่งให้ทหารทุกคนสู้จนตัวตาย ห้ามโดนจับเป็นเฉลย ซ้ำยังยุยงให้ชาวบ้านที่อยู่บนเกาะฆ่าตัวตาย ไม่ให้อเมริกันจับได้ สร้างความตกตะลึงและหดหู่ให้กับนาวิกโยธินอเมริกันเป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทำสงครามของอเมริกาในภายหลัง
Kantai Collection - The Great Mariana Turkey Shoot
ที่มา http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40411651
หลังจากความปราชัยที่มิดเวย์ของกองทัพเรือและการสูญเสียทหารของกองทัพบกอย่างมากมายที่สุสานทหารญี่ปุ่นชื่อเกาะกัวดาคาแนล กองทัพเรือญี่ปุ่นหรือแม้แต่กองทัพบกญี่ปุ่นไม่สามารถกำหนดทิศทางของสงครามได้อีก ทุกอย่างขึ้นกับอเมริกันแล้วว่าจะเลือกบุกที่ไหน เมื่อไหร่ ญี่ปุ่นทำได้แค่ส่งกองเรือหรือสั่งให้ทหารที่อยู่แถวนั้นป้องกันตัวเองอย่างสุดความสามารถเท่านั้น แต่ก็เหมือนปาไข่ใส่กำแพงเหล็ก
กองทัพบกและกองทัพเรือของสหรัฐและพันธมิตรออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เถียงกันว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร โดยแผนของกองทัพเรือของนายพลเชสเตอร์ นิมิตส์เสนอให้ใช้กองทัพเรือบุกยึดหมู่เกาะมาร์แแชล-กิวเบิร์ต หมู่เกาะมาริอาน่า เกาะอิโว จิม่าและสุดท้ายที่ไต้หวันหรือเกาะริวกิว(โอกินาว่า) จากนั้น สร้างสนามบินและฐานทัพตามเกาะ เพื่อใช้เครื่องบิน เรือรบและเรือดำน้ำตัดเส้นทางลำเลียงเรือพาณิชย์ของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นขาดทรัพยากรทำสงครามและขาดเสบียงเลี้ยงดูทหารและประชาชนให้อดตายกันไปข้าง โดยมีข้อดีตรงที่ใช้ทหารบุกยึดเกาะน้อย ส่วนกองทัพบกนำโดยนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ เสนอให้บุกตามแนวเกาะใหญ่ ตั้งแต่ปาปัวกินีและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ขึ้นไป และใช้แนวเกาะนี้เป็นฐานทัพ เพื่อตัดเสบียงเส้นเดียวกับแผนของกองทัพเรือ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนที่แม็คอาเธอร์หนีจากฟิลิปปินส์ ได้สัญญาออกทางวิทยุว่าจะกลับไปช่วย เลยติดหนี้สัญญาอยู่ อย่างที่เห็นกัน แผนของกองทัพเรือไม่ใช้กองทัพบก และแผนของกองทัพบกก็ไม่ใช้กองทัพเรือ เกิดอาการกินเกาเหลากันแบบนี้ไปเรื่อย
อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการให้ทั้งสองทัพดำเนินการพร้อมกันไปเลย กองทัพเรืออเมริกาและนาวิกโยธินจึงมุ่งหน้าสู่มาร์แแชล-กิวเบิร์ตและหมู่เกาะมาริอาน่าทันที (ได้ข่าวว่าที่ปาปัวนิวกินี กองทัพบกญี่ปุ่นเจอกับกองทัพบกสหรัฐจนสภาพดูไม่จืดเลยทีเดียว แต่อย่างที่บอกไปหลายรอบแล้วว่า กองทัพเรือเราไม่ถูกกับกองทัพบก เราจะข้ามตรงนี้ไปเลย)
แต่ก่อนอื่น ขอให้ชาว Kancolle ยืนไว้อาลัยนายพลเรือเอกอิโซโรคุ ยามาโมโตะซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินถูกยิงตกระหว่างเดินทางจากเกาะทรุคไปเกาะราบาลเพื่อตรวจตราทหาร (เพราะรหัสกองทัพเรือญี่ปุ่นโดนอเมริกันดักฟังและถอดรหัสได้...อีกแล้ว) และนายพลเรือมิเนอิชิ โคงะ ผู้สืบทอดที่เครื่องบินตกหลังบินเข้าไปในพายุไต้ฝุ่น (ขณะนี้ ผู้บัญชาการสูงสุดของกองเรือผสมเป็นนายพลเรือโซเอมุ โทโยดะ)
ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Isoroku_Yamamoto
-ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์-
หมู่เกาะมาริอาน่าเป็นหนึ่งในแนวป้องกันที่นายพลเอกยามาโมโตะวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนแรก ที่สำคัญกว่านั้น ระยะการบินของเครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันรุ่นใหม่ B-29 Superfortress ที่ไกลขึ้นทำให้อเมริกันสามารถทิ้งระเบิดเกาะญี่ปุ่นได้ ถ้ากองเรืออเมริกันสามารถยึดเกาะนี้ได้ กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกนอกจากสู้ตายอย่าให้อเมริกันยึดหมู่เกาะนี้ได้โดยเด็ดขาด
แต่ตอนนี้ พลังทางอุตสาหกรรมของสหรัฐได้สำแดงเดชแล้วเรียบร้อย ฝูงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเส็กที่ทั้งเร็วกว่า แข็งแรงกว่าและจุเครื่องบินเยอะกว่า (Wasp, Hornet, และ Yorktown ที่โดนญี่ปุ่นจมไประหว่างศึกก่อนหน้านี้ก็มาเกิดใหม่เป็นเรือชั้นเอสเส๊กด้วย) เรือประจันบานรุ่นใหม่ที่ทั้งเร็วและแรง (ช้ากว่าชั้นคองโกนิดหน่อย แต่แกร่งกว่าแน่นอนเนื่องจากเรือชั้นคองโกถูกดัดแปลงมาจากเรือลาดตระเวน) และเครื่องบินขับไล่ Hellcat ที่ทั้งเกราะหนากว่าและเร็วกว่า Mitsubishi Zero ของญี่ปุ่น กำลังจะได้แสดงแสงยานุภาพในศึกนี้
ที่มา http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40905996
ศึกนี้ กองเรือญี่ปุ่นนำโดยนายพลเรือโทจิซาบุโระ โอซาวะ โดยมีไทโฮเป็นเรือธง (ติดตามความเทพของเรือไทโฮได้ที่กระทู้ของคุณ Asceli ที่นี่ http://ppantip.com/topic/31660086 ) เรืออื่นที่มาด้วยกันทั้งโชวคาคุ ซุยคาคุ จุนโย ฮิโย ริวโฮ ชิโทเสะ ชิโยดะ ซุยโฮ อีกทั้งเรือประจันบานคองโก ฮารุนะ นากาโตะ และซุปเปอร์เรือประจันบานยามาโตะและมูซาชิ (ที่ใหม่สดซิงๆ) แต่นักบินที่ประจำเครื่องบิน 450 เครื่องบนกองเรือ ล้วนแต่เป็นนักบินใหม่ด้อยประสบการณ์ แถมยังได้รับการฝึกแบบขอไปที เพื่อให้เต็มโควต้า จะกลายเป็นสมันน้อยในศึกนี้ (ยังมีเครื่องบินบนเกาะอีก 300 เครื่อง แต่เป็นของกองทัพบกอะนะ)
ส่วนกองทัพเรืออเมริกา มาชุดใหญ่มหึมา โดยมีนายพลเรือเรย์มอนด์ สปรูซเป็นผู้บัญชาการ นายพลเรือโทวิลลิส ลีเป็นแม่ทัพเรือธง Washinton เรือที่นำมาได้แก่
เรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน Essex, Hornet, Yorktown, Bunker Hill, Wasp, Enterprise, Lexington
เรือบรรทุกเครื่องบินเบา Langley, Cowpens, Belleau Wood, Bataan, Cabot, Monterey, San Jacinto, Princeton
เรือประจันบาน Washington (เรือธง), North Carolina, Indiana, Iowa, New Jersey, South Dakota, Alabama
เรือลาดตระเวนหนัก Baltimore, Boston, Canberra, Indianapolis, Wichita, Minneapolis, New Orleans, และ San Francisco
(เยอะไหม นี่ยังไม่ได้รวมเรือลาดตระเวนเบา เรือพิฆาตและเรือดำน้ำที่มีมากกว่าญี่ปุ่นถึง 2 เท่าอีกนะเนี่ย)
