ดูดาวแบบโจสเลน ตอนที่ 1 "ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ"

กระทู้สนทนา
QUO-01: ดูดาวแบบโจสเลน ตอนที่ 1
"ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ"
Jouslain

"ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความสนใจวิชาดาราศาสตร์ในบ้านเราก็คือ เมื่อเกิดปรากฏการณ์อย่างหนึ่งขึ้นใส ถึงแม้ว่าคนจะให้ความสนใจกันมาก มีสื่อมากมายออกมาเสนอข่าวให้ข้อมูล แต่ท้ายสุดแล้วทุกอย่างมันจะหยุดอยู่ตรงนั้น ไม่มีความสนใจที่จะต่อยอดต่อ"
อ.อำนาจ สาธานนท์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ


คิดว่านี่น่าจะเป็นบทความแรกที่เขียนออกสู่สาธารณะด้วยนามปากกานี้ เลยอยากจะขอเกริ่น (โม้) สักหน่อยก็แล้วกันนะครับ เผอิญว่าได้นามแฝงมาจากชื่อของดยุคคนหนึ่งในอนิเมะเรื่อง tytana เลยขอตั้งชื่อบทความว่าดูดาวแบบโจสเลนเสียเลย

ข้อความที่ยกมาข้างต้นเป็นของ อ.อำนาจ สาธานนท์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อาจจะไม่ได้เขียนอย่างถูกต้องทุกคำพูดเพราะว่าผมเองก็ใช้วิธีจำเอามา จากที่ได้ยินท่านสัมภาษณ์เมื่อ 5 ปีก่อน ตอนที่เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในกรุงเทพ ซึ่งผมมองว่าเป็นการวิเคราะห์ที่น่าสนใจทีเดียว

ตอนนี้เวลาก็ผ่านไปได้ 5 ปีแล้ว เนื่องจากไม่ได้อยู่ในวงการจึงไม่รู้ว่าความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อดาราศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่  ส่วนที่นึกคิดจะเขียนบทความนี่ขึ้นเพราะตอนนี้มาฝึกงานอยู่ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง  และผลข้างเคียงของการที่มันเป็นอำเภอเงียบๆ เล็กๆ และเต็มไปด้วยสวนยางก็คือ แค่เดินออกมาจากบ้านพัก ก็เห็นดาวชัดเจนทีเดียว

ส่วนที่เลือกตั้งชื่อว่า "ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ" เป็นเพราะว่าหลายครั้งก่อนหน้านี้ เวลามีโอกาสได้ไปออกเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนทีไร หลายคนชอบบอกว่าตัวเองดูดาวไม่เป็นเลย ดูเป็นแต่ 'ดาวไถ' อย่างเดียว  ซึ่งผมเองก็อยากบอกไปเหลือเกินว่า แค่ดูดาวไถเป็น ก็ดูดาวอื่นได้เกือบครึ่งท้องฟ้าแล้วหละครับ

ส่วนที่ว่าดูได้อย่างไรนั้น มาดูดาวไปพร้อมกันเลยดีกว่าครับ...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่