แตกประเด็นจากกระทู้ก่อนหน้านี้ครับ
http://ppantip.com/topic/31652544
QUO-01: ดูดาวแบบโจสเลน ตอนที่ 1.2
"ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ 2"
Jouslain
ความเดิมตอนที่แล้วเราได้ไปดูดาวที่ประกอบเป็นสามเหลี่ยมฤดูหนาว ได้แก่ กลุ่มดาวไถ/ดาวเต่า/ดาวนายพราน กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ และกลุ่มดาวสุนัขเล็กกันเรียบร้อยแล้ว
คราวนี้เราจะมองดูดาวที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของ กลุ่มดาวไถ/ดาวเต่า/ดาวนายพรานกันบ้าง พร้อมแล้วก็... มาเริ่มกันเลยครับ
I. กลุ่มดาววัว และดาวจักรราศี
เริ่มจากลากเส้นตรงตามแนวของดาวไถ ไปทางด้านขวาของเต่า ตามแนวนี้ เราจะพบดาวฤกษ์สีแดง สว่างออกไม่มากนักดวงหนึ่ง ดาวดวงนี้มีชื่อว่า อัลดิบาแรน (Aldebaran) ในภาษาแขกว่า ดาวโรหิณี เรียกเป็นภาษาไทว่า ดาวตาวัว
ชื่อว่า ดาวตาวัว ก็หมายความว่ามันอยู่ในกลุ่มดาววัว และกลุ่มดาววัว หรือพฤษภ ก็เป็นกลุ่มดาวจักรราศีประจำเดือนพฤษภาคม
แต่ช้าก่อนครับ ถ้าใครคิดจะดูกลุ่มดาววัวในเดือนพฤษภาคมแล้วละก็ ขอบอกว่าคิดผิดถนัด! เพราะว่าความหมายของการเป็นกลุ่มดาวจักรราศีประจำเดือนพฤษภาคม หมายความว่า ดวงอาทิตย์จะอยู่ในกลุ่มดาววัวตอนเดือนพฤษภาคมพอดี พูดง่ายๆ ก็คือ ในเดือนพฤษภาคม กลุ่มดาววัวจะขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปรากฏการณ์อะไรที่ทำให้ดวงอาทิตย์มืดลงไปอย่างเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงขึ้นมาแล้วละก็ อย่าหวังจะได้ดูกลุ่มดาววัวในเดือนพฤษภาคมเลบครับ
หลังจากที่ส่องตาวัวกันจนหนำใจแล้ว เราจะลากเส้นตามแนวของดาวไถต่อไปอีกประมาณเท่าตัว เราก็จะพบกับดาวสว่างน้อยๆ หลายดวงที่อยู่ใกล้ๆ กัน กระจุกดาวนี้เป็นกระจุกดาวที่คนเราอาจจะเรียกได้ว่ารู้จักกันดีที่สุด ชื่อในภาษาญี่ปุ่นของมันคือ Subaru (ว่าแล้วคนเขียนก็อยากขับรถยนต์ยี่ห้อสุบารุสวยๆ สักคัน ติดแค่ว่าเงินไม่ถึง ไม่แน่ใจว่ามีใครที่อ่านแล้วอย่างจะมาอนุเคราะห์ให้สักคันไหมครับ 55+) ในภาษาอังกฤษเรียก Pleiades และชื่อในภาษาไทยคือ 'ดาวลูกไก่'
นิทานเรื่องดาวลูกไก่ เชื่อว่าพวกเราคงคุ้นเคยกันดีนะครับ เรื่องของแม่ไก่ที่มีลูกอยู่เจ็ดตัว อยู่กับตายาย วันหนึ่งมีแขกมาบ้าน ตายายไม่มีอาหารจะทำเลี้ยงแขก ก็เลยจับแม่ไก่ไปย่างเป็นไก่ย่างให้แขกกิน ลูกไก่ทั้งเจ็ดที่รักแม่มากก็เลยร้องเจี๊ยบๆ กระโดดเข้ากองไฟตามไปด้วย เห็ยแก่ความรักของลูกไก่ทั้งเจ็ดตัวต่อแม่ไก่ เทวดาก็เลยให้ลูกไก่ทั้งเจ็ดไปเป็นดาวอยู่บนท้องฟ้า (แหม อ่านนิทานเรื่องนี้ยังมีเรื่องที่ข้องใจมากๆ อยู่สองเรื่องครับ เรื่องแรก คือ ยังไงลูกไก่พอไปอยู่บนฟ้าแล้ว ก็ยังไม่มีแม่อยู่ดี เรื่องที่สอง สงสัยว่าทำไมถึงใช้คำว่าลูกไก่ตลอดๆ ไม่เห็นมีที่ไหนใช้ว่าลูกเจี๊ยบเลย)