และยังมาพร้อมกับนักบินหนุ่มที่ตอนนี้เป็นนักบินเจนศึกเรียบร้อยกับเครื่องบินอีก 956 ลำ
(กองเรืออเมริกันยกทัพมารวม 5 ทัพ รวมทั้งหมดมีเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน 7 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 8 ลำ เรือประจันบานเร็ว 7 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 8 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 13 ลำ เรือพิฆาต 58 ลำและเรือดำน้ำอีก 28 ลำ ส่วนญี่ปุ่นมีเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐาน 5 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 4 ลำ เรือประจันบาน 5 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 13 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ เรือพิฆาต 27 ลำและเรือดำน้ำ 24 ลำ)
ในวันแรกของยุทธนาวีนี้ กองเรืออเมริกันไม่ได้บุกเข้าไปหากองเรือญี่ปุ่นทันทีเนื่องจากมีประสบการณ์ที่หมู่เกาะโซโลมอนว่าสู้ตอนกลางคืนไม่ได้เลย (ฝันร้ายแห่งโซโลมอนยังคงตามหลอกหลอนอยู่) แถมกองทัพเรือญี่ปุ่นยังชอบวางแผนการซับซ้อน นิมิตส์จึงสั่งให้รักษากองเรือไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการเข้าโจมตีตอนกลางคืน จนกว่าพระอาทิตย์จะขึ้น กองเรือญี่ปุ่นที่เพิ่งจะเดินทางมาถึงและกำลังเติมน้ำมันอยู่เลยรอดไปได้อย่างหวุดหวิด
พอเริ่มขึ้นตีห้าเท่านั้น ฝูงบินลาดตระเวนญี่ปุ่น(กองทัพบก)จากเกาะกวมตรวจเจอกองเรือของสปรูซ ก็รีบส่งเครื่องบินขับไล่มาสู้ทันที เครื่องบินอเมริกันตก 1 ลำขณะที่ของญี่ปุ่นตก 35 ลำ!
ถึงตอนสายของวัน คราวนี้เป็นทีของเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินบ้าง คราวนี้เครื่องบินของญี่ปุ่นตก 25 ลำจาก 68 ลำ แต่ก็ยังยิงเครื่องบินของอเมริกันตกแค่ลำเดียวเท่านั้น! South Dakota โดนระดมยิงอย่างหนัก แต่ก็ยังแล่นต่อไปได้ ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินไม่แม้แต่จะเฉียดด้วยซ้ำ
รอบแรกของกองทัพเรือเน่าสนิท รอบสองส่งไปอีก คราวนี้ส่งชุดใหญ่เลย 107 ลำ มีเพียงสามลำเท่านั้นที่ฝ่าไปจนเจอเรือบรรทุกเครื่องบินเบา Princeton แต่ก็ถูกยิงตกหมดอยู่ดี รวมแล้ว เสียเครื่องบินไปอีก 97 ลำ (อเมริกันโดนยิงตก 4 ลำ และชนกันเองอีก 2 ลำ)
รอบที่สาม ส่งไปแค่ 47 ลำ เจอกับฝูงบินอเมริกัน 40 ลำเข้าอย่างจัง แต่ก็รอดมาได้หวุดหวิด มี 7 ลำเท่านั้นที่ตก และได้ยิง Enterprise ด้วย แต่ก็แค่ถากๆเท่านั้น (ที่รอดมาได้เยอะเพราะฝูงบินนี้เป็นนักบินที่รอดมาจากที่มิดเวย์และกัวดาคาแนลทั้งนั้น)
รอบที่สี่ เน่าสนิทก่อนส่งออกไปเสียอีก เพราะแจ้งตำแหน่งผิด นักบินเลยเผาน้ำมันฟรีก่อนลงจอดที่เกาะกวมและโรต้าเพื่อเติมน้ำมัน (ยิ่งมีน้อยๆอยู่ด้วย เจ้าพวกนี้นี่) หลังจากนั้น จึงบินกลับไปหากองเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันต่อ USS Wasp และ USS Bunker Hill โดนโจมตี แต่พลาดเป้าหมด แถมยังเจอเครื่องบิน Hellcat ยิงตกไปอีก 30 ลำ จนนักบินอเมริกันได้แจ้งข่าวอันโด่งดังทางวิทยุ
"Hell, this is like an old-time turkey shoot!"
