เมื่อถึงจุดที่รู้ว่า "ไม่มีระบบความยุติธรรมไว้แก้ปัญหา แล้วอะไรจะใช้ทดแทนความอยุติธรรมที่รับรู้ได้"

สังคมไทยเดินทางมาถึงจุดตามหัวข้อกระทู้แล้วหรือยัง  ผมไม่อยากจะเป็นผู้ตอบคำถามนั้น  ขอให้ท่านเป็นผู้ที่ไตร่ตรองและหาคำตอบของตัวเอง  อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่เกิดขึ้น และปรากฎให้เห็นในสังคมเราขณะนี้  ทำให้ผมเกิดความคิดตามหัวข้อกระทู้นี้ขึ้นมา  ซึ่งเป็นเรื่องราว  เป็นภาพใหญ่ของสังคมที่คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า มีคำถาม  ความคับข้องใจ  ต่อกระบวนการ ต่อระบบความยุติธรรมที่ใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและเหตุการณ์ต่างๆ

1. พื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. ความขัดแย้งจากการอยู่ร่วมกัน  ใช้อะไรมาเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหา และให้เกิดความสงบและสันติสุข

ท่านเชื่อหรือไม่ว่า  ประเทศไทยกำลังเกิดสภาวะการละเลยหลักการพื้นฐานที่เข้าใจง่าย  แต่เป็นหัวใจสำคัญดังกล่าว ทั้ง 2 ข้อ

ท่านอาจไม่เห็นด้วย  แต่หากรู้สึกได้ หรือเกิดคำถามในใจว่า  คำตัดสิน  ข้อวินิจฉัย  ประเด็นคำตอบ  ที่เกิดขึ้นจากองค์กรทั้งหลายที่มีอำนาจ และหน้าที่ต่อกระบวนการสร้างความยุติธรรม  ระงับความขัดแย้ง  หรือ เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมความสงบและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม  กลับไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน  ตามอำนาจหน้าที่  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับการกระทำได้สร้างความเคลือบแคลง  เห็นต่าง  จนถึงระดับมีความเห็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง  และผลที่เกิดชึ้นดังกล่าว ไม่ใช่ความผิดพลาดชั่วครั้งคราว  แต่ปรากฎแสดงให้เห็นในลักษณะ "ซ้ำซาก"  ส่อเจตนาในทางใดทางหนึ่งได้อย่างชัดเจน  อย่างนี้ก็น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า  ความยุติธรรมในสังคมไทยมีปัญหา และละเลยต่อหลักพื้นฐานดังกล่าว

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นตามมา  คนในสังคมจะอยู่กันอย่างไร  เมื่อหวังพึ่งกระบวนการยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาไม่ได้  เมื่อความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นเขาเหล่านั้นจะเลือกใช้วิธีการใดในการแก้ไขปัญหา  ความคับข้องใจในความอยุติธรรมจะมีอะไรมาทดแทน หรือ ชดเชยได้  ถึงจุดดังกล่าวนี้  ระบบ "ฟันต่อฟัน"  การเลือกวิธีการแบบนอกระบบก็อาจจะเป็นสิ่งตามมา  แล้วสังคมไทยจะเหลืออะไรอยู่บ้างเมื่อถึงเวลานั้น

นำเสนอกระทู้ไปพร้อมกับความรู้สึกหดหู่ใจ

"ไม่นึกว่าประเทศไทยเรา ระบบความยุติธรรมจะตกต่ำได้ถึงขนาดนี้"

. (แก้ไขคำผิด)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่