ทิ้งช่วงไปนานหลังจากกระทู้ครั้งก่อน ตอนนี้ฟ้าเริ่มปิด พายุฝนเริ่มมาแล้วก็ไม่แน่ใจว่าจะช้าเกินไปหรือเปล่าสำหรับตอนที่ 3 ของบทความชุด "ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ"
คาดว่าบทความนี้จะเป็นบทความสุดท้ายในชุดนี้แล้ว (คาดว่าบทความชุดต่อไปจะเริ่มดูจากดาวจระเข้แทน) นะครับ
อย่างที่บอกไปในชื่อ บทความนี้เราจะเริ่มดูดาวซึ่งอยู่รอบๆ ขั้วฟ้าใต้กัน
หลายคนอาจจะสงสัยว่า "ขั้วฟ้าใต้" คืออะไร ขั้วฟ้าใต้นี้เป็นจุดสมมติบนท้องฟ้า ของจุดที่ ขั้วโลกใต้ ชี้ตรงไป ในทำนองเดียวกับขั้วฟ้าเหนือคือ จุดบนท้องฟ้าที่ขั้วโลกเหนือชี้ไป (บางทีดูตามรูปอาจจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ)
สิ่งที่ต่างกันระหว่าง ขั้วฟ้าเหนือ กับ ขั้วฟ้าใต้ก็ คือ ตรงตำแหน่งของขั้วฟ้าเหนือ ตรงกับดาวฤกษ์ดวงหนึ่งพอดี เราเลยเรียกดาวดวงนั้นว่าดาวเหนือ
ในขณะที่ทางขั้วฟ้าใต้ ไม่มีดาวฤกษ์ (ที่มองเห็นได้) อยู่ เพราะฉะนั้น เราก็เลยไม่มีดาวใต้อย่างไรล่ะครับ
ขั้วฟ้าใต้เนี่ย มองจากเมืองไทยไม่เห็นครับ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในซีกโลกเหนือ แต่เพราะเราอยู่เหนือ "ไม่มาก" เราก็เลยพอเห็นดาวที่อยู่รอบๆ ขั้วฟ้าใต้ (ซึ่งมีหลายดวงที่สว่างสุกใสสวยงาม) ได้หลายดวงทีเดียว
ก่อนที่ใครหลายคนจะมึนไปกว่านี้ เรามาเริ่มดูดาวกันดีกว่าครับ
I. ที่หนึ่งไม่ไหว ฉันเต็มใจขอเป็นแค่ที่สอง...
ลากเส้นตามแนวกลุ่มดาวนายพรานดังรูปนะครับ เราจะไปเจอกับดาวฤกษ์สว่างมากๆ อีกดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า "คาโนป้ส" (Canopus)
ดาวคาโนปัสนี้เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสองของท้องฟ้าในตอนกลางคืน กลุ่มดาวของดาวคาโนปัสชื่อว่ากลุ่มดาวกระดูกงูเรือ (Carina) เดิมกลุ่มดาวในบริเวณนี้เรียกว่ากลุ่มดาวเรืออาร์โก (Argo Navis) ซึ่งมาจากชื่อเรือในตามนานกรีกเรื่อง "เจสันกับขนแกะทองคำ" แต่นักดาราศาสตร์ปัจจุบันบอกว่ามันเป็นกลุ่มดาวที่ใหญ่เกินไป เลยซอยย่อยออกมาเป็น 3 กลุ่มดาว คือ กระดูกงูเรือ, ท้ายเรือ (Puppis) และใบเรือ (Vela)
II. เห็นเขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก
ก่อนไปดูดาวกลุ่มต่อไป โจสเลนมีคำถามมาถามเล่นๆ ครับ
ถามว่า "ดาวขึ้นทางทิศไหน ตกทางทิศไหนครับ?"
.
.
.
