กระจุกดาว (Star Cluster) ต่างๆในแกแลกซี่

กระทู้คำถาม

ลักษณะของกลุ่มดาวเมื่อมองจากโลกคล้ายยึดเกาะด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน ในกาแล็คซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) 


กระจุกดาวรวงผึ้ง  (Beehive Cluster)

ประกอบด้วยดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หลายดวงที่สว่างกว่ากระจุกดาวอื่นในบริเวณใกล้เคียง ในคืนเดือนมืดหากสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยตาเปล่าอาจมองเห็นกระจุกดาวรวงผึ้งเป็นเหมือนเนบิวลาหรือกลุ่มเมฆจาง ๆ มันจึงเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณแล้ว นักดาราศาสตร์ยุคแรก ๆ อย่าง ปโตเลมี เรียกมันว่า "มวลเมฆในอกของปู" กระจุกดาวนี้ยังเป็นวัตถุท้องฟ้าชุดแรก ๆ ที่กาลิเลโอศึกษาผ่านกล้องโทรทรรศน์ของเขาด้วย

กระจุกดาวรวงผึ้ง หรือ เรียกย่อๆว่า M44 อยู่ห่างไป 600 ปีแสง     เป็นกระจุกดาวแบบเปิด มีประชากรดาวฤกษ์มากถึง 1000 ดวง เกาะเกี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วงอย่างหลวมๆ กระจุกดาวรวงผึ้งอยู่ตรงกลางของกลุ่มดาวปู ซึ่งหากท้องฟ้ามืดสนิดปราศจากหมอกควันฝุ่นละออกในอากาศ จะสามารถมองเห็นกระจุกดาวรวงผึ้งได้ด้วยตาเปล่า โดยจะต่างจากการมองเห็นกระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวรวงผึ้งนั้นเห็นเป็นลักษณะคล้ายมีกลุ่มหมอกเป็นฝ้าขาว ที่ดูไม่กลืนไปกับผืนท้องฟ้า นั่นทำให้กลุ่มดาวปูดูสะดุดตาขึ้นมาทันที​ กระจุกดาวรวงผึ้งมีอายุน้อยกว่าระบบสุริยะประมาณ​ 700 ล้านปี ซึ่งระบบสุริยะ​เราถือกำเนิดมาเเล้วอย่างน้อย​ 4600 ล้านปี​ ซึ่งนั่นแปลได้ว่า กระจุกดาวแห่งนี้เกิดทีหลังระบบสุริยะ
Cr.storylog.co

กระจุกดาวทรงกลม (globular star clusters)

กระจุกดาวทรงกลมเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์หลายหมื่นดวงที่เกาะกลุ่มกันเองด้วยแรงโน้มถ่วงจนเป็นรูปร่างทรงกลมดาวฤกษ์ทั้งหมดจะโคจรไปรอบใจกลางกระจุกดาวทรงกลม ดูคล้ายกับฝูงผึ้งที่บินวนรอบรังผึ้งอยู่
 
กระจุกดาวทรงกลมมีดาวฤกษ์จำนวนมากกว่าและมีอายุมากกว่ากระจุกดาวเปิด และกระจุกดาวทรงกลมถูกมองว่าเป็นตัวได้รับมรดกจากเอกภพ ตรงที่กระจุกดาวเหล่านี้มีดาวฤกษ์ที่ก่อตัวขึ้นเป็นรุ่นแรกๆ
 
เราจะพบกระจุกดาวทรงกลมได้ตามทรงกลมขนาดใหญ่ เรียกว่า “ฮาโล” โดยรอบการแล็กซีทรงกังหัน แต่จะอยู่ในบริเวณห่างจากแขนของกาแล็กซีออกมา และยังพบได้บริเวณขอบนอกสุดของกาแล็กซีทรงรีขนาดใหญ่กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีกระจุกดาวทรงกลมราว 150 กระจุก
Cr.nso.narit.or.th

กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades, M45, NGC 1432)

กระจุกดาวลูกไก่  นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า  เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ 7 ดวงรวมกลุ่มกันอยู่ในบริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) ถ้าหากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะพบว่ากระจุกดาวลูกไก่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนหลายร้อยดวง อยู่กันด้วยแรงโน้มถ่วงของกันและกัน และเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา กระจุกดาวลูกไก่กินอาณาบริเวณกว้างประมาณ 13ปีแสง  ห่างออกไปประมาณ 400ปีแสง เนบิวลาที่พบในกระจุกดาวลูกไก่ มีแสงเรืองสีน้ำเงินเนื่องจาก สะท้อนแสงจากดวงดาวที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจัดเป็นเนบิวลาประเภทสะท้อนแสง (Reflection Nebula)
Cr.http://www.narit.or.th/