ดาวลูกไก่ก็เป็นลูกไก่สมชื่อครับ เพราะมันเป็นกระจุกของดาวฤกษ์เกิดใหม่หลายดวง ในทางดาราศาสตร์แล้ว ดาวลูกไก่จดเป็นกระจุกดาวเปิด (open cluster)
ก่อนที่หลายคนจะเริ่มสับสนว่า กลุ่มดาว (constellation) กับ กระจุกดาว (cluster) ต่างกันอย่างไร เรามารู้จักกับสองคำนี้กันให้ดีขึ้นอีกหน่อยดีไหมครับ?
คำว่า กลุ่มดาว (constellation) ตามนิยามทางดาราศาสตร์นั้น หมายถึง 'พื้นที่บนท้องฟ้า' นึกง่ายๆ ว่าเหมือนกับบนโลกเราแบ่งออกเป็นประเทศต่างๆ บนท้องฟ้าก็แบ่งเป็นกลุ่มดาวทั้งสิ้น 88 เขต ดาวฤกษ์นั้นจะเป็นดาวที่อยู่ประจำในเขตของกลุ่มดาวใดกลุ่มดาวหนึ่ง ในขณะที่ดาวเคราะห์จะเคลื่อนย้ายไปตามเขตของกลุ่มดาวต่างๆ จึงเป็นที่มาของคำเรียกดาวเคราะห์ในภาษาอังกฤษว่า planet 'ผู้พเนจร'
ส่วนคำว่า กระจุกดาว (cluster) เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน ส่วนมากมักเป็นดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กัน ก็เหมือนกับว่าเป็นลูกไก่ครอกเดียวกันนั่นแหละครับ กระจุกดาวจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) กระจุกดาวเปิด (open cluster) คือ กระจุกดาวที่อยู่กันไม่หนาแน่นมาก ที่รู้จักกัน เช่น กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades) กระจุกดาวรวงผึ้ง (Precepe)
2) กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster) เป็นกระจุกดาวที่มีดาวรวมกันอยู่แบบหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกระจุกดาวที่ประกอบดวยดาวมวลน้อย เชื่อกันว่าเพราะกลุ่มนี้เป็นกระจุกดาวที่อายุมาก จึงไม่มีดาวมวลมากหลงเหลืออยู่ (จำได้ไหมครับ ที่เล่าให้ฟังคราวที่แล้วว่า ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะอายุสั้นกว่าดาวฤกษ์มวลน้อย) และการที่กระจุกดาวเหล่านี้อายุมาก แรงโน้มถ่วงที่ดาวแต่ละดวงดึงดูดกันก็ทำให้ดาวเหล่านี้รวมตัวกันแน่นและมีรูปร่างเป็นทรงกลมในที่สุด
ออกนอกเรื่องไปไกล้ลิบเลยที่เดียวเชียวหละครับ กลับมาดูดาวกันต่อดีกว่า ตอนนี้พอเราได้ดูดาวตาวัว และดาวลูกไก่ ซึ่งเป็นดาวที่อยู่ในเขตของกลุ่มดาววัว เราจะลองมาเดินทางออกนอกเขตของกลุ่มดาววัว เพื่อไปพบกับกลุ่มดาวอื่นๆ กันบ้างครับ
"ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ 2"
http://ppantip.com/topic/31652544
"ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ 2"
Jouslain
ความเดิมตอนที่แล้วเราได้ไปดูดาวที่ประกอบเป็นสามเหลี่ยมฤดูหนาว ได้แก่ กลุ่มดาวไถ/ดาวเต่า/ดาวนายพราน กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ และกลุ่มดาวสุนัขเล็กกันเรียบร้อยแล้ว
คราวนี้เราจะมองดูดาวที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของ กลุ่มดาวไถ/ดาวเต่า/ดาวนายพรานกันบ้าง พร้อมแล้วก็... มาเริ่มกันเลยครับ
I. กลุ่มดาววัว และดาวจักรราศี
เริ่มจากลากเส้นตรงตามแนวของดาวไถ ไปทางด้านขวาของเต่า ตามแนวนี้ เราจะพบดาวฤกษ์สีแดง สว่างออกไม่มากนักดวงหนึ่ง ดาวดวงนี้มีชื่อว่า อัลดิบาแรน (Aldebaran) ในภาษาแขกว่า ดาวโรหิณี เรียกเป็นภาษาไทว่า ดาวตาวัว
ชื่อว่า ดาวตาวัว ก็หมายความว่ามันอยู่ในกลุ่มดาววัว และกลุ่มดาววัว หรือพฤษภ ก็เป็นกลุ่มดาวจักรราศีประจำเดือนพฤษภาคม
แต่ช้าก่อนครับ ถ้าใครคิดจะดูกลุ่มดาววัวในเดือนพฤษภาคมแล้วละก็ ขอบอกว่าคิดผิดถนัด! เพราะว่าความหมายของการเป็นกลุ่มดาวจักรราศีประจำเดือนพฤษภาคม หมายความว่า ดวงอาทิตย์จะอยู่ในกลุ่มดาววัวตอนเดือนพฤษภาคมพอดี พูดง่ายๆ ก็คือ ในเดือนพฤษภาคม กลุ่มดาววัวจะขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปรากฏการณ์อะไรที่ทำให้ดวงอาทิตย์มืดลงไปอย่างเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงขึ้นมาแล้วละก็ อย่าหวังจะได้ดูกลุ่มดาววัวในเดือนพฤษภาคมเลบครับ
หลังจากที่ส่องตาวัวกันจนหนำใจแล้ว เราจะลากเส้นตามแนวของดาวไถต่อไปอีกประมาณเท่าตัว เราก็จะพบกับดาวสว่างน้อยๆ หลายดวงที่อยู่ใกล้ๆ กัน กระจุกดาวนี้เป็นกระจุกดาวที่คนเราอาจจะเรียกได้ว่ารู้จักกันดีที่สุด ชื่อในภาษาญี่ปุ่นของมันคือ Subaru (ว่าแล้วคนเขียนก็อยากขับรถยนต์ยี่ห้อสุบารุสวยๆ สักคัน ติดแค่ว่าเงินไม่ถึง ไม่แน่ใจว่ามีใครที่อ่านแล้วอย่างจะมาอนุเคราะห์ให้สักคันไหมครับ 55+) ในภาษาอังกฤษเรียก Pleiades และชื่อในภาษาไทยคือ 'ดาวลูกไก่'
นิทานเรื่องดาวลูกไก่ เชื่อว่าพวกเราคงคุ้นเคยกันดีนะครับ เรื่องของแม่ไก่ที่มีลูกอยู่เจ็ดตัว อยู่กับตายาย วันหนึ่งมีแขกมาบ้าน ตายายไม่มีอาหารจะทำเลี้ยงแขก ก็เลยจับแม่ไก่ไปย่างเป็นไก่ย่างให้แขกกิน ลูกไก่ทั้งเจ็ดที่รักแม่มากก็เลยร้องเจี๊ยบๆ กระโดดเข้ากองไฟตามไปด้วย เห็ยแก่ความรักของลูกไก่ทั้งเจ็ดตัวต่อแม่ไก่ เทวดาก็เลยให้ลูกไก่ทั้งเจ็ดไปเป็นดาวอยู่บนท้องฟ้า (แหม อ่านนิทานเรื่องนี้ยังมีเรื่องที่ข้องใจมากๆ อยู่สองเรื่องครับ เรื่องแรก คือ ยังไงลูกไก่พอไปอยู่บนฟ้าแล้ว ก็ยังไม่มีแม่อยู่ดี เรื่องที่สอง สงสัยว่าทำไมถึงใช้คำว่าลูกไก่ตลอดๆ ไม่เห็นมีที่ไหนใช้ว่าลูกเจี๊ยบเลย)