"โอ้โหเหะ นี่ยังกะยิงไก่งวงเมื่อวันวานเลยวุ้ย"
นับจากนี้ไป ศึกนี้เลยได้รับการขนานนามว่า "The Great Mariana Turkey Shoot - เทศกาลยิงไก่งวงที่มาริอาน่า" (ขอโทษด้วยนะซุยคาคุ)
ที่มา http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=38189294
ในขณะที่ฝูงบินญี่ปุ่นโดนยิงตกเป็นใบไม้ร่วงอยู่นั้น กองเรือดำน้ำอเมริกันก็เจอไทโฮ เรือธงของโอซาวะเข้า เรือดำน้ำ USS Albacore เลยได้โอกาสยิงตอปิโดใส่ไทโฮ 6 ลูก แล้วรีบหนีไปก่อนที่เครื่องบินจากไทโฮจะจมเรือของตน มีตอปิโดเพียงลูกเดียวเท่านั้นที่เข้าเป้า ทำให้แก็สในเรือรั่ว แต่ลูกเรือดันไปซ่อมโดยไปเร่งเครื่องระบายอากาศจนแก็สกระจายจนทั่วเรือประกอบกับตัวเรือเกราะหนามากแก๊สเลยอัดอยู่ในเรืออย่างนั้น จนในที่สุดก็ไปเจอสะเก็ดไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟบนเพดานบินและเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ลูกเรือ 1650 คน(จากทั้งหมด 2150 คน)เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้และไทโฮก็หายไปจากสารระบบกองทัพเรือญี่ปุ่น
แต่ความซวยยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น เรือดำน้ำ USS Cavalla ไปเจอกับโชวคาคุเข้า เลยยิงตอปิโดใส่ไป 6 ลูกเช่นกัน และโดนเข้ากราบขวาเข้าอย่างจัง 3 ลูก โดยลูกหนึ่งโดนที่บรรจุน้ำมันเครื่องบินด้วย ไม่กี่นาทีถัดมา โชวคาคุก็ลุกไหม้ทั้งลำและระเบิดอย่างต่อเนื่องจนคว่ำลง เรือพิฆาตยูระคาเซะพยายามจะล้างแค้นให้ แต่ Cavalla ก็หนีรอดไปได้
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=39061978
ตกกลางคืน กองเรือสหรัฐถึงได้ถอนตัว แล้วค่อยกลับมาตอนพระอาทิตย์ขึ้น แต่ท่าทางจะถอนไปไกลเกิน ทำให้หลังจบศึกกว่าจะกลับถึงเครื่องบินของตนก็ค่ำแล้ว (ส่งเครื่องบินไปตอนบ่ายกลับตอนค่ำ) จนนายพลเรือมาร์ค มิตเชอร์ต้องขึ้นไปส่องไฟบนลานบินด้วยตนเองพร้อมกับลูกเรือ ช่วยส่องทางให้เครื่องบินอเมริกันบินกลับเรือได้ จากฝูงเครื่องบินมหึมาที่ส่งออกไป 230 ลำ มี 80 ลำตกกลางทางหรือชนกับลานบิน (ถ้ามีเรือดำน้ำญี่ปุ่นอยู่แถวนั้นแหละก็ รับรองไม่รอดแน่นอน)
แต่เครื่องบินอเมริกันได้ทำหน้าที่ของตนเองเรียบร้อยแล้วก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะเครื่องบินญี่ปุ่นเหลือแค่ 35 ลำเท่านั้น ฮิโยโดนโจมตีอย่างหนักจนจมลง จุนโซ ชิโยดะและซุยคาคุเสียหายไม่น้อย ฮารุนะที่ช่วยคุ้มกันก็โดนด้วย โดยมีเครื่องบินอเมริกัน 20 ลำเท่านั้นที่ถูกยิงตก และเครื่องบินที่เหลือของญี่ปุ่นตายเรียบไม่มีเหลือ
ภายในสองวัน กองทัพเรือญี่ปุ่นก็ไม่เหลือเครื่องบินสำหรับทำการรบครั้งนี้หรือหลังจากนี้ได้อีก เรือบรรทุกเครื่องบินกลายเป็นเรือป่าช้า ไม่มีเครื่องบิน ไม่มีนักบิน มีแต่ลูกเรือกับกัปตันเท่านั้น
ขณะเดียวกัน กองทัพบกญี่ปุ่นบนเกาะไซปันเริ่มแสดงอาการระยะสุดท้ายที่อันตรายที่สุดของชาติที่ใกล้แพ้สงคราม นั่นคือสั่งให้ทหารทุกคนสู้จนตัวตาย ห้ามโดนจับเป็นเฉลย ซ้ำยังยุยงให้ชาวบ้านที่อยู่บนเกาะฆ่าตัวตาย ไม่ให้อเมริกันจับได้ สร้างความตกตะลึงและหดหู่ให้กับนาวิกโยธินอเมริกันเป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทำสงครามของอเมริกาในภายหลัง