กลับมาแล้วอีกกระทู้นะครับ จากกระทู้ก่อนๆ
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ
1
http://ppantip.com/topic/31652544
2
http://ppantip.com/topic/31655494
3
http://ppantip.com/topic/31981608
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวจระเข้
http://ppantip.com/topic/31986330
ดูดาวยากๆ เริ่มได้จากดาวพลูโต
http://ppantip.com/topic/32411040
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวค้างคาว (1)
http://ppantip.com/topic/32658637
ดูดาวยากๆ เริ่มได้จาก interstellar
http://ppantip.com/topic/32864049
ยังอยู่ในตอน "ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวค้างคาว" อยู่นะครับ ก็เพราะช่วงนี้ดาวค้างคาวขึ้นตอนหัวค่ำ (สรุปเอาเองว่าคนเราน่าจะชอบดูดาวก่อนนอนมากกว่าตื่นมาดูตอนเช้ามืด) ก็จะให้ไปเริ่มดูจากดาวไหนล่ะ จริงบ่ตัว (สำเนียงเริ่มไปแระ)
บอกวิธีหาดาวค้างคาวไปแล้วจากตอนที่แล้ว ดาวค้างคาวไม่ได้ใช้หาแค่ได้แค่ กลุ่มดาวหมีเล็ก (ดาวเหนือ) กลุ่มดาวโคม/เซฟีอุส และกลุ่มดาวม้าปีกเท่านั้นนะครับ แต่ยังสามารถใช้ในการหาดาวที่หลายคน โดยเฉพาะสาวกญี่ปุ่นทั้งหลาย ต่างอยากดูอย่างคู่สาวทอผ้า...
ปิดไฟ ใส่ กลอน จะเข้ามุ้งนอน คิดถึงใบหน้า นั่งเขียนจดหมาย แล้วรีบทิ้งไปโรงงานทอผ้า ถึงคนชื่อฉันทนา ที่เคยสบตา กันเป็น ประจำ ลายมือ ไม่ ดี ต้องขอโทษที เพราะความรู้ต่ำ หากคำ พูด ใด ไม่ถูกหัวใจ หรือไม่ชื่นฉ่ำ ขอ จง ยก โทษ ถ้อยคำ ที่ผมเพลี่ยงพล้ำ บอกรัก คุณมา หาก ผิด พลั้ง ไป อภัย เถิดฉัน ทนา ผม คน บ้าน ป่า ถ้อยวาจา ไม่หวาน กินใจ ภาพ ถ่าย ลายเซนต์ ผมส่งให้เป็น ของขวัญปีใหม่ หาก คุณ เกลียดชัง เมื่ออ่านด้านหลัง แล้วโยนทิ้งได้ หรือ เอา ไปฉีก เผาไฟ อย่าเก็บ เอาไว้ ให้มัน บาดตา หาก คุณ กา รุณย์ ก็ส่งรูปคุณ ให้ดูแทนหน้า ช่วย เซนต์รูปไป ว่ามอบด้วยใจ สาวโรงทอผ้า...
สาวโรงทอผ้า...
สาวโรงทอผ้า...
โอ๊ะ! ขออภัยครับ ผิดประเทศไปหน่อย....