ตอบ "ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก" เหมือนกับดวงอาทิตย์นั่นแหละครับ
เพราะว่า ทั้งดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างอยู่นิ่งๆ การขึ้นและตกของทั้งสองอย่างเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ดังนั้น เมื่อโลกหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก (หรือหมุน "ทวนเข็มนาฬิกา" เมือเอาตัวเราไปลอยอยู่เหนือขั้วฟ้าเหนือแล้วมองลงมา) ทั้งดวงอาทิตย์และดวงดาวก็จะขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตกเหมือนกันครับ)
เพราะอย่างนี้เองครับ ในยามที่ดาวคาโนปัสกำลังเคลื่อนคล้อยรับฟ้าในทิศหรดี (ก็คือทิศตะวันตกเฉียงใต้นั่นแหละ แหม่ ทำเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนไปได้) กลุ่มดาวที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งก็จะขึ้นพ้นจากท้องฟ้าในทิศอาคเนย์ (ไม่บอกก็คงรู้ว่าคือทิศตะวันออกเฉียงใต้)
กลุ่มดาวนั้นมีชื่อว่า กลุ่มดาวกางเขนใต้ (Crux)
การมองหากลุ่มดาวกางเขนใต้นั้นอาจจะเป็นความท้าทายสักเล็กน้อยครับ ข้อสำคัญที่ต้องรู้คือ ถึงแม้ไม้กางเขนจะมีสี่ปลาย กลุ่มดาวกางเขนใต้มีดาวฤกษ์สว่าง 5 ดวง
ไม่อย่างนั้นจะดูผิดกับ "กางเขนปลอม" ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "เรืออาร์โก" ไม่รู้ด้วยนะเออ...
ก็อย่างในภาพ นะครับ วิธีการแยก กางเขนใต้ (ของจริง) กับ กางเขนปลอม มีอยู่สองวิธีง่าย คือ
1) อย่างที่บอกไปแล้ว กางเขนใต้ของจริงจะมี ดาวสว่างตรงกลาง (เป็นดวงที่ 5) อีกดวงหนึ่ง
2) เพราะกลุ่มดาวเรืออาร์โก (ทั้งสามกลุ่ม) จะขึ้นก่อนตกก่อนกลุ่มดาวกางเขนใต้ เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นไม้กางเขนสองอัน อันที่อยู่ทางตะวันตกก็จะเป็นกางเขนปลอม อันที่อยู่ทางตะวันออกคือกางเขนใต้
พอเล่ามาถึงตอนนี้แล้ว อาจจะมีบางคนเริ่มสงสัยว่า มีกางเขนใต้แล้วมีกางเขนเหนือด้วยหรือเปล่า คำตอบก็คือ "มีครับ"
แต่ว่ากลุ่มดาวกางเขนเหนือมีชื่อแบบเป็นทางการว่า "กลุ่มดาวหงส์" ก็ต้องเล่าย้อนท้าวความไปว่า สมัยหนึ่ง คริสตจักรได้มีความพยายามในการตั้งชื่อกลุ่มดาวทั้งหมดให้เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนา กลุ่มดาวหงส์ก็เลยถูกตั้งอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มดาวไม้กางเขน แต่ว่าเนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยม ชื่อเหล่านั้นก็เลยค่อยๆ เลิกใช้ไป
เราจะยังไม่ดูกลุ่มดาวหงส์กันวันนี้หรอกครับ ขอไปรอช่วงปลายฝนต้นหน้าโน่น (ยกเว้นใครอยากจะตื่นมาดูดาวตอนตีสามตีสี่ ซึ่งโจสเลนไม่เอาด้วยหรอกครับ ง่วงนอน Z.z.Z)
III. ยิ่งใกล้กัน ยิ่งหวั่นไหว
แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สนใจกลุ่มดาวหงส์กัน ค่ำคืนนี้ก็ยังมีกลุ่มดาวอีกกลุ่มให้ดูก่อนเข้านอนครับ หลังจากที่กลุ่มดาวกางเขนใต้ขึ้นสูงบนท้องฟ้าแล้ว กลุ่มดาวอีกลุ่มที่ขึ้นมาติดๆ ก็มีชื่อว่า กลุ่มดาวครึ่งคนครึ่งมาหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าเซ็นทอร์ (Centaur)