กระจุกดาว R136

เป็นกระจุกดาวที่ร้อนมวลมากและอายุน้อยภายในเนบิวลาทารานตูลา ซึ่งอยู่ในดาราจักรเพื่อนบ้านของเราเมฆแมกเจลแลน
อยู่ห่างจากโลกออกไปราว 170,000 ปีแสงจากโลก ถือเป็นกระจุกดาวที่มีอายุน้อยคาดว่ามีอายุอยู่ในช่วง 1 ถึง 2 ล้านปี และถือเป็นพื้นที่ที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการศึกษา เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณเดียวที่อยู่ใกล้พอที่จะสามารถสังเกต และเฝ้าดูกระบวนการสร้างดาวฤกษ์แต่ละดวงได้อย่างชัดเจน

R136a1 ที่เป็นดาวมวลมากสุดที่เคยค้นพบ   แต่มันก็มีความสุกสว่างสูงสุดด้วย ราว สิบล้านเท่าของความสุกสว่างของดวงอาทิตย์
Cr.sites.google.com/

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว  หรือ กระจุกดาวเฮียเดส (Hyades; Ὑάδες; หรือบ้างก็เรียก เมล็อต 25, คอลลินเดอร์ 50 หรือ แคดเวลล์ 41) เป็นกระจุกดาวเปิดที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด และเป็นหนึ่งในบรรดากระจุกดาวที่เป็นตัวอย่างการศึกษาได้ดีที่สุด กระจุกดาวนี้อยู่ห่างออกไป 151 ปีแสง ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ประมาณ 300 - 400 ดวงเกาะกันเป็นทรงกลมอย่างหยาบๆ ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุใกล้เคียงกัน จุดกำเนิดเดียวกัน องค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน และมีการเคลื่อนที่ผ่านอวกาศเหมือนๆ กัน.
Cr.th.unionpedia.org

กระจุกดาว 47 นกทูแคน (47 Tucanae)

กระจุกดาว 47 นกทูแคน เป็นกระจุกดาวทรงกลม อยู่ห่างจากโลก 13,000 ถึง 16,000 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวนกทูแคน เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายแสนดวงเกาะกันอยู่ภายในทรงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 120 ปีแสง มีดาวฤกษ์บริเวณใจกลางแออัดมาก การวัดความเร็วของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกระจุกจึงทำไม่ได้

ในกระจุกดาว 47 นกทูแคนแทบไม่มีแก๊สระหว่างดาวเลย หากมีหลุมดำในกระจุกดาวนี้ ก็จะเป็นหลุมดำอดอยากเพราะไม่มีแก๊สให้กลืนกิน การตรวจหาหลุมดำในกระจุกดาวนี้จึงยากมาก  หลุมดำในกระจุกดาว 47 นกทูแคนนี้ มีมวล 2,200 เท่าของดวงอาทิตย์
Cr.thaiastro.nectec.or.th

กระจุกดาวแฝด (Double Cluster)

กระจุกดาวแฝด เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกกระจุกดาวเปิดสองแห่ง NGC 884 และ NGC 869 ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวทั้งสองอยู่ใกล้ๆ กันในกลุ่มดาวเพอร์ซีอัส โดยอยู่ห่างจากเราไปประมาณ 7,600 และ 6,800 ปีแสง ตามลำดับ จะเห็นว่ากระจุกดาวทั้งสองก็อยู่ใกล้กันมากเช่นเดียวกันในห้วงอวกาศ

กระจุกดาวแฝดคู่นี้ถือเป็นกระจุกดาวอายุค่อนข้างน้อย โดย NGC 869 มีอายุประมาณ 5.6 ล้านปี และ NGC 884 มีอายุราว 3.2 ล้านปี ทั้งนี้อ้างอิงจาก 2000 Sky Catalogue ขณะที่กระจุกดาวลูกไก่มีอายุโดยประมาณอยู่ระหว่าง 75 ล้านปีถึง 150 ล้านปี
กระจุกดาวทั้งสองมีปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน NGC 869 กำลังเคลื่อนเข้าหาโลกด้วยความเร็ว 22 กิโลเมตร/วินาที ส่วน NGC 884 ก็เดินทางเข้าหาโลกด้วยความเร็วใกล้เคียงกันคือ 21 กิโลเมตร/วินาที ลำดับความร้อนสูงที่สุดของมันบนแถบลำดับหลักของดาวฤกษ์อยู่ที่ระดับสเปกตรัมB0
Cr..wikipedia.org
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่