โบรกฯ แนะเมื่อเศรษฐกิจไทยเผชิญปัญหาการเมือง ควรสะสมกองทุนหุ้น, กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไว้บ้าง
สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้งกับ Fund Focus ในเดือนนี้ สถานการณ์ที่ผ่านมายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ปัจจัยภายนอกดูดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้นตามเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วทั้ง สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น แต่ปัจจัยการเมืองภายในบ้านเรายังคงทำให้ตลาดหุ้นไทยเงียบเหงาเหมือนเดิม ยิ่งการเมืองลากยาวออกไป ความเชื่อมั่นของนักลงทุนนับวันยิ่งจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน
ดังนั้นในเดือนที่แล้วเราได้แนะนำทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวม ให้กระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ
แต่การไปลงทุนต่างประเทศเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญกับ "ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน" ได้ การลงทุนต่างประเทศจึงอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับนักลงทุนบางกลุ่มที่รับความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ รวมถึงอาจจะไม่มั่นใจหรือไม่คุ้นเคยกับการลงทุนต่างประเทศ ดังนั้นเราจะมาลองดูตัวเลือกการลงทุนในประเทศกันดูครับว่ามีตัวเลือกอะไรบ้างที่น่าสนใจ
สำหรับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับผลกระทบที่เกิดจากการเมืองอยู่ในขณะนี้ เราจะเห็นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 นี้ค่อยๆ ถูกปรับลดลงมาเรื่อยๆ และยังไม่เห็นมุมมองที่ดีขึ้นหากการเมืองยังไม่คลี่คลาย ดังนั้นการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะพิจารณาลดดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมครั้งหน้าจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย
และถ้าแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงอีก การลงทุนด้วยกองทุนตราสารหนี้จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักลงทุนในช่วงนี้ เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยถูกปรับลดลง ราคาตราสารหนี้ที่กองทุนถือครองอยู่นั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้นั้นได้กำไรจากส่วนต่างราคา ในขณะที่กองทุนจะมีความเสี่ยงที่ราคาสินทรัพย์สุทธิ (NAV) จะผันผวนนั้นต่ำกว่าการลงทุนในกองทุนหุ้น จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะพักเงินลงทุนในกองทุนรวม
อย่างไรก็ตาม
การเลือกลงทุนใน "กองทุนตราสารหนี้" นอกจากที่จะดูอัตราผลตอบแทนที่กองทุนทำได้แล้ว เราไม่ควรละเลย "ไส้ในของกองทุน" หรือประเภทของตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุนอยู่ เนื่องจากไส้ในเหล่านี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของกองทุนที่เราจะเข้าไปลงทุน เช่น ถ้ากองทุนลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ ในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แน่นอนว่าจะให้ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า กองทุนที่มีสัดส่วนของหุ้นกู้ของเอกชนสูง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของนักลงทุนด้วย หากนักลงทุนเห็นว่า หุ้นกู้นั้นมาจากบริษัทที่ดี มีความมั่นคง กองทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจำนวนมากย่อมมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
และก่อนจะลงทุนอย่าลืมตรวจดู "สภาพคล่องของกองทุน" ด้วยนะครับ บางกองทุนไม่ได้เปิดให้ซื้อ-ขายได้ทุกวัน แต่จะมีการเปิดรับซื้อ - ขาย ในบางช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ทุก ๆ สัปดาห์ หรือ ทุก ๆ เดือน เป็นต้น และตัวอย่างกองทุนตราสารหนี้ที่น่าสนใจได้แก่ กองทุน MFC SMART Fixed Income (SMART), Finansa Fixed Income (FAM FI) หรือ Krungsri Medium Term Fxd-Inc Dividend (KFMTFI-D)
สุดท้ายนี้ผมยังย้ำเหมือนเดิมครับถ้าหากนักลงทุนสามารถมองข้ามความผันผวนของตลาดที่เกิดจากการเมือง และมองการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเป็นการลงทุนระยะยาวได้แล้ว ตอนนี้ผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะสะสมกองทุนหุ้น หรืออาจจะลองพิจารณากองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ทยอยสะสมของปีนี้ไว้บ้างก็ไม่เลวนะครับ
โดย : สานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล : บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140223/564517/เลือกลงทุนอย่างไร-เมื่อดอกเบี้ยเป็นขาลง.html