กลุ่มดาวเซนทอร์นี้มีดาวฤกษ์สว่างติดอันดับขึ้นชาร์ตดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าตอนกลางคืนอยู่สองดวง คือ แอลฟาเซ็นทอรี (Alpha Centauri) และเบตาเซ้นทอรีหรือฮาดาร์ (Beta Centauri or Hadar)
การตั้งชื่อดาวแบบมีอัลฟา, เบต้า ฯลฯ แบบนี้เป็นการตั้งชื่อที่เรียกว่าการตั้งชื่อแบบเบเยอร์ (ฺBayer designation) ครับ ซึ่งเป็นหลักการที่ตั้งโดย Johann Bayer นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเมื่อหกร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยหลักการที่เบเยอร์ตั้งไว้คือ เรียกชื่อดาวโดยเอาอักษรกรีก (แอลฟา เบต้า ฯลฯ) นำหน้า แล้วตามด้วยชื่อกลุ่มดาวนั้นๆ (ซึ่งผันให้เป็นรูปแสดงความเป็นเจ้าของตามไวยากรณ์ภาษาละติน)
ตัวอย่างก็เช่น
Alpha + Centaur => Alpha centauri
Gamma + Crux => Gamma cruxis
Eta + Carina => Eta carinae
ความตั้งใจแรกของเบเยอร์ คือ เรียกอัลฟา เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนั้นๆ ครับ แล้วก็ไล่ลำดับความสว่างที่ลดลงมาเรื่อยตามลำดับของอักษรกรีก (เบต้า > แกมมา > เดลต้า ฯลฯ) แต่เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือวัดความสว่างของดาวฤกษ์ที่แม่นยำ ดาวบางดวงเลยไม่เป็นไปตามลำดับ เช่น Beta gemini (คาสเตอร์) สว่างกว่า Alpha gemini (พอลลักซ์) เป็นต้น
แอลฟาเซ็นทอรีนั่นเป็นดาวที่น่ารู้จักอีกดวงหนึ่งครับ มองบนท้องฟ้าเราจะเห็นดาวดวงนี้เป็นสีเหลืองอ่อนอยู่ทางทิศตะวันออกของดาวฮาดาร์ (ที่สีออกฟ้ามากกว่า) สิ่งที่ทำให้แอลฟาเซ็นทอรีมีชื่อเสียงก็ คือ มันเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด
ดาวแอลฟาเซ็นทอรีที่เราเห็นดวงเดียวบนท้องฟ้าความจริงแล้วเป็นระบบของดาวฤกษ์สามดวงครับ คือ แอลฟาเซ็นทอรี-เอ แอลฟาเซ็นทอรี-บี และ พร็อกซิกมาเซ็นเทารี (ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามากที่สุดจริงๆ)
http://media.tumblr.com/tumblr_mc2dqagoSf1qgfyua.jpg
ความจริงดาวฤกษ์ที่เราเห็นส่วนใหญ่บนท้องฟ้าก็เป็นระบบดาวฤกษ์แบบนี้กันทั้งนั้นครับ ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ส่วนน้อยที่อยู่แบบโดดเดี่ยวดวงเดียว (คงเหงาแย่)
พูดมาถึงตรงนี้แล้วก็อยากพูดถึงพร็อกซิกมา เซ็นทอรี (Proxima centauri) สักหน่อยครับ ดาวดวงนี้เป็นดาวแคระแดง ซึ่งก็คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กแล้วก็มวลน้อยมากๆ
พอเป็นอย่างนี้แล้วความสว่างของมันก็เลยน้อยลงไปด้วย น้อยจนถึงแม้ว่าดาวแคระแดงจะเป็นดาวฤกษ์ที่มีอยู่มากมายที่สุดในเอกภพ ก็ไม่มีเลยสักดวงเดียวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
อย่างที่ฮารุกิเล่าไปในตอนที่แล้วๆ ครับ ว่าดาวฤกษ์ยิ่งมีมวลน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งมีอายุยืนนานเท่านั้น
จากการคำนวณของนักดาราศาสตร์ในปัจจุบัน ดาวแคระแดงทุกดวงที่เกิดขึ้นมานับตั้งแต่เอกภพและกาลเวลาได้เริ่มขึ้นสี่หมื่นหกพันล้านปีก่อนนั้น ทุกดวงยังส่องแสงมาถึงทุกวันนี้ครับ
จะว่าเหงาก็คงไม่ได้ เพราะดาวพวกนี้มีเพื่อน (สูงวัย) เยอะ จริงไหมครับ?