ดาวลูกไก่ก็เป็นลูกไก่สมชื่อครับ เพราะมันเป็นกระจุกของดาวฤกษ์เกิดใหม่หลายดวง ในทางดาราศาสตร์แล้ว ดาวลูกไก่จดเป็นกระจุกดาวเปิด (open cluster)
ก่อนที่หลายคนจะเริ่มสับสนว่า กลุ่มดาว (constellation) กับ กระจุกดาว (cluster) ต่างกันอย่างไร เรามารู้จักกับสองคำนี้กันให้ดีขึ้นอีกหน่อยดีไหมครับ?
คำว่า กลุ่มดาว (constellation) ตามนิยามทางดาราศาสตร์นั้น หมายถึง 'พื้นที่บนท้องฟ้า' นึกง่ายๆ ว่าเหมือนกับบนโลกเราแบ่งออกเป็นประเทศต่างๆ บนท้องฟ้าก็แบ่งเป็นกลุ่มดาวทั้งสิ้น 88 เขต ดาวฤกษ์นั้นจะเป็นดาวที่อยู่ประจำในเขตของกลุ่มดาวใดกลุ่มดาวหนึ่ง ในขณะที่ดาวเคราะห์จะเคลื่อนย้ายไปตามเขตของกลุ่มดาวต่างๆ จึงเป็นที่มาของคำเรียกดาวเคราะห์ในภาษาอังกฤษว่า planet 'ผู้พเนจร'
ส่วนคำว่า กระจุกดาว (cluster) เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน ส่วนมากมักเป็นดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กัน ก็เหมือนกับว่าเป็นลูกไก่ครอกเดียวกันนั่นแหละครับ กระจุกดาวจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) กระจุกดาวเปิด (open cluster) คือ กระจุกดาวที่อยู่กันไม่หนาแน่นมาก ที่รู้จักกัน เช่น กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades) กระจุกดาวรวงผึ้ง (Precepe)
2) กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster) เป็นกระจุกดาวที่มีดาวรวมกันอยู่แบบหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกระจุกดาวที่ประกอบดวยดาวมวลน้อย เชื่อกันว่าเพราะกลุ่มนี้เป็นกระจุกดาวที่อายุมาก จึงไม่มีดาวมวลมากหลงเหลืออยู่ (จำได้ไหมครับ ที่เล่าให้ฟังคราวที่แล้วว่า ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะอายุสั้นกว่าดาวฤกษ์มวลน้อย) และการที่กระจุกดาวเหล่านี้อายุมาก แรงโน้มถ่วงที่ดาวแต่ละดวงดึงดูดกันก็ทำให้ดาวเหล่านี้รวมตัวกันแน่นและมีรูปร่างเป็นทรงกลมในที่สุด
ออกนอกเรื่องไปไกล้ลิบเลยที่เดียวเชียวหละครับ กลับมาดูดาวกันต่อดีกว่า ตอนนี้พอเราได้ดูดาวตาวัว และดาวลูกไก่ ซึ่งเป็นดาวที่อยู่ในเขตของกลุ่มดาววัว เราจะลองมาเดินทางออกนอกเขตของกลุ่มดาววัว เพื่อไปพบกับกลุ่มดาวอื่นๆ กันบ้างครับ