จิตตนคร
คำร้อง : ฐิตวํโสภิกขุ วัดปทุมวนาราม
ทำนอง : เจษฎา สุขทรามร / รัชพงษ์ สมศรี (ภู ศิษย์มาวิตต์)
เรียบเรียง : เจษฎา สุขทรามร
ศิลปิน : ธนพร แวกประยูร
พระนิพนธ์ในองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่ครั้งยังดำรงพระสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ ได้ทรงเรียบเรียงไว้สำหรับอ่านออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ในรายการ “การบริหารทางจิต” เป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ถึง ๒๕๑๕
จากพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้เมื่อสมัยพุทธกาลว่า"พึงรู้ว่ากายนี้มีอุปมาแตกง่ายเปรียบด้วยหม้อดิน พึงกั้นจิตที่มีอุปมาด้วยนครที่มีป้อมปราการสร้างไว้ดีแล้ว พึงรบชนะมารด้วยใช้ปัญญาเป็นอาวุธ" ได้ก่อให้เกิดเป็นหนังสือ "จิตตนคร" บทพระนิพนธ์ใน "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ)" ขึ้น เพื่ออธิบายและขยายความพุทธพจน์ข้างต้นให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการนำเรื่องราวของ "จิต" และ "ธรรมะ" ในแง่มุมต่าง ๆ มาผูกเป็นเรื่องราวทำนองบุคลาธิษฐานคล้ายนิยายธรรมที่ลึกล้ำพิสดาร
จิตตนคร นครแห่งใจ เรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในดวงจิตดวงนี้
สุขและทุกข์ สร้างสรรค์ทำลาย เกิดดับไปในใจที่มี
เลวหรือดี ต่างเป็นไปตามใจของตน
จิตตนคร สังวรด้วยธรรม นครใจนั้น ย่อมบันดาลหนทางหลุดพ้น
ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ สำเร็จได้ด้วยใจของตน
จิตนรชน พึงรู้ตนต้องธรรมสิ่งใด
จิตจึงพ้นไป ด้วยหัวใจสว่างพระธรรม
จิตตื่นด้วยธรรม ปลุกจากฝัน เรียนรู้ความจริง
จิตตนคร
คำร้อง : ฐิตวํโสภิกขุ วัดปทุมวนาราม
ทำนอง : เจษฎา สุขทรามร / รัชพงษ์ สมศรี (ภู ศิษย์มาวิตต์)
เรียบเรียง : เจษฎา สุขทรามร
ศิลปิน : ธนพร แวกประยูร
พระนิพนธ์ในองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่ครั้งยังดำรงพระสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ ได้ทรงเรียบเรียงไว้สำหรับอ่านออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ในรายการ “การบริหารทางจิต” เป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ถึง ๒๕๑๕
จากพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้เมื่อสมัยพุทธกาลว่า"พึงรู้ว่ากายนี้มีอุปมาแตกง่ายเปรียบด้วยหม้อดิน พึงกั้นจิตที่มีอุปมาด้วยนครที่มีป้อมปราการสร้างไว้ดีแล้ว พึงรบชนะมารด้วยใช้ปัญญาเป็นอาวุธ" ได้ก่อให้เกิดเป็นหนังสือ "จิตตนคร" บทพระนิพนธ์ใน "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ)" ขึ้น เพื่ออธิบายและขยายความพุทธพจน์ข้างต้นให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการนำเรื่องราวของ "จิต" และ "ธรรมะ" ในแง่มุมต่าง ๆ มาผูกเป็นเรื่องราวทำนองบุคลาธิษฐานคล้ายนิยายธรรมที่ลึกล้ำพิสดาร
จิตตนคร นครแห่งใจ เรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในดวงจิตดวงนี้
สุขและทุกข์ สร้างสรรค์ทำลาย เกิดดับไปในใจที่มี
เลวหรือดี ต่างเป็นไปตามใจของตน
จิตตนคร สังวรด้วยธรรม นครใจนั้น ย่อมบันดาลหนทางหลุดพ้น
ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ สำเร็จได้ด้วยใจของตน
จิตนรชน พึงรู้ตนต้องธรรมสิ่งใด
จิตจึงพ้นไป ด้วยหัวใจสว่างพระธรรม
จิตตื่นด้วยธรรม ปลุกจากฝัน เรียนรู้ความจริง