ดูดาวง่ายๆ เริ่มได้จากดาวไถ 3 - ดูดาวรอบขั้วฟ้าใต้กันเถอะ
คาดว่าบทความนี้จะเป็นบทความสุดท้ายในชุดนี้แล้ว (คาดว่าบทความชุดต่อไปจะเริ่มดูจากดาวจระเข้แทน) นะครับ
อย่างที่บอกไปในชื่อ บทความนี้เราจะเริ่มดูดาวซึ่งอยู่รอบๆ ขั้วฟ้าใต้กัน
หลายคนอาจจะสงสัยว่า "ขั้วฟ้าใต้" คืออะไร ขั้วฟ้าใต้นี้เป็นจุดสมมติบนท้องฟ้า ของจุดที่ ขั้วโลกใต้ ชี้ตรงไป ในทำนองเดียวกับขั้วฟ้าเหนือคือ จุดบนท้องฟ้าที่ขั้วโลกเหนือชี้ไป (บางทีดูตามรูปอาจจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ)
สิ่งที่ต่างกันระหว่าง ขั้วฟ้าเหนือ กับ ขั้วฟ้าใต้ก็ คือ ตรงตำแหน่งของขั้วฟ้าเหนือ ตรงกับดาวฤกษ์ดวงหนึ่งพอดี เราเลยเรียกดาวดวงนั้นว่าดาวเหนือ
http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/solar2/Sky-colestial-3.gif
ในขณะที่ทางขั้วฟ้าใต้ ไม่มีดาวฤกษ์ (ที่มองเห็นได้) อยู่ เพราะฉะนั้น เราก็เลยไม่มีดาวใต้อย่างไรล่ะครับ
ขั้วฟ้าใต้เนี่ย มองจากเมืองไทยไม่เห็นครับ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในซีกโลกเหนือ แต่เพราะเราอยู่เหนือ "ไม่มาก" เราก็เลยพอเห็นดาวที่อยู่รอบๆ ขั้วฟ้าใต้ (ซึ่งมีหลายดวงที่สว่างสุกใสสวยงาม) ได้หลายดวงทีเดียว
ก่อนที่ใครหลายคนจะมึนไปกว่านี้ เรามาเริ่มดูดาวกันดีกว่าครับ
I. ที่หนึ่งไม่ไหว ฉันเต็มใจขอเป็นแค่ที่สอง...
ลากเส้นตามแนวกลุ่มดาวนายพรานดังรูปนะครับ เราจะไปเจอกับดาวฤกษ์สว่างมากๆ อีกดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า "คาโนป้ส" (Canopus)
ดาวคาโนปัสนี้เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสองของท้องฟ้าในตอนกลางคืน กลุ่มดาวของดาวคาโนปัสชื่อว่ากลุ่มดาวกระดูกงูเรือ (Carina) เดิมกลุ่มดาวในบริเวณนี้เรียกว่ากลุ่มดาวเรืออาร์โก (Argo Navis) ซึ่งมาจากชื่อเรือในตามนานกรีกเรื่อง "เจสันกับขนแกะทองคำ" แต่นักดาราศาสตร์ปัจจุบันบอกว่ามันเป็นกลุ่มดาวที่ใหญ่เกินไป เลยซอยย่อยออกมาเป็น 3 กลุ่มดาว คือ กระดูกงูเรือ, ท้ายเรือ (Puppis) และใบเรือ (Vela)
II. เห็นเขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก
ก่อนไปดูดาวกลุ่มต่อไป โจสเลนมีคำถามมาถามเล่นๆ ครับ
ถามว่า "ดาวขึ้นทางทิศไหน ตกทางทิศไหนครับ?"
.
.
.