(อย่าถามอายุ จขกท. เป็นอันขาดนะครับ ถ้าเห็นว่ารู้จักเพลงนี้แล้วละก็)
การหาดาวสาวทอผ้า ดาวเจ้าหญิงทอผ้า หรือที่เรียกกันในชื่อสากลว่า วีกา (Vega) นั้น สามารถหาได้ง่ายๆ โดยลากเส้นจากดาวค้างคาวดังนี้ครับ
ซึ่งก็ด้วยเหตุผลบางอย่าง วีกาเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในความสนใจของคนหมู่มากมานานแล้ว (เชื่อเปล่าครับว่าสมัยที่โจสเลนเองไปออกค่ายดูดาว เพื่อนโจสเลนถึงขั้นยอมอดนอนเพื่อรอดูวีกาโดยเฉพาะเลยครับ) ซึ่งก็น่าสนใจครับ เพราะถ้าไม่นับดวงอาทิตย์แล้ว วีกาเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกที่ถูกถ่ายรูป เป็นดาวดวงแรกที่ถูกวัดค่าระดับสี และเป็นดาวที่ใช้เป็นค่าอ้างอิงในการบอกว่าอันดับความสว่างปรากฏ (apparent magnitude) และค่าสีของดาว (color index) อีกด้วยครับ
จนกระทั่งนักดาราศาสตร์พูดกันว่า ดูท่าแล้ว วีกาคงจะเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดรองจากดวงอาทิตย์เสียแล้วกระมัง
[1]
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ลงรายละเอียดกันเล็กน้อย อันดับความสว่างปรากฏก็คือตัวเลขที่ใช้บอกความสว่างของดาวฤกษ์ครับ ว่าเราเห็นดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ สว่างแค่ไหน เนื่องจากว่าเวลาเอาเครื่องมือไปวัดความสว่าง (Brightness) ของดาวเนี่ยครับ มันจะออกมาเป็นตัวเลขที่หน้าตาไม่ค่อยสวยงาม เช่น 3.631*10^-11 watts meter^2 nm^-1 แบบนี้เป็นต้น นักดาราศาสตร์ก็เลยใช้วิธีกำหนดอันดับความสว่างของวีกาเอาไว้ที่ 0 แลวเอาความสว่างของวีกามาหารตัวเลขไม่สวยๆ เหล่านั้น เพื่อดูว่ามันสว่างเป็นกี่เท่าของวีกา แล้วก็กหนดว่า
ดาวที่สว่างเป็น 2.5 เท่าของวีกา มีอันดับความสว่าง -1
ดาวที่สว่างเป็น 1 เท่าของวีกา มีอันดับความสว่าง 0
ดาวที่สว่างเป็น 1/2.5 เท่าของวีกา มีอันดับความสว่าง 1
ดาวที่สว่างเป็น 1/6.25 เท่าของวีกา มีอันดับความสว่าง -2
(สเกลทีละ 2.5 เท่า)
ฯลฯ
ส่วนเรื่องสีก็คล้ายๆ กันครับ ก็คือทางดาราศาสตร์จะบอกสีของดาวเป็นตัวเลขที่เรียกว่า color index โดยวีกาก็ถูกกำหนดคร่าวๆ ว่าเป็นดาวที่มีค่า color index เท่ากับ 0 พูดง่ายๆ คือเป็นมาตรฐานของ "ดาวสีขาว" นั่นเองครับ[1],[2]
*หมายเหตุ เนื่องจากการวัดค่าในปัจจุบันมีความละเอียดมากขึ้น จึงเห็นได้ว่าค่าอันดับความสว่างปรากฏและค่าสีของวีกาที่ปรากฏอยู่ที่ต่างๆ ไม่เท่ากับ 0 พอดี แต่จะเห็นว่ามีค่าใกล้ 0 มาก
[i][code][1]Vega on wiki
[2]http://www.vikdhillon.staff.shef.ac.uk/teaching/phy217/instruments/phy217_inst_mags.html[/code][/i]
จบเรื่องวีกาไปแบบหนักหัว
แต่ในกลุ่มดาวพิณยังมีภาพอีกภาพหนึ่งที่อยากให้ดูกันก่อนไปต่อ คือ เนบิวลาวงแหวน (Ring nebula) ซึ่งเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ครับ
http://www.seasky.org/skygallery/assets/images/skypic03-12_sk10.jpg
ก็ต่อด้วยหนุ่มเลี้ยงวัวที่มีชื่อว่า อัลแตร์ (Altair)
วิธีการหาดาวอัลแตร์ก็มีดังนี้ครับ
