หลายวันมานี้ อาจด้วยเพราะตลาดหุ้นเหมือนจะกลับมาคึกคัก ทำท่าจะทะยานไปต่อ หรืออาจเป็นเพราะข่าวการเมืองที่ดูเหมือนจะร้าย กลับกลายเป็นไม่สามารถทำอะไรตลาดหุ้นได้มากกว่าเดิม ทำให้หลายคนเริ่มกลับมามองตลาดหุ้น และหาจังหวะกันอีกครั้ง
และนั้นทำให้ผมได้เจอคำถามทั้งทาง Line และ Inbox ของเพจหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางเทคนิค ซึ่งเมื่อตอบๆไป ก็พบจุดร่วมของคำถามที่เหมือนกันนั้นก็คือ "จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เครื่องมือทางเทคนิคตัวไหนแม่นยำกว่าตัวอื่น?"
คำตอบในมุมของผมก็คือ ทุกสิ่งที่อย่างในโลกนี้ เสมือน หยิน หยาง เป็นของคู่กัน มีได้กำไร ก็มีขาดทุน มีข้อดี ก็ต้องมีข้อด้อย มีโอกาส ก็ย่อมต้องเจอกับการพลาดโอกาส
เครื่องมือทางเทคนิค ไม่ได้จะตัวใด ทั้งการลาก Trend Line การดู Momentum การหา Signal จากเส้นค่าเฉลี่ย หรือ MACD กระทั่งการนับเวฟจากแนวคิด Elliott Wave ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน รวมถึงแนวคิดการลงทุนแบบ VI ผมก็มองว่า มีข้อดีข้อเสียเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในภาพกว้าง ผมขอตอบเป็นหลักการเบื้องต้น สำหรับคนที่คิดจะเดินสาย Technical Analysis แบบนี้นะครับ
1. คุณต้องรู้ก่อนว่า Technical Analysis เหมาะกับนักลงทุนที่กล้าได้กล้าเสีย ตัดสินใจเร็ว ยอมรับความผิดพลาดเร็ว ไม่เก็บมาคิดเล็กคิดน้อย และให้อภัยตัวเองเป็น
2. ไม่พยายามเปรียบเทียบวิธีการลงทุนของตัวเองกับคนอื่น ไม่คุยโวโอ้อวดว่าตัวเองได้กำไรเท่าไหร่ แล้วคนไหนแพ้เรา สิ่งนี้ ก็เพื่อลดทิฐะมานะ อัตตาตัวตน ให้มุ่งอยู่ในวิถีทางที่จะพยายามพัฒนาตัวเอง
3. มองทุกอย่างด้วยใจเป็นกลาง ของทุกอย่างในโลก มีข้อดี ข้อเสีย เราต้องไม่เชื่ออะไรหัวปักหัวปำ และไม่ใช่คนที่ทำอะไรโลเลไม่มีหลักการ
4. เรียนรู้เครื่องมือทางเทคนิคให้รู้ถึงที่มาของสูตรการคำนวณได้ยิ่งดี คุณจะพบข้อเสียของการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด เช่น MACD ให้สัญญาณเร็ว เข้าซื้อและขายกำไรได้เร็ว แต่ก็มีโอกาสเป็น False Signal สูง ในขณะนี้ หากใช้ Moving Average Cross ก็จะให้สัญญาณที่ช้ากว่า แต่ก็มีความชัวร์มากกว่า
5. เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะกับจริตตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้มันทุกเครื่องมือให้ปวดหัว เพราะจะสร้างความสับสนให้ระบบความคิดของคุณเอง
6. เครื่องมือทางเทคนิค ก็เหมือนชีวิตมนุษย์ ที่อนาคตย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดแน่นอน ฉะนั้น เราต้องเตรียมแผนรองรับในกรณีเกิด Drawdown แม้แต่กับระบบที่ทดสอบมาดีแล้วก็ตาม ปกป้องการขาดทุนด้วยการ Limit Loss โดยการทำระบบ Money Management ให้ดี การบริหารหน้าตักคือหัวใจของความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว
7. ปล่อยวางให้เป็น ... ถึงแม้เราจะพิจารณา และทำทุกอย่างมาอย่างดีแล้ว แต่อย่าปักใจเชื่อว่า มันจะสำเร็จ อย่างที่บอกในข้อ 1. ว่า ต้องให้อภัยตัวเองเป็น ความผิดพลาด มากสุดมันก็แค่ทำให้เราขาดทุน ยังไงเราก็ยังมีลมหายใจ ยังไม่ตายก็ต้องเริ่มใหม่ให้ได้ทุกครั้ง
ดังนั้น คนที่พยายามหาสูตรลับเพื่อพิชิตตลาดหุ้น ซื้อระบบเทรดราคาเรือนหมื่น จองสัมมนาราคาเรือนแสน ที่เฝ้าวาดฝันลอยๆ และเปาหูเราว่า ได้กำไรแน่นอน 100% นั้น มันไม่มีจริงหรอกครับ ผมเชื่อว่าใครที่อ่านบทความอันนี้ของผม ก็คงจะมีที่เจอประสบการณ์ตรงกันไปบ้างแล้ว
ไม่เป็นไร เรามาเริ่มกันใหม่ ตามหาวิธีการลงทุนในแบบของเราเอง สร้างความสำเร็จในแบบที่เรามองย้อนกลับมา แล้วสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ฉันภูมิใจกับมัน”
7 หลักการ เพื่อเข้าใจคำว่า Technical Analysis ให้ถูกต้อง
และนั้นทำให้ผมได้เจอคำถามทั้งทาง Line และ Inbox ของเพจหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางเทคนิค ซึ่งเมื่อตอบๆไป ก็พบจุดร่วมของคำถามที่เหมือนกันนั้นก็คือ "จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เครื่องมือทางเทคนิคตัวไหนแม่นยำกว่าตัวอื่น?"