ตอบ "ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก" เหมือนกับดวงอาทิตย์นั่นแหละครับ
เพราะว่า ทั้งดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างอยู่นิ่งๆ การขึ้นและตกของทั้งสองอย่างเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ดังนั้น เมื่อโลกหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก (หรือหมุน "ทวนเข็มนาฬิกา" เมือเอาตัวเราไปลอยอยู่เหนือขั้วฟ้าเหนือแล้วมองลงมา) ทั้งดวงอาทิตย์และดวงดาวก็จะขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตกเหมือนกันครับ)
เพราะอย่างนี้เองครับ ในยามที่ดาวคาโนปัสกำลังเคลื่อนคล้อยรับฟ้าในทิศหรดี (ก็คือทิศตะวันตกเฉียงใต้นั่นแหละ แหม่ ทำเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนไปได้) กลุ่มดาวที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งก็จะขึ้นพ้นจากท้องฟ้าในทิศอาคเนย์ (ไม่บอกก็คงรู้ว่าคือทิศตะวันออกเฉียงใต้)
กลุ่มดาวนั้นมีชื่อว่า กลุ่มดาวกางเขนใต้ (Crux)
การมองหากลุ่มดาวกางเขนใต้นั้นอาจจะเป็นความท้าทายสักเล็กน้อยครับ ข้อสำคัญที่ต้องรู้คือ ถึงแม้ไม้กางเขนจะมีสี่ปลาย กลุ่มดาวกางเขนใต้มีดาวฤกษ์สว่าง 5 ดวง
ไม่อย่างนั้นจะดูผิดกับ "กางเขนปลอม" ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "เรืออาร์โก" ไม่รู้ด้วยนะเออ...
ก็อย่างในภาพ นะครับ วิธีการแยก กางเขนใต้ (ของจริง) กับ กางเขนปลอม มีอยู่สองวิธีง่าย คือ
1) อย่างที่บอกไปแล้ว กางเขนใต้ของจริงจะมี ดาวสว่างตรงกลาง (เป็นดวงที่ 5) อีกดวงหนึ่ง
2) เพราะกลุ่มดาวเรืออาร์โก (ทั้งสามกลุ่ม) จะขึ้นก่อนตกก่อนกลุ่มดาวกางเขนใต้ เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นไม้กางเขนสองอัน อันที่อยู่ทางตะวันตกก็จะเป็นกางเขนปลอม อันที่อยู่ทางตะวันออกคือกางเขนใต้
พอเล่ามาถึงตอนนี้แล้ว อาจจะมีบางคนเริ่มสงสัยว่า มีกางเขนใต้แล้วมีกางเขนเหนือด้วยหรือเปล่า คำตอบก็คือ "มีครับ"
แต่ว่ากลุ่มดาวกางเขนเหนือมีชื่อแบบเป็นทางการว่า "กลุ่มดาวหงส์" ก็ต้องเล่าย้อนท้าวความไปว่า สมัยหนึ่ง คริสตจักรได้มีความพยายามในการตั้งชื่อกลุ่มดาวทั้งหมดให้เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนา กลุ่มดาวหงส์ก็เลยถูกตั้งอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มดาวไม้กางเขน แต่ว่าเนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยม ชื่อเหล่านั้นก็เลยค่อยๆ เลิกใช้ไป
เราจะยังไม่ดูกลุ่มดาวหงส์กันวันนี้หรอกครับ ขอไปรอช่วงปลายฝนต้นหน้าโน่น (ยกเว้นใครอยากจะตื่นมาดูดาวตอนตีสามตีสี่ ซึ่งโจสเลนไม่เอาด้วยหรอกครับ ง่วงนอน Z.z.Z)
III. ยิ่งใกล้กัน ยิ่งหวั่นไหว
แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สนใจกลุ่มดาวหงส์กัน ค่ำคืนนี้ก็ยังมีกลุ่มดาวอีกกลุ่มให้ดูก่อนเข้านอนครับ หลังจากที่กลุ่มดาวกางเขนใต้ขึ้นสูงบนท้องฟ้าแล้ว กลุ่มดาวอีกลุ่มที่ขึ้นมาติดๆ ก็มีชื่อว่า กลุ่มดาวครึ่งคนครึ่งมาหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าเซ็นทอร์ (Centaur)