ดาวอัลแตร์อยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) รูปร่างคร่าวๆ ที่โจสเลนชอบจินตนาการคือรูปร่างจะคล้ายๆ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ตามตำนานเล่าขานกันว่า มีเจ้าหญิงองค์หนึ่ง (วีกา) มีความสามารถในการทอผ้าได้สวยงามมาก เธอก็นำผ้าไปถวายเทพเจ้า (ซึ่งเป็นปะป๊าของเธอเอง) จนเทพเจ้าพอใจ อนุญาตให้เธอแต่งงานกับคนรักที่เป็นชายเลี้ยงวัว (อัลแตร์)
แต่พอหลังแต่งงานกันแล้ว เธอก็ไม่ยอมทอผ้าไปถวายเทพเจ้าอีก (ไม่รู้ว่ามัวแต่ทำอะไรกันอยู่ เหอๆ) เทพเจ้าเลยพิโรธแยกสองคนนี้ออกคนละฟากฝั่งของแม่น้ำแห่งสรวงสวรรค์ (ทางช้างเผือก) โดยให้เจอกันเพียงแค่ปีละหนึ่งวัน คือ วันที่เจ็ด ของเดือนเจ็ด จะนกกางเขนมาทอดสะพาน เอ้ย! ต่อสะพานให้ทั้งสองได้ไปเจอกัน
ดังนั้น อย่าลืมชวนคนรัก แฟนหนุ่ม แฟนสาว คู่ขา เพื่อนสนิท ไปดูดาวกันในวันทานาบาตะ (อย่าหวัง! เพราะเมืองไทยอยู่กลางหน้าฝนเลย) พร้อมเปิดเพลง Tanabata Omatsuri 'เทศกาลทานาบาตะ' ของศิลปินดูโอชาวญี่ปุ่น Tegomass คลอไปพลาง
[vimeo]http://vimeo.com/channels/falconproject/52387529[/vimeo]
(เพลงนี้มันแบ๊วได้ใจโจสเลนมากครับ)
และคืนไหนฟ้าโปร่ง ก็อย่าลืมสังเกตทางช้างเผือกที่ทอดระหว่างวีกากับอัลแตร์ด้วยล่ะครับ
http://www.sakura-hostel.co.jp/blog/images/tanabata-thumb.png
แต่การดูดาวในบริเวณนี้ จะไม่อาจครบถ้วนได้เลย หากไม่ได้ดูกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งที่อยู่ซ้อนทับบนทางช้างเผือก ดาวในกลุ่มดาวนี้เรียงตัวกันเป็นรูปร่างคล้ายไม้กางเขน อันเป็นที่มาของอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มดาวกางเขนเหนือ แต่สากลเรียกชื่อว่ากลุ่มดาวหงส์ (Cygnus)
ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหงส์นั้นชื่อว่าเดเนบ (Deneb) ซึ่งบางคนแปลว่าดาวหางหงส์ ซึ่งในตำนานของจีน (ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ตำนานทานาบาตะให้กับญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง) กล่าวว่าเดเนบนี้ก็คือนกกางเขนที่มาเป็นสะพานเชื่อมรักของเจ้าหญิงทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัวนั่นเอง
ในทางดาราศาสตร์แล้ว ในกลุ่มดาวหงส์มีวัตถุน่าสนใจอยู่มากมาย ทั้งสายไลท์และสายดาร์ค อ่อ... หมายถึงทั้งสายสว่างและสายมืดน่ะครับ
สายสว่างก็เช่น
เนบิวลาอเมริกาเหนือ (พยายามจินตนาการให้ออกนะครับ)
http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/65/b2/37/65b23798b0a5421844bb1036f3b3ff72.jpg
เนบิวลาผ้าคลุมหน้า (ความจริงเป็นเศษซากของซูเปอร์โนวาเมื่อนานมาแล้ว)
http://imgc.allpostersimages.com/images/P-473-488-90/36/3626/LCJEF00Z/posters/stocktrek-images-veil-nebula.jpg
สายมืดก็ได้แก่
เนบิวลาถุงถ่านหินเหนือ (Northern coalsack หรือ Great rift)
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/78/Dark_Rift_2012.jpg/300px-Dark_Rift_2012.jpg
รวมทั้งแหล่งกำเนิดคลื่นเอกซเรย์ปริศนาอย่าง Cygnus X-1 ที่หลายคนเชื่อว่าเป็นหลุมดำอีกด้วยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้น่าตื่นเต้นใช่เปล่าล่ะ...