เลือกลงทุนอย่างไร เมื่อดอกเบี้ยเป็นขาลง
สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้งกับ Fund Focus ในเดือนนี้ สถานการณ์ที่ผ่านมายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ปัจจัยภายนอกดูดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้นตามเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วทั้ง สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น แต่ปัจจัยการเมืองภายในบ้านเรายังคงทำให้ตลาดหุ้นไทยเงียบเหงาเหมือนเดิม ยิ่งการเมืองลากยาวออกไป ความเชื่อมั่นของนักลงทุนนับวันยิ่งจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน
ดังนั้นในเดือนที่แล้วเราได้แนะนำทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวม ให้กระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ แต่การไปลงทุนต่างประเทศเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญกับ "ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน" ได้ การลงทุนต่างประเทศจึงอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับนักลงทุนบางกลุ่มที่รับความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ รวมถึงอาจจะไม่มั่นใจหรือไม่คุ้นเคยกับการลงทุนต่างประเทศ ดังนั้นเราจะมาลองดูตัวเลือกการลงทุนในประเทศกันดูครับว่ามีตัวเลือกอะไรบ้างที่น่าสนใจ
สำหรับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับผลกระทบที่เกิดจากการเมืองอยู่ในขณะนี้ เราจะเห็นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 นี้ค่อยๆ ถูกปรับลดลงมาเรื่อยๆ และยังไม่เห็นมุมมองที่ดีขึ้นหากการเมืองยังไม่คลี่คลาย ดังนั้นการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะพิจารณาลดดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมครั้งหน้าจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย และถ้าแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงอีก การลงทุนด้วยกองทุนตราสารหนี้จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักลงทุนในช่วงนี้ เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยถูกปรับลดลง ราคาตราสารหนี้ที่กองทุนถือครองอยู่นั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้นั้นได้กำไรจากส่วนต่างราคา ในขณะที่กองทุนจะมีความเสี่ยงที่ราคาสินทรัพย์สุทธิ (NAV) จะผันผวนนั้นต่ำกว่าการลงทุนในกองทุนหุ้น จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะพักเงินลงทุนในกองทุนรวม
อย่างไรก็ตามการเลือกลงทุนใน "กองทุนตราสารหนี้" นอกจากที่จะดูอัตราผลตอบแทนที่กองทุนทำได้แล้ว เราไม่ควรละเลย "ไส้ในของกองทุน" หรือประเภทของตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุนอยู่ เนื่องจากไส้ในเหล่านี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของกองทุนที่เราจะเข้าไปลงทุน เช่น ถ้ากองทุนลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ ในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แน่นอนว่าจะให้ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า กองทุนที่มีสัดส่วนของหุ้นกู้ของเอกชนสูง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของนักลงทุนด้วย หากนักลงทุนเห็นว่า หุ้นกู้นั้นมาจากบริษัทที่ดี มีความมั่นคง กองทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจำนวนมากย่อมมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
และก่อนจะลงทุนอย่าลืมตรวจดู "สภาพคล่องของกองทุน" ด้วยนะครับ บางกองทุนไม่ได้เปิดให้ซื้อ-ขายได้ทุกวัน แต่จะมีการเปิดรับซื้อ - ขาย ในบางช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ทุก ๆ สัปดาห์ หรือ ทุก ๆ เดือน เป็นต้น และตัวอย่างกองทุนตราสารหนี้ที่น่าสนใจได้แก่ กองทุน MFC SMART Fixed Income (SMART), Finansa Fixed Income (FAM FI) หรือ Krungsri Medium Term Fxd-Inc Dividend (KFMTFI-D)
สุดท้ายนี้ผมยังย้ำเหมือนเดิมครับถ้าหากนักลงทุนสามารถมองข้ามความผันผวนของตลาดที่เกิดจากการเมือง และมองการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเป็นการลงทุนระยะยาวได้แล้ว ตอนนี้ผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะสะสมกองทุนหุ้น หรืออาจจะลองพิจารณากองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ทยอยสะสมของปีนี้ไว้บ้างก็ไม่เลวนะครับ
โดย : สานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล : บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140223/564517/เลือกลงทุนอย่างไร-เมื่อดอกเบี้ยเป็นขาลง.html