กลุ่มดาวเซนทอร์นี้มีดาวฤกษ์สว่างติดอันดับขึ้นชาร์ตดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าตอนกลางคืนอยู่สองดวง คือ แอลฟาเซ็นทอรี (Alpha Centauri) และเบตาเซ้นทอรีหรือฮาดาร์ (Beta Centauri or Hadar)
การตั้งชื่อดาวแบบมีอัลฟา, เบต้า ฯลฯ แบบนี้เป็นการตั้งชื่อที่เรียกว่าการตั้งชื่อแบบเบเยอร์ (ฺBayer designation) ครับ ซึ่งเป็นหลักการที่ตั้งโดย Johann Bayer นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเมื่อหกร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยหลักการที่เบเยอร์ตั้งไว้คือ เรียกชื่อดาวโดยเอาอักษรกรีก (แอลฟา เบต้า ฯลฯ) นำหน้า แล้วตามด้วยชื่อกลุ่มดาวนั้นๆ (ซึ่งผันให้เป็นรูปแสดงความเป็นเจ้าของตามไวยากรณ์ภาษาละติน)
ตัวอย่างก็เช่น
Alpha + Centaur => Alpha centauri
Gamma + Crux => Gamma cruxis
Eta + Carina => Eta carinae
ความตั้งใจแรกของเบเยอร์ คือ เรียกอัลฟา เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนั้นๆ ครับ แล้วก็ไล่ลำดับความสว่างที่ลดลงมาเรื่อยตามลำดับของอักษรกรีก (เบต้า > แกมมา > เดลต้า ฯลฯ) แต่เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือวัดความสว่างของดาวฤกษ์ที่แม่นยำ ดาวบางดวงเลยไม่เป็นไปตามลำดับ เช่น Beta gemini (คาสเตอร์) สว่างกว่า Alpha gemini (พอลลักซ์) เป็นต้น
แอลฟาเซ็นทอรีนั่นเป็นดาวที่น่ารู้จักอีกดวงหนึ่งครับ มองบนท้องฟ้าเราจะเห็นดาวดวงนี้เป็นสีเหลืองอ่อนอยู่ทางทิศตะวันออกของดาวฮาดาร์ (ที่สีออกฟ้ามากกว่า) สิ่งที่ทำให้แอลฟาเซ็นทอรีมีชื่อเสียงก็ คือ มันเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด
ดาวแอลฟาเซ็นทอรีที่เราเห็นดวงเดียวบนท้องฟ้าความจริงแล้วเป็นระบบของดาวฤกษ์สามดวงครับ คือ แอลฟาเซ็นทอรี-เอ แอลฟาเซ็นทอรี-บี และ พร็อกซิกมาเซ็นเทารี (ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามากที่สุดจริงๆ)
http://media.tumblr.com/tumblr_mc2dqagoSf1qgfyua.jpg
ความจริงดาวฤกษ์ที่เราเห็นส่วนใหญ่บนท้องฟ้าก็เป็นระบบดาวฤกษ์แบบนี้กันทั้งนั้นครับ ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ส่วนน้อยที่อยู่แบบโดดเดี่ยวดวงเดียว (คงเหงาแย่)
พูดมาถึงตรงนี้แล้วก็อยากพูดถึงพร็อกซิกมา เซ็นทอรี (Proxima centauri) สักหน่อยครับ ดาวดวงนี้เป็นดาวแคระแดง ซึ่งก็คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กแล้วก็มวลน้อยมากๆ
พอเป็นอย่างนี้แล้วความสว่างของมันก็เลยน้อยลงไปด้วย น้อยจนถึงแม้ว่าดาวแคระแดงจะเป็นดาวฤกษ์ที่มีอยู่มากมายที่สุดในเอกภพ ก็ไม่มีเลยสักดวงเดียวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
อย่างที่ฮารุกิเล่าไปในตอนที่แล้วๆ ครับ ว่าดาวฤกษ์ยิ่งมีมวลน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งมีอายุยืนนานเท่านั้น
จากการคำนวณของนักดาราศาสตร์ในปัจจุบัน ดาวแคระแดงทุกดวงที่เกิดขึ้นมานับตั้งแต่เอกภพและกาลเวลาได้เริ่มขึ้นสี่หมื่นหกพันล้านปีก่อนนั้น ทุกดวงยังส่องแสงมาถึงทุกวันนี้ครับ
จะว่าเหงาก็คงไม่ได้ เพราะดาวพวกนี้มีเพื่อน (สูงวัย) เยอะ จริงไหมครับ?