แต่พูดถึง ซูเปอร์โนวา พูดถึง หลุมดำ พูดถึง เนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วแล้ว ก็คงจะต้องมาพูดกันถึงการจบชีวิตของดาวฤกษ์ดูสักหน่อยครับ
ดาวฤกษ์ที่มีมวลไม่เกิน 8 เท่าของดวงอาทิตย์ พอจบชีวิต หลังพองออกเป็นดาวยักษ์แดง ก๊าซที่อยู่รอบนอกก็จะหลุดออก กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ในขณะที่แกนกลางที่เหลืออยู่จะกลายเป็นดาวเคระห์ขาว (white dwarf)
ซึ่งนอกจากเนบิวลาวงแหวนแล้ว ในกาแล็กซี่ของเราก็ยังมีเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สวยงาม (แต่เห็นได้ยาก) มากมาย เช่น
เนบิวลานาฬิกาทราย (Hourglass nebula)
http://user.physics.unc.edu/~evans/pub/A31/Lecture19-Stellar-Death/hourglass-nebula.jpg
เนบิวลามด (Ant nebula)
http://www.thunderbolts.info/thunderblogs/images/Ant-nebula-rotated_450x439.jpg
เนบิวลาแมงมุมแดง (Red spider nebula)
http://pro.tok2.com/~aq6a-ink/ms/3dfgazou/ngc6537f.jpg
แต่ดาวที่มวลมากกว่า 8 เท่าของดวงอาทิตย์ จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เนื่องจากดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีแกนกลางที่เป็นเหล็ก (ซึ่งเป็นธาตุที่มีความพิเศษในทางนิวเคลียร์) เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (Supernova) *ซูเปอร์โนวาเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก การระเบิดของดาวฤกษ์ที่จบชีวิตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งซูเปอร์โนวานี้จะทิ้งเศษซาก (supernova remnant) เอาไว้เป็นเนบิวลา
เช่น เนบิวลาผ้าคลุมหน้า ที่เล่าไปแล้ว
หรือ เนบิวลาปู
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/00/Crab_Nebula.jpg/190px-Crab_Nebula.jpg
ส่วนแกนกลางที่เหลืออยู่ของดาวเหล่านี้ จะกลายเป็นดาวนิวตรอน (neutron star) ดาวความหนาแน่นสูงจัดที่ทั้งดวงเต็มไปด้วยอนุภาคนิวตรอน ดาวนิวตรอนที่หมุนสามารถส่งคลื่นออกมาเป็นจังหวะเรียกว่าพัลซาร์ (pulsar)
แต่ถ้าแกนกลางของมันมีมวลมากพอ คือ มากกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์โดยประมาณ แกนกลางจะยุบตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง จนสามารถสร้าง "อาณาเขต" ที่แม้แต่แสงก็ไม่สามารถเล็ดรอดออกว่าได้ เรียกว่า หลุมดำ (black hole)
http://www.slate.com/content/dam/slate/blogs/bad_astronomy/2014/11/08/interstellar_movie_blackhole.jpg.CROP.original-original.jpg
แบบหลุมดำในเรื่อง interstellar นั้นแล
จบ...