คำตอบในมุมของผมก็คือ ทุกสิ่งที่อย่างในโลกนี้ เสมือน หยิน หยาง เป็นของคู่กัน มีได้กำไร ก็มีขาดทุน มีข้อดี ก็ต้องมีข้อด้อย มีโอกาส ก็ย่อมต้องเจอกับการพลาดโอกาส
เครื่องมือทางเทคนิค ไม่ได้จะตัวใด ทั้งการลาก Trend Line การดู Momentum การหา Signal จากเส้นค่าเฉลี่ย หรือ MACD กระทั่งการนับเวฟจากแนวคิด Elliott Wave ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน รวมถึงแนวคิดการลงทุนแบบ VI ผมก็มองว่า มีข้อดีข้อเสียเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในภาพกว้าง ผมขอตอบเป็นหลักการเบื้องต้น สำหรับคนที่คิดจะเดินสาย Technical Analysis แบบนี้นะครับ
1. คุณต้องรู้ก่อนว่า Technical Analysis เหมาะกับนักลงทุนที่กล้าได้กล้าเสีย ตัดสินใจเร็ว ยอมรับความผิดพลาดเร็ว ไม่เก็บมาคิดเล็กคิดน้อย และให้อภัยตัวเองเป็น
2. ไม่พยายามเปรียบเทียบวิธีการลงทุนของตัวเองกับคนอื่น ไม่คุยโวโอ้อวดว่าตัวเองได้กำไรเท่าไหร่ แล้วคนไหนแพ้เรา สิ่งนี้ ก็เพื่อลดทิฐะมานะ อัตตาตัวตน ให้มุ่งอยู่ในวิถีทางที่จะพยายามพัฒนาตัวเอง
3. มองทุกอย่างด้วยใจเป็นกลาง ของทุกอย่างในโลก มีข้อดี ข้อเสีย เราต้องไม่เชื่ออะไรหัวปักหัวปำ และไม่ใช่คนที่ทำอะไรโลเลไม่มีหลักการ
4. เรียนรู้เครื่องมือทางเทคนิคให้รู้ถึงที่มาของสูตรการคำนวณได้ยิ่งดี คุณจะพบข้อเสียของการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด เช่น MACD ให้สัญญาณเร็ว เข้าซื้อและขายกำไรได้เร็ว แต่ก็มีโอกาสเป็น False Signal สูง ในขณะนี้ หากใช้ Moving Average Cross ก็จะให้สัญญาณที่ช้ากว่า แต่ก็มีความชัวร์มากกว่า
5. เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะกับจริตตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้มันทุกเครื่องมือให้ปวดหัว เพราะจะสร้างความสับสนให้ระบบความคิดของคุณเอง
6. เครื่องมือทางเทคนิค ก็เหมือนชีวิตมนุษย์ ที่อนาคตย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดแน่นอน ฉะนั้น เราต้องเตรียมแผนรองรับในกรณีเกิด Drawdown แม้แต่กับระบบที่ทดสอบมาดีแล้วก็ตาม ปกป้องการขาดทุนด้วยการ Limit Loss โดยการทำระบบ Money Management ให้ดี การบริหารหน้าตักคือหัวใจของความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว
7. ปล่อยวางให้เป็น ... ถึงแม้เราจะพิจารณา และทำทุกอย่างมาอย่างดีแล้ว แต่อย่าปักใจเชื่อว่า มันจะสำเร็จ อย่างที่บอกในข้อ 1. ว่า ต้องให้อภัยตัวเองเป็น ความผิดพลาด มากสุดมันก็แค่ทำให้เราขาดทุน ยังไงเราก็ยังมีลมหายใจ ยังไม่ตายก็ต้องเริ่มใหม่ให้ได้ทุกครั้ง
ดังนั้น คนที่พยายามหาสูตรลับเพื่อพิชิตตลาดหุ้น ซื้อระบบเทรดราคาเรือนหมื่น จองสัมมนาราคาเรือนแสน ที่เฝ้าวาดฝันลอยๆ และเปาหูเราว่า ได้กำไรแน่นอน 100% นั้น มันไม่มีจริงหรอกครับ ผมเชื่อว่าใครที่อ่านบทความอันนี้ของผม ก็คงจะมีที่เจอประสบการณ์ตรงกันไปบ้างแล้ว
ไม่เป็นไร เรามาเริ่มกันใหม่ ตามหาวิธีการลงทุนในแบบของเราเอง สร้างความสำเร็จในแบบที่เรามองย้อนกลับมา แล้วสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ฉันภูมิใจกับมัน”