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวค้างคาว -- ตอนที่ 2 : สามเหลี่ยมฤดูร้อน กับโบนัสพิเศษ
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ
1 http://ppantip.com/topic/31652544
2 http://ppantip.com/topic/31655494
3 http://ppantip.com/topic/31981608
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวจระเข้
http://ppantip.com/topic/31986330
ดูดาวยากๆ เริ่มได้จากดาวพลูโต
http://ppantip.com/topic/32411040
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวค้างคาว (1)
http://ppantip.com/topic/32658637
ดูดาวยากๆ เริ่มได้จาก interstellar
http://ppantip.com/topic/32864049
ยังอยู่ในตอน "ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวค้างคาว" อยู่นะครับ ก็เพราะช่วงนี้ดาวค้างคาวขึ้นตอนหัวค่ำ (สรุปเอาเองว่าคนเราน่าจะชอบดูดาวก่อนนอนมากกว่าตื่นมาดูตอนเช้ามืด) ก็จะให้ไปเริ่มดูจากดาวไหนล่ะ จริงบ่ตัว (สำเนียงเริ่มไปแระ)
บอกวิธีหาดาวค้างคาวไปแล้วจากตอนที่แล้ว ดาวค้างคาวไม่ได้ใช้หาแค่ได้แค่ กลุ่มดาวหมีเล็ก (ดาวเหนือ) กลุ่มดาวโคม/เซฟีอุส และกลุ่มดาวม้าปีกเท่านั้นนะครับ แต่ยังสามารถใช้ในการหาดาวที่หลายคน โดยเฉพาะสาวกญี่ปุ่นทั้งหลาย ต่างอยากดูอย่างคู่สาวทอผ้า...
สาวโรงทอผ้า...
สาวโรงทอผ้า...
โอ๊ะ! ขออภัยครับ ผิดประเทศไปหน่อย....
(อย่าถามอายุ จขกท. เป็นอันขาดนะครับ ถ้าเห็นว่ารู้จักเพลงนี้แล้วละก็)
การหาดาวสาวทอผ้า ดาวเจ้าหญิงทอผ้า หรือที่เรียกกันในชื่อสากลว่า วีกา (Vega) นั้น สามารถหาได้ง่ายๆ โดยลากเส้นจากดาวค้างคาวดังนี้ครับ
ซึ่งก็ด้วยเหตุผลบางอย่าง วีกาเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในความสนใจของคนหมู่มากมานานแล้ว (เชื่อเปล่าครับว่าสมัยที่โจสเลนเองไปออกค่ายดูดาว เพื่อนโจสเลนถึงขั้นยอมอดนอนเพื่อรอดูวีกาโดยเฉพาะเลยครับ) ซึ่งก็น่าสนใจครับ เพราะถ้าไม่นับดวงอาทิตย์แล้ว วีกาเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกที่ถูกถ่ายรูป เป็นดาวดวงแรกที่ถูกวัดค่าระดับสี และเป็นดาวที่ใช้เป็นค่าอ้างอิงในการบอกว่าอันดับความสว่างปรากฏ (apparent magnitude) และค่าสีของดาว (color index) อีกด้วยครับ
จนกระทั่งนักดาราศาสตร์พูดกันว่า ดูท่าแล้ว วีกาคงจะเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดรองจากดวงอาทิตย์เสียแล้วกระมัง[1]
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จบเรื่องวีกาไปแบบหนักหัว
แต่ในกลุ่มดาวพิณยังมีภาพอีกภาพหนึ่งที่อยากให้ดูกันก่อนไปต่อ คือ เนบิวลาวงแหวน (Ring nebula) ซึ่งเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ครับ
http://www.seasky.org/skygallery/assets/images/skypic03-12_sk10.jpg
ก็ต่อด้วยหนุ่มเลี้ยงวัวที่มีชื่อว่า อัลแตร์ (Altair)
วิธีการหาดาวอัลแตร์ก็มีดังนี้ครับ
ดาวอัลแตร์อยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) รูปร่างคร่าวๆ ที่โจสเลนชอบจินตนาการคือรูปร่างจะคล้ายๆ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ตามตำนานเล่าขานกันว่า มีเจ้าหญิงองค์หนึ่ง (วีกา) มีความสามารถในการทอผ้าได้สวยงามมาก เธอก็นำผ้าไปถวายเทพเจ้า (ซึ่งเป็นปะป๊าของเธอเอง) จนเทพเจ้าพอใจ อนุญาตให้เธอแต่งงานกับคนรักที่เป็นชายเลี้ยงวัว (อัลแตร์)
แต่พอหลังแต่งงานกันแล้ว เธอก็ไม่ยอมทอผ้าไปถวายเทพเจ้าอีก (ไม่รู้ว่ามัวแต่ทำอะไรกันอยู่ เหอๆ) เทพเจ้าเลยพิโรธแยกสองคนนี้ออกคนละฟากฝั่งของแม่น้ำแห่งสรวงสวรรค์ (ทางช้างเผือก) โดยให้เจอกันเพียงแค่ปีละหนึ่งวัน คือ วันที่เจ็ด ของเดือนเจ็ด จะนกกางเขนมาทอดสะพาน เอ้ย! ต่อสะพานให้ทั้งสองได้ไปเจอกัน
ดังนั้น อย่าลืมชวนคนรัก แฟนหนุ่ม แฟนสาว คู่ขา เพื่อนสนิท ไปดูดาวกันในวันทานาบาตะ (อย่าหวัง! เพราะเมืองไทยอยู่กลางหน้าฝนเลย) พร้อมเปิดเพลง Tanabata Omatsuri 'เทศกาลทานาบาตะ' ของศิลปินดูโอชาวญี่ปุ่น Tegomass คลอไปพลาง
[vimeo]http://vimeo.com/channels/falconproject/52387529[/vimeo]
(เพลงนี้มันแบ๊วได้ใจโจสเลนมากครับ)
และคืนไหนฟ้าโปร่ง ก็อย่าลืมสังเกตทางช้างเผือกที่ทอดระหว่างวีกากับอัลแตร์ด้วยล่ะครับ
http://www.sakura-hostel.co.jp/blog/images/tanabata-thumb.png
แต่การดูดาวในบริเวณนี้ จะไม่อาจครบถ้วนได้เลย หากไม่ได้ดูกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งที่อยู่ซ้อนทับบนทางช้างเผือก ดาวในกลุ่มดาวนี้เรียงตัวกันเป็นรูปร่างคล้ายไม้กางเขน อันเป็นที่มาของอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มดาวกางเขนเหนือ แต่สากลเรียกชื่อว่ากลุ่มดาวหงส์ (Cygnus)
ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหงส์นั้นชื่อว่าเดเนบ (Deneb) ซึ่งบางคนแปลว่าดาวหางหงส์ ซึ่งในตำนานของจีน (ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ตำนานทานาบาตะให้กับญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง) กล่าวว่าเดเนบนี้ก็คือนกกางเขนที่มาเป็นสะพานเชื่อมรักของเจ้าหญิงทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัวนั่นเอง
ในทางดาราศาสตร์แล้ว ในกลุ่มดาวหงส์มีวัตถุน่าสนใจอยู่มากมาย ทั้งสายไลท์และสายดาร์ค อ่อ... หมายถึงทั้งสายสว่างและสายมืดน่ะครับ
สายสว่างก็เช่น
เนบิวลาอเมริกาเหนือ (พยายามจินตนาการให้ออกนะครับ)
http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/65/b2/37/65b23798b0a5421844bb1036f3b3ff72.jpg
เนบิวลาผ้าคลุมหน้า (ความจริงเป็นเศษซากของซูเปอร์โนวาเมื่อนานมาแล้ว)
http://imgc.allpostersimages.com/images/P-473-488-90/36/3626/LCJEF00Z/posters/stocktrek-images-veil-nebula.jpg
สายมืดก็ได้แก่
เนบิวลาถุงถ่านหินเหนือ (Northern coalsack หรือ Great rift)
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/78/Dark_Rift_2012.jpg/300px-Dark_Rift_2012.jpg
รวมทั้งแหล่งกำเนิดคลื่นเอกซเรย์ปริศนาอย่าง Cygnus X-1 ที่หลายคนเชื่อว่าเป็นหลุมดำอีกด้วยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จบ...